นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยอมรับว่า มีกระแสกดดันมากขึ้น เกี่ยวกับเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ แต่อยากให้สังคมเข้าใจว่า ร่างดังกล่าวยังอยู่ในวิสัยที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ แม้ว่าในชั้นกรรมาธิการฯ ขณะนี้ จะเป็นเพียงแค่การทบทวนรายละเอียดแต่ละมาตราที่ผ่านการพิจารณาไปแล้วโดยไม่ทบทวนหลักการก็ตาม เนื่องจากรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 กำหนดให้ ครม. คสช. และ สปช. สามารถเสนอขอแก้ไขเนื้อหาในรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งทางกรรมาธิการฯ จะส่งร่างรัฐธรรมนูญให้ สปช. ในวันที่ 17 เม.ย. และส่งให้ ครม.กับ คสช. ในวันที่ 26 เม.ย. เพื่อให้มีเวลาพิจารณา และยื่นคำแปรญัตติตามกรอบเวลา 30 วัน ในวันที่ 23 ก.ค.
นอกจากนี้ในการอภิปรายของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ตั้งแต่วันที่ 20-26 เม.ย. ซึ่งเป็นเวลาถึง 7 วัน 7 คืน ก็น่าจะมีการเสนอความเห็นที่หลากหลาย โดยตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวให้ สปช. เสนอคำขอแก้ไขได้ 10 เรื่อง แต่ไม่ได้บังคับว่า ในแต่ละเรื่องต้องเป็นการแก้ไขประเด็นเดียวเท่านั้น ให้เป็นคำขอแก้ไขได้ทั่วไป เช่น อาจมีการเสนอให้แก้ไขทั้งร่างก็ได้
หลังจากได้รับคำแปรญัตติจากทั้ง สปช. ครม. และคสช. แล้ว กรรมาธิการยกร่างฯ จะทบทวนทุกอย่างตามที่มีการเสนอมาว่ามีจุดร่วมจุดต่างอย่างไร รวมถึงกระแสสังคมจากภายนอกที่แสดงความเห็นก็จะเป็นปัจจัยประกอบในการตัดสินใจด้วย อย่างไรก็ตาม ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ กำหนดให้เป็นอำนาจของกรรมาธิการฯ ว่าจะแก้ไขตามที่มีการแปรญัตติ หรือจะคงตามร่างเดิมก็ได้ เนื่องจากไม่ได้ให้ สปช. ลงมติเป็นรายมาตราเหมือนตอนร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 แต่ให้ลงมติทั้งฉบับ ในคราวเดียว
"กรรมาธิการฯ ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่าจะต้องเดินตามร่างรัฐธรรมนูญนี้เท่านั้น เพราะทุกคนมีจิตใจบริสุทธิ์ ที่ต้องการแก้ปัญหาชาติ แม้จะรับประกันไม่ได้ว่า สิ่งที่ออกแบบอยู่ในขณะนี้จะแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนจริงหรือไม่ แต่ก็ทำเท่าที่สติปัญญาจะมีโดยดูจากพื้นฐานปัญหาของชาติเป็นหลัก จึงเชื่อว่า กรรมาธิการฯ จะไม่เพิกเฉยต่อเสียงสะท้อนของสังคมที่มีเหตุผลอย่างแน่นอน"
สำหรับประเด็นที่คาดว่า จะมีการขอแก้ไขจากกระแสวิจารณ์ขณะนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง อาทิ ประเด็นที่มาวุฒิสภา กรณีไม่บังคับว่านายกรัฐมนตรี ไม่ต้องเป็น ส.ส. ซึ่งยังมีแนวคิดสองทาง คือ ควรเป็น ส.ส.หรือไม่เป็นก็ได้ แต่ต้องกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจน รวมถึงระบบเลือกตั้งในแบบผสม ที่ให้ประชาชนจัดลำดับบัญชีรายชื่อได้เอง เป็นเรื่องที่มีการโต้แย้งอยู่ นอกจากนั้น ก็คงเป็นเรื่องการคุ้มครองนายกและครม.มากเกินไปหรือไม่ ในกรณีลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ แล้วสภาต้องสิ้นสภาพไปด้วย และการถกเถียงเกี่ยวกับอำนาจวุฒิสภา ที่สามารถริเริ่มพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ได้ ควรกำหนดเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปหรือไม่
ส่วนกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญ ภาค 4 การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง กำหนดบททั่วไปเสมือนคงอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ไว้ 5 ปี เหนืออำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ นั้น นายคำนูณ กล่าวว่า เป็นความเห็นที่กรรมาธิการฯ รับฟัง แต่ที่กำหนดเช่นนี้ ก็เพราะไม่ต้องการให้สังคมไทยกลับไปสู่ความขัดแย้งเหมือนเดิม และอยากเห็นการปฏิรูปเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นการสืบทอดอำนาจตามที่มีการวิจารณ์ในขณะนี้ ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างสมบูรณ์ แต่ประเด็นสำคัญคือ รัฐบาลที่บริหารในภาวะที่มีอำนาจพิเศษอยู่ที่ต้องตัดสินใจในเรื่องการปฏิรูปที่สามารถทำได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอรัฐธรรมนูญใหม่ ทั้งหมดด้วย
