เมื่อเวลา 10.30 น.วานนี้ (24 ก.พ.) ได้มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณากระบวนการถอดถอน อดีต ส.ว.38 คน ออกจากตำแหน่ง กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาส.ว.โดยมิชอบ ซึ่งเป็นขั้นตอนการแถลงเปิดสำนวน ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และการแถลงโต้แย้งการเปิดสำนวนของผู้ถูกกล่าวหา โดยมีตัวแทนคือนายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช. และตัวแทนฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา จำนวน 29 คน
ทั้งนี้ นายวิชัย แถลงว่า จากจากการไต่สวนของ ป.ป.ช. ที่ได้พิจารณาพฤติการณ์ของอดีตส.ว. พบว่า มีอยู่ 38 คน ที่มีพฤติการณ์ส่อว่า จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และข้อกฎหมาย โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มความผิด ประกอบด้วย
1. ข้อกล่าวหา นางภารดี จงสุขธนามณี และ พล.ท.พงศ์เอก อภิรักษ์โยธิน กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติ ร่างรัฐธรรมนูญ และลงมติในวาระที่ 3 แต่ไม่ได้พิจารณาลงมติในวาระ 1 ขั้นรับหลักการ และ วาระ 2 ขั้นพิจารณาเรียงลำดับรายมาตรา โดยเฉพาะ มาตรา 6 ที่มีการแก้ไขหลักการสำคัญ มีผลทำให้บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งส.ว.ที่สิ้นสุดสมาชิกภาพลง สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ว.ได้อีก โดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลา 2 ปี
2 . ข้อกล่าวหา นายประสิทธิ์ โพธสุธน นายสมชาติ พรรณพัฒน์ พล.ต.ต.องอาจ สุวรรณสิงห์ นายดิเรก ถึงฝั่ง นายประวัติ ทองสมบูรณ์ นายกฤช อาทิตย์แก้ว พล.ต.ท.พิชัย สุนทรสัจบูลย์ นายภิญโญ สายนุ้ย นายไพบูลย์ ซำศิริพงษ์ นายสุเมธ ศรีพงษ์ พ.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ นายสุรพงษ์ ตันธนศรีกุล นายพีระ มานะทัศน์ นายสิทธิศักดิ์ ยนต์ตระกูล นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง นายสุวิศว์ เมฆเสรีกุล นายรักพงษ์ ณ อุบล นายบวรศักดิ์ คณาเสน นายจตุรงค์ ธีระกนก นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง นายยุทธนา ยุพฤทธิ์ และ นายชูชัย เลิศพงศ์อดิศร รวม 22 คน กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติ ร่าง รัฐธรรมนูญ และลงมติในวาระ 1 , 2 และ 3
3. ข้อกล่าวหา นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์ นายโสภณ ศรีมาเหล็ก นายต่วน อับดุลเล๊าะ ดาโอ๊ะมารียอ พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ นายประดิษฐ์ ตันวัฒนะพงษ์ พล.ต.กลชัย สุวรรณบูรณ์ นายวรวิทย์ บารู นายสุโข วุฑฒิโชติ นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง นายสุริยา ปันจอร์ นายถนอม ส่งเสริม นายบุญส่ง โควาวิสารัช และ นายวรวิทย์ วงษ์สุวรรณ์ รวม 13 คน กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติ ร่าง รัฐธรรมนูญ และลงมติในวาระ 1 และ วาระ 3
4. ข้อกล่าวหา นายวิทยา อินาลา กรณีร่วมรายมือชื่อเสนอญัตติ ร่าง รัฐธรรมนูญ และ ลงมติในวาระ 1 และ 2
"จากการไต่สวนพบว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ทั้ง 38 คน ได้เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไข กับ ร่าง รัฐธรรมนูญที่บรรจุเข้าสู่วาระการประชุม เพื่อลงมติ วาระ 1, 2 และ 3 มีเนื้อหาไม่ตรงกัน โดยมีการแก้ไขหลักการสำคัญให้ ส.ว.ที่สิ้นสุดสมาชิกภาพ สามารถลงสมัครเป็น ส.ว.ได้อีก โดยไม่ต้องรอให้พ้นตำแหน่ง 2 ปี ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับที่ลงมติ ไม่ปรากฏว่า มีส.ว.ร่วมลงชื่อรับรองร่างดังกล่าว ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ชอบตาม มาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ โดยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยืนยัน ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีผลผูกพันทุกองค์กร ดังนั้น จากการไต่สวนจึงวินิจฉัยได้ว่า ทั้ง 38 คน มีพฤติการณ์ส่อว่า จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่รู้ว่า ร่างที่ได้ลงมติไปนั้น เป็นร่างสอดไส้ ที่เสนอโดยมิชอบ ข้ออ้างที่ว่าไม่ทราบว่า ร่างที่ลงมติเห็นชอบ เป็นคนละฉบับกับที่ร่างที่เข้าชื่อเสนอ เป็นเรื่องที่รับฟังไม่ขึ้น"
นายวิชัย กล่าวอีกว่า ยืนยันว่าป.ป.ช. มีอำนาจในการไต่สวนถอดถอนกรณีดังกล่าว แม้รัฐธรรมนูญปี 50 จะไม่มีผลบังคับใช้แล้ว แต่ประกาศ คสช.ฉบับที่ 24/2557 ให้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ยังมีผลบังคับใช้ต่อไป ประกอบกับ รัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 มาตรา 6 ให้ สนช. ทำหน้าที่เป็น ส.ส.และ ส.ว. ซึ่ง สนช.มีข้อบังคับการประชุมปี 2557 ระบุให้สนช. มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ ดังนั้น ป.ป.ช. ย่อมมีอำนาจในการไต่สวนเรื่องดังกล่าว พร้อมส่งรายงานคำร้องถอดถอนมายัง สนช. เพื่อดำเนินการถอดถอนได้
** งัดกรณี"ภักดี"ดำรงตำแหน่งมิชอบโต้
ต่อมาเป็นการแถลงคัดค้านข้อกล่าวหา โดยนายกฤช อาทิตย์แก้ว อดีต ส.ว.กำแพงเพชร กล่าวว่า พวกตนขอปฏิเสธข้อกล่าวหาของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้งหมด ทั้งในข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริงนั้น และคำร้องที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ นำโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เข้าชื่อยื่น ป.ป.ช. เพื่อขอให้ถอดถอนพวกตนออก ไม่เป็นไปตาม มาตรา 61 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. และข้อบังคับการประชุมสนช. พ.ศ. 2557 ข้อที่ 164 เพราะในคำร้องมีแค่ลายเซ็น และหมายเลขสมาชิกส.ส. เท่านั้น ทั้งที่ตามกฎหมายและข้อบังคับดังกล่าว ระบุว่า จะต้องมีที่อยู่ผู้ลงชื่อด้วย อีกทั้งตัวอักษรในคำร้อง กับตัวอักษรในลายมือชื่อ ไม่ใช่ตัวพิมพ์ชนิดเดียวกัน และในรายงานสำนวนไต่สวนของ ป.ป.ช. มีชื่อ นายภักดี โพธิศิริ ร่วมพิจารณาด้วย ทั้งที่นายภักดี มีปัญหาเรื่องการดำรงตำแหน่ง ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากไม่ได้ลาออกจากบริษัทเอกชนหลังจากที่ได้รับการเลือกให้เป็น ป.ป.ช. ภายใน 15 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด ถือว่าขัดต่อคุณสมบัติของบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. ดังนั้น จึงไม่ถือเป็นกรรมการป.ป.ช.ด้วย และกำลังเป็นคดีฟ้องร้องอยู่ที่ศาลปกครอง และทราบว่า เรื่องดังกล่าวประธาน สนช.ได้มอบหมายให้คณะกรรมาธิการการเมือง สนช. ได้ตรวจสอบหลังจากที่ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.ได้ร้องเรียนเข้ามา
นอกจากนี้ในรายงานการยื่นให้ สนช.ถอดถอนครั้งนี้ ลงวันที่ 15 พ.ค. 57 พบว่า น.ส.สุภา ปิยะจิตติ ได้ลงนามร่วมด้วย ในฐานะกรรมการ ป.ป.ช. แต่ในราชกิจจานุเบกษา น.ส.สุภา ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการป.ป.ช.วันที่ 9 ก.ย. 57 จึงทำให้การถอดถอนครั้งนี้ อาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดังนั้น มติของสนช.ที่ออกไป ก็จะมีปัญหา หากยังเดินหน้ากระบวนการถอดถอนต่อไป การแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่ถูกกล่าวหากระทำไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่เคยมีคำสั่งว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราได้ ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 ซึ่งก่อนหน้านี้ พวกเรายังเคยช่วยพรรคประชาธิปัตย์ แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรามาแล้ว และในมาตรา 130 ได้ให้เอกสิทธิคุ้มครองแก่สมาชิกรัฐสภา ว่า การอภิปรายในสภาใดๆ ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุในการฟ้องร้องได้
" กรรมการป.ป.ช. บางคนทำงานไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีอคติ ความรู้สึกส่วนตัวที่ไม่ชอบจะให้มี ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง ขณะนี้ป.ป.ช.ถือว่ามีอำนาจมาก สามารถที่จะกล่าวโทษ ข้าราชการ นักการเมือง ถือว่ามีอำนาจล้นฟ้า แต่การมีอำนาจมาก จะทำให้ความเป็นธรรมน้อยลง กระบวนการถอดถอนของสนช.ครั้งนี้ มาจากคำร้องที่ไม่ชอบ และมีบุคคลที่ไม่ใช่กรรมการ ป.ป.ช. ร่วมลงมติ ไม่ว่าผลจะออกมาถอดถอนหรือไม่ มติของ สนช. อาจไม่ชอบ และพวกผมสงวนสิทธิ์ที่จะดำเนินการตามที่เห็นสมควรต่อไป ยืนยันทั้ง 38 คน ไม่ได้กระทำการที่ส่อว่าจงใจขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตามที่มีการกล่าว หากระบวนการถอดถอนไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 15/2553 และ 16/2553 ซึ่งไม่ว่าผลออกมาอย่างไร จะไม่มีปฏิกิริยาใดๆ จากพวกผมอย่างเด็ดขาด บ้านเมืองขณะนี้วุ่นวายมามากพอแล้ว จึงไม่อยากให้บ้านเมืองวุ่นวายขึ้นอีก" นายกฤช กล่าว
** ตะแบงไม่มีร่างแก้ไขรธน. ปลอม
ขณะที่นายวิทยา อินาลา อดีต ส.ว.นครพนม กล่าวว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เสนอโดย นายอุดมเดช รัตนเสถียร อดีต ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย มีเพียงร่างเดียว ไม่มีร่างปลอม ทั้งนี้ การขอเปลี่ยนแก้ไขเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอไป สามารถทำได้ หากยังไม่มีการบรรจุญัตติดังกล่าวเข้าสู่วาระการประชุม ตามแนวทางปฏิบัติของกระบวนการพิจารณาทางนิติบัญญัติ ข้อ 3 ที่ระบุว่า ผู้เสนอหลักจัดทำร่างรัฐธรรมนูญหรือ พ.ร.บ.สามารถนำร่างรัฐธรรมนูญหรือ ร่าง พ.ร.บ.ใหม่ มาเปลี่ยนกับร่างรัฐธรรมนูญหรือ พ.ร.บ.ฉบับเดิมได้ ซึ่งอาจจะแก้ไขเฉพาะส่วนที่ผิด หรือนำร่างใหม่มาเปลี่ยน
ร่างเดิมได้ แต่ต้องใช้เลขรับหนังสือเดิม ดังนั้น ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มา ส.ว. ที่มีการเพิ่มเติมเนื้อหา มาตรา 6 เข้าไป จึงชอบด้วย มาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ
"พวกผมร่วมลงชื่อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ไม่ได้อยู่ใต้อาณัตพรรคการเมือง หรือบุคคลใด บุคคลหนึ่ง เพราะการลงมติไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เราจำใส่สมองตลอดว่า ส.ว. มีหน้าที่อย่างไร ผ่านการปฏิญาณตนมาแล้ว การมาบอกว่า เราล้มล้างระบอบประชาธิปไตย อยากถามว่า เอาสมองส่วนไหนมาคิด” นายวิทยา กล่าว
ต่อมานางภารดี จงสุขธนามณี อดีต ส.ว.เชียงราย โต้แย้งว่า ตนและพล.ท.พงศ์เอก อภิรักษ์โยธิน อดีต ส.ว.พะเยา ได้มีการลงชื่อยื่นญัตติ แต่มีการลงมติในวาระ 3 เท่านั้น อยากถามว่าทำไม ป.ป.ช.ต้องลงมติ ถึง 2 ครั้ง ทั้งที่การลงมติในครั้งที่แรกได้ยุติไปแล้วว่า ตน และ พล.ท.พงศ์เอก หลุดจากคดีแล้ว แต่เมื่อผ่านไปเพียง 10 วัน ก็กลับมีการหยิบยกขึ้นมาทบทวนใหม่ ทำให้การทำงานของ ป.ป.ช. ขาดความน่าเชื่อถือ เพราะการจะหยิบยกมติดังกล่าวขึ้นมาทบทวนใหม่ ต้องมีหลักฐานเพิ่ม และต้องมีการแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหารับทราบ แต่สิ่งที่ ป.ป.ช.ทำคือ ไม่มีการแจ้งให้ตน และ พล.ท.พงศ์เอก รับทราบเลย อย่างนี้ถือว่าเป็นการดิสเครดิต ทำงานสองมาตรฐาน หรือไม่
ด้าน พล.ท.พงศ์เอก ชี้แจงโต้แย้งว่า การลงมติของ ป.ป.ช. ในครั้งแรก มติเท่ากันคือ 4 ต่อ 4 ทำให้ประธาน ป.ป.ช. ใช้อำนาจตัดสินเสียงชี้ขาด ซึ่งประธานได้ลงมติให้หลุดจากคดีดังกล่าว ดังนั้นตนและนางภารดี จึงไม่อยู่ในรายชื่อ 38 คน แต่การนำกลับมาทบทวนใหม่ โดยอ้างตามกฎหมายการถอดถอน ว่า จะต้องใช้เสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการป.ป.ช. ที่มีอยู่ ซึ่งมติออกมา 4 ต่อ 4 ถือว่าตนและนางภารดี ผิด จึงไม่เข้าใจว่า คะแนน 4 ต่อ 4 มากกว่ากึ่งหนึ่งอย่างไร ดังนั้นการที่ตน และนางภารดี จะถูกถอดถอนหรือไม่ ก็อยู่ที่ดุลพินิจของสนช. ที่จะชี้ซ้าย หรือชี้ขวา
**โวยป.ป.ช."มโน" ให้ร้ายนักการเมือง
จากนั้น นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง อดีต ส.ว.อุทัยธานี ชี้แจงโต้แย้งว่า สิ่งที่ป.ป.ช. และศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินครั้งนี้ เป็นจิตนาการที่คิด ว่านักการเมืองจะไปสร้างอิทธิพล กินบ้านกินเมือง แล้วผลักให้ไปเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมือง เพราะไปมีแนวคิด และอุดมการณ์ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. เหมือนกับคนสีใดสีหนึ่ง ต้องขอบคุณที่ สนช.รับเรื่องของพวกตนไว้พิจารณา และเปิดโอกาสให้พวกตน ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมแห่งนี้ เพื่อเผยแพร่ออกไปสู่สาธารณะ ว่าสิ่งที่พวกตนทำ กำลังคิดอะไรอยู่ และมีผลต่อประชาชนอย่างไร เพราะจะมีสักกี่คนที่จะรู้เนื้อหาสาระในการ กล่าวหาครั้งนี้
ต่อมานายดิเรก ถึงฝั่ง อดีต ส.ว.นนทบุรี แถลงสรุปว่า ยืนยันว่า การทำหน้าที่ของ ส.ว.ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ทำถูกต้องทุกประการ และการแก้รัฐธรรมนูญ รื่องที่มาส.ว. ไม่ได้หมายความว่า ส.ว. แต่ละคนจะกลับมาลงสมัครเป็น ส.ว.อีกครั้ง เพราะแต่ละคนยังไม่ได้ตัดสินใจ ว่าจะกลับมาลงสมัครอีกหรือไม่ ถ้าจะกล่าวหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ก็ถือว่าองค์ประกอบยังไม่ครบถ้วน ขอยืนยันว่า ไม่มีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และข้อกล่าวหาที่ว่า จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เรื่องการล้มล้างการปกครองนั้น ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้ส.ว. มาจากการเลือกตั้ง เกี่ยวกับการล้มล้างการปกครองตรงไหน ยืนยันว่า พวกเราทุกคนมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ทหาร ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ผ่านศึกเหนือเสือใต้มามาก จึงเป็นไปไม่ได้ที่พวกเราจะกระทำการล้มล้างการปกครอง
จากนั้นนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช. คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ได้แจ้ง ถึงการยื่นแสดงความประสงค์ ที่จะแถลงปิดสำนวนคดี ด้วยวาจา ต้องยื่นต่อ สนช. ตั้งแต่วันที่ 25 ก.พ. ถึง 3 มี.ค. แต่หากต้องการแถลงเป็นหนังสือ สามารถยื่นได้ตั้งแต่ วันที่ 3 มี.ค.-9 มี.ค. ส่วนการยื่นญัตติซักถาม ให้สามารถยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 25 ก.พ. ไปจนถึงเวลา 12.00 น. ของวันที่ 27 ก.พ. และกำหนดให้ตั้งกรรมการซักถามจำนวน 7 คน คือ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ นายยุทธนา ทัพเจริญ คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี นายกิตติศักดิ์ รัตนวาราหะ นายปรีชา บัววิรัตน์เลิศ นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล นายกรรณภว์ ธนภรรคภวิน พร้อมทั้งกำหนดวันซักถามในวันที่ 5 มี.ค.
** "ยุทธพงศ์"ปัดเสียบบัตรแทนกัน
นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร อดีต ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. แจ้งข้อกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำผิดทางอาญา กรณีเสียบบัตรแทนกัน ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว.โดยมิชอบว่า ได้รับทราบมติดังกล่าวแล้ว ซึ่งตนยอมรับการตรวจสอบจากป.ป.ช. แต่กรณีการเสียบบัตรแทนกันนั้น ขอยืนยันว่าตนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือไปเสียบบัตรแทนคนอื่นแต่อย่างใด และที่มีรูปอยู่ในวิดีโอ เนื่องจาก ตนไปดึงเอาบัตรลงคะแนนของตัวเองออกมา เพื่อไปลงคะแนน เพราะมีคนมานั่งแทนที่นั่งของตน
นายยุทธพงศ์ กล่าวด้วยว่า อยากขอตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อครั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินคดีการเสียบบัตรแทนกัน ตอนนั้นก็ไม่มีชื่อตนเข้าไปเกี่ยวข้อง และที่ผ่านมา อนุกรรมการไต่สวนของป.ป.ช. ก็ไม่เคยเรียกไปชี้แจงใดแต่อย่างใดเลย ดังนั้นจึงขอยืนยันในความบริสุทธิ์ และพร้อมที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองต่อไป
ทั้งนี้ นายวิชัย แถลงว่า จากจากการไต่สวนของ ป.ป.ช. ที่ได้พิจารณาพฤติการณ์ของอดีตส.ว. พบว่า มีอยู่ 38 คน ที่มีพฤติการณ์ส่อว่า จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และข้อกฎหมาย โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มความผิด ประกอบด้วย
1. ข้อกล่าวหา นางภารดี จงสุขธนามณี และ พล.ท.พงศ์เอก อภิรักษ์โยธิน กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติ ร่างรัฐธรรมนูญ และลงมติในวาระที่ 3 แต่ไม่ได้พิจารณาลงมติในวาระ 1 ขั้นรับหลักการ และ วาระ 2 ขั้นพิจารณาเรียงลำดับรายมาตรา โดยเฉพาะ มาตรา 6 ที่มีการแก้ไขหลักการสำคัญ มีผลทำให้บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งส.ว.ที่สิ้นสุดสมาชิกภาพลง สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ว.ได้อีก โดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลา 2 ปี
2 . ข้อกล่าวหา นายประสิทธิ์ โพธสุธน นายสมชาติ พรรณพัฒน์ พล.ต.ต.องอาจ สุวรรณสิงห์ นายดิเรก ถึงฝั่ง นายประวัติ ทองสมบูรณ์ นายกฤช อาทิตย์แก้ว พล.ต.ท.พิชัย สุนทรสัจบูลย์ นายภิญโญ สายนุ้ย นายไพบูลย์ ซำศิริพงษ์ นายสุเมธ ศรีพงษ์ พ.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ นายสุรพงษ์ ตันธนศรีกุล นายพีระ มานะทัศน์ นายสิทธิศักดิ์ ยนต์ตระกูล นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง นายสุวิศว์ เมฆเสรีกุล นายรักพงษ์ ณ อุบล นายบวรศักดิ์ คณาเสน นายจตุรงค์ ธีระกนก นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง นายยุทธนา ยุพฤทธิ์ และ นายชูชัย เลิศพงศ์อดิศร รวม 22 คน กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติ ร่าง รัฐธรรมนูญ และลงมติในวาระ 1 , 2 และ 3
3. ข้อกล่าวหา นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์ นายโสภณ ศรีมาเหล็ก นายต่วน อับดุลเล๊าะ ดาโอ๊ะมารียอ พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ นายประดิษฐ์ ตันวัฒนะพงษ์ พล.ต.กลชัย สุวรรณบูรณ์ นายวรวิทย์ บารู นายสุโข วุฑฒิโชติ นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง นายสุริยา ปันจอร์ นายถนอม ส่งเสริม นายบุญส่ง โควาวิสารัช และ นายวรวิทย์ วงษ์สุวรรณ์ รวม 13 คน กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติ ร่าง รัฐธรรมนูญ และลงมติในวาระ 1 และ วาระ 3
4. ข้อกล่าวหา นายวิทยา อินาลา กรณีร่วมรายมือชื่อเสนอญัตติ ร่าง รัฐธรรมนูญ และ ลงมติในวาระ 1 และ 2
"จากการไต่สวนพบว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ทั้ง 38 คน ได้เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไข กับ ร่าง รัฐธรรมนูญที่บรรจุเข้าสู่วาระการประชุม เพื่อลงมติ วาระ 1, 2 และ 3 มีเนื้อหาไม่ตรงกัน โดยมีการแก้ไขหลักการสำคัญให้ ส.ว.ที่สิ้นสุดสมาชิกภาพ สามารถลงสมัครเป็น ส.ว.ได้อีก โดยไม่ต้องรอให้พ้นตำแหน่ง 2 ปี ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับที่ลงมติ ไม่ปรากฏว่า มีส.ว.ร่วมลงชื่อรับรองร่างดังกล่าว ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ชอบตาม มาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ โดยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยืนยัน ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีผลผูกพันทุกองค์กร ดังนั้น จากการไต่สวนจึงวินิจฉัยได้ว่า ทั้ง 38 คน มีพฤติการณ์ส่อว่า จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่รู้ว่า ร่างที่ได้ลงมติไปนั้น เป็นร่างสอดไส้ ที่เสนอโดยมิชอบ ข้ออ้างที่ว่าไม่ทราบว่า ร่างที่ลงมติเห็นชอบ เป็นคนละฉบับกับที่ร่างที่เข้าชื่อเสนอ เป็นเรื่องที่รับฟังไม่ขึ้น"
นายวิชัย กล่าวอีกว่า ยืนยันว่าป.ป.ช. มีอำนาจในการไต่สวนถอดถอนกรณีดังกล่าว แม้รัฐธรรมนูญปี 50 จะไม่มีผลบังคับใช้แล้ว แต่ประกาศ คสช.ฉบับที่ 24/2557 ให้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ยังมีผลบังคับใช้ต่อไป ประกอบกับ รัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 มาตรา 6 ให้ สนช. ทำหน้าที่เป็น ส.ส.และ ส.ว. ซึ่ง สนช.มีข้อบังคับการประชุมปี 2557 ระบุให้สนช. มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ ดังนั้น ป.ป.ช. ย่อมมีอำนาจในการไต่สวนเรื่องดังกล่าว พร้อมส่งรายงานคำร้องถอดถอนมายัง สนช. เพื่อดำเนินการถอดถอนได้
** งัดกรณี"ภักดี"ดำรงตำแหน่งมิชอบโต้
ต่อมาเป็นการแถลงคัดค้านข้อกล่าวหา โดยนายกฤช อาทิตย์แก้ว อดีต ส.ว.กำแพงเพชร กล่าวว่า พวกตนขอปฏิเสธข้อกล่าวหาของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้งหมด ทั้งในข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริงนั้น และคำร้องที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ นำโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เข้าชื่อยื่น ป.ป.ช. เพื่อขอให้ถอดถอนพวกตนออก ไม่เป็นไปตาม มาตรา 61 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. และข้อบังคับการประชุมสนช. พ.ศ. 2557 ข้อที่ 164 เพราะในคำร้องมีแค่ลายเซ็น และหมายเลขสมาชิกส.ส. เท่านั้น ทั้งที่ตามกฎหมายและข้อบังคับดังกล่าว ระบุว่า จะต้องมีที่อยู่ผู้ลงชื่อด้วย อีกทั้งตัวอักษรในคำร้อง กับตัวอักษรในลายมือชื่อ ไม่ใช่ตัวพิมพ์ชนิดเดียวกัน และในรายงานสำนวนไต่สวนของ ป.ป.ช. มีชื่อ นายภักดี โพธิศิริ ร่วมพิจารณาด้วย ทั้งที่นายภักดี มีปัญหาเรื่องการดำรงตำแหน่ง ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากไม่ได้ลาออกจากบริษัทเอกชนหลังจากที่ได้รับการเลือกให้เป็น ป.ป.ช. ภายใน 15 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด ถือว่าขัดต่อคุณสมบัติของบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. ดังนั้น จึงไม่ถือเป็นกรรมการป.ป.ช.ด้วย และกำลังเป็นคดีฟ้องร้องอยู่ที่ศาลปกครอง และทราบว่า เรื่องดังกล่าวประธาน สนช.ได้มอบหมายให้คณะกรรมาธิการการเมือง สนช. ได้ตรวจสอบหลังจากที่ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.ได้ร้องเรียนเข้ามา
นอกจากนี้ในรายงานการยื่นให้ สนช.ถอดถอนครั้งนี้ ลงวันที่ 15 พ.ค. 57 พบว่า น.ส.สุภา ปิยะจิตติ ได้ลงนามร่วมด้วย ในฐานะกรรมการ ป.ป.ช. แต่ในราชกิจจานุเบกษา น.ส.สุภา ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการป.ป.ช.วันที่ 9 ก.ย. 57 จึงทำให้การถอดถอนครั้งนี้ อาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดังนั้น มติของสนช.ที่ออกไป ก็จะมีปัญหา หากยังเดินหน้ากระบวนการถอดถอนต่อไป การแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่ถูกกล่าวหากระทำไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่เคยมีคำสั่งว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราได้ ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 ซึ่งก่อนหน้านี้ พวกเรายังเคยช่วยพรรคประชาธิปัตย์ แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรามาแล้ว และในมาตรา 130 ได้ให้เอกสิทธิคุ้มครองแก่สมาชิกรัฐสภา ว่า การอภิปรายในสภาใดๆ ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุในการฟ้องร้องได้
