นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการคณะกรรมาธิการ(กมธ.) วิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมาธิการ สปช. ทั้ง 18 คณะ อยู่ระหว่างเตรียมประเด็นที่จะอภิปราย ร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ในช่วงวันที่ 20-26 เม.ย.นี้ หลังจากนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. กำชับ และมอบหมายให้ กมธ.ปฏิรูป สปช. ทั้ง 18 คณะ ดูประเด็นของร่างรัฐธรรมนูญ ให้ครอบคลุม แต่ส่วนหนึ่งจะมีการอภิปราย เสนอให้บรรจุการปฏิรูปแต่ละด้านไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย
ส่วนเรื่องการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังอยู่ในชั้นพิจารณาว่า จะแก้ไขอย่างไรบ้าง เพราะตามรัฐธรรมนูญ สปช. 25 คน เสนอแปรญัตติเดียวกันได้ใน 1 เรื่อง และสามารถเสนอแก้ไขในหลายประเด็น แต่ต้องอยู่ในเรื่องเดียวกัน จากนั้นวิปสปช. จะจัดกลุ่มให้ได้ 25 คน ต่อ 1 คำแปรญัตติ
นายวันชัย สอนศิริ สปช. กล่าวว่า สำหรับประเด็นที่ สปช.จะอภิปราย ร่างรัฐธรรมนูญนั้น จะต้องมีการการพูดคุยให้ตกผลึกก่อนในการสัมมนา วันที่ 26-27 มี.ค. ที่พัทยา จ.ชลบุรี ซึ่งเราได้ให้กรรมาธิการฯ แต่ละคนคิดประเด็นไปล่วงหน้าแล้ว ทั้งนี้ ส่วนตัวเชื่อว่า ประเด็นที่จะได้รับความสนใจ และมีการอภิปรายกันมาก คือเรื่องการเลือกตั้ง ที่มาของ ส.ส.และ ส.ว. ที่มาของนายกรัฐมนตรี เรื่ององค์กรอิสระ ศาล รวมถึงการจัดตั้งองค์กรปฏิรูป และการตั้งคณะกรรมการดูเรื่องการสร้างความปรองดอง
ส่วนการยื่นแปรญัตติ ร่าง รัฐธรรมนูญ จะยื่นได้หลังวันที่ 26 เม.ย. โดยมีการแบ่งกลุ่มไม่เกิน 25 คน เพื่อขอยื่นแปรญัตติในประเด็นเดียวกัน ซึ่ง 1 คน สามารถรับรองได้เพียงญัตติเดียว แต่ในญัตติเดียว สามารถมีหลายประเด็นได้
นายไพบูลย์ นิติตะวัน สปช. ในฐานะกรรมาธิการยกร่างฯ กล่าวว่า ในวันที่ 23 มี.ค. เวลา 09.30 น. คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สปช. จะประชุมกำหนดประเด็นการพิจารณาร่างรธน. ซึ่งส่วนตัวมีสิทธิที่จะอภิปราย แม้เป็นกรรมาธิการยกร่างฯ แต่ตนยังไม่ตัดสินใจว่า จะอภิปรายหรือไม่
** อย่าลืมเรื่องปฏิรูปตำรวจ
นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย กล่าวว่า ประเด็นปฏิรูปตำรวจ กำลังถูกยัดใส่ลิ้นชัก และทำให้หายไปจากกระบวนการปฏิรูปรอบนี้ ทั้งๆ ที่เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ และเป็นประเด็นที่สังคมอยากเห็นการปฎิรูปมากที่สุด แต่กลับกลายเป็นเรื่องที่เงียบที่สุด และหายไปจากเวทีปฏิรูปเร็วที่สุด
ในคณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูประบบยุติธรรมฯ ของ สปช. ที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง ก็ไม่มีความคืบหน้า ไม่เห็นการผลักดันที่เห็นรูปธรรมใดๆ แรกๆ ก็ดูดี มีหลายคนรับไปผลักดัน แต่สุดท้ายในกรรมาธิการวิสามัญฯ ก็ถูกเบรก ถูกขวาง จากนายตำรวจใหญ่หลายคน หาข้อยุติในเรื่องใหญ่ๆ ไม่ได้ จนเรื่องเงียบหายไปในที่สุด
ประเด็นใหญ่ๆ ที่สังคมอยากเห็น เช่น การแยกอำนาจสอบสวน ออกจากอำนาจสืบสวน การกระจายอำนาจ การเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน ถูกขวางจากกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย ทั้งในและนอก กรรมาธิการวิสามัญฯ สปช.
