กสร. เข้มตรวจแรงงานภาคประมง หวังขยับอันดับแก้ค้ามนุษย์ขึ้นเป็น 2 เตรียมเสนอปลดล็อกสินค้า 4 ชนิดหลุดบัญชีจับตามองใช้แรงงานเด็กปลายเดือนนี้ ลุ้นประเภทอ้อยกลุ่มแรก
วันนี้ (16 ก.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นายพานิช จิตร์แจ้ง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเล ว่า ได้ให้เจ้าหน้าที่ในจังหวัดตรวจแรงงานอย่างเข้มข้น ทั้งกิจการประมงในเรือ กิจการประมงต่อเนื่อง โดยมาตรการป้องกันการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็กในสถานประกอบการ ได้ประสานกับสถานประกอบการหากต้องการให้กสร. รับรอง ก็พร้อมร่วมกับหน่วยงานอื่นในจังหวัดในการเข้าไปตรวจประเมินและให้ใบรับรอง โดยปัจจุบันมีสถานประกอบการได้รับใบรับรองแล้ว 86 แห่ง ส่วนมากเป็นกิจการต่อเนื่องจากประมง ในจังหวัดสมุทรสาคร โรงงานน้ำตาล และอุตสาหกรรมสิ่งทอ นอกจากนี้ พยายามส่งเสริมให้เข้าร่วมแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (จีแอลพี) ที่กระทรวงแรงงาน ร่วมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) และมีแผนจะขยายแนวปฏิบัตินี้ไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ
“ที่ผ่านมา มีการอบรมให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงแนวการปฏิบัติแบบจีแอลพี และเริ่มมีผู้ประกอบการสมัครเข้ามาร่วมเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีสถานประกอบการสมัครเข้ามาแล้วจำนวน 178 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นกิจการประเภทล้ง อีกทั้งจะมีการเชิญผู้ประกอบการมาร่วมจัดทำมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.) หากผ่านมาตรฐาน ทาง กสร. ก็จะออกใบรับรองให้กับสถานประกอบการเพื่อนำไปยืนยันต่อคู่ค้าว่าไม่มีการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ ส่วนเรื่องที่ไทยถูกจัดอันดับการค้ามนุษย์ในระดับที่ 3 นั้น สังคมเริ่มตระหนักและหันมาช่วยกันแก้ไขคิดว่าทางสหรัฐอเมริกา เห็นถึงความตั้งใจของไทยในการแก้ปัญหาดังกล่าวและพิจารณาปรับระดับขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ในการประเมินครั้งต่อไป ” อธิบดี กสร. กล่าว
นายพานิช กล่าวอีกว่า ในปี 2558 กสร. มีแผนจะร่วมออกตรวจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจะเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ท่าเรือที่มีเรือเข้าเทียบท่าในแต่ละแห่ง การลงทะเบียนเรือก่อนที่จะออกทะเล ซึ่งวางแผนว่าจะออกตรวจให้ได้ 456 ครั้ง ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา มีการออกตรวจสถานประกอบการในกิจการประมงจำนวน 1,173 แห่ง มีลูกจ้างที่เกี่ยวข้องจำนวน 28,600 คน เป็นเรือประมงทะเลจำนวน 630 ลำ ผ่านการตรวจแล้ว 605 ลำ เหลืออีก 25 ลำ เนื่องจากไม่มีเอกสารประจำตัวลูกเรือและเอกสารการจ่ายค่าจ้าง ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ตักเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
นายพานิช กล่าวด้วยว่า พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและปลัดกระทรวงกลาโหม ได้เน้นย้ำในวันที่เข้ามอบนโยบายให้ข้าราชการกระทรวงแรงงานในเรื่องของการแก้ปัญหาค้ามนุษย์และการปลดล็อกสินค้า ซึ่ง กสร. เตรียมเสนอขอปลดสินค้าทั้ง 4 ชนิด ในปลายเดือนกันยายนนี้ โดยคาดว่าในกลุ่มอ้อยจะสามารถปลดได้เป็นอันดับแรก รองลงมาคือสิ่งทอ ส่วนกุ้งและปลานั้นต้องใช้เวลา นอกจากนี้ จะมีการรณรงค์โดยสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ของกระทรวงแรงงาน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
