ASTVผู้จัดการรายวัน-บอร์ด ทอท. มั่นใจเงินเหลือเฟือ เตรียมใช้เงินสดหมุนเวียนลงทุนสุวรรณภูมิเฟส2 ทั้งหมด พร้อมเห็นชอบปรับลดวงเงินจากเดิม 6.25 หมื่นล้าน เหลือ 6.17 หมื่นล้าน “ประสงค์” เผยอาจกระทบสภาพคล่องช่วงปี 60 เตรียมแผนกู้ในประเทศมาใช้ ส่วนการตั้งกองทุนอินฟรา ฟันด์ ขอปรับใช้ลงทุนโครงการอื่นแทน เหตุต้นทุนการเงินสูงไป
นายประสงค์ พูนธเนศ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เปิดเผยภายหลังการประชุมวานนี้ (18 ก.พ.) ว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นขอบปรับปรุงแผนและขยายระยะเวลาโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) วงเงิน 62,503.214 ล้านบาท (ปีงบประมาณ 2554-2560) ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 ส.ค.2553 ใหม่ โดยแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ระยะ เริ่มก่อสร้างระยะที่ 1 ประมาณเดือนมี.ค.2559 และเริ่มก่อสร้างระยะที่ 2 ประมาณเดือนต.ค.2560 มีกรอบงบประมาณหลังปรับปรุงลดลงเหลือ 61,738.420 ล้านบาท (ราคากลาง โดยรวมสำรองราคาเปลี่ยนแปลง 10% ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% และดอกเบี้ยระหว่างก่อสร้าง 1,761.600 ล้านบาท) โดยจะสรุปรายละเอียดเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมภายในเดือนนี้
ก่อนหน้านี้ ทอท.ได้เสนอแผนก่อสร้างทางวิ่งสำรอง ความยาว 2,900 เมตร วงเงิน 20,243.106 ล้านบาท และแผนการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (ด้านเหนือ) วงเงิน 27,684.392 ล้านบาทไปกระทรวงคมนาคมแล้ว โดยจะเสนอ ครม. พิจารณาได้ภายในเดือนนี้ ซึ่งทางวิ่งสำรองจะเริ่มก่อสร้างในเดือนต.ค.2558 อาคารใหม่ เริ่มก่อสร้างมี.ค.2559 แล้วเสร็จพร้อมกันในปี 2560
จากนั้นจะเริ่มก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และแผนงานในเฟส 2 เดิมทันที ซึ่งแผนงานก่อสร้างจะสอดคล้องกับการเติบโตของผู้โดยสาร
ทั้งนี้ ทอท.จะใช้เงินลงทุนจากรายได้และเงินสดหมุนเวียนที่มีประมาณ 44,000 ล้านบาท คาดว่าจะมีกระทบกับสภาพคล่อง กระแสเงินสดติดลบประมาณ 6,000 ล้านบาท ในช่วงเดือนต.ค.2560 ระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 6 เดือนเท่านั้น โดย ทอท. วางแผนว่าจะหาแหล่งเงินกู้ภายในประเทศมาเสริมสภาพคล่อง
ส่วนนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้ ทอท. จัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน หรือ กองทุนอินฟราฟันด์ ลงทุนในโครงการสุวรรณภูมิเฟส 2 นั้น จะเร่งสรุปรายละเอียดเหตุผลข้อดีข้อเสียเพื่อชี้แจงต่อไป ทั้งนี้ การที่ทอท.เลือกใช้เงินทุนที่มี ไม่เลือกวิธีการกู้เงินหรือตั้งกองทุนอินฟราฯ มาดำเนินการเฟส 2 นั้น พิจารณาจากต้นทุนการเงินที่ต่ำที่สุดเป็นหลักและต้องดูแลผู้ถือหุ้นของทอท. ด้วย โดยเฉพาะการตั้งกองทุนอินฟราฯ นั้น เป็นการนำเงินในอนาคตมาจ่ายผลตอบแทนเพื่อจูงใจ จะมีดอกเบี้ยสูงกว่า หากอนาคตมีเหตุการณ์ที่ทำให้รายได้ไม่มี หรือไม่เป็นไปตามคาด นอกจากนี้ กระบวนการและการทำเอกสารนำส่งบัญชีจะมีความซับซ้อนมากกว่าการบริหารองค์กรที่มีผู้ถือหุ้นจึงต้องเลือกวิธีที่ต้นทุนทางการเงินต่ำที่สุด
