นายกฯ สั่งประเมินฐานรายได้ประชาชนเป็นกลุ่ม "มท.-เกษตรฯ" ทำทะเบียนบุคคล เพื่อให้ความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว ตรงจุด ไฟเขียวโรดแมปยกเครื่องเกษตร วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท ออกมาตรการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร ด้วยการตัดหนี้สูญให้ผู้ที่มีหนี้ไม่เกิน 5 ล้านบาท
เมื่อเวลา 17.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 2/2558 ว่า ทางกระทรวงพาณิชย์ ได้เสนอแผนการดำเนินงานระยะยาว 5 ปี ที่จะทำให้ข้าวไทยเข้มแข็ง มีราคา ตลาดข้าว และการช่วยเหลือต่างๆ ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบแผนงานดังกล่าวแล้ว แต่จะต้องมีการนำเสนอที่ประชุม ครม. อีกครั้ง รายละเอียดไม่สามารถพูดได้ในตอนนี้ ซึ่งเราจะต้องจัดโซนนิ่งให้ได้ ตนได้สั่งการไปว่าไม่ใช่หารือกันเฉพาะเรื่องข้าวอย่างเดียว จะสามารถเปลี่ยนจากการปลูกข้าว ไปปลูกปาล์มหรืออ้อย ได้หรือไม่ ซึ่งอาจจะต้องมีการสร้างโรงงานเพิ่ม เพื่อมารองรับการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล รวมทั้งจะต้องมีการปรับปรุงเทคโนโลยีในโรงงานใหม่ เมื่อถามถึงการระบายข้าว 7 แสนตัน ได้อนุมัติแล้วหรือยัง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า ได้อนุมัติไปแล้วเมื่อวานนี้ (29 มี.ค.) แต่ตนต้องรู้ทุกเรื่องหรือ หัวจะแตกแล้ว งงไปหมดแล้ว แต่ไม่มีเหนื่อย
**เร่งจึ้นทะเบียนผู้เดือดร้อนทั่วประเทศ
นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ)ว่า นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับกระทรวงการคลัง และ มหาดไทย เร่งขึ้นทะเบียนผู้มีรายได้ทุกสาขาอาชีพ โดยเน้นเรื่องรายได้ ทรัพย์สิน และที่อยู่ เพื่อต้องการให้ทราบข้อมูลว่า ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐ อยู่ที่ไหน และเป็นใครบ้าง เพราะทุกครั้งที่รัฐบาลดำเนินมาตรการช่วยเหลือ จะมีเสียงสะท้อนกลับมาว่า ความช่วยเหลือไปไม่ถึงชาวบ้าน ขณะที่การขึ้นทะเบียนครั้งนี้ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของการเก็บภาษี แต่อย่างใด
" เหตุผลของการจดทะเบียนผู้มีรายได้ครั้งนี้ จะต้องรู้ให้ชัดเจนเป็นรายชื่อว่า ในตำบล ในหมู่บ้าน มีใครที่เดือดร้อนเข้าข่ายจะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบ้าง เพื่อให้มาตรการที่รัฐจะให้ความช่วยเหลือในอนาคตไปถึงตัวบุคคลที่ถูกต้อง ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเกษตรกร แต่จะจดทะเบียนผู้มีรายได้ทั้งหมด ทั้งพ่อค้า แม่ค้า ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะมาหารือกันอีกครั้งว่า จะดำเนินการจดทะเบียนอย่างไร ซึ่งต้องรีบทำให้เสร็จก่อนสิ้นปีงบประมาณ 58 หรือภายในเดือนก.ย.นี้ เพราะเมื่อพ้นฤดูกาลเพาะปลูก หรือพ้นฤดูกาลกรีดยาง หากจะมีมาตรการไปช่วยเหลือเกษตรกร หรือบุคคลที่ไม่ใช่เกษตรกรก็ตาม จะต้องมีความชัดเจนไม่รั่วไหล"
