นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เผยไม่หนักใจที่คณะกรรมาธิการ การปฏิรูปการเมือง ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เตรียมเสนอความเห็นคัดค้าน เรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่เปิดช่องให้มาจากคนนอกได้โดยไม่มีเงื่อนไข โดยเห็นว่าเป็นเรื่องดี ที่มีเสียงสะท้อนจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะในประเด็นนี้ กรรมาธิการฯเองก็เคยถกเถียงกันไว้ 3 แนวทาง คือ หากนายกรัฐมนตรีมาจากคนนอก จะต้องเกิดสถานการณ์พิเศษเพื่อให้เห็นชัดเจนเป็นสัญลักษณ์ว่า ในภาวะปกติอยากให้มาจากส.ส. แต่ก็มีปัญหาว่าจะนิยามคำว่า วิกฤตที่หาทางออกไม่ได้ อย่างไร ทำให้มีแนวโน้มว่า หากจะมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนนี้ อาจใช้วิธีกำหนดให้นายกฯ คนนอกมีวาระสั้นกว่าปกติ คือ 2 ปี หรือ ให้ใช้เสียงในสภามากกว่าปกติคือ 2 ใน 3
" เราต้องฟังความเห็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติทุกคนที่มีสิทธิเสนอความเห็น เพื่อนำประเด็นเหล่านั้นมาพิจารณาทุกเรื่อง ยินดีที่มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นมากที่สุด เป็นไปไม่ได้ ที่กรรมาธิการฯ จะดึงดันไม่รับฟังแม้การตัดนสินใจว่า จะมีการเปลี่ยนแปลง เนื้อหาตามที่มีการแปรญัตติหรือไม่จะอยู่ที่กรรมาธิการ ถ้าประเด็นใดเสียงสะท้อนในทิศทางเดียวกันไม่มีเหตุผลคัดค้าน แม้จะไม่ตรงกับกรรมาธิการฯก็ไม่มีเหตุผลที่จะไม่ทบทวน" นายคำนูณ กล่าว
ทั้งนี้ ประเด็นที่แหลมคม พูดกันมาก คือเรื่อง ที่มานายกรัฐมนตรี ที่มาวุฒิสภา อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา นอกนั้นก็มีหลากหลายประเด็น ที่กรรมาธิการทุกคนจดบันทึกไว้ พร้อมนำมาพิจารณา ส่วนเนื้อหาใน ภาค 4 ก็ต้องรับฟังจากสปช. เป็นหลัก เนื่องจากเกี่ยวข้องกับกรรมาธิการทุกคณะของ สปช. มากที่สุด โดยสัปดาห์หน้า จะได้มีการวางแนวทางเกี่ยวกับการชี้แจงต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่จะใช้เวลาถึง 7 วัน 7 คืน โดยเข้าใจว่าต้องหนักแน่ แต่ทำใจไว้แล้ว ในส่วนกรรมาธิการฯ ก็จะใช้วิธีใครถนัดประเด็นใด ก็ให้เป็นผู้ชี้แจงในประเด็นนั้น เพราะทุกคนมีเจตนาดีต่อประเทศชาติทั้งสิ้น แต่ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการพิจารณาของ สปช. ก็ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ยังไม่ได้คิดอะไรล่วงหน้า เนื่องจากยังมีเวลาอีกหลายขั้นตอน ขณะนี้เพิ่งมาถึงครึ่งทางเท่านั้น เราได้นำกลับมาพิจารณาทบทวน ฟังเสียงเห็นต่าง และพร้อมชี้แจงถ้ายังเห็นไม่ตรงกันก็พร้อมทบทวนอาจช่วงนี้ หรือ 25 พ..ค. - 23 ก.ค. ในช่วง 60 วันสุดท้าย ก็ได้
**ชงเลือกตั้ง 2 ปีหนให้คนไทยคิดบ่อยๆ
นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย กล่าวถึงกรณี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ และคณะ เดินทางไปดูงานด้านการเลือกตั้งที่ประเทศเยอรมนี ว่า ส่วนตัวเห็นว่า การที่ กมธ.ยกร่างฯ เดินทางไปดูงานที่ต่างประเทศ และพยายามนำระบบเลือกตั้งในต่างประเทศมาบรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ถือเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องนัก เป็นการตั้งโจทย์ผิดต่อการปฏิรูป เหมือนกับที่ตั้งโจทย์ว่า นักการเมืองคือปัญหา และทำให้เกิดความขัดแย้งในประเทศไทย จนออกแบบร่างรัฐธรรมนูญออกมาเพื่อทำทุกวิถีทางสกัดกั้นนักการเมืองบางกลุ่ม ทั้งที่ในความเป็นจริง คสช. และ กมธ.