นายประสงค์กล่าวว่า หากนโยบายรัฐบาลยังคงต้องการให้ ทอท. เป็นหน่วยงานนำร่องในการจัดตั้งกองทุนอินฟราฯ ก็ยังมีโครงการอื่นที่สามารถนำมาดำเนินการได้ เช่น การขยายขีดความสามารถท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มจาก 8 ล้านคนต่อปี ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 7 ล้านคนต่อปีแล้ว โดยอยู่ระหว่างจัดทำแผน โดยทอท.กำหนดให้ท่าอากาศยานเชียงใหม่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร
หรืออาจจะเป็นการลงทุนในกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการบิน (Non Aero) การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ การลงทุนพัฒนาด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ของทอท. หรือกิจกรรมด้าน CSR เป็นต้น ซึ่งจะศึกษารายละเอียดและนำเสนอแผนต่อไป
สำหรับแผนพัฒนาสุวรรณภูมิ เฟส 2 วงเงิน 61,738.420 แยกเป็น ระยะที่ 1 งานสร้างลานจอดอากาศยาน 28 หลุมจอด งานก่อสร้างอุโมค์ส่วนต่อขยาย และงานสร้างระบบสาธารณูปโภค ส่วนระยะที่ 2 เป็นงานก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 งานก่อสร้างส่วนขยายอาคารผู้โดยสารหลักด้านทิศตะวันออก งานก่อสร้างอาคารสำนักงานสายการบินและที่จอดรถด้านทิศตะวันออก งานติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสาร โดยเมื่อก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 แล้วเสร็จในปี 2562 จะทำให้มีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 70 ล้านคนต่อปี และในปี 2563 จะแล้วเสร็จทั้งโครงการ ทำให้ขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ 85 ล้านคนต่อปี
นายประสงค์ พูนธเนศ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เปิดเผยภายหลังการประชุมวานนี้ (18 ก.พ.) ว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นขอบปรับปรุงแผนและขยายระยะเวลาโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) วงเงิน 62,503.214 ล้านบาท (ปีงบประมาณ 2554-2560) ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 ส.ค.2553 ใหม่ โดยแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ระยะ เริ่มก่อสร้างระยะที่ 1 ประมาณเดือนมี.ค.2559 และเริ่มก่อสร้างระยะที่ 2 ประมาณเดือนต.ค.2560 มีกรอบงบประมาณหลังปรับปรุงลดลงเหลือ 61,738.420 ล้านบาท (ราคากลาง โดยรวมสำรองราคาเปลี่ยนแปลง 10% ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% และดอกเบี้ยระหว่างก่อสร้าง 1,761.600 ล้านบาท) โดยจะสรุปรายละเอียดเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมภายในเดือนนี้
ก่อนหน้านี้ ทอท.ได้เสนอแผนก่อสร้างทางวิ่งสำรอง ความยาว 2,900 เมตร วงเงิน 20,243.106 ล้านบาท และแผนการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (ด้านเหนือ) วงเงิน 27,684.392 ล้านบาทไปกระทรวงคมนาคมแล้ว โดยจะเสนอ ครม. พิจารณาได้ภายในเดือนนี้ ซึ่งทางวิ่งสำรองจะเริ่มก่อสร้างในเดือนต.ค.2558 อาคารใหม่ เริ่มก่อสร้างมี.ค.2559 แล้วเสร็จพร้อมกันในปี 2560