ทั้งนี้ ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ ยังได้เห็นชอบแนวทางการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์หรือโรดแมปของกระทรวงเกษตรฯ ใน 10 โครงการ วงเงิน 35,000 ล้านบาท ระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 58-62 แบ่งเป็นเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงิน 20,000 ล้านบาท ที่เหลือ 15,000 ล้านบาท เป็นงบประมาณจ่ายขาดของรัฐบาล โดยปี 58 จะต้องใช้งบกลางเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 1,800 ล้านบาท เพื่อเริ่มโครงการต่างๆ ตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นโครงการกลางปี ไม่ได้บรรจุโครงการไว้ในงบประมาณปี 58
นอกจากนี้ ในช่วงประมาณกลางเดือนเม.ย.นี้ รัฐบาลจะออกนโยบายใหม่ทั้งหมดเรื่องยาง ตอนนี้ นายอำนวย ปะติเส รมช.เกษตรและสหกรณ์ อยู่ระหว่างสำรวจข้อมูล โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับแก้ปัญหายางพารา คือ การลดอุปทาน หรือซัพพลาย เพราะ10 ปีที่ผ่านมา มีอุปทานส่วนเกินมาก เพราะราคายางสูง มีการทำสวนยางในเขตป่า ที่หวงห้ามจำนวนมากประมาณ 1-2 ล้านไร่ จะต้องไปดูว่าจะดำเนินการปรับอย่างไร เพื่อลดพื้นที่ลงเพราะมีเรื่องข้อกฎหมายด้วย
** ตัดหนี้สูญเกษตรกร รายละไม่เกิน 5 ล้าน
ขณะเดียวกันที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ ยังได้เห็นชอบมาตรการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร โดยเฉพาะการแก้ปัญหาหนี้สินด้วยการตัดหนี้สูญ ให้เกษตรกรที่อยู่ในส่วนกองทุนกระทรวงเกษตรฯ 9 กองทุน จำนวน 4,556 ล้านบาท โดยกระทรวงเกษตรฯ จะเป็นผู้พิจารณาตัวบุคคลที่เป็นไปตามเงื่อนไขของเกณฑ์การจัดเป็นหนี้สูญ ว่ามีใครบ้าง จากนั้นจะส่งข้อมูลเกษตรกรทั้งหมดไปให้กระทรวงการคลังอนุมัติการตัดหนี้สูญตามกฎหมาย โดยรมว.คลัง สามารถตัดหนี้สูญให้เกษตรกรได้ทันที ในกรณีมีหนี้สินวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท แต่หากมีหนี้สินเกินกว่า 5 ล้านบาท ต้องนำเรื่องเสนอ ครม.พิจารณา
สำหรับเงื่อนไขการตัดหนี้สูญที่วางไว้ 10 ประเภท คือ หนี้ที่เกิดจากโครงการส่งเสริม หรือสงเคราะห์ของรัฐที่ไม่ประสบความสำเร็จ ,หนี้ที่เกิดจากเกษตรกรประสบภัยธรรมชาติ , หนี้ที่เกิดจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ,หนี้ที่ขาดอายุความ , หนี้ค้างชำระเกินกว่า 10 ปีขึ้นไป , หนี้ที่ไม่สามารถติดตามทรัพย์สินเพื่อบังคับคดีได้ , หนี้ที่เกษตรกรผู้ยืมเงินเสียชีวิต สาบสูญ หาตัวไม่พบ หรือละทิ้งที่อยู่ ,หนี้ที่เกษตรกรผู้กู้ยืมเงินชราภาพ ทุพพลภาพ วิกลจริต หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง , หนี้ที่ลูกหนี้ผู้กู้ยืมเงินมีรายได้น้อย ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ และหนี้ที่มีการกู้ยืมเงินต่ำกว่า 10,000 บาท
สำหรับโรดแมปกระทรวงเกษตรฯ 10 โครงการ ประกอบด้วย ,โครงการปรับโครงสร้างการผลิตข้าว , โครงการปรับโครงสร้างการผลิตปศุสัตว์ ,โครงการปรับโครงสร้างการผลิตประมง ,โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรด้วยการจำหน่ายหนี้สูญ ,การปรับปรุงและออกกฎหมายเพิ่มเติม ,โครงการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ,โครงการบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตรในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดยสหกรณ์ ,โครงการปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมันแบบครบวงจร ,โครงการพัฒนาเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจข้าวของสถาบันเกษตรกร และโครงการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว.