" กรรมการป.ป.ช. บางคนทำงานไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีอคติ ความรู้สึกส่วนตัวที่ไม่ชอบจะให้มี ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง ขณะนี้ป.ป.ช.ถือว่ามีอำนาจมาก สามารถที่จะกล่าวโทษ ข้าราชการ นักการเมือง ถือว่ามีอำนาจล้นฟ้า แต่การมีอำนาจมาก จะทำให้ความเป็นธรรมน้อยลง กระบวนการถอดถอนของสนช.ครั้งนี้ มาจากคำร้องที่ไม่ชอบ และมีบุคคลที่ไม่ใช่กรรมการ ป.ป.ช. ร่วมลงมติ ไม่ว่าผลจะออกมาถอดถอนหรือไม่ มติของ สนช. อาจไม่ชอบ และพวกผมสงวนสิทธิ์ที่จะดำเนินการตามที่เห็นสมควรต่อไป ยืนยันทั้ง 38 คน ไม่ได้กระทำการที่ส่อว่าจงใจขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตามที่มีการกล่าว หากระบวนการถอดถอนไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 15/2553 และ 16/2553 ซึ่งไม่ว่าผลออกมาอย่างไร จะไม่มีปฏิกิริยาใดๆ จากพวกผมอย่างเด็ดขาด บ้านเมืองขณะนี้วุ่นวายมามากพอแล้ว จึงไม่อยากให้บ้านเมืองวุ่นวายขึ้นอีก" นายกฤช กล่าว
** ตะแบงไม่มีร่างแก้ไขรธน. ปลอม
ขณะที่นายวิทยา อินาลา อดีต ส.ว.นครพนม กล่าวว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เสนอโดย นายอุดมเดช รัตนเสถียร อดีต ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย มีเพียงร่างเดียว ไม่มีร่างปลอม ทั้งนี้ การขอเปลี่ยนแก้ไขเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอไป สามารถทำได้ หากยังไม่มีการบรรจุญัตติดังกล่าวเข้าสู่วาระการประชุม ตามแนวทางปฏิบัติของกระบวนการพิจารณาทางนิติบัญญัติ ข้อ 3 ที่ระบุว่า ผู้เสนอหลักจัดทำร่างรัฐธรรมนูญหรือ พ.ร.บ.สามารถนำร่างรัฐธรรมนูญหรือ ร่าง พ.ร.บ.ใหม่ มาเปลี่ยนกับร่างรัฐธรรมนูญหรือ พ.ร.บ.ฉบับเดิมได้ ซึ่งอาจจะแก้ไขเฉพาะส่วนที่ผิด หรือนำร่างใหม่มาเปลี่ยน
ร่างเดิมได้ แต่ต้องใช้เลขรับหนังสือเดิม ดังนั้น ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มา ส.ว. ที่มีการเพิ่มเติมเนื้อหา มาตรา 6 เข้าไป จึงชอบด้วย มาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ
"พวกผมร่วมลงชื่อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ไม่ได้อยู่ใต้อาณัตพรรคการเมือง หรือบุคคลใด บุคคลหนึ่ง เพราะการลงมติไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เราจำใส่สมองตลอดว่า ส.ว. มีหน้าที่อย่างไร ผ่านการปฏิญาณตนมาแล้ว การมาบอกว่า เราล้มล้างระบอบประชาธิปไตย อยากถามว่า เอาสมองส่วนไหนมาคิด” นายวิทยา กล่าว
ต่อมานางภารดี จงสุขธนามณี อดีต ส.ว.เชียงราย โต้แย้งว่า ตนและพล.ท.พงศ์เอก อภิรักษ์โยธิน อดีต ส.ว.พะเยา ได้มีการลงชื่อยื่นญัตติ แต่มีการลงมติในวาระ 3 เท่านั้น อยากถามว่าทำไม ป.ป.ช.ต้องลงมติ ถึง 2 ครั้ง ทั้งที่การลงมติในครั้งที่แรกได้ยุติไปแล้วว่า ตน และ พล.ท.พงศ์เอก หลุดจากคดีแล้ว แต่เมื่อผ่านไปเพียง 10 วัน ก็กลับมีการหยิบยกขึ้นมาทบทวนใหม่ ทำให้การทำงานของ ป.ป.ช. ขาดความน่าเชื่อถือ เพราะการจะหยิบยกมติดังกล่าวขึ้นมาทบทวนใหม่ ต้องมีหลักฐานเพิ่ม และต้องมีการแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหารับทราบ แต่สิ่งที่ ป.ป.ช.ทำคือ ไม่มีการแจ้งให้ตน และ พล.ท.พงศ์เอก รับทราบเลย อย่างนี้ถือว่าเป็นการดิสเครดิต ทำงานสองมาตรฐาน หรือไม่
ด้าน พล.ท.พงศ์เอก ชี้แจงโต้แย้งว่า การลงมติของ ป.ป.ช. ในครั้งแรก มติเท่ากันคือ 4 ต่อ 4 ทำให้ประธาน ป.ป.ช. ใช้อำนาจตัดสินเสียงชี้ขาด ซึ่งประธานได้ลงมติให้หลุดจากคดีดังกล่าว ดังนั้นตนและนางภารดี จึงไม่อยู่ในรายชื่อ 38 คน แต่การนำกลับมาทบทวนใหม่ โดยอ้างตามกฎหมายการถอดถอน ว่า จะต้องใช้เสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการป.ป.ช. ที่มีอยู่ ซึ่งมติออกมา 4 ต่อ 4 ถือว่าตนและนางภารดี ผิด จึงไม่เข้าใจว่า คะแนน 4 ต่อ 4 มากกว่ากึ่งหนึ่งอย่างไร ดังนั้นการที่ตน และนางภารดี จะถูกถอดถอนหรือไม่ ก็อยู่ที่ดุลพินิจของสนช. ที่จะชี้ซ้าย หรือชี้ขวา
