พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การติดตามการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า คงจะต้องมีการพูดคุยกัน ว่าไปถึงไหนแล้ว ทราบว่าใกล้จะจบแล้ว ซึ่งตนก็ติดตามดูมาตลอด ซึ่งบางอันยังไม่ได้ข้อยุติ
"เอาง่ายๆ ก็แล้วกันว่า ทั้งหมดยังไม่ได้ข้อยุติเลย อย่าลืมว่า คสช. เข้ามาบริหารราชการในขณะนี้ ตั้งสนช.มาดูแลเรื่องกฎหมาย ตั้ง สปช. มาเพื่อเตรียมการปฏิรูป ซึ่งคำว่าปฏิรูป คือการทำใหม่ ยกเครื่องใหม่ทั้งหมด วันนี้เรายังทำ และบริหารราชการแผ่นดินแบบเดิมอยู่ เพียงแต่ใช้การสั่งการในลักษณะบูรณาการ โดยภายใต้การนำของผม ก็ใช้วิธีการทหารลงไปบ้าง พยายามจะไม่ใช้อำนาจพิเศษ ดังนั้นในเรื่องการปฏิรูป มันจะต้องมีการปฏิรูป และต่อเนื่องในรัฐธรรมนูญ แต่ในเรื่องการเลือกตั้งนั้น ยังไม่ได้ข้อยุติอะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มาที่ไปของส.ว. เดี๋ยวจะมาคุยกันก่อน แล้วดูว่าจะต้องมีอะไรที่เพิ่มขึ้นบ้าง หรือปรับอะไรกันบ้าง แต่ยืนยันอย่างหนึ่งว่า วันนี้ สิ่งที่เราต้องการ ผมยังไม่ได้กำหนดอะไรเข้ามาเลย ทั้งหมดเป็นเรื่องที่เขาคิดกันขึ้นมา และเท่าที่ผมวิเคราะห์ ก็คงมาจากเรื่องความหวังดีจากสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ว่าควรจะต้องแก้ไขอย่างไร ผมก็บอกไปแล้วว่า เดี๋ยวจะมาดูให้อีกทีหนึ่งว่า ถ้าคิดแค่มุมเดียวก็จะถูกมองไปอีกอย่างหรือเปล่า แต่อย่าลืมว่าไม่มีอะไรที่จะเป็นประชาธิปไตยร้อยเปอร์เซ็นต์ ประชาธิปไตยต้องมองให้ทั่วถึง วันนี้ผมเห็นว่าบางสถาบัน ก็ไปพูดว่าต้องสอนคนให้เป็นประชาธิปไตย แล้วประชาธิปไตย ที่ไม่มีคำว่า หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ จะใช้ได้เลยหรือเปล่า มันจะต้องมีให้ครบ" นายกรัฐมนตรี กล่าว
**ย้ำนายกฯคนนอก มีไว้แก้วิกฤติ
เมื่อถามว่า มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ เรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่เปิดช่องให้คนนอกเข้ามาดำรงตำแหน่งได้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวย้อนถามว่า นายกฯคนนอก มากันตอนไหน อย่าลืมว่าในช่วงแรกนายกฯ มาจากการเลือกตั้งของสภา ส่วนนายกฯคนนอกนั้น ทางคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ระบุว่า ถ้าหากมีปัญหาตีกันเหมือนครั้งที่แล้ว ก็จะมีการพูดถึงนายกฯ มาตรา 7 บ้าง อะไรบ้าง ซึ่งคงไม่มีใครเห็นด้วยว่า อยู่ดีๆ จะเอานายกฯคนนอกเข้ามา ถ้าปกติเข้ามาไม่ได้อยู่แล้ว จะต้องเข้ามาด้วยกระบวนการคัดสรรจากผู้แทนราษฎร คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องการแก้ไขปัญหา จะได้ไม่มีการมาอ้างขอนายกฯ มาตรา 7 ว่าทำได้หรือไม่ เถียงกันไม่จบไม่สิ้น บริหารประเทศไม่ได้ ถ้าเกิดมีปัญหาก็จะต้องหานายกฯ คนนอกเข้ามา เพื่อขัดตาทัพแล้วเดินหน้าประเทศไปก่อน