ASTV ผู้จัดการรายวัน – การบินไทยงดปี 57 ขาดทุนอ่วมเฉียด 1.6 หมื่นล้านบาทหรือคิดเป็นขาดทุนหนักกว่าปี 56 ถึง 29.8% เหตุการเมืองระอุ นักท่องเที่ยวหาย และเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวต่ำกว่าคาด ฟุ้งแผนปฏิรูปองค์กรใหม่ 6 ด้านจะสามารถพลิกขาดทุนเป็นกำไรได้ภายในสิ้นปี 2558
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI แจ้งผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ประจำปี 2557 สิ้นสุด 30 กันยายน 2557 ว่าบริษัทขาดทุนสุทธิ 15,611.62 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 7.15 บาท ขาดทุนสูงกว่าปี 2556 ถึง 3,573 ล้านบาท หรือคิดเป็น 29.8% จากปี 2556 ที่ขาดทุนสุทธิ12,047.37 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิต่อหุ้นที่5.52บาท
โดยผลการดำเนินงานขาดทุนว่า เกิดจากความไม่สงบทางการเมืองที่ยืดเยื้อตั้งแต่ปลายปี 2556 และทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงไตรมาส 1 ซึงปกติเป็นฤดูกาลท่องเที่ยว ส่งผลให้จํานวนผู้โดยสารลดลงจากช่วงเวลาเดียวกนของปีก่อน 15.3% โดยเฉพาะท่องเทียวในกลุ่มเป้าหมายหลัก เช่น จีน ญีปุ่ น และเกาหลี ส่งผลให้ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) ลดลง 12.6% และมีผลประกอบการขาดทุน ในขณะทีไตรมาส 1 ส่วนใหญ่สามารถทํากาไรค่อนข้างดี
นอกจากนั้นถึงแม้ในไตรมาส 2 สถานการณ์ทางการเมืองได้คลี่คลายลง แต่จํานวนนักท่องเทียวต่างชาติที่เดินทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมืองยังลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนถึง 22.6% ส่งผลให้บริษัทมีปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) ลดลง 14.3% โดยมีผลประกอบการช่วง 6 เดือนแรกของ ปี 2557 ขาดทุนสุทธิ 10,274 ล้านบาท
ทั้งนี้จากการที่บริษัทประสบกับภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง บริษัทได้จัดทําแผนปฏิรูปองค์กรใหม่ทั้งระบบเน้นการปรับปรุงกระบวนการทํางานที่มีความซับซ้อน ไม่สามารถตอบสนองต่อการเปลียนแปลงและโอกาสทางธุรกิจได้อยางทันท่วงที ให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ภายใต้ความประหยัดในการลงทุน เพือให้บริษัทฯหยุดการขาดทุน กลับมามีความมั่นคงทางการเงิน มีกำไรตามเป้าหมาย และเป็นสายการบินที่แข่งขันได้และให้บริการเป็นทีพึงพอใจของลูกค้า อยูในระดับแนวหน้าของสายการบินระดับโลก ประกอบด้วยการดําเนินการ 6 ด้าน ได้แก่ การปรับปรุงเครือข่ายเส้นทางบิน การปรับปรุงฝูงบิน การพาณิชย์เพือเพิมประสิทธิภาพในการหารายได้ การปรับปรุงการปฏิบัติการและต้นทุน การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร และการจัดการกลุ่มธุรกิจอยางเป็นระบบ
ส่วนการคาดการณ์แนวโน้มอุตสาหกรรมการบินของโลกในปี 2558 น่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าปี 2557 จากเศรษฐกิจโลกที่เริมฟื้นตัว ความต้องการเดินทางของผู้โดยสารเพิ่มสูงขึ้น และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวลดลงสําหรับอุตสาหกรรมการบินของไทย น่าจะปรับตัวในทิศทางเดียวกับอุตสาหกรรมการบินโลก จากสถานการณ์การเมืองในประเทศที่คลีคลายลงช่วยทําให้อุตสาหกรรมท่องเทียวเข้มแข็งขึ้น ประกอบกับยังมีปัจจัยสนับสนุนในการเริมต้นเข้าสู่การเป็นตลาดบินร่วมอาเซียน (ASEAN Single Aviation Market หรือ ASAM) ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยทีทําให้ปริมาณการเดินทางขนส่งทางอากาศเพิมสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม การแข่งขันยังทวีความรุนแรงจากสายการบินต้นทุนต่ำทีเปิดใหม่และสายการบินต่างประเทศที่เข้ามาในตลาดการบินของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนือง
สําหรับแนวทางการดําเนินการในปี 2558 ของบริษัท การบินไทย จํากด (มหาชน) จะดําเนินการตามแผนปฏิรูปองค์กรทีได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) แล้วเมื่อวันที่ 26มกราคม 2558 โดยมีเป้าหมายให้บริษัทมีกำไรและกระแสเงินสดที่ดีขึ้น รวมทั้งสามารถสร้างกำไรได้อย่างต่อเนื่องยังยืน และกลับมาอย่างสง่างามในฐานะสายการบินแห่งชาติที่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทย โดยแผนประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ หยุดการขาดทุน (Stop the bleeding) สร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขัน(Strength Building) และเร่งการเติบโตอยางมีกำไรในระยะยาว (Sustainable Growth)
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI แจ้งผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ประจำปี 2557 สิ้นสุด 30 กันยายน 2557 ว่าบริษัทขาดทุนสุทธิ 15,611.62 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 7.15 บาท ขาดทุนสูงกว่าปี 2556 ถึง 3,573 ล้านบาท หรือคิดเป็น 29.8% จากปี 2556 ที่ขาดทุนสุทธิ12,047.37 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิต่อหุ้นที่5.52บาท
โดยผลการดำเนินงานขาดทุนว่า เกิดจากความไม่สงบทางการเมืองที่ยืดเยื้อตั้งแต่ปลายปี 2556 และทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงไตรมาส 1 ซึงปกติเป็นฤดูกาลท่องเที่ยว ส่งผลให้จํานวนผู้โดยสารลดลงจากช่วงเวลาเดียวกนของปีก่อน 15.3% โดยเฉพาะท่องเทียวในกลุ่มเป้าหมายหลัก เช่น จีน ญีปุ่ น และเกาหลี ส่งผลให้ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) ลดลง 12.6% และมีผลประกอบการขาดทุน ในขณะทีไตรมาส 1 ส่วนใหญ่สามารถทํากาไรค่อนข้างดี
นอกจากนั้นถึงแม้ในไตรมาส 2 สถานการณ์ทางการเมืองได้คลี่คลายลง แต่จํานวนนักท่องเทียวต่างชาติที่เดินทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมืองยังลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนถึง 22.6% ส่งผลให้บริษัทมีปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) ลดลง 14.3% โดยมีผลประกอบการช่วง 6 เดือนแรกของ ปี 2557 ขาดทุนสุทธิ 10,274 ล้านบาท
ทั้งนี้จากการที่บริษัทประสบกับภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง บริษัทได้จัดทําแผนปฏิรูปองค์กรใหม่ทั้งระบบเน้นการปรับปรุงกระบวนการทํางานที่มีความซับซ้อน ไม่สามารถตอบสนองต่อการเปลียนแปลงและโอกาสทางธุรกิจได้อยางทันท่วงที ให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ภายใต้ความประหยัดในการลงทุน เพือให้บริษัทฯหยุดการขาดทุน กลับมามีความมั่นคงทางการเงิน มีกำไรตามเป้าหมาย และเป็นสายการบินที่แข่งขันได้และให้บริการเป็นทีพึงพอใจของลูกค้า อยูในระดับแนวหน้าของสายการบินระดับโลก ประกอบด้วยการดําเนินการ 6 ด้าน ได้แก่ การปรับปรุงเครือข่ายเส้นทางบิน การปรับปรุงฝูงบิน การพาณิชย์เพือเพิมประสิทธิภาพในการหารายได้ การปรับปรุงการปฏิบัติการและต้นทุน การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร และการจัดการกลุ่มธุรกิจอยางเป็นระบบ
ส่วนการคาดการณ์แนวโน้มอุตสาหกรรมการบินของโลกในปี 2558 น่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าปี 2557 จากเศรษฐกิจโลกที่เริมฟื้นตัว ความต้องการเดินทางของผู้โดยสารเพิ่มสูงขึ้น และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวลดลงสําหรับอุตสาหกรรมการบินของไทย น่าจะปรับตัวในทิศทางเดียวกับอุตสาหกรรมการบินโลก จากสถานการณ์การเมืองในประเทศที่คลีคลายลงช่วยทําให้อุตสาหกรรมท่องเทียวเข้มแข็งขึ้น ประกอบกับยังมีปัจจัยสนับสนุนในการเริมต้นเข้าสู่การเป็นตลาดบินร่วมอาเซียน (ASEAN Single Aviation Market หรือ ASAM) ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยทีทําให้ปริมาณการเดินทางขนส่งทางอากาศเพิมสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม การแข่งขันยังทวีความรุนแรงจากสายการบินต้นทุนต่ำทีเปิดใหม่และสายการบินต่างประเทศที่เข้ามาในตลาดการบินของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนือง
สําหรับแนวทางการดําเนินการในปี 2558 ของบริษัท การบินไทย จํากด (มหาชน) จะดําเนินการตามแผนปฏิรูปองค์กรทีได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) แล้วเมื่อวันที่ 26มกราคม 2558 โดยมีเป้าหมายให้บริษัทมีกำไรและกระแสเงินสดที่ดีขึ้น รวมทั้งสามารถสร้างกำไรได้อย่างต่อเนื่องยังยืน และกลับมาอย่างสง่างามในฐานะสายการบินแห่งชาติที่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทย โดยแผนประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ หยุดการขาดทุน (Stop the bleeding) สร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขัน(Strength Building) และเร่งการเติบโตอยางมีกำไรในระยะยาว (Sustainable Growth)