ASTVผู้จัดการรายวัน-บอร์ดรฟม.เด้ง”รณชิต”พ้นรักษาการผู้ว่าฯรฟม. ปลดล็อคแก้ปัญหาภายใน ทำงานไม่เดินหน้า “ยอดยุทธ”เผยเร่งตั้ง”พีระยุทธ”เป็นผู้ว่าฯคนใหม่เพื่อขับเคลื่อนงานที่ติดขัด ขณะที่ยืนยัน เจรจา BMCL ให้เดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด เดินรถต่อเนื่อง ประหยัดค่าก่อสร้างศูนย์ซ่อมและงานระบบ คาดมี.ค.สรุปเสนอครม.เร่งเจรจาเซ็นสัญญาในกลางปีนี้ และเห็นชอบกรอบค่าเวนคืนที่เพิ่มค่าชดเชยที่เป็นธรรมขึ้น
พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดวานนี้ (18 ก.พ.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการเปลี่ยนรักษาการผู้ว่าฯรฟม. จากนายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการฯ ด้านบริหาร เป็น นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการฯ(กลยุทธ์และแผน)ซึ่งมีผลทันที พร้อมกับตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง
เนื่องจากว่าที่ผ่านมานายรณชิตได้มีการดำเนินการโดยพละการ ซึ่งการเปลี่ยนรักษาการผู้ว่าฯ จะเป็นการแก้ปัญหาการบริหารงานภายในรฟม.ให้เดินหน้าต่อไปได้โดยเฉพาะการแต่งตั้ง นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการฯ (ฝ่ายวิศวกรรมและก่อสร้าง) ซึ่งผ่านการสรรหาเป็นผู้ว่ารฟม.คนใหม่ ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้
ซึ่งบอร์ดต้องการให้ผู้ว่าฯรฟม.คนใหม่เข้ามาขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ให้เดินหน้า จึงต้องหาวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวเพื่อไม่ให้รฟม.เสียหายมากไปกว่านี้
“ขณะนี้งานรฟม. มีเรื่องติดขัดหลายอย่าง ส่วนกรณีที่ระบุว่า บอร์ดไม่สามารถเปลี่ยนรักษาการผู้ว่าการฯรฟม.ได้นั้นเนื่องจากนายรณชิตเป็นรองผู้ว่าฯที่มีอาวุโสสูงสุด แต่เนื่องจากนายรณชิตถูกตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงจึงเป็นเหตุผลที่สามารถเปลี่ยนได้”พล.อ.ยอดยุทธกล่าว
นอกจากนี้ บอร์ดยังมีมติเห็นชอบรายงานรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายตะวันออก ที่มีการเบี่ยงแนวเส้นทางใหม่ จากเดิม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี เป็น พระราม 9-มีนบุรี ซึ่งทำให้ระยะทางลดลง 1.1 กม. วงเงินก่อสร้างลดลง 2,915 ล้านบาท เหลือ 107,410 ล้านบาท โดยการปรับเส้นทางใหม่คาดว่าปริมาณผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นจาก 114,230 คนต่อวัน เป็น 128,960 คนต่อวัน
ซึ่งขั้นตอนจากนี้ รฟม.จะเสนอรายละเอียดการปรับแบบใหม่ไปยังกระทรวงคมนาคม และคาดว่าจะเสนอครม. ได้ภายในเดือนเมษายน 2558และเริ่มการก่อสร้างได้ในเดือนเมษายน 2559 โดยกำหนดเปิดให้บริการได้ในปี 2563 และเห็นชอบให้นำคู่มิอการกำหนดเงินค่าตอบแทนตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ส. 2530 ที่กระทรวงคมนาคมกำหนดเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนให้ผู้ถูกเวนคืน เพื่อประโยชน์สูงสุด และยุติธรรม และทำให้สามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้เร็วขึ้น ซึ่งจะให้อำนาจรฟม.ในการกำหนดค่าทดแทนเพิ่มเติม เช่น กรณีออกจากที่อยู่อาศัยหรือประกอบการค้า จะเพิ่มให้ 5% ของค่าทดแทนโรงเรือนเป็นต้น จากเดิมใช้แค่ราคาประเมินโดยจะเริ่มนำมาใช้เวนคืนกับโครงการใหม่เช่น สายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคพ) สายสีชมพู สีส้ม สีเหลือง