เป็นการแก้ปัญหาตรงนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในฐานะที่เป็นหัวหน้าคสช. ด้วย จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดกระแสกดดัน ระหว่างที่กรรมาธิการยกร่างฯ กำลังทำหน้าที่อยู่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วิธีการเป็นเรื่องสำคัญ บางอย่างไม่ใช่เวลาที่จะออกมาพูด การสร้างความเข้าใจถ้าพูดทุกวัน ก็จะเกิดความขัดแย้งทุกวัน ซึ่งบางอย่าง ตนก็ได้พูดคุยไปแล้วว่า ให้ลดๆ ลงหน่อย เพราะบางอย่างประชาชนไม่เข้าใจ แล้วหันไปฟังประเด็นเหล่านั้นมากกว่าที่ฟังตนพูด ในขณะที่รัฐบาลกำลังเดินหน้า ประชาชนไม่ตื่นเต้น ไม่ให้ความสนใจ แต่กลับไปสนใจเรื่องการยกร่างฯ เตรียมสร้างความขัดแย้งตรงนั้น ขึ้นมาอีก
"สิ่งที่เรากำลังแก้ไขในวันนี้ ก็เพื่อวันข้างหน้า เพื่อให้ไปปฏิรูปกันให้ได้ แต่ถ้ามัวเอาตรงโน้นมาปนกับตรงนี้ ก็จะตีกันหมด สิ่งสำคัญ คสช. เป็นคนตั้งขึ้นมาทั้งหมด ดังนั้นไม่มีใครมีอำนาจมาสั่งรัฐบาลให้ทำอะไร แต่ผมก็พร้อมรับฟัง อะไรดีก็นำมาใช้เพื่อขับเคลื่อน แต่ไม่ใช่มาชี้ผม ส่วนจะชี้ได้หรือไม่ได้ เดี๋ยวต้องรอให้กรรมาธิการยกร่างฯ ส่งเรื่องกลับมายัง สปช. แล้ว สปช. จะเห็นด้วยหรือไม่ ก็ค่อยไปว่ากัน ซึ่งผมก็จะเข้าไปช่วยดูด้วยอีกครั้งหนึ่งกับครม. ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาสักอันหนึ่ง "
เมื่อถามว่า หมายความว่า เมื่อเรื่องมาถึงนายกฯ และครม. ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง และแก้ไขได้ ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็ต้องไปหารือร่วมกันในจุดต่างๆ ว่าจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขตรงไหนบ้าง เมื่อถามต่อว่า ยังมั่นใจใช่หรือไม่ว่า แม่น้ำทั้ง 4 สาย จะยังไหลมาลงสู้แม่น้ำเจ้าพระยา นายกฯ กล่าวว่า "มันต้องลงสิ แต่ทั้งหมดอยู่ที่ประชาชน ที่ต้องเลือกว่าจะทำอย่างไร ซึ่งถ้าผมถาม หรือพูดอะไรไปวันนี้ก็จะกลายเป็นว่าผมต้องการ แต่ยืนยันว่าผมไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้น ผมต้องการเพียงให้ประเทศชาติเดินไปข้างหน้า ดังนั้น 1. ทุกคนจะต้องถามตัวเองว่า จะเลือกตั้งหรือไม่เลือกตั้ง นี่คือประเด็นสำคัญ 2. ถ้าจะเลือกตั้งแล้วจะเลือกกันอย่างไร 3. ทำอย่างไรจะไม่มีความขัดแย้ง และ 4. ทำอย่างไรจะไม่เกิดปัญหาในวันข้างหน้าขึ้นมาอีก ไม่ต้องมีการทะเลาะเบาะแว้ง หรือระวังทหารจะเข้ามา จะต้องหาทางกันให้เจอ ซึ่งสิ่งแรกคือ เรื่องกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม จะต้องทำให้เกิดความชัดเจนว่า อะไรมันเกิดขึ้น จากนั้นก็ไปว่ากันต่อ ผมไม่รู้แล้ว แต่วันนี้เราต้องเดินหน้าประเทศ ผมขอถามว่าถ้ากลับมาแล้วมีความขัดแย้งเช่นเดิมแล้วจะทำอย่างไรกันต่อไป ถ้ามีการเลือกตั้งผมก็ต้องส่งอำนาจคืนไปทั้งหมด แล้วผมก็ต้องการกลับไปพักผ่อน ถ้าทะเลาะกันอีก แล้วใครจะกลับมาแก้ ไม่มีแล้ว