ASTVผู้จัดการรายวัน-“ประจิน”ยันสายการบินของไทยยังบินเข้าญี่ปุ่นได้ตามปกติ ไม่ได้ถูกห้ามบินตามข่าว แต่ส่วนที่ขอเพิ่มเที่ยวบิน หรือเปิดจุดบินใหม่ทำไม่ได้ สั่ง บพ.-การบินไทย บินด่วนญี่ปุ่น ชี้แจงแผนแก้ไขข้อบกพร่องตามมาตรฐาน ICAO ยอมรับ ผิดหวังญี่ปุ่นออกมาตรการเร็วเกินไป ทั้งที่อยู่ระหว่างแก้ไข 90 วัน ด้านบพ.เผยญี่ปุ่น ไม่อนุญาตเที่ยวบินเช่าเหมาลำของไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ ,นกสกู๊ต ,เอเชียแอตแลนติก ที่ขอบินช่วงสงกรานต์ เพราะเป็นเส้นทางใหม่
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาทางประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นสมาชิกองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้ออกมาระบุถึงกรณีที่ ICAO ได้พบข้อบกพร่องของกรมการบินพลเรือน (บพ.) ตามโครงการตรวจสอบการกำกับดูแลความปลอดภัยสากล (USOAP) ของ ICAO และทางองค์การการบินของญี่ปุ่นไ ด้ขอให้สายการบินของไทย ที่ทำการบินไปยังญี่ปุ่น
ซึ่งจะครอบคลุมทั้ง 4 สาย คือ สายการบินไทย การบินไทยสมายล์ นกสกู๊ต ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ จะต้องระงับแผนไม่สามารถเพิ่มเที่ยวบิน เปลี่ยนจุดบิน เปิดจุดบินเพิ่ม หรือจุดบินใหม่และเปลี่ยนขนาดเครื่องบิน (Aircraft Type) ได้ ในช่วงตารางบินฤดูร้อน (Summer Schedule) หรือตั้งแต่เดือนเมษายนนี้ ส่วนเส้นทางบินที่มีอยู่เดิม ญี่ปุ่นไม่ได้ระงับการบินใดๆ
โดยสายการบินของไทยยังคงบินได้ตามปกติในเส้นทางบินเดิม จุดบินเดิม และปริมาณเดิม ซึ่งยอมรับว่าการห้ามเพิ่มเที่ยวบินหรือเปิดจุดบินใหม่ดังกล่าว กระทบต่อธุรกิจการบินในช่วงเดือนเมษายน- พฤษภาคม ที่จะมีนักท่องเที่ยวจากไทยไปญี่ปุ่นค่อนข้างมาก ส่วนเที่ยวกลับจะมีนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นมาไทยมากเช่นกัน
ดังนั้นจึงได้เร่งแก้ปัญหาในขณะนี้คือ บพ.และการบินไทยได้เดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น ในวันนี้ (26 มี.ค.) เพื่อเจรจาทำความเข้าใจ ว่าสายการบินของไทยได้มาตรฐานและขอให้เชื่อมั่นในการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีนัยต่อความปลอดภัย (SSC) ว่าจะเป็นไปตามมาตรฐาน ICAO ซึ่งญี่ปุ่นต้องการให้บพ.ส่งแผนงานการแก้ไขและความคืบหน้าตามแนวทางการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะ โดยยินดีพิจารณาทบทวนคำสั่งดังกล่าว จากนั้นจะเดินทางไปยังประเทศเกาหลี จีนและเยอรมนี ถือว่าเป็นประเทศที่เป็นเส้นทางบินหลัก เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจต่อไป พร้อมกันนี้ ในสัปดาห์หน้า ตนจะเรียกประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการปรับปรุงแก้ไขแผนงานต่างๆ และให้คณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) เร่งพิจารณาแผนปรับปรุง แผนปฏิบัติ (Action Plan)
ให้เป็นไปตามเงื่อนไขต่อไป
พล.อ.อ.ประจิน ยอมรับว่า รู้สึกผิดหวังกับปฏิกิริยาของญี่ปุ่นที่ออกมาก่อนเวลาที่ ICAO จะมีการสรุป ซึ่งมีเวลา 90 วัน หรือในเดือนพฤษภาคมก่อน ถึงจะมีมาตรการใดๆ ออกมา และผิดหวัง ICAO ด้วยเพราะที่ผ่านมา ทั้งบพ.และกระทรวงคมนาคมได้ทำงานอย่างหนักเพื่อปรับปรุงแก้ไข โดยมีแผน เช่น แยกบทบาทหน้าที่ของบพ. จากที่รวมศูนย์ทุกเรื่อง โดยแยกด้าน นโยบาย (Policy) มาอยู่ที่กระทรวงคมนาคม และแยกหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) ออกมา