ส่วนความคืบหน้าการจัดหาผู้รับงานเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแคนั้น พล.อ.ยอดยุทธกล่าวว่า คณะกรรมการตามาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) ที่มีนายสัจจพงศ์ สนั่นเสียง รองผู้ว่า (ปฏิบัติการ) รฟม.เป็นประธาน จะมีการประชุมในสัปดาห์หน้า หลังจากต้องเลื่อนการประชุมเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ออกไป เพราะไม่ครบองค์ประชุม
ทั้งนี้เชื่อว่ากก.มาตรา 13ฯ จะสามารถสรุปรูปแบบได้ภายในเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งล่าช้าจากกำหนดเดิมที่กระทรวงคมนาคมกำหนดไว้ประมาณ 1 เดือน จากนั้นกก.มาตรา 13ฯ จะรายงานให้บอร์ดรับทราบ เพื่อนำส่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวมทั้งกระทรวงการคลังพิจารณา ก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
“แนวทางที่เหมาะสมคือ การเดินรถต่อเนื่อง ซึ่ง เชื่อว่า วิธีการเจรจากับผู้เดินรถรายเดิม คือ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL คือแนวทางที่ดีกว่าการเปิดประกวดราคา เพราะประชาชนจะได้รับความสะดวกสบายในการใช้บริการเดินรถต่อเนื่องแบบไม่ต้องเปลี่ยนขบวน อีกทั้งค่าใช้จ่ายของ รฟม.จะลดลง เนื่องจากสามารถใช้ศูนย์ซ่อมบำรุง รวมทั้งระบบควบคุมการเดินรถเดิมที่มีอยู่ในเส้นทางสายสีน้ำเงินปัจจุบัน (สายเฉลิมรัชมงคล) จึงไม่ต้องลงทุนเพิ่มและหาก ครม. เห็นชอบจะเริ่มการเจรจากับ BMCL และคาดว่าจะได้ข้อสรุปและเซ็นสัญญาจ้างงานกับ BMCL ประมาณกลางปีนี้ ส่วนข้อห่วงใยว่าการเจรจาจะเกิดการเอื้อประโยชน์กับเอกชนนั้น โครงการนี้ จะมีคณะกรรมการกลางตามข้อตกลงสัญญาคุณธรรมเข้ามาร่วมพิจารณาราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมด้วย มั่นใจได้ว่า จะสามารถตรวจสอยบได้และภาครัฐจะไม่เสียเปรียบ” พล.อ.ยอดยุทธ กล่าว
พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดวานนี้ (18 ก.พ.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการเปลี่ยนรักษาการผู้ว่าฯรฟม. จากนายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการฯ ด้านบริหาร เป็น นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการฯ(กลยุทธ์และแผน)ซึ่งมีผลทันที พร้อมกับตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง
เนื่องจากว่าที่ผ่านมานายรณชิตได้มีการดำเนินการโดยพละการ ซึ่งการเปลี่ยนรักษาการผู้ว่าฯ จะเป็นการแก้ปัญหาการบริหารงานภายในรฟม.ให้เดินหน้าต่อไปได้โดยเฉพาะการแต่งตั้ง นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการฯ (ฝ่ายวิศวกรรมและก่อสร้าง) ซึ่งผ่านการสรรหาเป็นผู้ว่ารฟม.คนใหม่ ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้
ซึ่งบอร์ดต้องการให้ผู้ว่าฯรฟม.คนใหม่เข้ามาขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ให้เดินหน้า จึงต้องหาวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวเพื่อไม่ให้รฟม.เสียหายมากไปกว่านี้
“ขณะนี้งานรฟม. มีเรื่องติดขัดหลายอย่าง ส่วนกรณีที่ระบุว่า บอร์ดไม่สามารถเปลี่ยนรักษาการผู้ว่าการฯรฟม.ได้นั้นเนื่องจากนายรณชิตเป็นรองผู้ว่าฯที่มีอาวุโสสูงสุด แต่เนื่องจากนายรณชิตถูกตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงจึงเป็นเหตุผลที่สามารถเปลี่ยนได้”พล.อ.ยอดยุทธกล่าว
