**เริ่มขยับกันออกมาแล้ว สำหรับพรรคเพื่อไทย ที่ออกโรงคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังยกร่างในช่วงสุดท้ายโดยคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ที่นำโดย บวรศักดิ์ อุวรรณโณ แม้ว่าจะยังไม่เสร็จสิ้นดี แต่ก็เริ่มมองเห็นหน้าตาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วว่าหน้าตาพอจะเป็นอย่างไร
ประเด็นสำคัญที่เป็นจุดอ่อนไหวที่พอมองเห็นชัดเจนที่สุดก็คือ การเปิดทางให้นายกรัฐมนตรีมาจากคนนอกได้ นั่นคือ นายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง หรือ ส.ส.อย่างเดียว โดยทางฝ่ายคณะกรรมาธิการยกร่างฯ อ้างว่าเพื่อป้องกันวิกฤติของบ้านเมืองเมื่อเกิดทางตัน เปรียบเหมือนการสร้างบ้านที่ต้องมีทางหนีไฟเผื่อเอาไว้ หรือป้องกันไม่ให้รัฐธรรมนูญถูกฉีกขึ้นอีกในอนาคต พร้อมทั้งอธิบายว่า ในความเป็นจริงแล้ว ส.ส.ก็ย่อมเลือก ส.ส. หรือหัวหน้าพรรคการเมืองของตัวเองที่ได้เสียงข้างมากเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่แล้ว และที่สำคัญจะเป็นการโหวตโดยเปิดเผย สังคมได้รับรู้ เป็นเรื่องที่อธิบายได้ ไม่ใช่เป็นแบบลงคะแนนลับ
นอกจากนี้ ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่กลายเป็นเรื่องอ่อนไหว ก็คือ การยกร่างที่เปลี่ยนแปลงให้ สมาชิกวุฒิสภา จากเดิมรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่มาจากการเลือกตั้ง และจากการสรรหา แต่ฉบับใหม่ยกร่างให้มาจากการสรรหาจากกลุ่มอาชีพต่างๆ อ้างว่าเพื่อความหลากหลาย
นี่ว่ากันเฉพาะสองประเด็นหลักๆ ที่คาดว่าจะต้องเป็นประเด็นอ่อนไหวตามมาแน่นอน และทุกครั้งหากมีเรื่องดังกล่าวขึ้นมาคราวใด ก็จะต้องมีการรายการเคลื่อนไหวคัดค้านกันทุกครั้ง บางครั้งก็บานปลายร้ายแรง จนเป็นเรื่องนองเลือดก็มี จากกรณีการต่อต้านการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) จนเกิดเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” เมื่อปี พศ.2535 ซึ่งประเด็นสำคัญก็มาจากเรื่อง “นายกฯ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง” มีเจตนาสืบทอดอำนาจอย่างชัดเจน
แน่นอนอยู่แล้วว่า เมื่อเป็นเรื่องอ่อนไหว ที่จับประเด็นเอาจากเรื่อง “การเลือกตั้ง” มาเป็นธงนำในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของบางกลุ่ม อย่างน้อยเท่าที่เห็นก็มี พรรคเพื่อไทย ที่เริ่มขยับออกมาอย่างชัดเจน ล่าสุด เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานว่า พรรคเพื่อไทยได้ออกแถลงการณ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญปี 2558 โดยนายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ที่ปรึกษาคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรคเพื่อไทย และ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ที่ปรึกษาคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรคเพื่อไทย ได้ร่วมกันชี้แจงท่าทีของพรรคเพื่อไทย ที่มีความห่วงใยในประเด็นเนื้อหาในร่างดังกล่าว ว่า รัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่ในขณะนี้ อยู่บนพื้นฐานที่ไม่เชื่อถือ ไม่ไว้วางใจ ไม่เคารพประชาชน และยึดอำนาจอธิปไตยไปจากประชาชน ซึ่งในภาพรวมแล้วในอนาคตจะทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย
โดยพวกเขาอ้างว่า การตั้งข้อสังเกตดังกล่าวมาจากเสียงของประชาชนที่ออกไปสัมผัสและรวบรวมความคิดเห็นสะท้อนให้ฟัง ซึ่งก็ไม่ได้เหนือความคาดหมายก็คือ เป็นประเด็นที่อ่อนไหวดังกล่าวทั้งหมด เช่น การเปิดช่องให้นายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง ที่มาของ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มาจากการสรรหาจากหลากหลายอาชีพ แทนการเลือกตั้ง รวมไปถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญในอนาคตทำได้ยากขึ้น หรือแม้แต่การให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยก่อนการลงประชามติ ว่าเป็นการให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญมากเกินไป
แม้ว่าข้อท้วงติง หรือข้อวิจารณ์ของ พรรคเพื่อไทยที่อ้างเสียงสะท้อนจากประชาชนในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่าเป็นการลิดรอน หรือริบอำนาจอธิปไตยของประชาชน มันก็ย่อมฟังได้ และมีเหตุผลไม่น้อย แต่ขณะเดียวกันมองอีกมุมหนึ่งมันก็เหมือนมี “วาระซ่อนเร้น” พิกล โดยเฉพาะการหยิบยกเอาเฉพาะ “เรื่องการเลือกตั้ง” จุดกระแสในการเคลื่อนไหว
**อย่างไรก็ดี ขึ้นอยู่กับว่าคณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายถึงข้อท้วงติงและเสียงคัดค้านในประเด็นดังกล่าวให้ลดทอนลงไปได้แค่ไหน ซึ่งที่ผ่านมาแม้จะชี้แจงมาเป็นลำดับแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอ ขณะเดียวกันการยกร่างยังไม่เสร็จสิ้น เป็นเพียงร่างแรกยังมีเวลาแก้ไขให้สมบูรณ์ เป็นไปตามเสียงเรียกร้องให้มากที่สุด ที่สำคัญต้องทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจ และพอใจ นั่นแหละถึงจะเป็นหลักประกันให้กับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ดีที่สุด !!