ส่วน Operator นั้นให้หน่วยงานอื่นดูแลแทน เช่น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เป็นต้น ด้านกฎหมายได้ตั้งคณะกรรมการแก้ไขแล้ว และจะเร่งรัดแก้พ.ร.บ.เดินอากาศไทย พ.ศ. 2497 ด้านบุคลากรได้จัดทำแผนปรับปรุง ชัดเจน เราเชื่อมั่นแผนการปรับปรุงที่เสนอไป แต่ ICAO บอกว่ายังไม่ผ่านการรับรอง
“ ขณะนี้ ICAO อยู่ระหว่างประเมินและ บพ. กำลังแก้ไขปรับปรุง เพราะบพ.เป็นผู้ออกใบรับรองใบอนุญาตให้สายการบินของไทย เพื่อทำการบินไปยังประเทศต่างๆ จะต้องเร่งกระบวนการแก้ไขเพราะไม่อยากให้ไทยถูกลดเกรดมาตรฐานการบิน ซึ่งได้ศึกษารูปแบบปัญหาที่ทางอินโดนีเซีย หรือประเทศที่กระทบจาก ICAO ไว้แล้ว ว่าจะแก้ไขอย่างไร ซึ่งยังไม่ขอพูดตอนนี้ รวมถึงแนวทางการเยียวยากรณีถูก ICAO ประกาศเป็นทางการออกมา วันนี้คงย้อนกลับไปเริ่มต้นไม่ได้ เพราะ ICAO ประเมินว่าเรามีปัญหา ต้องเร่งแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ”พล.อ.อ.ประจินกล่าว
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวถึงกรณีที่ญี่ปุ่นออกมาระงับการเพิ่มเที่ยวบินของไทยนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงไปถึงการเมืองภายในประเทศไทยที่ยังอยู่ในช่วงรัฐบาล คสช.หรือไม่ว่า มั่นใจว่าไม่เกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง กรณีนี้เป็นเรื่องทางวิชาชีพ และต้องเชื่อใน ICAO ที่เป็นองค์การการบินสากล อย่างไรก็ตาม ได้กำชับคณะกรรมการ (บอร์ด) และผู้บริหารการบินไทย และบพ. ให้เร่งทำงานเป็นทีมเพื่อแก้ปัญหาให้ได้ โดยเฉพาะประเด็นที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติไปแล้ว เช่น งบประมาณว่าจ้างบุคลากรเพิ่มจำนวน 23 ล้านบาท (มี.ค.-ก.ย. 58) งบประมาณปรับปรุงระบบ Bata Base ต่างๆ 80 ล้านบาท และการแก้ไขปฎหมาย เป็นต้น ทุกระดับต้องร่วมกันแก้ปัญหาเพราะรัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมาก
ด้านบพ.ได้ระบุว่า เมื่อวันที่ 24มีนาคม ที่ผ่านมา ได้รับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ของ Japan Civil Aviation Bureau (JCAB) ว่าได้รับทราบผลการตรวจสอบของ ICAO โครงการ USOAP ซึ่งทางญี่ปุ่นจะไม่อนุมัติให้มีการขยายหรือเปลี่ยนบริการขนส่งทางอากาศ ไม่ว่าจะในรูป การเพิ่มท่าอากาศยานหรือเปลี่ยนแบบอากาศยานที่จะให้บริการไปยังประเทศญี่ปุ่นตามบทบัญญัติในมาตรา 129-3 พร้อมทั้งจะเพิ่มความถี่ในการตรวจสอบ Ramp service ตามข้อ 16 ของอนุสัญญา ว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (อนุสัญญาชิคาโก ค.ศ. 1944 ) โดยจะไม่กระทบถึงผู้ขนส่งทางอากาศของประเทศไทยที่ทำการบินแบบประจำ ซึ่งยังคงสามารถให้บริการขนส่งทางอากาศได้ตามปกติ
สำหรับสายการบินที่ได้ยื่นขอทำการบินแบบเช่าเหมาลำจากประเทศไทยไปยังญี่ปุ่น แต่ได้รับแจ้งว่าไม่อนุญาต คือ ไทย แอร์เอเชีย เอ็กซ์ ไม่ได้รับอนุญาตให้เพิ่มสนามบินที่จะทำการบินไปในเส้นทางฮอกไกโด , สายการบินนก สกู๊ต ไม่ได้รับอนุญาตให้บินเช่าเหมาลำรับขนในช่วงสงกรานต์ ไปยังเมืองเกียวโต และโอซากา , สายการบิน เอเชีย แอตแลนติก ไม่ได้รับอนุญาตให้บินเช่าเหมาลำในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ด้านนายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NOK กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ซีเรียสมาก กระทบกับหลายสายการบิน และจากนี้ไปจะไม่ได้เกิดแค่ที่ญี่ปุ่นเท่านั้นแต่จะเริ่มลุกลามไปที่เกาหลี ยุโรป อเมริกา แต่ยืนยันว่านกสกู๊ตมีทางออก โดยในวันนี้ (27 มี.ค.) คณะกรรมการ (บอร์ด) นกสกู๊ต จะประชุมตามวาระ และจะหารือเรื่องดังกล่าวด้วย
