ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”ประสาน “เกษตร” รับมือมะนาวแพง ป้อนน้ำมะนาวที่แปรรูปไว้ช่วงผลผลิตมากเข้าสู่ตลาด และทำการเชื่อมโยงผลผลิตมะนาวกระจายสู่พื้นที่ต่างๆ เผยล่าสุดราคาทะลุลูกละ 5 บาทแล้ว คาดขยับขึ้นอีก หลังแล้งมาไว คอชามะนาว คอส้มตำ มีสิทธิ์ได้กินแพงขึ้น หลังพ่อค้าแม่ค้าจ่อขอปรับขึ้นราคา
นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ในช่วงนี้ราคาสินค้าเกษตรบางรายการมีราคาปรับตัวสูงขึ้น เพราะเป็นไปตามฤดูกาล โดยเฉพาะมะนาว เนื่องจากในปีนี้ฤดูแล้งมาเร็วกว่าทุกๆ ปี ทำให้ผลผลิตสินค้ามีปริมาณน้อย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีการประสานงานในการรับมือมาอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงเกษตรฯได้นำมะนาวในช่วงที่ราคาถูกไปแปรรูปเป็นน้ำมะนาว เพื่อรอจำหน่าย ซึ่งจะเป็นนทางเลือกในการบริโภค ขณะที่กรมฯ ได้ทำการเชื่อมโยงแหล่งผลิตมะนาวมายังพื้นที่ต่างๆ เพื่อป้อนมะนาวเข้าสู่ตลาด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคามะนาวได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดราคามะนาวในช่วงเดือนมี.ค.2558 พบว่าบางพื้นที่มะนาวแป้นเบอร์ 1-2 ราคาปรับสูงต่อเนื่อง โดยราคาเฉลี่ยล่าสุดอยู่ที่ประมาณลูกละ 5 บาท และบางพื้นที่ราคาจะสูงกว่านี้ โดยราคาเฉลี่ยแพงสุดส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคใต้ เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกหลายแห่งประสบปัญหาภัยแล้งจึงส่งผลให้ผลผลิตออกมาน้อย ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด
ขณะเดียวกันพ่อค้าแม่ค้าต่างประเมินราคามะนาวมีแนวโน้มสูงขึ้นอีก ทำให้ร้านค้าบางแห่งเริ่มปรับราคาสินค้าที่ใช้วัตถุดิบจากมะนาวแล้ว เช่น ชามะนาว หรือร้านส้มตำที่บางแห่งมีแนวโน้มที่จะปรับราคาเพิ่มขึ้น เพระไม่สามารถใช้มะนาวสำเร็จรูปมาใช้แทนได้ ส่วนร้านอาหารบางแห่งเริ่มชะลอหรือยกเลิกการจำหน่ายเมนูอาหารที่ใช้มะนาวชั่วคราวเพราะไม่อยากปรับขึ้นราคา จนกระทบกับผู้บริโภค
ทั้งนี้ จากสถานการณ์ราคามะนาวที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้พ่อค้าแม่ค้าบางพื้นที่ ต้องมีการแย่งกันซื้อมะนาวจากพ่อค้าคนกลางที่ขายส่งหรือเอเยนต์ที่จำหน่าย เพราะไม่สามารถกระจายมะนาวได้ตามที่พ่อค้าแม่ค้าสั่งได้ทั้งหมด ขณะที่บรรดาร้านค้าที่ใช้มะนาวเป็นวัตถุดิบมากๆ เช่น ร้านส้มตำ ร้านอาหาร ก็มีการกักตุนสินค้า
เพราะกลัวจะขาดแคลนหรือไม่ก็ราคาจะแพงขึ้นอีก
ก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์ ได้แจ้งสถานการณ์มะนาวว่ามีแนวโน้มราคาสูงขึ้น เพราะเข้าสู่หน้าแล้ง โดยราคาจะปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเดือนเม.ย. 2558 และได้ทำแผนรับมือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยจะลดขั้นตอนทางการตลาดด้วยการสนับสนุนกิจกรรมการนำมะนาวจากสวน ให้เกษตรกร และกลุ่มเกษตรกรนำมะนาวมาจำหน่ายยังตลาดปลายทางให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง แต่ก็จะดูแลให้เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาที่เป็นธรรมด้วย
สำหรับมะนาวเป็นผักผลที่ปลูกมากในจังหวัดเพชรบุรี ประมาณ 50% สมุทรสาคร 15% ที่เหลือเป็นจังหวัดอื่นๆ ส่วนใหญ่ปลูกพันธุ์มะนาวแป้น มะนาวหนัง และมะนาวไข่ ผลผลิตส่วนใหญ่ได้ออกสู่ตลาดมากในช่วงฤดูฝนเดือน ก.ค.-ส.ค. ประมาณ 50% ของผลผลิตทั้งหมด และผลผลิตจะเริ่มลดลงตั้งแต่เดือน ต.ค.เป็นต้นไป เฉพาะฤดูแล้งเดือน มี.ค.-พ.ค. ผลผลิตจะออกสู่ตลาดน้อยโดยแหล่งซื้อขายมะนาวแหล่งใหญ่อยู่ที่ตลาดกลางท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตมะนาวที่ใหญ่ที่สุด และบางส่วนมาจากอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร มะนาวจากตลาดท่ายางจะกระจายต่อไปยังตลาดภาคใต้ ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผลผลิตจากจังหวัดสมุทรสาครนอกจากบางส่วนที่เข้าไปขายในตลาดท่ายางแล้ว ส่วนใหญ่จะมีคู่ค้าประจำทั้งที่ปากคลองตลาดและตลาดไท
นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ในช่วงนี้ราคาสินค้าเกษตรบางรายการมีราคาปรับตัวสูงขึ้น เพราะเป็นไปตามฤดูกาล โดยเฉพาะมะนาว เนื่องจากในปีนี้ฤดูแล้งมาเร็วกว่าทุกๆ ปี ทำให้ผลผลิตสินค้ามีปริมาณน้อย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีการประสานงานในการรับมือมาอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงเกษตรฯได้นำมะนาวในช่วงที่ราคาถูกไปแปรรูปเป็นน้ำมะนาว เพื่อรอจำหน่าย ซึ่งจะเป็นนทางเลือกในการบริโภค ขณะที่กรมฯ ได้ทำการเชื่อมโยงแหล่งผลิตมะนาวมายังพื้นที่ต่างๆ เพื่อป้อนมะนาวเข้าสู่ตลาด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคามะนาวได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดราคามะนาวในช่วงเดือนมี.ค.2558 พบว่าบางพื้นที่มะนาวแป้นเบอร์ 1-2 ราคาปรับสูงต่อเนื่อง โดยราคาเฉลี่ยล่าสุดอยู่ที่ประมาณลูกละ 5 บาท และบางพื้นที่ราคาจะสูงกว่านี้ โดยราคาเฉลี่ยแพงสุดส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคใต้ เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกหลายแห่งประสบปัญหาภัยแล้งจึงส่งผลให้ผลผลิตออกมาน้อย ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด
ขณะเดียวกันพ่อค้าแม่ค้าต่างประเมินราคามะนาวมีแนวโน้มสูงขึ้นอีก ทำให้ร้านค้าบางแห่งเริ่มปรับราคาสินค้าที่ใช้วัตถุดิบจากมะนาวแล้ว เช่น ชามะนาว หรือร้านส้มตำที่บางแห่งมีแนวโน้มที่จะปรับราคาเพิ่มขึ้น เพระไม่สามารถใช้มะนาวสำเร็จรูปมาใช้แทนได้ ส่วนร้านอาหารบางแห่งเริ่มชะลอหรือยกเลิกการจำหน่ายเมนูอาหารที่ใช้มะนาวชั่วคราวเพราะไม่อยากปรับขึ้นราคา จนกระทบกับผู้บริโภค
ทั้งนี้ จากสถานการณ์ราคามะนาวที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้พ่อค้าแม่ค้าบางพื้นที่ ต้องมีการแย่งกันซื้อมะนาวจากพ่อค้าคนกลางที่ขายส่งหรือเอเยนต์ที่จำหน่าย เพราะไม่สามารถกระจายมะนาวได้ตามที่พ่อค้าแม่ค้าสั่งได้ทั้งหมด ขณะที่บรรดาร้านค้าที่ใช้มะนาวเป็นวัตถุดิบมากๆ เช่น ร้านส้มตำ ร้านอาหาร ก็มีการกักตุนสินค้า
เพราะกลัวจะขาดแคลนหรือไม่ก็ราคาจะแพงขึ้นอีก
ก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์ ได้แจ้งสถานการณ์มะนาวว่ามีแนวโน้มราคาสูงขึ้น เพราะเข้าสู่หน้าแล้ง โดยราคาจะปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเดือนเม.ย. 2558 และได้ทำแผนรับมือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยจะลดขั้นตอนทางการตลาดด้วยการสนับสนุนกิจกรรมการนำมะนาวจากสวน ให้เกษตรกร และกลุ่มเกษตรกรนำมะนาวมาจำหน่ายยังตลาดปลายทางให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง แต่ก็จะดูแลให้เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาที่เป็นธรรมด้วย
สำหรับมะนาวเป็นผักผลที่ปลูกมากในจังหวัดเพชรบุรี ประมาณ 50% สมุทรสาคร 15% ที่เหลือเป็นจังหวัดอื่นๆ ส่วนใหญ่ปลูกพันธุ์มะนาวแป้น มะนาวหนัง และมะนาวไข่ ผลผลิตส่วนใหญ่ได้ออกสู่ตลาดมากในช่วงฤดูฝนเดือน ก.ค.-ส.ค. ประมาณ 50% ของผลผลิตทั้งหมด และผลผลิตจะเริ่มลดลงตั้งแต่เดือน ต.ค.เป็นต้นไป เฉพาะฤดูแล้งเดือน มี.ค.-พ.ค. ผลผลิตจะออกสู่ตลาดน้อยโดยแหล่งซื้อขายมะนาวแหล่งใหญ่อยู่ที่ตลาดกลางท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตมะนาวที่ใหญ่ที่สุด และบางส่วนมาจากอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร มะนาวจากตลาดท่ายางจะกระจายต่อไปยังตลาดภาคใต้ ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผลผลิตจากจังหวัดสมุทรสาครนอกจากบางส่วนที่เข้าไปขายในตลาดท่ายางแล้ว ส่วนใหญ่จะมีคู่ค้าประจำทั้งที่ปากคลองตลาดและตลาดไท