ASTV ผู้จัดการรายวัน - นักลงทุนโอดมาตรการสกัดหุ้นร้อน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยิ่งทำให้หุ้นผันผวนมากกว่าเดิม เหตุช่วงเวลาถือครองลดลง เพราะหวั่นติด Cash Balance จนราคาหุ้นทรุด จากถูกเทขาย ชี้ไม่ได้ช่วยสร้างเสถียรภาพตลาด ด้านภาพรวมสัปดาห์นี้ คาดยังเห็นการปรับตัวเพิ่ม แนะติดตามการประชุมกนง.ที่อาจลดอัตราดอกเบี้ย
นักลงทุนรายใหญ่รายหนึ่งวิเคราะห์สาเหตุที่ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวอย่างผันผวนในช่วง 1เดือนว่า ตลาดหุ้นไทยปรับฐานใหญ่2ครั้ง คือเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2558 ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบตลอดทั้งวัน แต่สวิงไปมาร่วม 20 จุด และต่อเนื่องมาถึงวันที่ 5 มี.ค. นั้น เกิดจากมาตรการ Cash Balance หรือมาตรการสกัดหุ้นร้อนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี 2558
“ก่อนหน้านี้นักลงทุนรายย่อยในตลาดหุ้นไทยซื้อแล้วจะไม่รีบขาย แต่พอกฎเกณท์ที่ตลท.ออกมาหยุมหยิมเกินไปจนเจ้าของหุ้นและผู้เล่นต้องระวังแจ หุ้นตัวเล็กบางตัวพื้นฐานดี ก็ถือยาวไม่ได้ เพราะรู้ดีว่าถ้าราคาวิ่งขึ้นไป ติด Cash คนก็ไม่ถือแล้วและจะถูกเทขายลงมา จนราคาทรุด เพราะทุกวันนี้ราคาขึ้นไป2 ช่องก็ขายทำกำไรหมดแล้ว ตลาดจึงสวิงแรง คนที่ขาดประสบการณ์ก็จะเจอปัญหาการขาดทุนสูงขนาดถอดใจไปหลายคน ทำให้ไม่มีเงินก้อนใหม่เข้ามาในตลาด เพราะเมื่อรายย่อยซึ่งเป็นรายเล็กในช่วงนี้มีโอกาสเสียมากกว่าได้ ทำให้ผู้เล่นในปัจจุบันเล่นกันอยู่ 3 กลุ่ม ซึ่ง 2 กลุ่มแรกคือ สถาบัน และโบรกเกอร์ โดยเฉพาะโบรกเกอร์ที่เล่นส่วนใหญ่จะเป็นเงินก้อนเดิมๆ โยกไปโยกมาเพื่อเล่นหุ้นในแต่ละกลุ่มสลับไปสลับมา” นักลงทุน กล่าว
ทั้งนี้ นักลงทุนรายเดิม เชื่อว่า หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป อาจทำให้ความน่าสนใจเข้าลงทุนในตลาดหุ้นสำหรับนักลงทุนรายย่อยลดลงไปด้วย ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อภาพโดยรวมของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะหลายรายเริ่มมองว่าไม่ได้ทำให้เกิดเสถียรภาพแก่ตลาดหุ้นไทย และกลับกันกลับทำให้ตลาดมีความผันผวนยิ่งขึ้นมากกว่า
ล่าสุด ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขายระดับ 1 : Cash Balance ได้แก่หุ้น ABC, ABC-W1, BMCL , MAX , PACE , PAF , POLAR ,POLAR-W2, S11, SAMCO,SUPER , SUPER-W1 , SUPER-W2 ตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. - 17 เม.ย. 2558 , PICO ตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. - 27 มี.ค. 2558 และให้ขยายช่วงดำเนินการหลักทรัพย์ของ AJD, AJD-W1, AJD-W2,AJP, AJP-W1 เป็นวันที่ 9 มี.ค. - 27 มี.ค. 2558
ขณะที่ดัชนีหลักทรัพย์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (6มี.ค.) ดัชนีปิดที่ระดับ 1,568.29 จุด เพิ่มขึ้น 14.96 จุด หรือ0.96% มูลค่าการซื้อขาย 45,672.76 ล้านบาท ภาพรวมตลาดหุ้นไทยวันนี้ฟื้นตัวตามตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่ ช่วงท้ายตลาดดีดแรงกว่า 10 จุดรับจากแรงเก็งกำไรกรณีธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะเริ่มทำมาตรการQE รอบใหม่ 9 มี.ค.ราว 6 หมื่นล้านยูโร และเก็งกำไรจากกรณี คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจปรับลดลดอัตราดอกเบี้ย ทำให้สัปดาห์นี้คาดว่าดัชนีคงฟื้นตัวหลังปรับพอร์ตกันไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา โดยมีแนวต้าน 1,570 แนวรับ 1,558 จุด