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาทางประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นสมาชิกองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้ออกมาระบุถึงกรณีที่ ICAO ได้พบข้อบกพร่องของกรมการบินพลเรือน (บพ.) ตามโครงการตรวจสอบการกำกับดูแลความปลอดภัยสากล (USOAP) ของ ICAO และทางองค์การการบินของญี่ปุ่นไ ด้ขอให้สายการบินของไทย ที่ทำการบินไปยังญี่ปุ่น
ซึ่งจะครอบคลุมทั้ง 4 สาย คือ สายการบินไทย การบินไทยสมายล์ นกสกู๊ต ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ จะต้องระงับแผนไม่สามารถเพิ่มเที่ยวบิน เปลี่ยนจุดบิน เปิดจุดบินเพิ่ม หรือจุดบินใหม่และเปลี่ยนขนาดเครื่องบิน (Aircraft Type) ได้ ในช่วงตารางบินฤดูร้อน (Summer Schedule) หรือตั้งแต่เดือนเมษายนนี้ ส่วนเส้นทางบินที่มีอยู่เดิม ญี่ปุ่นไม่ได้ระงับการบินใดๆ
โดยสายการบินของไทยยังคงบินได้ตามปกติในเส้นทางบินเดิม จุดบินเดิม และปริมาณเดิม ซึ่งยอมรับว่าการห้ามเพิ่มเที่ยวบินหรือเปิดจุดบินใหม่ดังกล่าว กระทบต่อธุรกิจการบินในช่วงเดือนเมษายน- พฤษภาคม ที่จะมีนักท่องเที่ยวจากไทยไปญี่ปุ่นค่อนข้างมาก ส่วนเที่ยวกลับจะมีนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นมาไทยมากเช่นกัน
ดังนั้นจึงได้เร่งแก้ปัญหาในขณะนี้คือ บพ.และการบินไทยได้เดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น ในวันนี้ (26 มี.ค.) เพื่อเจรจาทำความเข้าใจ ว่าสายการบินของไทยได้มาตรฐานและขอให้เชื่อมั่นในการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีนัยต่อความปลอดภัย (SSC) ว่าจะเป็นไปตามมาตรฐาน ICAO ซึ่งญี่ปุ่นต้องการให้บพ.ส่งแผนงานการแก้ไขและความคืบหน้าตามแนวทางการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะ โดยยินดีพิจารณาทบทวนคำสั่งดังกล่าว จากนั้นจะเดินทางไปยังประเทศเกาหลี จีนและเยอรมนี ถือว่าเป็นประเทศที่เป็นเส้นทางบินหลัก เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจต่อไป พร้อมกันนี้ ในสัปดาห์หน้า ตนจะเรียกประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการปรับปรุงแก้ไขแผนงานต่างๆ และให้คณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) เร่งพิจารณาแผนปรับปรุง แผนปฏิบัติ (Action Plan)
ให้เป็นไปตามเงื่อนไขต่อไป
พล.อ.อ.ประจิน ยอมรับว่า รู้สึกผิดหวังกับปฏิกิริยาของญี่ปุ่นที่ออกมาก่อนเวลาที่ ICAO จะมีการสรุป ซึ่งมีเวลา 90 วัน หรือในเดือนพฤษภาคมก่อน ถึงจะมีมาตรการใดๆ ออกมา และผิดหวัง ICAO ด้วยเพราะที่ผ่านมา ทั้งบพ.และกระทรวงคมนาคมได้ทำงานอย่างหนักเพื่อปรับปรุงแก้ไข โดยมีแผน เช่น แยกบทบาทหน้าที่ของบพ. จากที่รวมศูนย์ทุกเรื่อง โดยแยกด้าน นโยบาย (Policy) มาอยู่ที่กระทรวงคมนาคม และแยกหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) ออกมา
ส่วน Operator นั้นให้หน่วยงานอื่นดูแลแทน เช่น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เป็นต้น ด้านกฎหมายได้ตั้งคณะกรรมการแก้ไขแล้ว และจะเร่งรัดแก้พ.ร.บ.เดินอากาศไทย พ.ศ. 2497 ด้านบุคลากรได้จัดทำแผนปรับปรุง ชัดเจน เราเชื่อมั่นแผนการปรับปรุงที่เสนอไป แต่ ICAO บอกว่ายังไม่ผ่านการรับรอง