สำหรับผมหมดแล้วก็เลิกกันไป ดังนั้นทุกคนต้องไปถามตัวเองให้ได้ก่อน วันนี้ทุกคนอยากให้มีการเลือกตั้ง แต่ถึงเวลาตีกัน เยอะๆ ก็จะไม่เลือกกันอีก แล้วจะทำอย่างไรกัน ยืนยันว่า ผมไม่ได้เตรียมการอะไรไว้ให้ใคร ให้คนนั้น คนนี้ขึ้น ไม่มีใครอยากสักคน เดี๋ยวก็จะมากล่าวหากัน ว่าไม่อยากแล้วเข้ามาทำไม ก็ต้องตอบว่า ก็มันตีกันทำไมเล่า ถ้ามันไม่มีตีกัน ใครจะเข้ามา เดินหน้าประเทศไม่ได้ แล้วใครจะทำ ถ้าทำได้ ไม่มีใครอยากเข้ามายุ่งอยู่แล้ว ทำอย่างไรการเมืองเราจะใสสะอาด มีหลักธรรมาภิบาล มีรัฐบาลที่เข้าใจความขัดแย้งได้ ถ้าเขียนรัฐธรรมนูญมาแล้วไม่ยอมรับกันอีก จะทำอย่างไร ต้องหาคำตอบให้ผม" นายกรัฐมนตรี กล่าว
**ยันไม่ได้เตรียมตำแหน่งไว้ให้ใคร
เมื่อถามว่านายกฯ เตรียมมาตรการรับมือไว้หรือยัง หากเสียงส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ ร่าง รัฐธรรมนูญ จะทำอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ถ้าไม่ยอมรับประเทศไทยก็อยู่กันไม่ได้ ก็ว่ากันไป ถ้าไม่อยากอยู่แล้วทำไมตนต้องเตรียมเพียงคนเดียว ประชาชนทุกคนต้องมีส่วนร่วม เพราะเป็นเรื่องของอนาคตที่ทุกคนจะต้องมีความคิดเห็น ว่าจะเอาประเทศไปตรงไหนกัน เราจะเอาประเทศขัดแย้งกันด้วยประชาธิปไตยดีหรือไม่ ความขัดแย้งที่ติดกับดักประชาธิปไตย มันใช่หรือไม่ รัฐบาลถ้ามาแล้วไม่ชอบธรรม ไม่มีธรรมาภิบาล มีการทุจริต ทุกคนก็ทราบกันดี วันนี้เอาไปพันกันหมด เอาการเมืองมาสู้กับกระบวนการยุติธรรม เอาประชาชนมาเป็นพวก แบ่งฝ่าย จะต้องยกเลิกให้ได้ วันนี้เราดูแลคนทุกฝ่าย ทุกพวก ทุกจังหวัด ตนไม่ได้รังเกียจใครเลยว่าจะเป็นสีไหน วันนี้ต้องไม่มีสี สามารถอยู่ร่วมกันได้ ใครเป็นรัฐบาลก็จะต้องทำอย่างที่ทุกพวกต้องการ อย่างต่างประเทศพรรคฝ่ายค้านและรัฐบาลอะไรที่เป็นประโยชน์กับประเทศส่วนรวม เขาร่วมกันทำ แต่ของไทยค้านกันทุกเรื่อง ประเทศก็ไม่สามารถเดินไปไหนได้ วันนี้สิ่งที่เราทำคือ นำของเก่ามาแก้ไข หลายคนมองว่า รัฐบาลนี้ไม่มีผลงาน แต่ตนยืนยันว่ามีผลงานมาก ซึ่งกำลังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเสนออย่างเป็นรูปธรรม วันนี้เราทำ และแก้ปัญหาทุกอย่าง โดยเฉพาะระเบียบวิธีบริหารจัดการ การทำงานเชิงบูรณาการขับเคลื่อนนโยบายลงไปถึงการใช้จ่ายงบประมาณ ไม่มีนายกฯ ที่ไหนที่จะมาตอบและพูดแบบตน ที่ต้องพูดมากก็เพราะต้องการให้เกิดความเข้าใจว่า เราไม่ได้ใช้อำนาจในการปกครอง แต่ใช้ความรู้ และสติปัญญาไปศึกษาว่าขับเคลื่อนนโยบายอย่างไร วันนี้ตนเป็นนายกฯ ที่ทั้งพูด สั่งการ และทำไปพร้อมๆ กัน ต้องเก็บข้อมูลทุกอย่างมาศึกษา ซึ่งก็ไม่ได้ไปเรียนมาจากไหน แต่ใช้ประสบการณ์ และสิ่งที่รับข้อมูลมาจากประชาชน และก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับราชการที่ทำงานหนักอย่างเต็มที่ ที่ผ่านมาก็รับคำสั่ง ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นตามอำนาจการบริหาร ก็ต้องไปแก้ไข ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดวันนี้ อย่าไปกังวลว่ารัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร แต่ให้ไปกังวลว่า ใครจะมาสมัครเป็นรัฐบาล เลือกตั้งเข้ามา และถึงเวลาก็ขอให้สื่อไปไล่ถามเหมือนที่ถามตน