ยก ร่างฯ ควรมองว่า ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมที่ทำให้ประเทศไทยเป็นเช่นนี้ ทั้งข้าราชการ นักวิชาการ ประชาชน รวมไปถึงคนใน คสช.เอง ดังนั้น ต้องส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ศึกษาหาข้อบกพร่องของตัวเอง ผ่านการเลือกตั้งในแบบของประเทศไทยเอง ไม่ควรไปนำสูตรสำเร็จของประเทศอื่นมาทดลองอีก
นายอุเทน กล่าวต่อว่า การเลือกตั้งเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ควรจะให้มีการเลือกตั้งให้ถี่ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้คิดบ่อยๆ จนคิดได้เองว่า ใครสมควรมาเป็นผู้แทนของเขาในสภาฯ ในทางกลับกัน บรรดานักการเมืองก็ต้องพัฒนาตัวเองแข่งขันกันมากขึ้น ลดการซื้อเสียง เพราะอาจจะไม่คุ้มกับเวลาที่ได้อยู่ในตำแหน่ง โดยเบื้องต้นเห็นว่า จากเดิมที่กำหนดไว้การเลือกตั้ง 4 ปีครั้ง ก็ให้เหลือเพียง 2 ปีต่อครั้ง เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจด้วยตัวเอง ไม่ใช่หลงไปกับอิทธิพลของโฆษณาชวนเชื่อ และเมื่อถึงเวลาหนึ่งที่ประชาชนคิด คิดเองได้แล้ว ก็ค่อยแก้ไขรัฐธรรมนูญขยายเวลาของแต่ละสมัยให้มากขึ้น 3 ปี 4 ปี หรือ 5 ปีก็ว่ากันไปตามความเหมาะสม ส่วนรูปแบบการสรรหาไม่ว่าจะเป็น ส.ว.หรือคณะกรรมการอะไรก็แล้วแต่ ควรจะมีให้น้อยที่สุด หรือไม่มีเลย เพราะถือเป็นการยัดเยียดโดยขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน
" ผมเคยเสนอไปแล้ว ให้สภาฯ มีอายุแค่ 2 ปี เพื่อให้มีการเลือกตั้งถี่ขึ้น เมื่อประชาชนคิดบ่อยๆ ก็จะเกิดการเรียนรู้ตามธรรมชาติ โดยไม่อยากให้มองว่าสิ้นเปลืองงบประมาณ เพราะหากประชาชนเกิดการเรียนรู้ได้จริง ไม่ว่าต้องเสียงบประมาณเท่าใด ก็คุ้มค่า ดีกว่าคิดแต่ประหยัดงบประมาณ แล้วได้ ส.ส.ที่ไม่มีคุณภาพเข้ามา หรือยัดเยียดผ่านกระบวนการสรรหา ซึ่งที่ผ่านมาเป็นต้นตอของการสืบทอดอำนาจ" นายอุเทน กล่าว
" เราต้องฟังความเห็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติทุกคนที่มีสิทธิเสนอความเห็น เพื่อนำประเด็นเหล่านั้นมาพิจารณาทุกเรื่อง ยินดีที่มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นมากที่สุด เป็นไปไม่ได้ ที่กรรมาธิการฯ จะดึงดันไม่รับฟังแม้การตัดนสินใจว่า จะมีการเปลี่ยนแปลง เนื้อหาตามที่มีการแปรญัตติหรือไม่จะอยู่ที่กรรมาธิการ ถ้าประเด็นใดเสียงสะท้อนในทิศทางเดียวกันไม่มีเหตุผลคัดค้าน แม้จะไม่ตรงกับกรรมาธิการฯก็ไม่มีเหตุผลที่จะไม่ทบทวน" นายคำนูณ กล่าว
ทั้งนี้ ประเด็นที่แหลมคม พูดกันมาก คือเรื่อง ที่มานายกรัฐมนตรี ที่มาวุฒิสภา อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา นอกนั้นก็มีหลากหลายประเด็น ที่กรรมาธิการทุกคนจดบันทึกไว้ พร้อมนำมาพิจารณา ส่วนเนื้อหาใน ภาค 4 ก็ต้องรับฟังจากสปช. เป็นหลัก เนื่องจากเกี่ยวข้องกับกรรมาธิการทุกคณะของ สปช. มากที่สุด โดยสัปดาห์หน้า จะได้มีการวางแนวทางเกี่ยวกับการชี้แจงต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่จะใช้เวลาถึง 7 วัน 7 คืน โดยเข้าใจว่าต้องหนักแน่ แต่ทำใจไว้แล้ว