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่าการฟื้นตัวที่แท้จริงจะต้องยืนเหนือ 1,570 จุด และต้องมีปริมาณการซื้อขายที่ไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท จึงจะเป็นการฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ
ด้าน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทยสรุปความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย(2-6มี.ค.) ตลาดหุ้นไทยขยับลง จากความกังวลต่อการปรับลดประมาณการผลกำไรบริษัท รวมทั้งความกังวลต่อการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน หลังทางการจีนปรับลดเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจในปีนี้เหลือประมาณ 7% อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวขึ้นในวันศุกร์ จากแรงซื้อทางเทคนิครวมทั้งแรงขายของนักลงทุนต่างชาติที่ลดลง
ทำให้ในสัปดาห์นี้ (9-13 มี.ค.) ประเมินว่า ดัชนีมีแนวต้านที่ 1,584 และ 1,594 จุด ขณะที่แนวรับอยู่ที่ 1,548 และ 1,537 จุด โดยปัจจัยที่ต้องติดตาม คงได้แก่ ผลการประชุม กนง.ในวันที่ 11 มี.ค.2558 รวมทั้ง การรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ เครื่องชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ ดัชนีราคาผู้ผลิต และยอดค้าปลีก รวมถึงยังต้องจับตาการรายงานข้อมูลผลผลิตอุตสาหกรรมของจีน
นักลงทุนรายใหญ่รายหนึ่งวิเคราะห์สาเหตุที่ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวอย่างผันผวนในช่วง 1เดือนว่า ตลาดหุ้นไทยปรับฐานใหญ่2ครั้ง คือเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2558 ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบตลอดทั้งวัน แต่สวิงไปมาร่วม 20 จุด และต่อเนื่องมาถึงวันที่ 5 มี.ค. นั้น เกิดจากมาตรการ Cash Balance หรือมาตรการสกัดหุ้นร้อนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี 2558
“ก่อนหน้านี้นักลงทุนรายย่อยในตลาดหุ้นไทยซื้อแล้วจะไม่รีบขาย แต่พอกฎเกณท์ที่ตลท.ออกมาหยุมหยิมเกินไปจนเจ้าของหุ้นและผู้เล่นต้องระวังแจ หุ้นตัวเล็กบางตัวพื้นฐานดี ก็ถือยาวไม่ได้ เพราะรู้ดีว่าถ้าราคาวิ่งขึ้นไป ติด Cash คนก็ไม่ถือแล้วและจะถูกเทขายลงมา จนราคาทรุด เพราะทุกวันนี้ราคาขึ้นไป2 ช่องก็ขายทำกำไรหมดแล้ว ตลาดจึงสวิงแรง คนที่ขาดประสบการณ์ก็จะเจอปัญหาการขาดทุนสูงขนาดถอดใจไปหลายคน ทำให้ไม่มีเงินก้อนใหม่เข้ามาในตลาด เพราะเมื่อรายย่อยซึ่งเป็นรายเล็กในช่วงนี้มีโอกาสเสียมากกว่าได้ ทำให้ผู้เล่นในปัจจุบันเล่นกันอยู่ 3 กลุ่ม ซึ่ง 2 กลุ่มแรกคือ สถาบัน และโบรกเกอร์ โดยเฉพาะโบรกเกอร์ที่เล่นส่วนใหญ่จะเป็นเงินก้อนเดิมๆ โยกไปโยกมาเพื่อเล่นหุ้นในแต่ละกลุ่มสลับไปสลับมา” นักลงทุน กล่าว
