กสร. เล็งเชื่อมข้อมูลตรวจแรงงานประมงใน 22 จังหวัดร่วมกัน เพื่อเข้าใจตรงกันลดความซ้ำซ้อน ชี้ช่วยการตรวจสอบง่ายขึ้น
นายวรานนท์ ปิติวรรณ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กสร. ได้ประชุมแนวทางการปฏิบัติการตรวจแรงงานและการบังคับใช้กฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2557 โดยต้องการให้ทั้ง 22 จังหวัดชายทะเล มีการตรวจแรงงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมดและอยู่บนฐานข้อมูลเดียวกัน โดยการเชื่อมโยงข้อมูลของพนักงานตรวจแรงงานในแต่ละจังหวัดเข้าด้วยกัน ทั้งการตรวจ การออกคำสั่งให้ปฏิบัติตามและการติดตามการปฏิบัติตามคำสั่ง เนื่องจากเรือประมง 1 ลำ ออกจากท่า จับปลาและขึ้นฝั่งในหลายจังหวัด ทำให้บางครั้งการติดตามข้อมูลเป็นไปได้ยากเพราะฐานข้อมูลที่เจ้าพนักงานใช้เป็นฐานข้อมูลที่ไม่มีการอัปเดต เช่น เรือหนึ่งลำออกจากท่าเรือที่จังหวัดสมุทรสาคร เจ้าพนักงานตรวจแรงงานออกคำสั่งให้ปรับสภาพความเป็นอยู่บนเรือ เมื่อเข้าเทียบท่าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เจ้าพนักงานตรวจแรงงานที่ประจวบคีรีขันธ์ ก็สามารถตรวจสอบได้ว่าเรือนี้ถูกออกคำสั่งจากจังหวัดสมุทรสาครมาแล้ว และสามารถตรวจได้ว่ามีความคืบหน้าในการปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่
นายวรานนท์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานได้แก้กฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 เพื่อคุ้มครองแรงงานที่ทำงานในกิจการประมง ทำให้สามารถเก็บเป็นฐานข้อมูลแรงงานได้ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประมง พ.ศ. ... ซึ่งระบุให้เรือต้องมีอุปกรณ์ติดตาม มีการขึ้นทะเบียนทุกลำ แจ้งการเข้า - ออก จากฝั่ง หากสามารถบังคับใช้ได้ก็จะทำให้มีฐานข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงเพิ่มขึ้น และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการติดตามการดูแลแรงงานของเรือประมงได้สะดวกยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ข้อปฏิบัติดังกล่าวตรงกับที่คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (อียู) ว่าด้วยการค้ากิจการประมง ระบุว่า ให้ไทยปรับปรุงแก้ไข การทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (ไอยูยู) ด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายวรานนท์ ปิติวรรณ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กสร. ได้ประชุมแนวทางการปฏิบัติการตรวจแรงงานและการบังคับใช้กฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2557 โดยต้องการให้ทั้ง 22 จังหวัดชายทะเล มีการตรวจแรงงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมดและอยู่บนฐานข้อมูลเดียวกัน โดยการเชื่อมโยงข้อมูลของพนักงานตรวจแรงงานในแต่ละจังหวัดเข้าด้วยกัน ทั้งการตรวจ การออกคำสั่งให้ปฏิบัติตามและการติดตามการปฏิบัติตามคำสั่ง เนื่องจากเรือประมง 1 ลำ ออกจากท่า จับปลาและขึ้นฝั่งในหลายจังหวัด ทำให้บางครั้งการติดตามข้อมูลเป็นไปได้ยากเพราะฐานข้อมูลที่เจ้าพนักงานใช้เป็นฐานข้อมูลที่ไม่มีการอัปเดต เช่น เรือหนึ่งลำออกจากท่าเรือที่จังหวัดสมุทรสาคร เจ้าพนักงานตรวจแรงงานออกคำสั่งให้ปรับสภาพความเป็นอยู่บนเรือ เมื่อเข้าเทียบท่าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เจ้าพนักงานตรวจแรงงานที่ประจวบคีรีขันธ์ ก็สามารถตรวจสอบได้ว่าเรือนี้ถูกออกคำสั่งจากจังหวัดสมุทรสาครมาแล้ว และสามารถตรวจได้ว่ามีความคืบหน้าในการปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่
นายวรานนท์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานได้แก้กฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 เพื่อคุ้มครองแรงงานที่ทำงานในกิจการประมง ทำให้สามารถเก็บเป็นฐานข้อมูลแรงงานได้ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประมง พ.ศ. ... ซึ่งระบุให้เรือต้องมีอุปกรณ์ติดตาม มีการขึ้นทะเบียนทุกลำ แจ้งการเข้า - ออก จากฝั่ง หากสามารถบังคับใช้ได้ก็จะทำให้มีฐานข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงเพิ่มขึ้น และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการติดตามการดูแลแรงงานของเรือประมงได้สะดวกยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ข้อปฏิบัติดังกล่าวตรงกับที่คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (อียู) ว่าด้วยการค้ากิจการประมง ระบุว่า ให้ไทยปรับปรุงแก้ไข การทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (ไอยูยู) ด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่