เมื่อถามว่า นายกฯ จะทำอย่างไรให้นโยบายดีๆ ของรัฐบาลชุดนี้ สามารถให้รัฐบาลชุดต่อไปทำต่อเนื่องได้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็ต้องให้ประชาชนไปบังคับ เพราะไปเลือกเขาเข้ามา ถ้าไม่ดีก็อย่าเลือก ต้องถามเลยว่า การที่จะเข้าสู่การเลือกตั้งเพื่อเข้าสู่การเป็นรัฐบาลว่าจะทำอย่างไรบ้าง ทำแบบไหนให้กับประชาชน จะมีการใช้จ่ายงบประมาณอย่างไร มีการใช้จ่ายงบประมาณ ขจัดการทุจริตและดูแลข้าราชการอย่างไร ซึ่งหากมีคำถามแบบนี้ อาจจะไม่ใครเข้ามาสมัครก็ได้ ต้องถามให้ละเอียดว่าใครจะมาเป็นนายกฯ แล้วถ้ามีนโยบายแบบนี้ จะหาเงินจากไหน ควรจะต้องมีการแถลงสิ่งที่จะทำก่อนที่จะเข้ามา ไม่ใช่หาเสียงในเรื่องราคาข้าวจะมีราคาเท่านั้น เท่านี้ คนก็ชอบกันหมด
**"บิ๊กป้อม" ลั่น ไม่เล่นการเมืองไม่สืบทอดอำนาจ
ด้าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวภายหลังการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์คสช. ถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ข้อสรุปของกมธ.ยกร่างฯ เรื่อง นายกฯ คนนอกว่า ยังไม่ได้ส่งมาที่ คสช. ต้องปล่อยให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และ กมธ.ยกร่างฯ ดำเนินการไปก่อน ขณะนี้ยังไม่จบ ยังไม่ขอแสดงความคิดเห็น
เมื่อถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่า ร่าง รธน. เปิดช่องให้ คสช. แทรกแซงการเมืองได้ในอนาคต พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ผู้สื่อข่าวอยากจะคิดอะไร ก็คิดกันไป ตนไม่ว่าอะไร เมื่อถามย้ำว่าจะเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ในการเสียสัตย์เพื่อชาติ หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ผู้สื่อข่าวอยากจะว่าอะไรก็ว่าไป ตนไม่ว่าอะไร ตามสบายเถอะ
เมื่อถามว่า เพื่อความสบายใจ คสช. ควรประกาศจุดยืนว่า ไม่สืบทอดอำนาจหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า " เขาก็ไม่อยากเป็นอยู่แล้ว ไม่ต้องเป็นห่วง ไม่มีแน่นอน และผมก็พูดหลายทีว่า จะไม่เล่นการเมือง คงไม่ต้องย้ำแล้ว เพราะย้ำว่าตั้ง 15 ครั้ง 20 ครั้ง ถามอยู่นั่น ไม่ต้องถาม อย่างนี้ถามบ่อย ถามจนรำคาญ คนตอบก็แย่เหมือนกัน"
เมื่อถามว่า หนังสือพิมพ์ วอชิงตันโพสต์ ออกมาระบุว่า คสช.ไม่ชัดเจนเรื่องการเลือกตั้ง ทำให้ต่างชาติไม่เชื่อมั่น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เป็นไปตามโรดแมป ที่ได้บอกว่าเลือกตั้งเมื่อใด ก็เดินไปตามนี้ คสช.ไม่เคยโกหก บอกว่าอยู่ใน ระยะที่ 2 ก็ดำเนินการอยู่ เมื่อใดรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ก็เดินไปตามนั้น คสช.ไม่เคยที่จะโกหก ไม่เคยที่ผิดคำพูดเลย