ทั้งนี้ นักลงทุนรายเดิม เชื่อว่า หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป อาจทำให้ความน่าสนใจเข้าลงทุนในตลาดหุ้นสำหรับนักลงทุนรายย่อยลดลงไปด้วย ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อภาพโดยรวมของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะหลายรายเริ่มมองว่าไม่ได้ทำให้เกิดเสถียรภาพแก่ตลาดหุ้นไทย และกลับกันกลับทำให้ตลาดมีความผันผวนยิ่งขึ้นมากกว่า
ล่าสุด ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขายระดับ 1 : Cash Balance ได้แก่หุ้น ABC, ABC-W1, BMCL , MAX , PACE , PAF , POLAR ,POLAR-W2, S11, SAMCO,SUPER , SUPER-W1 , SUPER-W2 ตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. - 17 เม.ย. 2558 , PICO ตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. - 27 มี.ค. 2558 และให้ขยายช่วงดำเนินการหลักทรัพย์ของ AJD, AJD-W1, AJD-W2,AJP, AJP-W1 เป็นวันที่ 9 มี.ค. - 27 มี.ค. 2558
ขณะที่ดัชนีหลักทรัพย์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (6มี.ค.) ดัชนีปิดที่ระดับ 1,568.29 จุด เพิ่มขึ้น 14.96 จุด หรือ0.96% มูลค่าการซื้อขาย 45,672.76 ล้านบาท ภาพรวมตลาดหุ้นไทยวันนี้ฟื้นตัวตามตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่ ช่วงท้ายตลาดดีดแรงกว่า 10 จุดรับจากแรงเก็งกำไรกรณีธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะเริ่มทำมาตรการQE รอบใหม่ 9 มี.ค.ราว 6 หมื่นล้านยูโร และเก็งกำไรจากกรณี คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจปรับลดลดอัตราดอกเบี้ย ทำให้สัปดาห์นี้คาดว่าดัชนีคงฟื้นตัวหลังปรับพอร์ตกันไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา โดยมีแนวต้าน 1,570 แนวรับ 1,558 จุด
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่าการฟื้นตัวที่แท้จริงจะต้องยืนเหนือ 1,570 จุด และต้องมีปริมาณการซื้อขายที่ไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท จึงจะเป็นการฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ
ด้าน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทยสรุปความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย(2-6มี.ค.) ตลาดหุ้นไทยขยับลง จากความกังวลต่อการปรับลดประมาณการผลกำไรบริษัท รวมทั้งความกังวลต่อการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน หลังทางการจีนปรับลดเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจในปีนี้เหลือประมาณ 7% อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวขึ้นในวันศุกร์ จากแรงซื้อทางเทคนิครวมทั้งแรงขายของนักลงทุนต่างชาติที่ลดลง
ทำให้ในสัปดาห์นี้ (9-13 มี.ค.) ประเมินว่า ดัชนีมีแนวต้านที่ 1,584 และ 1,594 จุด ขณะที่แนวรับอยู่ที่ 1,548 และ 1,537 จุด โดยปัจจัยที่ต้องติดตาม คงได้แก่ ผลการประชุม กนง.ในวันที่ 11 มี.ค.2558 รวมทั้ง การรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ เครื่องชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ ดัชนีราคาผู้ผลิต และยอดค้าปลีก รวมถึงยังต้องจับตาการรายงานข้อมูลผลผลิตอุตสาหกรรมของจีน