เมื่อเวลา 17.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 2/2558 ว่า ทางกระทรวงพาณิชย์ ได้เสนอแผนการดำเนินงานระยะยาว 5 ปี ที่จะทำให้ข้าวไทยเข้มแข็ง มีราคา ตลาดข้าว และการช่วยเหลือต่างๆ ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบแผนงานดังกล่าวแล้ว แต่จะต้องมีการนำเสนอที่ประชุม ครม. อีกครั้ง รายละเอียดไม่สามารถพูดได้ในตอนนี้ ซึ่งเราจะต้องจัดโซนนิ่งให้ได้ ตนได้สั่งการไปว่าไม่ใช่หารือกันเฉพาะเรื่องข้าวอย่างเดียว จะสามารถเปลี่ยนจากการปลูกข้าว ไปปลูกปาล์มหรืออ้อย ได้หรือไม่ ซึ่งอาจจะต้องมีการสร้างโรงงานเพิ่ม เพื่อมารองรับการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล รวมทั้งจะต้องมีการปรับปรุงเทคโนโลยีในโรงงานใหม่ เมื่อถามถึงการระบายข้าว 7 แสนตัน ได้อนุมัติแล้วหรือยัง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า ได้อนุมัติไปแล้วเมื่อวานนี้ (29 มี.ค.) แต่ตนต้องรู้ทุกเรื่องหรือ หัวจะแตกแล้ว งงไปหมดแล้ว แต่ไม่มีเหนื่อย
**เร่งจึ้นทะเบียนผู้เดือดร้อนทั่วประเทศ
นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ)ว่า นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับกระทรวงการคลัง และ มหาดไทย เร่งขึ้นทะเบียนผู้มีรายได้ทุกสาขาอาชีพ โดยเน้นเรื่องรายได้ ทรัพย์สิน และที่อยู่ เพื่อต้องการให้ทราบข้อมูลว่า ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐ อยู่ที่ไหน และเป็นใครบ้าง เพราะทุกครั้งที่รัฐบาลดำเนินมาตรการช่วยเหลือ จะมีเสียงสะท้อนกลับมาว่า ความช่วยเหลือไปไม่ถึงชาวบ้าน ขณะที่การขึ้นทะเบียนครั้งนี้ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของการเก็บภาษี แต่อย่างใด
" เหตุผลของการจดทะเบียนผู้มีรายได้ครั้งนี้ จะต้องรู้ให้ชัดเจนเป็นรายชื่อว่า ในตำบล ในหมู่บ้าน มีใครที่เดือดร้อนเข้าข่ายจะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบ้าง เพื่อให้มาตรการที่รัฐจะให้ความช่วยเหลือในอนาคตไปถึงตัวบุคคลที่ถูกต้อง ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเกษตรกร แต่จะจดทะเบียนผู้มีรายได้ทั้งหมด ทั้งพ่อค้า แม่ค้า ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะมาหารือกันอีกครั้งว่า จะดำเนินการจดทะเบียนอย่างไร ซึ่งต้องรีบทำให้เสร็จก่อนสิ้นปีงบประมาณ 58 หรือภายในเดือนก.ย.นี้ เพราะเมื่อพ้นฤดูกาลเพาะปลูก หรือพ้นฤดูกาลกรีดยาง หากจะมีมาตรการไปช่วยเหลือเกษตรกร หรือบุคคลที่ไม่ใช่เกษตรกรก็ตาม จะต้องมีความชัดเจนไม่รั่วไหล"
ทั้งนี้ ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ ยังได้เห็นชอบแนวทางการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์หรือโรดแมปของกระทรวงเกษตรฯ ใน 10 โครงการ วงเงิน 35,000 ล้านบาท ระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 58-62 แบ่งเป็นเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงิน 20,000 ล้านบาท ที่เหลือ 15,000 ล้านบาท เป็นงบประมาณจ่ายขาดของรัฐบาล โดยปี 58 จะต้องใช้งบกลางเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 1,800 ล้านบาท เพื่อเริ่มโครงการต่างๆ ตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นโครงการกลางปี ไม่ได้บรรจุโครงการไว้ในงบประมาณปี 58