นอกจากนี้ บอร์ดยังมีมติเห็นชอบรายงานรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายตะวันออก ที่มีการเบี่ยงแนวเส้นทางใหม่ จากเดิม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี เป็น พระราม 9-มีนบุรี ซึ่งทำให้ระยะทางลดลง 1.1 กม. วงเงินก่อสร้างลดลง 2,915 ล้านบาท เหลือ 107,410 ล้านบาท โดยการปรับเส้นทางใหม่คาดว่าปริมาณผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นจาก 114,230 คนต่อวัน เป็น 128,960 คนต่อวัน
ซึ่งขั้นตอนจากนี้ รฟม.จะเสนอรายละเอียดการปรับแบบใหม่ไปยังกระทรวงคมนาคม และคาดว่าจะเสนอครม. ได้ภายในเดือนเมษายน 2558และเริ่มการก่อสร้างได้ในเดือนเมษายน 2559 โดยกำหนดเปิดให้บริการได้ในปี 2563 และเห็นชอบให้นำคู่มิอการกำหนดเงินค่าตอบแทนตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ส. 2530 ที่กระทรวงคมนาคมกำหนดเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนให้ผู้ถูกเวนคืน เพื่อประโยชน์สูงสุด และยุติธรรม และทำให้สามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้เร็วขึ้น ซึ่งจะให้อำนาจรฟม.ในการกำหนดค่าทดแทนเพิ่มเติม เช่น กรณีออกจากที่อยู่อาศัยหรือประกอบการค้า จะเพิ่มให้ 5% ของค่าทดแทนโรงเรือนเป็นต้น จากเดิมใช้แค่ราคาประเมินโดยจะเริ่มนำมาใช้เวนคืนกับโครงการใหม่เช่น สายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคพ) สายสีชมพู สีส้ม สีเหลือง
ส่วนความคืบหน้าการจัดหาผู้รับงานเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแคนั้น พล.อ.ยอดยุทธกล่าวว่า คณะกรรมการตามาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) ที่มีนายสัจจพงศ์ สนั่นเสียง รองผู้ว่า (ปฏิบัติการ) รฟม.เป็นประธาน จะมีการประชุมในสัปดาห์หน้า หลังจากต้องเลื่อนการประชุมเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ออกไป เพราะไม่ครบองค์ประชุม
ทั้งนี้เชื่อว่ากก.มาตรา 13ฯ จะสามารถสรุปรูปแบบได้ภายในเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งล่าช้าจากกำหนดเดิมที่กระทรวงคมนาคมกำหนดไว้ประมาณ 1 เดือน จากนั้นกก.มาตรา 13ฯ จะรายงานให้บอร์ดรับทราบ เพื่อนำส่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวมทั้งกระทรวงการคลังพิจารณา ก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
“แนวทางที่เหมาะสมคือ การเดินรถต่อเนื่อง ซึ่ง เชื่อว่า วิธีการเจรจากับผู้เดินรถรายเดิม คือ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL คือแนวทางที่ดีกว่าการเปิดประกวดราคา เพราะประชาชนจะได้รับความสะดวกสบายในการใช้บริการเดินรถต่อเนื่องแบบไม่ต้องเปลี่ยนขบวน อีกทั้งค่าใช้จ่ายของ รฟม.จะลดลง เนื่องจากสามารถใช้ศูนย์ซ่อมบำรุง รวมทั้งระบบควบคุมการเดินรถเดิมที่มีอยู่ในเส้นทางสายสีน้ำเงินปัจจุบัน (สายเฉลิมรัชมงคล) จึงไม่ต้องลงทุนเพิ่มและหาก ครม. เห็นชอบจะเริ่มการเจรจากับ BMCL และคาดว่าจะได้ข้อสรุปและเซ็นสัญญาจ้างงานกับ BMCL ประมาณกลางปีนี้ ส่วนข้อห่วงใยว่าการเจรจาจะเกิดการเอื้อประโยชน์กับเอกชนนั้น โครงการนี้ จะมีคณะกรรมการกลางตามข้อตกลงสัญญาคุณธรรมเข้ามาร่วมพิจารณาราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมด้วย มั่นใจได้ว่า จะสามารถตรวจสอยบได้และภาครัฐจะไม่เสียเปรียบ” พล.อ.ยอดยุทธ กล่าว