จากนั้นจะเริ่มก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และแผนงานในเฟส 2 เดิมทันที ซึ่งแผนงานก่อสร้างจะสอดคล้องกับการเติบโตของผู้โดยสาร
ทั้งนี้ ทอท.จะใช้เงินลงทุนจากรายได้และเงินสดหมุนเวียนที่มีประมาณ 44,000 ล้านบาท คาดว่าจะมีกระทบกับสภาพคล่อง กระแสเงินสดติดลบประมาณ 6,000 ล้านบาท ในช่วงเดือนต.ค.2560 ระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 6 เดือนเท่านั้น โดย ทอท. วางแผนว่าจะหาแหล่งเงินกู้ภายในประเทศมาเสริมสภาพคล่อง
ส่วนนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้ ทอท. จัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน หรือ กองทุนอินฟราฟันด์ ลงทุนในโครงการสุวรรณภูมิเฟส 2 นั้น จะเร่งสรุปรายละเอียดเหตุผลข้อดีข้อเสียเพื่อชี้แจงต่อไป ทั้งนี้ การที่ทอท.เลือกใช้เงินทุนที่มี ไม่เลือกวิธีการกู้เงินหรือตั้งกองทุนอินฟราฯ มาดำเนินการเฟส 2 นั้น พิจารณาจากต้นทุนการเงินที่ต่ำที่สุดเป็นหลักและต้องดูแลผู้ถือหุ้นของทอท. ด้วย โดยเฉพาะการตั้งกองทุนอินฟราฯ นั้น เป็นการนำเงินในอนาคตมาจ่ายผลตอบแทนเพื่อจูงใจ จะมีดอกเบี้ยสูงกว่า หากอนาคตมีเหตุการณ์ที่ทำให้รายได้ไม่มี หรือไม่เป็นไปตามคาด นอกจากนี้ กระบวนการและการทำเอกสารนำส่งบัญชีจะมีความซับซ้อนมากกว่าการบริหารองค์กรที่มีผู้ถือหุ้นจึงต้องเลือกวิธีที่ต้นทุนทางการเงินต่ำที่สุด
นายประสงค์กล่าวว่า หากนโยบายรัฐบาลยังคงต้องการให้ ทอท. เป็นหน่วยงานนำร่องในการจัดตั้งกองทุนอินฟราฯ ก็ยังมีโครงการอื่นที่สามารถนำมาดำเนินการได้ เช่น การขยายขีดความสามารถท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มจาก 8 ล้านคนต่อปี ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 7 ล้านคนต่อปีแล้ว โดยอยู่ระหว่างจัดทำแผน โดยทอท.กำหนดให้ท่าอากาศยานเชียงใหม่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร
หรืออาจจะเป็นการลงทุนในกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการบิน (Non Aero) การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ การลงทุนพัฒนาด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ของทอท. หรือกิจกรรมด้าน CSR เป็นต้น ซึ่งจะศึกษารายละเอียดและนำเสนอแผนต่อไป
สำหรับแผนพัฒนาสุวรรณภูมิ เฟส 2 วงเงิน 61,738.420 แยกเป็น ระยะที่ 1 งานสร้างลานจอดอากาศยาน 28 หลุมจอด งานก่อสร้างอุโมค์ส่วนต่อขยาย และงานสร้างระบบสาธารณูปโภค ส่วนระยะที่ 2 เป็นงานก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 งานก่อสร้างส่วนขยายอาคารผู้โดยสารหลักด้านทิศตะวันออก งานก่อสร้างอาคารสำนักงานสายการบินและที่จอดรถด้านทิศตะวันออก งานติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสาร โดยเมื่อก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 แล้วเสร็จในปี 2562 จะทำให้มีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 70 ล้านคนต่อปี และในปี 2563 จะแล้วเสร็จทั้งโครงการ ทำให้ขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ 85 ล้านคนต่อปี