ประเด็นสำคัญที่เป็นจุดอ่อนไหวที่พอมองเห็นชัดเจนที่สุดก็คือ การเปิดทางให้นายกรัฐมนตรีมาจากคนนอกได้ นั่นคือ นายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง หรือ ส.ส.อย่างเดียว โดยทางฝ่ายคณะกรรมาธิการยกร่างฯ อ้างว่าเพื่อป้องกันวิกฤติของบ้านเมืองเมื่อเกิดทางตัน เปรียบเหมือนการสร้างบ้านที่ต้องมีทางหนีไฟเผื่อเอาไว้ หรือป้องกันไม่ให้รัฐธรรมนูญถูกฉีกขึ้นอีกในอนาคต พร้อมทั้งอธิบายว่า ในความเป็นจริงแล้ว ส.ส.ก็ย่อมเลือก ส.ส. หรือหัวหน้าพรรคการเมืองของตัวเองที่ได้เสียงข้างมากเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่แล้ว และที่สำคัญจะเป็นการโหวตโดยเปิดเผย สังคมได้รับรู้ เป็นเรื่องที่อธิบายได้ ไม่ใช่เป็นแบบลงคะแนนลับ
นอกจากนี้ ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่กลายเป็นเรื่องอ่อนไหว ก็คือ การยกร่างที่เปลี่ยนแปลงให้ สมาชิกวุฒิสภา จากเดิมรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่มาจากการเลือกตั้ง และจากการสรรหา แต่ฉบับใหม่ยกร่างให้มาจากการสรรหาจากกลุ่มอาชีพต่างๆ อ้างว่าเพื่อความหลากหลาย
นี่ว่ากันเฉพาะสองประเด็นหลักๆ ที่คาดว่าจะต้องเป็นประเด็นอ่อนไหวตามมาแน่นอน และทุกครั้งหากมีเรื่องดังกล่าวขึ้นมาคราวใด ก็จะต้องมีการรายการเคลื่อนไหวคัดค้านกันทุกครั้ง บางครั้งก็บานปลายร้ายแรง จนเป็นเรื่องนองเลือดก็มี จากกรณีการต่อต้านการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) จนเกิดเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” เมื่อปี พศ.2535 ซึ่งประเด็นสำคัญก็มาจากเรื่อง “นายกฯ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง” มีเจตนาสืบทอดอำนาจอย่างชัดเจน
แน่นอนอยู่แล้วว่า เมื่อเป็นเรื่องอ่อนไหว ที่จับประเด็นเอาจากเรื่อง “การเลือกตั้ง” มาเป็นธงนำในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของบางกลุ่ม อย่างน้อยเท่าที่เห็นก็มี พรรคเพื่อไทย ที่เริ่มขยับออกมาอย่างชัดเจน ล่าสุด เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานว่า พรรคเพื่อไทยได้ออกแถลงการณ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญปี 2558 โดยนายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ที่ปรึกษาคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรคเพื่อไทย และ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ที่ปรึกษาคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรคเพื่อไทย ได้ร่วมกันชี้แจงท่าทีของพรรคเพื่อไทย ที่มีความห่วงใยในประเด็นเนื้อหาในร่างดังกล่าว ว่า รัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่ในขณะนี้ อยู่บนพื้นฐานที่ไม่เชื่อถือ ไม่ไว้วางใจ ไม่เคารพประชาชน และยึดอำนาจอธิปไตยไปจากประชาชน ซึ่งในภาพรวมแล้วในอนาคตจะทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย
โดยพวกเขาอ้างว่า การตั้งข้อสังเกตดังกล่าวมาจากเสียงของประชาชนที่ออกไปสัมผัสและรวบรวมความคิดเห็นสะท้อนให้ฟัง ซึ่งก็ไม่ได้เหนือความคาดหมายก็คือ เป็นประเด็นที่อ่อนไหวดังกล่าวทั้งหมด เช่น การเปิดช่องให้นายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง ที่มาของ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มาจากการสรรหาจากหลากหลายอาชีพ แทนการเลือกตั้ง รวมไปถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญในอนาคตทำได้ยากขึ้น หรือแม้แต่การให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยก่อนการลงประชามติ ว่าเป็นการให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญมากเกินไป
แม้ว่าข้อท้วงติง หรือข้อวิจารณ์ของ พรรคเพื่อไทยที่อ้างเสียงสะท้อนจากประชาชนในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่าเป็นการลิดรอน หรือริบอำนาจอธิปไตยของประชาชน มันก็ย่อมฟังได้ และมีเหตุผลไม่น้อย แต่ขณะเดียวกันมองอีกมุมหนึ่งมันก็เหมือนมี “วาระซ่อนเร้น” พิกล โดยเฉพาะการหยิบยกเอาเฉพาะ “เรื่องการเลือกตั้ง” จุดกระแสในการเคลื่อนไหว
**อย่างไรก็ดี ขึ้นอยู่กับว่าคณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายถึงข้อท้วงติงและเสียงคัดค้านในประเด็นดังกล่าวให้ลดทอนลงไปได้แค่ไหน ซึ่งที่ผ่านมาแม้จะชี้แจงมาเป็นลำดับแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอ ขณะเดียวกันการยกร่างยังไม่เสร็จสิ้น เป็นเพียงร่างแรกยังมีเวลาแก้ไขให้สมบูรณ์ เป็นไปตามเสียงเรียกร้องให้มากที่สุด ที่สำคัญต้องทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจ และพอใจ นั่นแหละถึงจะเป็นหลักประกันให้กับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ดีที่สุด !!