"เอาง่ายๆ ก็แล้วกันว่า ทั้งหมดยังไม่ได้ข้อยุติเลย อย่าลืมว่า คสช. เข้ามาบริหารราชการในขณะนี้ ตั้งสนช.มาดูแลเรื่องกฎหมาย ตั้ง สปช. มาเพื่อเตรียมการปฏิรูป ซึ่งคำว่าปฏิรูป คือการทำใหม่ ยกเครื่องใหม่ทั้งหมด วันนี้เรายังทำ และบริหารราชการแผ่นดินแบบเดิมอยู่ เพียงแต่ใช้การสั่งการในลักษณะบูรณาการ โดยภายใต้การนำของผม ก็ใช้วิธีการทหารลงไปบ้าง พยายามจะไม่ใช้อำนาจพิเศษ ดังนั้นในเรื่องการปฏิรูป มันจะต้องมีการปฏิรูป และต่อเนื่องในรัฐธรรมนูญ แต่ในเรื่องการเลือกตั้งนั้น ยังไม่ได้ข้อยุติอะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มาที่ไปของส.ว. เดี๋ยวจะมาคุยกันก่อน แล้วดูว่าจะต้องมีอะไรที่เพิ่มขึ้นบ้าง หรือปรับอะไรกันบ้าง แต่ยืนยันอย่างหนึ่งว่า วันนี้ สิ่งที่เราต้องการ ผมยังไม่ได้กำหนดอะไรเข้ามาเลย ทั้งหมดเป็นเรื่องที่เขาคิดกันขึ้นมา และเท่าที่ผมวิเคราะห์ ก็คงมาจากเรื่องความหวังดีจากสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ว่าควรจะต้องแก้ไขอย่างไร ผมก็บอกไปแล้วว่า เดี๋ยวจะมาดูให้อีกทีหนึ่งว่า ถ้าคิดแค่มุมเดียวก็จะถูกมองไปอีกอย่างหรือเปล่า แต่อย่าลืมว่าไม่มีอะไรที่จะเป็นประชาธิปไตยร้อยเปอร์เซ็นต์ ประชาธิปไตยต้องมองให้ทั่วถึง วันนี้ผมเห็นว่าบางสถาบัน ก็ไปพูดว่าต้องสอนคนให้เป็นประชาธิปไตย แล้วประชาธิปไตย ที่ไม่มีคำว่า หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ จะใช้ได้เลยหรือเปล่า มันจะต้องมีให้ครบ" นายกรัฐมนตรี กล่าว
**ย้ำนายกฯคนนอก มีไว้แก้วิกฤติ
เมื่อถามว่า มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ เรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่เปิดช่องให้คนนอกเข้ามาดำรงตำแหน่งได้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวย้อนถามว่า นายกฯคนนอก มากันตอนไหน อย่าลืมว่าในช่วงแรกนายกฯ มาจากการเลือกตั้งของสภา ส่วนนายกฯคนนอกนั้น ทางคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ระบุว่า ถ้าหากมีปัญหาตีกันเหมือนครั้งที่แล้ว ก็จะมีการพูดถึงนายกฯ มาตรา 7 บ้าง อะไรบ้าง ซึ่งคงไม่มีใครเห็นด้วยว่า อยู่ดีๆ จะเอานายกฯคนนอกเข้ามา ถ้าปกติเข้ามาไม่ได้อยู่แล้ว จะต้องเข้ามาด้วยกระบวนการคัดสรรจากผู้แทนราษฎร คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องการแก้ไขปัญหา จะได้ไม่มีการมาอ้างขอนายกฯ มาตรา 7 ว่าทำได้หรือไม่ เถียงกันไม่จบไม่สิ้น บริหารประเทศไม่ได้ ถ้าเกิดมีปัญหาก็จะต้องหานายกฯ คนนอกเข้ามา เพื่อขัดตาทัพแล้วเดินหน้าประเทศไปก่อน เป็นการแก้ปัญหาตรงนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในฐานะที่เป็นหัวหน้าคสช. ด้วย จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดกระแสกดดัน ระหว่างที่กรรมาธิการยกร่างฯ กำลังทำหน้าที่อยู่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วิธีการเป็นเรื่องสำคัญ บางอย่างไม่ใช่เวลาที่จะออกมาพูด การสร้างความเข้าใจถ้าพูดทุกวัน ก็จะเกิดความขัดแย้งทุกวัน ซึ่งบางอย่าง ตนก็ได้พูดคุยไปแล้วว่า ให้ลดๆ ลงหน่อย เพราะบางอย่างประชาชนไม่เข้าใจ แล้วหันไปฟังประเด็นเหล่านั้นมากกว่าที่ฟังตนพูด ในขณะที่รัฐบาลกำลังเดินหน้า ประชาชนไม่ตื่นเต้น ไม่ให้ความสนใจ แต่กลับไปสนใจเรื่องการยกร่างฯ เตรียมสร้างความขัดแย้งตรงนั้น ขึ้นมาอีก
"สิ่งที่เรากำลังแก้ไขในวันนี้ ก็เพื่อวันข้างหน้า เพื่อให้ไปปฏิรูปกันให้ได้ แต่ถ้ามัวเอาตรงโน้นมาปนกับตรงนี้ ก็จะตีกันหมด สิ่งสำคัญ คสช. เป็นคนตั้งขึ้นมาทั้งหมด ดังนั้นไม่มีใครมีอำนาจมาสั่งรัฐบาลให้ทำอะไร แต่ผมก็พร้อมรับฟัง อะไรดีก็นำมาใช้เพื่อขับเคลื่อน แต่ไม่ใช่มาชี้ผม ส่วนจะชี้ได้หรือไม่ได้ เดี๋ยวต้องรอให้กรรมาธิการยกร่างฯ ส่งเรื่องกลับมายัง สปช. แล้ว สปช. จะเห็นด้วยหรือไม่ ก็ค่อยไปว่ากัน ซึ่งผมก็จะเข้าไปช่วยดูด้วยอีกครั้งหนึ่งกับครม. ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาสักอันหนึ่ง "
เมื่อถามว่า หมายความว่า เมื่อเรื่องมาถึงนายกฯ และครม. ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง และแก้ไขได้ ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็ต้องไปหารือร่วมกันในจุดต่างๆ ว่าจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขตรงไหนบ้าง เมื่อถามต่อว่า ยังมั่นใจใช่หรือไม่ว่า แม่น้ำทั้ง 4 สาย จะยังไหลมาลงสู้แม่น้ำเจ้าพระยา นายกฯ กล่าวว่า "มันต้องลงสิ แต่ทั้งหมดอยู่ที่ประชาชน ที่ต้องเลือกว่าจะทำอย่างไร ซึ่งถ้าผมถาม หรือพูดอะไรไปวันนี้ก็จะกลายเป็นว่าผมต้องการ แต่ยืนยันว่าผมไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้น ผมต้องการเพียงให้ประเทศชาติเดินไปข้างหน้า ดังนั้น 1. ทุกคนจะต้องถามตัวเองว่า จะเลือกตั้งหรือไม่เลือกตั้ง นี่คือประเด็นสำคัญ 2. ถ้าจะเลือกตั้งแล้วจะเลือกกันอย่างไร 3. ทำอย่างไรจะไม่มีความขัดแย้ง และ 4. ทำอย่างไรจะไม่เกิดปัญหาในวันข้างหน้าขึ้นมาอีก ไม่ต้องมีการทะเลาะเบาะแว้ง หรือระวังทหารจะเข้ามา จะต้องหาทางกันให้เจอ ซึ่งสิ่งแรกคือ เรื่องกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม จะต้องทำให้เกิดความชัดเจนว่า อะไรมันเกิดขึ้น จากนั้นก็ไปว่ากันต่อ ผมไม่รู้แล้ว แต่วันนี้เราต้องเดินหน้าประเทศ ผมขอถามว่าถ้ากลับมาแล้วมีความขัดแย้งเช่นเดิมแล้วจะทำอย่างไรกันต่อไป ถ้ามีการเลือกตั้งผมก็ต้องส่งอำนาจคืนไปทั้งหมด แล้วผมก็ต้องการกลับไปพักผ่อน ถ้าทะเลาะกันอีก แล้วใครจะกลับมาแก้ ไม่มีแล้ว สำหรับผมหมดแล้วก็เลิกกันไป ดังนั้นทุกคนต้องไปถามตัวเองให้ได้ก่อน วันนี้ทุกคนอยากให้มีการเลือกตั้ง แต่ถึงเวลาตีกัน เยอะๆ ก็จะไม่เลือกกันอีก แล้วจะทำอย่างไรกัน ยืนยันว่า ผมไม่ได้เตรียมการอะไรไว้ให้ใคร ให้คนนั้น คนนี้ขึ้น ไม่มีใครอยากสักคน เดี๋ยวก็จะมากล่าวหากัน ว่าไม่อยากแล้วเข้ามาทำไม ก็ต้องตอบว่า ก็มันตีกันทำไมเล่า ถ้ามันไม่มีตีกัน ใครจะเข้ามา เดินหน้าประเทศไม่ได้ แล้วใครจะทำ ถ้าทำได้ ไม่มีใครอยากเข้ามายุ่งอยู่แล้ว ทำอย่างไรการเมืองเราจะใสสะอาด มีหลักธรรมาภิบาล มีรัฐบาลที่เข้าใจความขัดแย้งได้ ถ้าเขียนรัฐธรรมนูญมาแล้วไม่ยอมรับกันอีก จะทำอย่างไร ต้องหาคำตอบให้ผม" นายกรัฐมนตรี กล่าว
**ยันไม่ได้เตรียมตำแหน่งไว้ให้ใคร
เมื่อถามว่านายกฯ เตรียมมาตรการรับมือไว้หรือยัง หากเสียงส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ ร่าง รัฐธรรมนูญ จะทำอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ถ้าไม่ยอมรับประเทศไทยก็อยู่กันไม่ได้ ก็ว่ากันไป ถ้าไม่อยากอยู่แล้วทำไมตนต้องเตรียมเพียงคนเดียว ประชาชนทุกคนต้องมีส่วนร่วม เพราะเป็นเรื่องของอนาคตที่ทุกคนจะต้องมีความคิดเห็น ว่าจะเอาประเทศไปตรงไหนกัน เราจะเอาประเทศขัดแย้งกันด้วยประชาธิปไตยดีหรือไม่ ความขัดแย้งที่ติดกับดักประชาธิปไตย มันใช่หรือไม่ รัฐบาลถ้ามาแล้วไม่ชอบธรรม ไม่มีธรรมาภิบาล มีการทุจริต ทุกคนก็ทราบกันดี วันนี้เอาไปพันกันหมด เอาการเมืองมาสู้กับกระบวนการยุติธรรม เอาประชาชนมาเป็นพวก แบ่งฝ่าย จะต้องยกเลิกให้ได้ วันนี้เราดูแลคนทุกฝ่าย ทุกพวก ทุกจังหวัด ตนไม่ได้รังเกียจใครเลยว่าจะเป็นสีไหน วันนี้ต้องไม่มีสี สามารถอยู่ร่วมกันได้ ใครเป็นรัฐบาลก็จะต้องทำอย่างที่ทุกพวกต้องการ อย่างต่างประเทศพรรคฝ่ายค้านและรัฐบาลอะไรที่เป็นประโยชน์กับประเทศส่วนรวม เขาร่วมกันทำ แต่ของไทยค้านกันทุกเรื่อง ประเทศก็ไม่สามารถเดินไปไหนได้ วันนี้สิ่งที่เราทำคือ นำของเก่ามาแก้ไข หลายคนมองว่า รัฐบาลนี้ไม่มีผลงาน แต่ตนยืนยันว่ามีผลงานมาก ซึ่งกำลังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเสนออย่างเป็นรูปธรรม วันนี้เราทำ และแก้ปัญหาทุกอย่าง โดยเฉพาะระเบียบวิธีบริหารจัดการ การทำงานเชิงบูรณาการขับเคลื่อนนโยบายลงไปถึงการใช้จ่ายงบประมาณ ไม่มีนายกฯ ที่ไหนที่จะมาตอบและพูดแบบตน ที่ต้องพูดมากก็เพราะต้องการให้เกิดความเข้าใจว่า เราไม่ได้ใช้อำนาจในการปกครอง แต่ใช้ความรู้ และสติปัญญาไปศึกษาว่าขับเคลื่อนนโยบายอย่างไร วันนี้ตนเป็นนายกฯ ที่ทั้งพูด สั่งการ และทำไปพร้อมๆ กัน ต้องเก็บข้อมูลทุกอย่างมาศึกษา ซึ่งก็ไม่ได้ไปเรียนมาจากไหน แต่ใช้ประสบการณ์ และสิ่งที่รับข้อมูลมาจากประชาชน และก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับราชการที่ทำงานหนักอย่างเต็มที่ ที่ผ่านมาก็รับคำสั่ง ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นตามอำนาจการบริหาร ก็ต้องไปแก้ไข ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดวันนี้ อย่าไปกังวลว่ารัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร แต่ให้ไปกังวลว่า ใครจะมาสมัครเป็นรัฐบาล เลือกตั้งเข้ามา และถึงเวลาก็ขอให้สื่อไปไล่ถามเหมือนที่ถามตน