ก่อนหน้านี้ ผบ.ตร. ก็ให้สัญญากับประชาชนว่า จะตั้งคณะทำงานปฏิรูปตำรวจของสตช.ขึ้นมา เพื่อทำข้อเสนอปฏิรูปควบคู่กันไป สุดท้ายก็ไม่มีอะไรคืบหน้า ทั้งๆ ที่เรื่องตำรวจเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด และประชาชนต้องการเห็นการปฏิรูปมากที่สุด อาจมากกว่าทุกเรื่องก็ว่าได้ แต่ไปไม่ถึงไหน เป็นแค่ไฟไหม้ฟาง
ต้องไม่ลืมว่า กลไกอำนาจอย่างตำรวจ ถือเป็นอำนาจรัฐ ที่ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตประจำของประชาชนมากที่สุด ถ้าตำรวจ หรือกลไกอำนาจนี้ไม่ถูกปฏิรูป ก็อาจกระทบต่อภาพรวมของการปฏิรูปในเรื่องอื่นๆ และจะไม่มีหลักประกันใดๆ ที่คาดหวัง และเชื่อมั่นได้ เพราะปัญหาตำรวจเป็นภาพสะท้อนของสังคมที่ป่วยไข้ ไม่ว่าจะเป็นการเป็นเครื่องมือนักการเมือง การเลือกปฏิบัติ การกดขี่กลั่นแกล้งประชาชน
คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สปช.ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ หรือแม้แต่กมธ.ยกร่างฯ ต้องชี้แจงต่อสังคม ว่าเกิดอะไรขึ้น ก่อนที่ทุกอย่างจะเสียของและ สังคมจะได้รู้ข้อเท็จจริง
**ให้ฉายา รธน.ภายใต้กระบอกปืน
นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ แถลงคัดค้านเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็น ประธานกมธ.ยกร่างฯ โดยให้เหตุผลว่า เป็นการกำหนดหลักการใหม่ ในการร่างรธน. ภายใต้กระบอกปืน ทั้งที่ไม่ควรจะไปด้วยกัน มีเนื้อหาไม่เป็นประชาธิปไตย และไม่สะท้อนถึงการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งร่างเช่นนี้ จะไม่มีทางผ่านได้เลยหากผู้มีอำนาจไม่สนับสนุน จึงขอคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญนี้ใน10 ประเด็น ดังนี้
1. ส.ส.เขตเหลือเพียง 250 คน ไม่สะท้อนกับความเป็นจริงที่ ส.ส.ต้องดูแลคนจำนวนมาก 2. บัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้นเป็น 200 คน เลือกแบบโอเพ่นลิสต์ สร้างความแตกแยกในหมู่ผู้สมัครของพรรคการเมือง 3 . นายกรัฐมนตรีมาจากคนนอก 4. วุฒิสภา 200 คน มาจากการลากตั้ง 5. วุฒิสภามีอำนาจล้นฟ้า ตรวจสอบประวัติ และพฤติกรรมคณะรัฐมนตรีก่อนเข้าดำรงตำแหน่งได้ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์
6. ถ้ามีการลงมติเสียงไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีมากกว่ากึ่งหนึ่ง นายกฯมีอำนาจยุบสภาได้ 7. การให้มีคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งแทน แทนคณะกรรมการเลือกตั้งเปิดโอกาสให้การเมืองเข้าไปแทรกแซงได้โดยง่าย 8. ยุบผู้ตรวจการแผ่นดินรวมกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 9. มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อกำกับดูแลการทำงานเหนือรัฐบาลอีกชั้นหนึ่ง และ 10. ให้มีสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ที่ตนขอเรียกว่า"สภาขับเคลื่อนรถถัง เพื่อการปฏิรูป"
"การเขียนแบบนี้ จะไม่อาจเกิดขึ้นเลยถ้าไม่มีอำนาจเด็ดขาดสนับสนุน และสะท้อนให้เห็นว่านายบวรศักดิ์ เขียนรัฐธรรมนูญดีกว่าใบสั่ง ที่สั่งมาอีก การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ อยู่บนพื้นฐานที่คิดว่านักการเมืองเลวทั้งหมด ซึ่งถือว่าไม่ยุติธรรม จึงเชื่อว่านายบวรศักดิ์ อาจทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. และนายกรัฐมนตรี เสียคนในที่สุด จึงขอร้อง พล.อ.ประยุทธ์ ว่า อย่าบ้าจี้คล้อยตามสิ่งที่นักวิชาการกลุ่มนี้เสนอ เพราะจะทำให้ประชาชนทั้งประเทศเกิดความแตกแยก เป็นชนวนให้มีการเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งมีบทเรียนทางประวัติศาสตร์มาแล้วถึงสองครั้ง คือ 14 ตุลาคม 2516 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 35 และนายบวรศักดิ์ กำลังนำประเทศชาติไปสู่เหตุการณ์ที่ไม่ควรจะเกิดในประเทศไทย ถ้าประชาชนออกมาคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จำนวนมาก อาจจะเกิดความรุนแรง และ พล.อ.ประยุทธ์ ก็จะกลายเป็นนายกฯ มือเปื้อนเลือดในที่สุด ผมไม่ต้องการเห็นบ้านเมืองไปถึงขนาดนั้น และถ้า คสช. ต้องการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผมขอเรียกร้องให้ทำประชามติ ถามประชาชนทั้งประเทศ แต่ถ้ามีการลงมติไม่รับร่างนี้ ขอร้องให้ใช้อำนาจตาม มาตรา 44 เพื่อนำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้โดยเร็ว อย่าได้สืบทอดอนาจ เพราะจะเป็นเงื่อนไขก่อให้เกิดความรุนแรงในที่สุด" นายวัชระ กล่าว
** โฆษกคสช.โต้"จารุพงศ์"
พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณี นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และ เลขาธิการองค์กรเสรีไทยฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว มีใจความว่า รัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังร่างอยู่นั้น ผิดหลักกติกาสากล เพราะคนร่างรัฐธรรมนูญ คือคนที่ คสช. ตั้งขึ้นมา แต่หลักการประชาธิปไตย ต้องให้ประชาชนเป็นผู้เลือกเข้ามา ทำให้มีเจตนาจะกดขี่ประชาชน โดยอำนาจเผด็จการว่าต้องทำความเข้าใจว่า คสช. เป็นผู้อนุมัติตามขั้นตอน ทั้งนี้ นายจารุพงศ์ พูดในลักษณะลอยๆ และไม่ศึกษาข้อมูลให้ดี เพราะที่มาของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น มีตัวแทนที่มาจากหลายภาคส่วนเป็นผู้คัดเลือก ซึ่งรวมถึงตัวแทนจากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่คัดเลือกกันเอง ทั้งนี้ ต้องศึกษาว่า การคัดเลือกกรรมาธิการยกร่างฯ ก็มีรายละเอียดที่มา และตนเชื่อว่า สังคมให้การยอมรับ อย่างไรก็ตาม มุมมองของนายจารุพงศ์ มีข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน เช่น สปช.จังหวัด ก็เป็นตัวแทนในส่วนของจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ที่มาจากองค์กรบริหารงานภายในจังหวัด ที่มีความน่าเชื่อถือ และมีระบบการคัดเลือกเป็นที่ยอมรับได้