นอกจากนี้ในการอภิปรายของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ตั้งแต่วันที่ 20-26 เม.ย. ซึ่งเป็นเวลาถึง 7 วัน 7 คืน ก็น่าจะมีการเสนอความเห็นที่หลากหลาย โดยตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวให้ สปช. เสนอคำขอแก้ไขได้ 10 เรื่อง แต่ไม่ได้บังคับว่า ในแต่ละเรื่องต้องเป็นการแก้ไขประเด็นเดียวเท่านั้น ให้เป็นคำขอแก้ไขได้ทั่วไป เช่น อาจมีการเสนอให้แก้ไขทั้งร่างก็ได้
หลังจากได้รับคำแปรญัตติจากทั้ง สปช. ครม. และคสช. แล้ว กรรมาธิการยกร่างฯ จะทบทวนทุกอย่างตามที่มีการเสนอมาว่ามีจุดร่วมจุดต่างอย่างไร รวมถึงกระแสสังคมจากภายนอกที่แสดงความเห็นก็จะเป็นปัจจัยประกอบในการตัดสินใจด้วย อย่างไรก็ตาม ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ กำหนดให้เป็นอำนาจของกรรมาธิการฯ ว่าจะแก้ไขตามที่มีการแปรญัตติ หรือจะคงตามร่างเดิมก็ได้ เนื่องจากไม่ได้ให้ สปช. ลงมติเป็นรายมาตราเหมือนตอนร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 แต่ให้ลงมติทั้งฉบับ ในคราวเดียว
"กรรมาธิการฯ ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่าจะต้องเดินตามร่างรัฐธรรมนูญนี้เท่านั้น เพราะทุกคนมีจิตใจบริสุทธิ์ ที่ต้องการแก้ปัญหาชาติ แม้จะรับประกันไม่ได้ว่า สิ่งที่ออกแบบอยู่ในขณะนี้จะแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนจริงหรือไม่ แต่ก็ทำเท่าที่สติปัญญาจะมีโดยดูจากพื้นฐานปัญหาของชาติเป็นหลัก จึงเชื่อว่า กรรมาธิการฯ จะไม่เพิกเฉยต่อเสียงสะท้อนของสังคมที่มีเหตุผลอย่างแน่นอน"
สำหรับประเด็นที่คาดว่า จะมีการขอแก้ไขจากกระแสวิจารณ์ขณะนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง อาทิ ประเด็นที่มาวุฒิสภา กรณีไม่บังคับว่านายกรัฐมนตรี ไม่ต้องเป็น ส.ส. ซึ่งยังมีแนวคิดสองทาง คือ ควรเป็น ส.ส.หรือไม่เป็นก็ได้ แต่ต้องกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจน รวมถึงระบบเลือกตั้งในแบบผสม ที่ให้ประชาชนจัดลำดับบัญชีรายชื่อได้เอง เป็นเรื่องที่มีการโต้แย้งอยู่ นอกจากนั้น ก็คงเป็นเรื่องการคุ้มครองนายกและครม.มากเกินไปหรือไม่ ในกรณีลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ แล้วสภาต้องสิ้นสภาพไปด้วย และการถกเถียงเกี่ยวกับอำนาจวุฒิสภา ที่สามารถริเริ่มพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ได้ ควรกำหนดเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปหรือไม่
ส่วนกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญ ภาค 4 การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง กำหนดบททั่วไปเสมือนคงอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ไว้ 5 ปี เหนืออำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ นั้น นายคำนูณ กล่าวว่า เป็นความเห็นที่กรรมาธิการฯ รับฟัง แต่ที่กำหนดเช่นนี้ ก็เพราะไม่ต้องการให้สังคมไทยกลับไปสู่ความขัดแย้งเหมือนเดิม และอยากเห็นการปฏิรูปเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นการสืบทอดอำนาจตามที่มีการวิจารณ์ในขณะนี้ ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างสมบูรณ์ แต่ประเด็นสำคัญคือ รัฐบาลที่บริหารในภาวะที่มีอำนาจพิเศษอยู่ที่ต้องตัดสินใจในเรื่องการปฏิรูปที่สามารถทำได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอรัฐธรรมนูญใหม่ ทั้งหมดด้วย