นายปีติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงมติที่ประชุมยุทธศาสตร์โครงสร้างทางการเกษตร ระยะ 5 ปี (2558-2563) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร โดยเฉพาะการแก้ปัญหาหนี้สินด้วยการตัดหนี้สูญให้เกษตรกรที่อยู่ในส่วนกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร และอื่นๆอีก 9 กองทุนจำนวนร่วม 3 หมื่นราย วงเงิน 4,556 ล้านบาท โดยกระทรวงเกษตรฯจะเป็นผู้พิจารณาตัวบุคคลที่เป็นไปตามเงื่อนไขของเกณฑ์การจัดเป็นหนี้สูญว่ามีใครบ้าง จากนั้นจะส่งข้อมูลเกษตรกรทั้งหมดไปให้กระทรวงการคลังอนุมัติการตัดหนี้สูญตามกฎหมาย โดย รมว.คลัง สามารถตัดหนี้สูญให้เกษตรกรได้ทันทีในกรณีมีหนี้สินวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท แต่หากมีหนี้สินเกินกว่า 5 ล้านบาท ต้องนำเรื่องเสนอครม.พิจารณา
สำหรับเงื่อนไขการตัดหนี้สูญที่วางไว้ 10 ประเภท คือ หนี้ที่เกิดจากโครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ของรัฐที่ไม่ประสบความสำเร็จ, หนี้ที่เกิดจากเกษตรกรประสบภัยธรรมชาติ, หนี้ที่เกิดจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้, หนี้ที่ขาดอายุความ, หนี้ค้างชำระเกินกว่า 10 ปีขึ้นไป, หนี้ที่ไม่สามารถติดตามทรัพย์สินเพื่อบังคับคดีได้, หนี้ที่เกษตรกรผู้ยืมเงินเสียชีวิต สาบสูญ หาตัวไม่พบ หรือละทิ้งที่อยู่, หนี้ที่เกษตรกรผู้กู้ยืมเงินชราภาพ ทุพพลภาพ วิกลจริต หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง, หนี้ที่ลูกหนี้ผู้กู้ยืมเงินมีรายได้น้อย ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ และหนี้ที่มีการกู้ยืมเงินต่ำกว่า 10,000 บาท
พร้อมกันนี้ยังได้สั่งการให้ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตรฯ ร่วมกันดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้มีรายได้ทั้งหมดทุกลุ่มทั่วประเทศ เพื่อดูว่าชาวบ้านประกอบอาชีพแต่ละกลุ่มสัดส่วนเท่าใด มีรายได้อย่างไรบ้าง เนื่องจากพบว่าเกษตรกรมีรายได้จากอาชีพเสริมอื่นสัดส่วนร้อยละ 40-50 ของรายได้ทางการเกษตร เพื่อเป็นข้อมูลให้กับรัฐบาลในการช่วยเหลือของรัฐบาล
ขณะเดียวกัน ยังเร่งให้เดินหน้าการจดทะเบียนแรงงานประมงที่ผิดกฏหมาย ตามระเบียบของ ไอยูยู รวมถึงให้เรือประมงทุกลำทำสัญญากับแรงงานประมง แต่ยอมรับว่าไม่ค่อยได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร สำหรับเรื่องนี้จะมีการหารือกันอีกครั้งในวันที่2เมษายนนี้
สำหรับเงื่อนไขการตัดหนี้สูญที่วางไว้ 10 ประเภท คือ หนี้ที่เกิดจากโครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ของรัฐที่ไม่ประสบความสำเร็จ, หนี้ที่เกิดจากเกษตรกรประสบภัยธรรมชาติ, หนี้ที่เกิดจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้, หนี้ที่ขาดอายุความ, หนี้ค้างชำระเกินกว่า 10 ปีขึ้นไป, หนี้ที่ไม่สามารถติดตามทรัพย์สินเพื่อบังคับคดีได้, หนี้ที่เกษตรกรผู้ยืมเงินเสียชีวิต สาบสูญ หาตัวไม่พบ หรือละทิ้งที่อยู่, หนี้ที่เกษตรกรผู้กู้ยืมเงินชราภาพ ทุพพลภาพ วิกลจริต หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง, หนี้ที่ลูกหนี้ผู้กู้ยืมเงินมีรายได้น้อย ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ และหนี้ที่มีการกู้ยืมเงินต่ำกว่า 10,000 บาท
พร้อมกันนี้ยังได้สั่งการให้ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตรฯ ร่วมกันดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้มีรายได้ทั้งหมดทุกลุ่มทั่วประเทศ เพื่อดูว่าชาวบ้านประกอบอาชีพแต่ละกลุ่มสัดส่วนเท่าใด มีรายได้อย่างไรบ้าง เนื่องจากพบว่าเกษตรกรมีรายได้จากอาชีพเสริมอื่นสัดส่วนร้อยละ 40-50 ของรายได้ทางการเกษตร เพื่อเป็นข้อมูลให้กับรัฐบาลในการช่วยเหลือของรัฐบาล
ขณะเดียวกัน ยังเร่งให้เดินหน้าการจดทะเบียนแรงงานประมงที่ผิดกฏหมาย ตามระเบียบของ ไอยูยู รวมถึงให้เรือประมงทุกลำทำสัญญากับแรงงานประมง แต่ยอมรับว่าไม่ค่อยได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร สำหรับเรื่องนี้จะมีการหารือกันอีกครั้งในวันที่2เมษายนนี้