นอกจากนี้ ในช่วงประมาณกลางเดือนเม.ย.นี้ รัฐบาลจะออกนโยบายใหม่ทั้งหมดเรื่องยาง ตอนนี้ นายอำนวย ปะติเส รมช.เกษตรและสหกรณ์ อยู่ระหว่างสำรวจข้อมูล โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับแก้ปัญหายางพารา คือ การลดอุปทาน หรือซัพพลาย เพราะ10 ปีที่ผ่านมา มีอุปทานส่วนเกินมาก เพราะราคายางสูง มีการทำสวนยางในเขตป่า ที่หวงห้ามจำนวนมากประมาณ 1-2 ล้านไร่ จะต้องไปดูว่าจะดำเนินการปรับอย่างไร เพื่อลดพื้นที่ลงเพราะมีเรื่องข้อกฎหมายด้วย
** ตัดหนี้สูญเกษตรกร รายละไม่เกิน 5 ล้าน
ขณะเดียวกันที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ ยังได้เห็นชอบมาตรการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร โดยเฉพาะการแก้ปัญหาหนี้สินด้วยการตัดหนี้สูญ ให้เกษตรกรที่อยู่ในส่วนกองทุนกระทรวงเกษตรฯ 9 กองทุน จำนวน 4,556 ล้านบาท โดยกระทรวงเกษตรฯ จะเป็นผู้พิจารณาตัวบุคคลที่เป็นไปตามเงื่อนไขของเกณฑ์การจัดเป็นหนี้สูญ ว่ามีใครบ้าง จากนั้นจะส่งข้อมูลเกษตรกรทั้งหมดไปให้กระทรวงการคลังอนุมัติการตัดหนี้สูญตามกฎหมาย โดยรมว.คลัง สามารถตัดหนี้สูญให้เกษตรกรได้ทันที ในกรณีมีหนี้สินวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท แต่หากมีหนี้สินเกินกว่า 5 ล้านบาท ต้องนำเรื่องเสนอ ครม.พิจารณา
สำหรับเงื่อนไขการตัดหนี้สูญที่วางไว้ 10 ประเภท คือ หนี้ที่เกิดจากโครงการส่งเสริม หรือสงเคราะห์ของรัฐที่ไม่ประสบความสำเร็จ ,หนี้ที่เกิดจากเกษตรกรประสบภัยธรรมชาติ , หนี้ที่เกิดจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ,หนี้ที่ขาดอายุความ , หนี้ค้างชำระเกินกว่า 10 ปีขึ้นไป , หนี้ที่ไม่สามารถติดตามทรัพย์สินเพื่อบังคับคดีได้ , หนี้ที่เกษตรกรผู้ยืมเงินเสียชีวิต สาบสูญ หาตัวไม่พบ หรือละทิ้งที่อยู่ ,หนี้ที่เกษตรกรผู้กู้ยืมเงินชราภาพ ทุพพลภาพ วิกลจริต หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง , หนี้ที่ลูกหนี้ผู้กู้ยืมเงินมีรายได้น้อย ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ และหนี้ที่มีการกู้ยืมเงินต่ำกว่า 10,000 บาท
สำหรับโรดแมปกระทรวงเกษตรฯ 10 โครงการ ประกอบด้วย ,โครงการปรับโครงสร้างการผลิตข้าว , โครงการปรับโครงสร้างการผลิตปศุสัตว์ ,โครงการปรับโครงสร้างการผลิตประมง ,โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรด้วยการจำหน่ายหนี้สูญ ,การปรับปรุงและออกกฎหมายเพิ่มเติม ,โครงการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ,โครงการบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตรในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดยสหกรณ์ ,โครงการปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมันแบบครบวงจร ,โครงการพัฒนาเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจข้าวของสถาบันเกษตรกร และโครงการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว.