นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงเรื่องการปฏิรูปสิ่งแวดล้อม ว่า เป็นเรื่องจำเป็น เพราะปัจจุบันมีปัญหาอุตสาหกรรมสกปรกที่สร้างมลพิษ กระทบกับสุขภาพของประชาชน เช่น จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม มีคนเป็นโรคมะเร็งมากกว่าจังหวัดอื่นถึง 4 เท่าตัว ในรอบรัศมี 5 กิโลเมตรของนิคมฯ เด็กเกิดใหม่จะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเด็กทั่วไป อีกทั้งยังมีขยะพิษ ฝังกลบแบบผิดกฎหมาย ทำให้เกิดการปนเปื้อน สิ่งเหล่านี้จะต้องปฏิรูปเพื่อแก้ไข
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การปฏิรูปสิ่งแวดล้อม เป็นโจทย์สำคัญซึ่งต้องมีการปฏิรูปโครงสร้าง ระบบ องค์กร และกฎหมาย โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการประมวลกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการประมวลกฎหมายด้านทรัพยากรธรรมชาติ ขึ้นมาทำหน้าที่ ทั้งบูรณาการกฎหมายเดิม และ ร่างกฎหมายใหม่ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับน้ำ ขยะ มีการพัฒนากระบวนการยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมโดยปรับปรุงระบบการคำนวณต้นทุนความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม การเยียวยาความเสียหาย องค์กรและสถาบันเกี่ยวกับความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม การบังคับคดีด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปรับปรุงกลไก และกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะอย่างแท้จริง
นายบัณฑูร กล่าวว่า ระบบการจัดทำรายงาน อีไอเอ และ เอชไอเอ จะมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เจ้าของโรงงานเป็นผู้จ้างตรงอีกต่อไป เนื่องจากมีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือ รวมถึงเครื่องมือเรื่องการผังเมืองให้ใช้ประโยชน์ได้จริง เพื่อลดความขัดแย้ง และจะมีการปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดทำต้นทุนทรัพยากรธรรมชาติ บัญชีธรรมชาติสีเขียว จัดภาษีสิ่งแวดล้อม และเครื่องมือเศรษฐศาสตร์ ในการจัดการสิ่งแวดล้อม
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การปฏิรูปสิ่งแวดล้อม เป็นโจทย์สำคัญซึ่งต้องมีการปฏิรูปโครงสร้าง ระบบ องค์กร และกฎหมาย โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการประมวลกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการประมวลกฎหมายด้านทรัพยากรธรรมชาติ ขึ้นมาทำหน้าที่ ทั้งบูรณาการกฎหมายเดิม และ ร่างกฎหมายใหม่ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับน้ำ ขยะ มีการพัฒนากระบวนการยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมโดยปรับปรุงระบบการคำนวณต้นทุนความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม การเยียวยาความเสียหาย องค์กรและสถาบันเกี่ยวกับความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม การบังคับคดีด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปรับปรุงกลไก และกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะอย่างแท้จริง
นายบัณฑูร กล่าวว่า ระบบการจัดทำรายงาน อีไอเอ และ เอชไอเอ จะมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เจ้าของโรงงานเป็นผู้จ้างตรงอีกต่อไป เนื่องจากมีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือ รวมถึงเครื่องมือเรื่องการผังเมืองให้ใช้ประโยชน์ได้จริง เพื่อลดความขัดแย้ง และจะมีการปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดทำต้นทุนทรัพยากรธรรมชาติ บัญชีธรรมชาติสีเขียว จัดภาษีสิ่งแวดล้อม และเครื่องมือเศรษฐศาสตร์ ในการจัดการสิ่งแวดล้อม