**โวยป.ป.ช."มโน" ให้ร้ายนักการเมือง
จากนั้น นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง อดีต ส.ว.อุทัยธานี ชี้แจงโต้แย้งว่า สิ่งที่ป.ป.ช. และศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินครั้งนี้ เป็นจิตนาการที่คิด ว่านักการเมืองจะไปสร้างอิทธิพล กินบ้านกินเมือง แล้วผลักให้ไปเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมือง เพราะไปมีแนวคิด และอุดมการณ์ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. เหมือนกับคนสีใดสีหนึ่ง ต้องขอบคุณที่ สนช.รับเรื่องของพวกตนไว้พิจารณา และเปิดโอกาสให้พวกตน ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมแห่งนี้ เพื่อเผยแพร่ออกไปสู่สาธารณะ ว่าสิ่งที่พวกตนทำ กำลังคิดอะไรอยู่ และมีผลต่อประชาชนอย่างไร เพราะจะมีสักกี่คนที่จะรู้เนื้อหาสาระในการ กล่าวหาครั้งนี้
ต่อมานายดิเรก ถึงฝั่ง อดีต ส.ว.นนทบุรี แถลงสรุปว่า ยืนยันว่า การทำหน้าที่ของ ส.ว.ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ทำถูกต้องทุกประการ และการแก้รัฐธรรมนูญ รื่องที่มาส.ว. ไม่ได้หมายความว่า ส.ว. แต่ละคนจะกลับมาลงสมัครเป็น ส.ว.อีกครั้ง เพราะแต่ละคนยังไม่ได้ตัดสินใจ ว่าจะกลับมาลงสมัครอีกหรือไม่ ถ้าจะกล่าวหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ก็ถือว่าองค์ประกอบยังไม่ครบถ้วน ขอยืนยันว่า ไม่มีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และข้อกล่าวหาที่ว่า จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เรื่องการล้มล้างการปกครองนั้น ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้ส.ว. มาจากการเลือกตั้ง เกี่ยวกับการล้มล้างการปกครองตรงไหน ยืนยันว่า พวกเราทุกคนมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ทหาร ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ผ่านศึกเหนือเสือใต้มามาก จึงเป็นไปไม่ได้ที่พวกเราจะกระทำการล้มล้างการปกครอง
จากนั้นนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช. คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ได้แจ้ง ถึงการยื่นแสดงความประสงค์ ที่จะแถลงปิดสำนวนคดี ด้วยวาจา ต้องยื่นต่อ สนช. ตั้งแต่วันที่ 25 ก.พ. ถึง 3 มี.ค. แต่หากต้องการแถลงเป็นหนังสือ สามารถยื่นได้ตั้งแต่ วันที่ 3 มี.ค.-9 มี.ค. ส่วนการยื่นญัตติซักถาม ให้สามารถยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 25 ก.พ. ไปจนถึงเวลา 12.00 น. ของวันที่ 27 ก.พ. และกำหนดให้ตั้งกรรมการซักถามจำนวน 7 คน คือ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ นายยุทธนา ทัพเจริญ คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี นายกิตติศักดิ์ รัตนวาราหะ นายปรีชา บัววิรัตน์เลิศ นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล นายกรรณภว์ ธนภรรคภวิน พร้อมทั้งกำหนดวันซักถามในวันที่ 5 มี.ค.
** "ยุทธพงศ์"ปัดเสียบบัตรแทนกัน
นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร อดีต ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. แจ้งข้อกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำผิดทางอาญา กรณีเสียบบัตรแทนกัน ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว.โดยมิชอบว่า ได้รับทราบมติดังกล่าวแล้ว ซึ่งตนยอมรับการตรวจสอบจากป.ป.ช. แต่กรณีการเสียบบัตรแทนกันนั้น ขอยืนยันว่าตนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือไปเสียบบัตรแทนคนอื่นแต่อย่างใด และที่มีรูปอยู่ในวิดีโอ เนื่องจาก ตนไปดึงเอาบัตรลงคะแนนของตัวเองออกมา เพื่อไปลงคะแนน เพราะมีคนมานั่งแทนที่นั่งของตน
นายยุทธพงศ์ กล่าวด้วยว่า อยากขอตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อครั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินคดีการเสียบบัตรแทนกัน ตอนนั้นก็ไม่มีชื่อตนเข้าไปเกี่ยวข้อง และที่ผ่านมา อนุกรรมการไต่สวนของป.ป.ช. ก็ไม่เคยเรียกไปชี้แจงใดแต่อย่างใดเลย ดังนั้นจึงขอยืนยันในความบริสุทธิ์ และพร้อมที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองต่อไป