"คสช. เป็นเพียงองค์กรสุดท้าย ที่เป็นผู้อนุมัติตามขั้นตอนเท่านั้น และทุกกระบวนการการคัดเลือกกรรมาธิการยกร่างฯ ก็ต้องผ่านความเห็นชอบตามขั้นตอนต่างๆ ที่สังคมให้การยอมรับ" โฆษกคสช. กล่าว
ส่วนเรื่องการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังอยู่ในชั้นพิจารณาว่า จะแก้ไขอย่างไรบ้าง เพราะตามรัฐธรรมนูญ สปช. 25 คน เสนอแปรญัตติเดียวกันได้ใน 1 เรื่อง และสามารถเสนอแก้ไขในหลายประเด็น แต่ต้องอยู่ในเรื่องเดียวกัน จากนั้นวิปสปช. จะจัดกลุ่มให้ได้ 25 คน ต่อ 1 คำแปรญัตติ
นายวันชัย สอนศิริ สปช. กล่าวว่า สำหรับประเด็นที่ สปช.จะอภิปราย ร่างรัฐธรรมนูญนั้น จะต้องมีการการพูดคุยให้ตกผลึกก่อนในการสัมมนา วันที่ 26-27 มี.ค. ที่พัทยา จ.ชลบุรี ซึ่งเราได้ให้กรรมาธิการฯ แต่ละคนคิดประเด็นไปล่วงหน้าแล้ว ทั้งนี้ ส่วนตัวเชื่อว่า ประเด็นที่จะได้รับความสนใจ และมีการอภิปรายกันมาก คือเรื่องการเลือกตั้ง ที่มาของ ส.ส.และ ส.ว. ที่มาของนายกรัฐมนตรี เรื่ององค์กรอิสระ ศาล รวมถึงการจัดตั้งองค์กรปฏิรูป และการตั้งคณะกรรมการดูเรื่องการสร้างความปรองดอง
ส่วนการยื่นแปรญัตติ ร่าง รัฐธรรมนูญ จะยื่นได้หลังวันที่ 26 เม.ย. โดยมีการแบ่งกลุ่มไม่เกิน 25 คน เพื่อขอยื่นแปรญัตติในประเด็นเดียวกัน ซึ่ง 1 คน สามารถรับรองได้เพียงญัตติเดียว แต่ในญัตติเดียว สามารถมีหลายประเด็นได้
นายไพบูลย์ นิติตะวัน สปช. ในฐานะกรรมาธิการยกร่างฯ กล่าวว่า ในวันที่ 23 มี.ค. เวลา 09.30 น. คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สปช. จะประชุมกำหนดประเด็นการพิจารณาร่างรธน. ซึ่งส่วนตัวมีสิทธิที่จะอภิปราย แม้เป็นกรรมาธิการยกร่างฯ แต่ตนยังไม่ตัดสินใจว่า จะอภิปรายหรือไม่
** อย่าลืมเรื่องปฏิรูปตำรวจ
นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย กล่าวว่า ประเด็นปฏิรูปตำรวจ กำลังถูกยัดใส่ลิ้นชัก และทำให้หายไปจากกระบวนการปฏิรูปรอบนี้ ทั้งๆ ที่เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ และเป็นประเด็นที่สังคมอยากเห็นการปฎิรูปมากที่สุด แต่กลับกลายเป็นเรื่องที่เงียบที่สุด และหายไปจากเวทีปฏิรูปเร็วที่สุด
ในคณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูประบบยุติธรรมฯ ของ สปช. ที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง ก็ไม่มีความคืบหน้า ไม่เห็นการผลักดันที่เห็นรูปธรรมใดๆ แรกๆ ก็ดูดี มีหลายคนรับไปผลักดัน แต่สุดท้ายในกรรมาธิการวิสามัญฯ ก็ถูกเบรก ถูกขวาง จากนายตำรวจใหญ่หลายคน หาข้อยุติในเรื่องใหญ่ๆ ไม่ได้ จนเรื่องเงียบหายไปในที่สุด
ประเด็นใหญ่ๆ ที่สังคมอยากเห็น เช่น การแยกอำนาจสอบสวน ออกจากอำนาจสืบสวน การกระจายอำนาจ การเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน ถูกขวางจากกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย ทั้งในและนอก กรรมาธิการวิสามัญฯ สปช.