“ ขณะนี้ ICAO อยู่ระหว่างประเมินและ บพ. กำลังแก้ไขปรับปรุง เพราะบพ.เป็นผู้ออกใบรับรองใบอนุญาตให้สายการบินของไทย เพื่อทำการบินไปยังประเทศต่างๆ จะต้องเร่งกระบวนการแก้ไขเพราะไม่อยากให้ไทยถูกลดเกรดมาตรฐานการบิน ซึ่งได้ศึกษารูปแบบปัญหาที่ทางอินโดนีเซีย หรือประเทศที่กระทบจาก ICAO ไว้แล้ว ว่าจะแก้ไขอย่างไร ซึ่งยังไม่ขอพูดตอนนี้ รวมถึงแนวทางการเยียวยากรณีถูก ICAO ประกาศเป็นทางการออกมา วันนี้คงย้อนกลับไปเริ่มต้นไม่ได้ เพราะ ICAO ประเมินว่าเรามีปัญหา ต้องเร่งแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ”พล.อ.อ.ประจินกล่าว
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวถึงกรณีที่ญี่ปุ่นออกมาระงับการเพิ่มเที่ยวบินของไทยนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงไปถึงการเมืองภายในประเทศไทยที่ยังอยู่ในช่วงรัฐบาล คสช.หรือไม่ว่า มั่นใจว่าไม่เกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง กรณีนี้เป็นเรื่องทางวิชาชีพ และต้องเชื่อใน ICAO ที่เป็นองค์การการบินสากล อย่างไรก็ตาม ได้กำชับคณะกรรมการ (บอร์ด) และผู้บริหารการบินไทย และบพ. ให้เร่งทำงานเป็นทีมเพื่อแก้ปัญหาให้ได้ โดยเฉพาะประเด็นที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติไปแล้ว เช่น งบประมาณว่าจ้างบุคลากรเพิ่มจำนวน 23 ล้านบาท (มี.ค.-ก.ย. 58) งบประมาณปรับปรุงระบบ Bata Base ต่างๆ 80 ล้านบาท และการแก้ไขปฎหมาย เป็นต้น ทุกระดับต้องร่วมกันแก้ปัญหาเพราะรัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมาก
ด้านบพ.ได้ระบุว่า เมื่อวันที่ 24มีนาคม ที่ผ่านมา ได้รับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ของ Japan Civil Aviation Bureau (JCAB) ว่าได้รับทราบผลการตรวจสอบของ ICAO โครงการ USOAP ซึ่งทางญี่ปุ่นจะไม่อนุมัติให้มีการขยายหรือเปลี่ยนบริการขนส่งทางอากาศ ไม่ว่าจะในรูป การเพิ่มท่าอากาศยานหรือเปลี่ยนแบบอากาศยานที่จะให้บริการไปยังประเทศญี่ปุ่นตามบทบัญญัติในมาตรา 129-3 พร้อมทั้งจะเพิ่มความถี่ในการตรวจสอบ Ramp service ตามข้อ 16 ของอนุสัญญา ว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (อนุสัญญาชิคาโก ค.ศ. 1944 ) โดยจะไม่กระทบถึงผู้ขนส่งทางอากาศของประเทศไทยที่ทำการบินแบบประจำ ซึ่งยังคงสามารถให้บริการขนส่งทางอากาศได้ตามปกติ
สำหรับสายการบินที่ได้ยื่นขอทำการบินแบบเช่าเหมาลำจากประเทศไทยไปยังญี่ปุ่น แต่ได้รับแจ้งว่าไม่อนุญาต คือ ไทย แอร์เอเชีย เอ็กซ์ ไม่ได้รับอนุญาตให้เพิ่มสนามบินที่จะทำการบินไปในเส้นทางฮอกไกโด , สายการบินนก สกู๊ต ไม่ได้รับอนุญาตให้บินเช่าเหมาลำรับขนในช่วงสงกรานต์ ไปยังเมืองเกียวโต และโอซากา , สายการบิน เอเชีย แอตแลนติก ไม่ได้รับอนุญาตให้บินเช่าเหมาลำในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ด้านนายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NOK กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ซีเรียสมาก กระทบกับหลายสายการบิน และจากนี้ไปจะไม่ได้เกิดแค่ที่ญี่ปุ่นเท่านั้นแต่จะเริ่มลุกลามไปที่เกาหลี ยุโรป อเมริกา แต่ยืนยันว่านกสกู๊ตมีทางออก โดยในวันนี้ (27 มี.ค.) คณะกรรมการ (บอร์ด) นกสกู๊ต จะประชุมตามวาระ และจะหารือเรื่องดังกล่าวด้วย