เมื่อถามว่า นายกฯ จะทำอย่างไรให้นโยบายดีๆ ของรัฐบาลชุดนี้ สามารถให้รัฐบาลชุดต่อไปทำต่อเนื่องได้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็ต้องให้ประชาชนไปบังคับ เพราะไปเลือกเขาเข้ามา ถ้าไม่ดีก็อย่าเลือก ต้องถามเลยว่า การที่จะเข้าสู่การเลือกตั้งเพื่อเข้าสู่การเป็นรัฐบาลว่าจะทำอย่างไรบ้าง ทำแบบไหนให้กับประชาชน จะมีการใช้จ่ายงบประมาณอย่างไร มีการใช้จ่ายงบประมาณ ขจัดการทุจริตและดูแลข้าราชการอย่างไร ซึ่งหากมีคำถามแบบนี้ อาจจะไม่ใครเข้ามาสมัครก็ได้ ต้องถามให้ละเอียดว่าใครจะมาเป็นนายกฯ แล้วถ้ามีนโยบายแบบนี้ จะหาเงินจากไหน ควรจะต้องมีการแถลงสิ่งที่จะทำก่อนที่จะเข้ามา ไม่ใช่หาเสียงในเรื่องราคาข้าวจะมีราคาเท่านั้น เท่านี้ คนก็ชอบกันหมด
**"บิ๊กป้อม" ลั่น ไม่เล่นการเมืองไม่สืบทอดอำนาจ
ด้าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวภายหลังการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์คสช. ถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ข้อสรุปของกมธ.ยกร่างฯ เรื่อง นายกฯ คนนอกว่า ยังไม่ได้ส่งมาที่ คสช. ต้องปล่อยให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และ กมธ.ยกร่างฯ ดำเนินการไปก่อน ขณะนี้ยังไม่จบ ยังไม่ขอแสดงความคิดเห็น
เมื่อถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่า ร่าง รธน. เปิดช่องให้ คสช. แทรกแซงการเมืองได้ในอนาคต พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ผู้สื่อข่าวอยากจะคิดอะไร ก็คิดกันไป ตนไม่ว่าอะไร เมื่อถามย้ำว่าจะเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ในการเสียสัตย์เพื่อชาติ หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ผู้สื่อข่าวอยากจะว่าอะไรก็ว่าไป ตนไม่ว่าอะไร ตามสบายเถอะ
เมื่อถามว่า เพื่อความสบายใจ คสช. ควรประกาศจุดยืนว่า ไม่สืบทอดอำนาจหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า " เขาก็ไม่อยากเป็นอยู่แล้ว ไม่ต้องเป็นห่วง ไม่มีแน่นอน และผมก็พูดหลายทีว่า จะไม่เล่นการเมือง คงไม่ต้องย้ำแล้ว เพราะย้ำว่าตั้ง 15 ครั้ง 20 ครั้ง ถามอยู่นั่น ไม่ต้องถาม อย่างนี้ถามบ่อย ถามจนรำคาญ คนตอบก็แย่เหมือนกัน"
เมื่อถามว่า หนังสือพิมพ์ วอชิงตันโพสต์ ออกมาระบุว่า คสช.ไม่ชัดเจนเรื่องการเลือกตั้ง ทำให้ต่างชาติไม่เชื่อมั่น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เป็นไปตามโรดแมป ที่ได้บอกว่าเลือกตั้งเมื่อใด ก็เดินไปตามนี้ คสช.ไม่เคยโกหก บอกว่าอยู่ใน ระยะที่ 2 ก็ดำเนินการอยู่ เมื่อใดรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ก็เดินไปตามนั้น คสช.ไม่เคยที่จะโกหก ไม่เคยที่ผิดคำพูดเลย