วานนี้ (19ก.พ.) พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงถึงความคืบหน้าในการยกร่างรัฐธรรมนูญ รายมาตรา ภาค 4 การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง หมวด 2 การปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรม ว่า นอกจากจะมีการพิจารณาเนื้อหาในการปฏิรูปส่วนต่างๆ แล้ว ยังมีการตั้งคณะอนุกรรมาธิการยกร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจำนวน 11 คณะ ประกอบด้วย
1. คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา มี พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช เป็นประธาน
2. คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย คณะรัฐมนตรี มีนายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เป็นประธาน
3 .คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง มี นายสุจิต บุญบงการ เป็นประธาน
4. คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มีนายเจษฏ์ โทณะวนิก เป็นประธาน
5. คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ มีนายวุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ เป็นประธาน
6 .คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญ และวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ มีนายบรรเจิด สิงคะเนติ เป็นประธาน
7. คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีนายประสพสุข บุญเดช เป็นประธาน
8. คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน มี นายบรรเจิด สิงคะเนติ เป็นประธาน
9. คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มีนายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นประธาน
10. คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน มี นายปกรณ์ ปรียากร
เป็นประธาน
11. คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การคลังและการงบประมาณของรัฐ มีนายจรัส สุวรรณมาลา เป็นประธาน
** คาดเลือกตั้งก.พ.59
พล.อ.เลิศรัตน์ ยังกล่าวถึงปฏิทินการเมืองว่า หากมีการนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ในวันที่ 4 กันยายน 2558 และมีการโปรดเกล้าฯ ช่วงสิ้นเดือนกันยายน ก็จะมีการนำ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง และการบริหาร 4 ฉบับ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อน โดยคาดว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน หากเสร็จในสิ้นเดือนธันวาคม ก็ประกาศให้มีการเลือกตั้งได้ แต่การเลือกตั้งจะเกิดหลังจากนั้น 60 วัน คือน่าจะเกิดได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559
**ตั้งธ.แรงงานรับแผนปฏิรูป
ด้าน น.พ.ชูชัย ศุภวงศ์ รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ในวันศุกร์ที่ 20 ก.พ. การยกร่างในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูป น่าจะแล้วเสร็จ โดยในส่วนที่ 11 การปฏิรูปด้านแรงงาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดี เนื่องจากมีแนวทางที่จะตรากฎหมาย และกำหนดกลไกเพื่อรองรับเสรีภาพของผู้ใช้แรงงานในการสมาคม การรวมตัวกัน และการร่วมเจรจาต่อรองให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารแรงงาน เพื่อเป็นกองทุนการเงินของผู้ใช้แรงงานในการส่งเสริมการออม และพัฒนาตนเอง อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพที่ดีขึ้น
น.พ.ชูชัย กล่าวว่า ธนาคารแรงงาน จะช่วยให้ผู้ใช้แรงงานเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งปัจจุบันมีสถิติการเป็นหนี้สูงถึงเฉลี่ยครัวเรือนละ 106,000 บาท ทำให้มีภาระต้องผ่อนชำระต่อเดือนถึง 7,400 บาท อีกทั้งผู้ใช้แรงงานไม่ต่ำกว่า 60 % มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท สำหรับแนวคิดในการจัดตั้งธนาคารแรงงาน คือให้รัฐบาลเป็นผู้ริเริ่มจากการออกพันธบัตรในระยะเริ่มแรกจำนวน 5 หมื่นล้านบาทหรือ 5 % จากกองทุนประกัน สังคมที่มีเงินสูงถึง 1.1 ล้านล้านบาท และให้ธนาคารรัฐ เป็นผู้บริหารจัดการเงินดังกล่าวกำหนดวงเงินกู้จากค่าจ้างไม่เกิน 3 เท่าของเงินเดือน ด้วยการปล่อยกู้ให้แรงงานอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากหนี้นอกระบบ
** ตั้งองค์กรบริหารการพัฒนาภาค
นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดิน ให้มีองค์กรบริหารการพัฒนาภาค ทำหน้าที่สนับสนุนการพัฒนาจังหวัดต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในภาค และกำกับดูแลหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ จัดทำแผนและบริหารงบประมาณแบบพื้นที่ เพื่อดำเนินการพัฒนาภาคที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศ ซึ่งไม่ซ้ำซ้อนกับงานของจังหวัดและองค์กรบริหารท้องถิ่น ประสานการพัฒนาพื้นที่บริหารงานระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการและยั่งยืนของการพัฒนาในระดับพื้นที่ของหลายจังหวัด ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
นายประชา เตรัตน์ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การดำเนินการเช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นการรื้อโครงสร้างการบริหารประเทศ เพราะทุกอย่างยังเหมือนเดิม เพียงแต่มีองค์กรที่จะทำหน้าที่บูรณาการพื้นที่แต่ละจังหวัด ให้มียุทธศาสตร์เดียวกันเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนา และยังไม่ได้กำหนดว่าใครจะเป็นเจ้าภาพที่จะบริหารองค์กรดังกล่าว ซึ่งในแต่ละพื้นที่ อาจเลือกข้าราชการที่ดีมาเป็นเลขาธิการภาคก็ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า เนื้อหาเช่นนี้ คือการตัดอำนาจนักการเมืองไปให้ข้าราชการมีอำนาจบริหารมากขึ้น หรือไม่ นายประชา กล่าวว่าไม่ใช่เช่นนั้น เพียงแต่มีการตรวจสอบการใช้อำนาจของนักการเมืองมากขึ้น นโยบายของพรรคการเมือง ก็ยังดำเนินต่อไปได้ แต่ต้องคำนึงถึงแผนขององค์กรบริหารการพัฒนาภาค และส่งเสริมในการจัดสรรงบประมาณให้ด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีรูปธรรมขององค์กรดังกล่าว ซึ่งจะต้องมีการบัญญัติกฎหมายตามมา
1. คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา มี พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช เป็นประธาน
2. คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย คณะรัฐมนตรี มีนายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เป็นประธาน
3 .คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง มี นายสุจิต บุญบงการ เป็นประธาน
4. คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มีนายเจษฏ์ โทณะวนิก เป็นประธาน
5. คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ มีนายวุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ เป็นประธาน
6 .คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญ และวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ มีนายบรรเจิด สิงคะเนติ เป็นประธาน
7. คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีนายประสพสุข บุญเดช เป็นประธาน
8. คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน มี นายบรรเจิด สิงคะเนติ เป็นประธาน
9. คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มีนายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นประธาน
10. คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน มี นายปกรณ์ ปรียากร
เป็นประธาน
11. คณะอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การคลังและการงบประมาณของรัฐ มีนายจรัส สุวรรณมาลา เป็นประธาน
** คาดเลือกตั้งก.พ.59
พล.อ.เลิศรัตน์ ยังกล่าวถึงปฏิทินการเมืองว่า หากมีการนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ในวันที่ 4 กันยายน 2558 และมีการโปรดเกล้าฯ ช่วงสิ้นเดือนกันยายน ก็จะมีการนำ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง และการบริหาร 4 ฉบับ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อน โดยคาดว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน หากเสร็จในสิ้นเดือนธันวาคม ก็ประกาศให้มีการเลือกตั้งได้ แต่การเลือกตั้งจะเกิดหลังจากนั้น 60 วัน คือน่าจะเกิดได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559
**ตั้งธ.แรงงานรับแผนปฏิรูป
ด้าน น.พ.ชูชัย ศุภวงศ์ รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ในวันศุกร์ที่ 20 ก.พ. การยกร่างในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูป น่าจะแล้วเสร็จ โดยในส่วนที่ 11 การปฏิรูปด้านแรงงาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดี เนื่องจากมีแนวทางที่จะตรากฎหมาย และกำหนดกลไกเพื่อรองรับเสรีภาพของผู้ใช้แรงงานในการสมาคม การรวมตัวกัน และการร่วมเจรจาต่อรองให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารแรงงาน เพื่อเป็นกองทุนการเงินของผู้ใช้แรงงานในการส่งเสริมการออม และพัฒนาตนเอง อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพที่ดีขึ้น
น.พ.ชูชัย กล่าวว่า ธนาคารแรงงาน จะช่วยให้ผู้ใช้แรงงานเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งปัจจุบันมีสถิติการเป็นหนี้สูงถึงเฉลี่ยครัวเรือนละ 106,000 บาท ทำให้มีภาระต้องผ่อนชำระต่อเดือนถึง 7,400 บาท อีกทั้งผู้ใช้แรงงานไม่ต่ำกว่า 60 % มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท สำหรับแนวคิดในการจัดตั้งธนาคารแรงงาน คือให้รัฐบาลเป็นผู้ริเริ่มจากการออกพันธบัตรในระยะเริ่มแรกจำนวน 5 หมื่นล้านบาทหรือ 5 % จากกองทุนประกัน สังคมที่มีเงินสูงถึง 1.1 ล้านล้านบาท และให้ธนาคารรัฐ เป็นผู้บริหารจัดการเงินดังกล่าวกำหนดวงเงินกู้จากค่าจ้างไม่เกิน 3 เท่าของเงินเดือน ด้วยการปล่อยกู้ให้แรงงานอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากหนี้นอกระบบ
** ตั้งองค์กรบริหารการพัฒนาภาค
นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดิน ให้มีองค์กรบริหารการพัฒนาภาค ทำหน้าที่สนับสนุนการพัฒนาจังหวัดต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในภาค และกำกับดูแลหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ จัดทำแผนและบริหารงบประมาณแบบพื้นที่ เพื่อดำเนินการพัฒนาภาคที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศ ซึ่งไม่ซ้ำซ้อนกับงานของจังหวัดและองค์กรบริหารท้องถิ่น ประสานการพัฒนาพื้นที่บริหารงานระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการและยั่งยืนของการพัฒนาในระดับพื้นที่ของหลายจังหวัด ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
นายประชา เตรัตน์ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การดำเนินการเช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นการรื้อโครงสร้างการบริหารประเทศ เพราะทุกอย่างยังเหมือนเดิม เพียงแต่มีองค์กรที่จะทำหน้าที่บูรณาการพื้นที่แต่ละจังหวัด ให้มียุทธศาสตร์เดียวกันเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนา และยังไม่ได้กำหนดว่าใครจะเป็นเจ้าภาพที่จะบริหารองค์กรดังกล่าว ซึ่งในแต่ละพื้นที่ อาจเลือกข้าราชการที่ดีมาเป็นเลขาธิการภาคก็ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า เนื้อหาเช่นนี้ คือการตัดอำนาจนักการเมืองไปให้ข้าราชการมีอำนาจบริหารมากขึ้น หรือไม่ นายประชา กล่าวว่าไม่ใช่เช่นนั้น เพียงแต่มีการตรวจสอบการใช้อำนาจของนักการเมืองมากขึ้น นโยบายของพรรคการเมือง ก็ยังดำเนินต่อไปได้ แต่ต้องคำนึงถึงแผนขององค์กรบริหารการพัฒนาภาค และส่งเสริมในการจัดสรรงบประมาณให้ด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีรูปธรรมขององค์กรดังกล่าว ซึ่งจะต้องมีการบัญญัติกฎหมายตามมา