นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการประชุมกรรมาธิการฯ วันนี้ (16 มี.ค.) ว่า ที่ประชุมจะพิจารณาทบทวนความถูกต้องและความสมบูรณ์ ไม่มีการแก้ไขหลักการ ภายในสัปดาห์หน้าจะทบทวนให้ครบ 315 มาตรา การบันทึกสรุปเจตนารมณ์ก็เสร็จเกือบครบแล้ว และจะมีการปรับเปลี่ยนเวลาการประชุมใหม่ โดยวันจันทร์และวันพฤหัสบดี จะประชุมเวลา 09.00-12.00 น. เพื่อเปิดโอกาสให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เข้าร่วมประชุม สปช.และ สนช. ขณะที่วันอังคาร พุธ และศุกร์ จะเริ่มประชุมเวลา 13.30 น. เพื่อเปิดโอกาสให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้เข้าร่วมประชุมอนุกรรมาธิการคณะต่างๆ
ส่วนการวิพากวิจารณ์ประเด็นที่มานายกรัฐมนตรี และระบบเลือกตั้งนั้น โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่า พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย แต่ในชั้นนี้จะไม่มีการแก้ไขในร่างแรก เพราะต้องรับฟังความคิดเห็นจากที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยจะนำทุกเรื่องไปพูดคุยในช่วง 60 วันสุดท้ายของการยกร่างรัฐธรรมนูญ คือ วันที่ 25 พฤษภาคม-23 กรกฎาคม 2558 ซึ่งหลังวันที่ 23 กรกฎาคม จะไม่สามารถแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญได้ และจะลงพื้นที่เพื่อนำร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชนใน 4 จังหวัด เริ่มตั้งแต่วันที่ 3-4 เมษายน ที่จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 2-3 พฤษภาคม ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 16-17 พฤษภาคม ที่จังหวัดขอนแก่น และปิดท้ายที่กรุงเทพมหานคร วันที่ 23-24 พฤษภาคม
ส่วนการวิพากวิจารณ์ประเด็นที่มานายกรัฐมนตรี และระบบเลือกตั้งนั้น โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่า พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย แต่ในชั้นนี้จะไม่มีการแก้ไขในร่างแรก เพราะต้องรับฟังความคิดเห็นจากที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยจะนำทุกเรื่องไปพูดคุยในช่วง 60 วันสุดท้ายของการยกร่างรัฐธรรมนูญ คือ วันที่ 25 พฤษภาคม-23 กรกฎาคม 2558 ซึ่งหลังวันที่ 23 กรกฎาคม จะไม่สามารถแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญได้ และจะลงพื้นที่เพื่อนำร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชนใน 4 จังหวัด เริ่มตั้งแต่วันที่ 3-4 เมษายน ที่จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 2-3 พฤษภาคม ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 16-17 พฤษภาคม ที่จังหวัดขอนแก่น และปิดท้ายที่กรุงเทพมหานคร วันที่ 23-24 พฤษภาคม