ก่อนหน้านี้ ผบ.ตร. ก็ให้สัญญากับประชาชนว่า จะตั้งคณะทำงานปฏิรูปตำรวจของสตช.ขึ้นมา เพื่อทำข้อเสนอปฏิรูปควบคู่กันไป สุดท้ายก็ไม่มีอะไรคืบหน้า ทั้งๆ ที่เรื่องตำรวจเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด และประชาชนต้องการเห็นการปฏิรูปมากที่สุด อาจมากกว่าทุกเรื่องก็ว่าได้ แต่ไปไม่ถึงไหน เป็นแค่ไฟไหม้ฟาง
ต้องไม่ลืมว่า กลไกอำนาจอย่างตำรวจ ถือเป็นอำนาจรัฐ ที่ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตประจำของประชาชนมากที่สุด ถ้าตำรวจ หรือกลไกอำนาจนี้ไม่ถูกปฏิรูป ก็อาจกระทบต่อภาพรวมของการปฏิรูปในเรื่องอื่นๆ และจะไม่มีหลักประกันใดๆ ที่คาดหวัง และเชื่อมั่นได้ เพราะปัญหาตำรวจเป็นภาพสะท้อนของสังคมที่ป่วยไข้ ไม่ว่าจะเป็นการเป็นเครื่องมือนักการเมือง การเลือกปฏิบัติ การกดขี่กลั่นแกล้งประชาชน
คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สปช.ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ หรือแม้แต่กมธ.ยกร่างฯ ต้องชี้แจงต่อสังคม ว่าเกิดอะไรขึ้น ก่อนที่ทุกอย่างจะเสียของและ สังคมจะได้รู้ข้อเท็จจริง
**ให้ฉายา รธน.ภายใต้กระบอกปืน
นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ แถลงคัดค้านเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็น ประธานกมธ.ยกร่างฯ โดยให้เหตุผลว่า เป็นการกำหนดหลักการใหม่ ในการร่างรธน. ภายใต้กระบอกปืน ทั้งที่ไม่ควรจะไปด้วยกัน มีเนื้อหาไม่เป็นประชาธิปไตย และไม่สะท้อนถึงการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งร่างเช่นนี้ จะไม่มีทางผ่านได้เลยหากผู้มีอำนาจไม่สนับสนุน จึงขอคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญนี้ใน10 ประเด็น ดังนี้
1. ส.ส.เขตเหลือเพียง 250 คน ไม่สะท้อนกับความเป็นจริงที่ ส.ส.ต้องดูแลคนจำนวนมาก 2. บัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้นเป็น 200 คน เลือกแบบโอเพ่นลิสต์ สร้างความแตกแยกในหมู่ผู้สมัครของพรรคการเมือง 3 . นายกรัฐมนตรีมาจากคนนอก 4. วุฒิสภา 200 คน มาจากการลากตั้ง 5. วุฒิสภามีอำนาจล้นฟ้า ตรวจสอบประวัติ และพฤติกรรมคณะรัฐมนตรีก่อนเข้าดำรงตำแหน่งได้ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์
6. ถ้ามีการลงมติเสียงไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีมากกว่ากึ่งหนึ่ง นายกฯมีอำนาจยุบสภาได้ 7. การให้มีคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งแทน แทนคณะกรรมการเลือกตั้งเปิดโอกาสให้การเมืองเข้าไปแทรกแซงได้โดยง่าย 8. ยุบผู้ตรวจการแผ่นดินรวมกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 9. มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อกำกับดูแลการทำงานเหนือรัฐบาลอีกชั้นหนึ่ง และ 10. ให้มีสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ที่ตนขอเรียกว่า"สภาขับเคลื่อนรถถัง เพื่อการปฏิรูป"