วันนี้ (16 ก.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นายพานิช จิตร์แจ้ง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเล ว่า ได้ให้เจ้าหน้าที่ในจังหวัดตรวจแรงงานอย่างเข้มข้น ทั้งกิจการประมงในเรือ กิจการประมงต่อเนื่อง โดยมาตรการป้องกันการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็กในสถานประกอบการ ได้ประสานกับสถานประกอบการหากต้องการให้กสร. รับรอง ก็พร้อมร่วมกับหน่วยงานอื่นในจังหวัดในการเข้าไปตรวจประเมินและให้ใบรับรอง โดยปัจจุบันมีสถานประกอบการได้รับใบรับรองแล้ว 86 แห่ง ส่วนมากเป็นกิจการต่อเนื่องจากประมง ในจังหวัดสมุทรสาคร โรงงานน้ำตาล และอุตสาหกรรมสิ่งทอ นอกจากนี้ พยายามส่งเสริมให้เข้าร่วมแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (จีแอลพี) ที่กระทรวงแรงงาน ร่วมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) และมีแผนจะขยายแนวปฏิบัตินี้ไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ
“ที่ผ่านมา มีการอบรมให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงแนวการปฏิบัติแบบจีแอลพี และเริ่มมีผู้ประกอบการสมัครเข้ามาร่วมเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีสถานประกอบการสมัครเข้ามาแล้วจำนวน 178 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นกิจการประเภทล้ง อีกทั้งจะมีการเชิญผู้ประกอบการมาร่วมจัดทำมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.) หากผ่านมาตรฐาน ทาง กสร. ก็จะออกใบรับรองให้กับสถานประกอบการเพื่อนำไปยืนยันต่อคู่ค้าว่าไม่มีการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ ส่วนเรื่องที่ไทยถูกจัดอันดับการค้ามนุษย์ในระดับที่ 3 นั้น สังคมเริ่มตระหนักและหันมาช่วยกันแก้ไขคิดว่าทางสหรัฐอเมริกา เห็นถึงความตั้งใจของไทยในการแก้ปัญหาดังกล่าวและพิจารณาปรับระดับขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ในการประเมินครั้งต่อไป ” อธิบดี กสร. กล่าว
นายพานิช กล่าวอีกว่า ในปี 2558 กสร. มีแผนจะร่วมออกตรวจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจะเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ท่าเรือที่มีเรือเข้าเทียบท่าในแต่ละแห่ง การลงทะเบียนเรือก่อนที่จะออกทะเล ซึ่งวางแผนว่าจะออกตรวจให้ได้ 456 ครั้ง ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา มีการออกตรวจสถานประกอบการในกิจการประมงจำนวน 1,173 แห่ง มีลูกจ้างที่เกี่ยวข้องจำนวน 28,600 คน เป็นเรือประมงทะเลจำนวน 630 ลำ ผ่านการตรวจแล้ว 605 ลำ เหลืออีก 25 ลำ เนื่องจากไม่มีเอกสารประจำตัวลูกเรือและเอกสารการจ่ายค่าจ้าง ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ตักเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
นายพานิช กล่าวด้วยว่า พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและปลัดกระทรวงกลาโหม ได้เน้นย้ำในวันที่เข้ามอบนโยบายให้ข้าราชการกระทรวงแรงงานในเรื่องของการแก้ปัญหาค้ามนุษย์และการปลดล็อกสินค้า ซึ่ง กสร. เตรียมเสนอขอปลดสินค้าทั้ง 4 ชนิด ในปลายเดือนกันยายนนี้ โดยคาดว่าในกลุ่มอ้อยจะสามารถปลดได้เป็นอันดับแรก รองลงมาคือสิ่งทอ ส่วนกุ้งและปลานั้นต้องใช้เวลา นอกจากนี้ จะมีการรณรงค์โดยสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ของกระทรวงแรงงาน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่