ในส่วนกรรมาธิการฯ ก็จะใช้วิธีใครถนัดประเด็นใด ก็ให้เป็นผู้ชี้แจงในประเด็นนั้น เพราะทุกคนมีเจตนาดีต่อประเทศชาติทั้งสิ้น แต่ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการพิจารณาของ สปช. ก็ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ยังไม่ได้คิดอะไรล่วงหน้า เนื่องจากยังมีเวลาอีกหลายขั้นตอน ขณะนี้เพิ่งมาถึงครึ่งทางเท่านั้น เราได้นำกลับมาพิจารณาทบทวน ฟังเสียงเห็นต่าง และพร้อมชี้แจงถ้ายังเห็นไม่ตรงกันก็พร้อมทบทวนอาจช่วงนี้ หรือ 25 พ..ค. - 23 ก.ค. ในช่วง 60 วันสุดท้าย ก็ได้
**ชงเลือกตั้ง 2 ปีหนให้คนไทยคิดบ่อยๆ
นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย กล่าวถึงกรณี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ และคณะ เดินทางไปดูงานด้านการเลือกตั้งที่ประเทศเยอรมนี ว่า ส่วนตัวเห็นว่า การที่ กมธ.ยกร่างฯ เดินทางไปดูงานที่ต่างประเทศ และพยายามนำระบบเลือกตั้งในต่างประเทศมาบรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ถือเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องนัก เป็นการตั้งโจทย์ผิดต่อการปฏิรูป เหมือนกับที่ตั้งโจทย์ว่า นักการเมืองคือปัญหา และทำให้เกิดความขัดแย้งในประเทศไทย จนออกแบบร่างรัฐธรรมนูญออกมาเพื่อทำทุกวิถีทางสกัดกั้นนักการเมืองบางกลุ่ม ทั้งที่ในความเป็นจริง คสช. และ กมธ.ยก ร่างฯ ควรมองว่า ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมที่ทำให้ประเทศไทยเป็นเช่นนี้ ทั้งข้าราชการ นักวิชาการ ประชาชน รวมไปถึงคนใน คสช.เอง ดังนั้น ต้องส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ศึกษาหาข้อบกพร่องของตัวเอง ผ่านการเลือกตั้งในแบบของประเทศไทยเอง ไม่ควรไปนำสูตรสำเร็จของประเทศอื่นมาทดลองอีก
นายอุเทน กล่าวต่อว่า การเลือกตั้งเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ควรจะให้มีการเลือกตั้งให้ถี่ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้คิดบ่อยๆ จนคิดได้เองว่า ใครสมควรมาเป็นผู้แทนของเขาในสภาฯ ในทางกลับกัน บรรดานักการเมืองก็ต้องพัฒนาตัวเองแข่งขันกันมากขึ้น ลดการซื้อเสียง เพราะอาจจะไม่คุ้มกับเวลาที่ได้อยู่ในตำแหน่ง โดยเบื้องต้นเห็นว่า จากเดิมที่กำหนดไว้การเลือกตั้ง 4 ปีครั้ง ก็ให้เหลือเพียง 2 ปีต่อครั้ง เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจด้วยตัวเอง ไม่ใช่หลงไปกับอิทธิพลของโฆษณาชวนเชื่อ และเมื่อถึงเวลาหนึ่งที่ประชาชนคิด คิดเองได้แล้ว ก็ค่อยแก้ไขรัฐธรรมนูญขยายเวลาของแต่ละสมัยให้มากขึ้น 3 ปี 4 ปี หรือ 5 ปีก็ว่ากันไปตามความเหมาะสม ส่วนรูปแบบการสรรหาไม่ว่าจะเป็น ส.ว.หรือคณะกรรมการอะไรก็แล้วแต่ ควรจะมีให้น้อยที่สุด หรือไม่มีเลย เพราะถือเป็นการยัดเยียดโดยขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน
" ผมเคยเสนอไปแล้ว ให้สภาฯ มีอายุแค่ 2 ปี เพื่อให้มีการเลือกตั้งถี่ขึ้น เมื่อประชาชนคิดบ่อยๆ ก็จะเกิดการเรียนรู้ตามธรรมชาติ โดยไม่อยากให้มองว่าสิ้นเปลืองงบประมาณ เพราะหากประชาชนเกิดการเรียนรู้ได้จริง ไม่ว่าต้องเสียงบประมาณเท่าใด ก็คุ้มค่า ดีกว่าคิดแต่ประหยัดงบประมาณ แล้วได้ ส.ส.ที่ไม่มีคุณภาพเข้ามา หรือยัดเยียดผ่านกระบวนการสรรหา ซึ่งที่ผ่านมาเป็นต้นตอของการสืบทอดอำนาจ" นายอุเทน กล่าว