เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ (17ก.พ.) ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) นายสุมิตร วอพะพอ เป็นตัวแทนเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ได้ยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยนายสาธิต สุทธิเสริม เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการประชาชน เป็นผู้รับเรื่อง การขอให้เร่งรัดนำเสนอการเพิ่มกลุ่มบุคคลเข้าสู่กองทุนให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข สำหรับบุคคลที่มีปัญหาสถานะ และสิทธิเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการสิทธิการบริการสาธารณสุขให้แก่คนที่มีปัญหาการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงนามแล้ว เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของครม. และหนึ่งในข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ การเพิ่มจำนวนกลุ่มคนไร้สถานะเข้ากองทุนให้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข ให้กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ตาม มติครม. 23 มีนาคม พ.ศ. 2553 แต่มีข้อผิดพลาดตรงจำนวนประชากรไม่ถูกต้อง เพราะข้อมูลที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำลังจะเสนอให้ ครม.พิจารณามีเพียง 170,535 คน ซึ่งเป็นข้อมูลเก่า และน้อยกว่าข้อเท็จจริงถึง 38,096 คน
นายสุมิตร กล่าวว่า จากกรณีดังกล่าวจึงขอเรียกร้องให้นายกฯ มอบหมายให้ นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับกระทรวงสาธารณสุข สั่งการให้ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข และนพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข ทบทวนตัวเลขคนไร้สถานะที่ทาง สธ.ยื่นเสนอให้ ครม.พิจารณาเพื่อเข้ากองทุนคืนสิทธิ์โดยทันที เนื่องจากเป็นตัวเลขที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลกระทบทำให้กลุ่มคนไร้สถานะกว่า 3.8 หมื่นคน ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข ละเมิดสิทธิสิทธิมนุษยชน และทำให้โรงพยาบาลบางส่วน ต้องแบกรับภาระอีก ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ กว่าจะกลับมาทำให้ถูกต้อง ใช้เวลานาน
ทั้งนี้กลุ่มคนไร้สถานะที่ทางเครือข่ายได้รับข้อมูลตรงจากส่วนการทะเบียนราษฎร กระทรวงมหาดไทย ซึ่งทางเครือข่ายได้แจ้งให้ นพ. สมศักดิ์ รับทราบยื่นข้อเสนออย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ที่ผ่านมา มีจำนวน 208,631 คน ประกอบด้วย กลุ่มที่มีบัตรประจำตัวประชาชน ขึ้นต้นด้วยเลข 0 ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติในกลุ่มชนกลุ่มน้อยที่เข้ามาอยู่ไทยเป็นเวลานาน แต่ตกสำรวจ จำนวน 150,076 คน , กลุ่มบุตรของบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนที่เกิดในประเทศไทย จำนวน 56,672 คน และกลุ่มคนที่ไม่สามารถพิสูจน์สถานะเกิด ซึ่งนายทะเบียนทำประวัติให้เป็นผู้ที่ ไม่มีสถานะทางทะเบียน มีจำนวน 1,883 คน
นายวิวัฒน์ ตามี่ กองเลขานุการเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) กล่าวว่า การเสนอตัวเลขที่ผิดพลาด ทำให้คนที่มีปัญหาสถานะและสิทธิขาดหายไปอีก 38,096 คน ซึ่งแม้โรงพยาบาลจะย้ำว่าไม่ว่าคนเชื้อชาติใด หรือไม่มีสถานะและสิทธิ ก็รักษาพยาบาลหมด แต่อย่าลืมว่าคนกลุ่มนี้เขาหวาดกลัว เมื่อไม่มีสิทธิถูกต้อง ก็เกรงกลัวจะถูกจับกุม เมื่อเจ็บป่วยจึงไม่ไปรักษาตัว
อย่างไรก็ตาม จากการหารือพบว่า ทางสำนักนายกรัฐมนตรี จะทำหนังสือถึงกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้เร่งปรับแก้ตัวเลขดังกล่าว รวมทั้งจะเรียกร้อง นายยงยุทธ์ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้ความเป็นธรรม และย้ำกับ สธ.เช่นกัน โดยพวกตนจะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ซึ่งระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ ก็น่าจะแล้วเสร็จ หากไม่มีการดำเนินการใดๆ ก็จะออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องอีก