"การเขียนแบบนี้ จะไม่อาจเกิดขึ้นเลยถ้าไม่มีอำนาจเด็ดขาดสนับสนุน และสะท้อนให้เห็นว่านายบวรศักดิ์ เขียนรัฐธรรมนูญดีกว่าใบสั่ง ที่สั่งมาอีก การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ อยู่บนพื้นฐานที่คิดว่านักการเมืองเลวทั้งหมด ซึ่งถือว่าไม่ยุติธรรม จึงเชื่อว่านายบวรศักดิ์ อาจทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. และนายกรัฐมนตรี เสียคนในที่สุด จึงขอร้อง พล.อ.ประยุทธ์ ว่า อย่าบ้าจี้คล้อยตามสิ่งที่นักวิชาการกลุ่มนี้เสนอ เพราะจะทำให้ประชาชนทั้งประเทศเกิดความแตกแยก เป็นชนวนให้มีการเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งมีบทเรียนทางประวัติศาสตร์มาแล้วถึงสองครั้ง คือ 14 ตุลาคม 2516 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 35 และนายบวรศักดิ์ กำลังนำประเทศชาติไปสู่เหตุการณ์ที่ไม่ควรจะเกิดในประเทศไทย ถ้าประชาชนออกมาคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จำนวนมาก อาจจะเกิดความรุนแรง และ พล.อ.ประยุทธ์ ก็จะกลายเป็นนายกฯ มือเปื้อนเลือดในที่สุด ผมไม่ต้องการเห็นบ้านเมืองไปถึงขนาดนั้น และถ้า คสช. ต้องการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผมขอเรียกร้องให้ทำประชามติ ถามประชาชนทั้งประเทศ แต่ถ้ามีการลงมติไม่รับร่างนี้ ขอร้องให้ใช้อำนาจตาม มาตรา 44 เพื่อนำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้โดยเร็ว อย่าได้สืบทอดอนาจ เพราะจะเป็นเงื่อนไขก่อให้เกิดความรุนแรงในที่สุด" นายวัชระ กล่าว
** โฆษกคสช.โต้"จารุพงศ์"
พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณี นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และ เลขาธิการองค์กรเสรีไทยฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว มีใจความว่า รัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังร่างอยู่นั้น ผิดหลักกติกาสากล เพราะคนร่างรัฐธรรมนูญ คือคนที่ คสช. ตั้งขึ้นมา แต่หลักการประชาธิปไตย ต้องให้ประชาชนเป็นผู้เลือกเข้ามา ทำให้มีเจตนาจะกดขี่ประชาชน โดยอำนาจเผด็จการว่าต้องทำความเข้าใจว่า คสช. เป็นผู้อนุมัติตามขั้นตอน ทั้งนี้ นายจารุพงศ์ พูดในลักษณะลอยๆ และไม่ศึกษาข้อมูลให้ดี เพราะที่มาของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น มีตัวแทนที่มาจากหลายภาคส่วนเป็นผู้คัดเลือก ซึ่งรวมถึงตัวแทนจากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่คัดเลือกกันเอง ทั้งนี้ ต้องศึกษาว่า การคัดเลือกกรรมาธิการยกร่างฯ ก็มีรายละเอียดที่มา และตนเชื่อว่า สังคมให้การยอมรับ อย่างไรก็ตาม มุมมองของนายจารุพงศ์ มีข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน เช่น สปช.จังหวัด ก็เป็นตัวแทนในส่วนของจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ที่มาจากองค์กรบริหารงานภายในจังหวัด ที่มีความน่าเชื่อถือ และมีระบบการคัดเลือกเป็นที่ยอมรับได้
"คสช. เป็นเพียงองค์กรสุดท้าย ที่เป็นผู้อนุมัติตามขั้นตอนเท่านั้น และทุกกระบวนการการคัดเลือกกรรมาธิการยกร่างฯ ก็ต้องผ่านความเห็นชอบตามขั้นตอนต่างๆ ที่สังคมให้การยอมรับ" โฆษกคสช. กล่าว