ส่วนที่ รมช.สาธารณสุข จะเรียกประชุมเรื่องนี้ วันที่ 23 ก.พ. ก็ยังไม่ได้รับการประสาน แม้มีการเชิญมา ก็จะไม่ขอเข้าร่วมอีก เนื่องจากไม่มีประโยชน์ เพราะจากการประชุมเมื่อวันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา ชัดเจนว่า รมช.สาธารณสุข ไม่ได้ให้ความสำคัญกับตัวเลขคนกลุ่มนี้
"ที่สำคัญในการประชุมวันที่ 23 ก.พ.นั้น เป็นการเรียกประชุมติดตามความคืบหน้า เรื่องการวางยุทธศาสตร์หลักประกันสุขภาพกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ซึ่งเป็นการพูดคุยกันเพียงวงแคบๆ ไม่ได้เปิดให้ภาคประชาชน หรือ รพ.ชายแดนอื่นๆ แม้แต่ จ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ หรือ จ.กาญจนบุรี ก็ไม่ได้รับเชิญ ทั้งๆ ที่การทำยุทธศาสตร์ต้องเปิดกว้าง และมีการระดมความเห็นทั้ง 4 ภาคด้วยซ้ำไป" นายวิวัฒน์ กล่าว
ด้านนพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผอ.รพ.อุ้มผาง จ. ตาก กล่าวว่า อยากให้ทุกอย่างไปคุยกันในวันที่ 23 ก.พ. ขอให้ใจเย็นๆ อย่างเรื่องตัวเลขคนรอพิสูจน์สถานะ ก็ให้มาตกลงกันในวันดังกล่าว ส่วนยุทธศาสตร์ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นเรื่องระยะยาวที่ควรมีแผนรับมือ เนื่องจากยุทธศาสตร์นี้ไม่ใช่แค่ช่วยบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ แต่ยังหมายถึงแรงงานข้ามชาติ ลูกหลานอีก ยิ่งเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ยิ่งต้องมีความพร้อม เพราะบางคนเดินทางเข้ามา มีภาวะป่วย ไม่มีเงินรักษาจะทำอย่างไร ตนจึงเสนอให้ตั้งเป็นกองทุนความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น ความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่า ก็น่าจะดี เพื่อมนุษยธรรม และเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระโรงพยาบาลด้วย
"ก่อนหน้านี้ รมว.สาธารณสุข ได้ลงพื้นที่ มาที่รพ.อุ้มผาง จ.ตาก ผมก็ได้เสนอแนวความคิดนี้ไป หากท่านให้การตอบรับ ก็จะเป็นเรื่องที่ดี โดยเรื่องนี้จะเสนอไว้ในยุทธศาสตร์ที่ทางรมช.สาธารณสุข มอบให้ทางคณะทำงาน ที่มี รศ.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร อาจารย์วิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ทำงานหลักด้วย" นพ.วรวิทย์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการสิทธิการบริการสาธารณสุขให้แก่คนที่มีปัญหาการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงนามแล้ว เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของครม. และหนึ่งในข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ การเพิ่มจำนวนกลุ่มคนไร้สถานะเข้ากองทุนให้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข ให้กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ตาม มติครม. 23 มีนาคม พ.ศ. 2553 แต่มีข้อผิดพลาดตรงจำนวนประชากรไม่ถูกต้อง เพราะข้อมูลที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำลังจะเสนอให้ ครม.พิจารณามีเพียง 170,535 คน ซึ่งเป็นข้อมูลเก่า และน้อยกว่าข้อเท็จจริงถึง 38,096 คน
นายสุมิตร กล่าวว่า จากกรณีดังกล่าวจึงขอเรียกร้องให้นายกฯ มอบหมายให้ นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับกระทรวงสาธารณสุข สั่งการให้ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข และนพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข ทบทวนตัวเลขคนไร้สถานะที่ทาง สธ.ยื่นเสนอให้ ครม.พิจารณาเพื่อเข้ากองทุนคืนสิทธิ์โดยทันที เนื่องจากเป็นตัวเลขที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลกระทบทำให้กลุ่มคนไร้สถานะกว่า 3.8 หมื่นคน ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข ละเมิดสิทธิสิทธิมนุษยชน และทำให้โรงพยาบาลบางส่วน ต้องแบกรับภาระอีก ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ กว่าจะกลับมาทำให้ถูกต้อง ใช้เวลานาน
ทั้งนี้กลุ่มคนไร้สถานะที่ทางเครือข่ายได้รับข้อมูลตรงจากส่วนการทะเบียนราษฎร กระทรวงมหาดไทย ซึ่งทางเครือข่ายได้แจ้งให้ นพ. สมศักดิ์ รับทราบยื่นข้อเสนออย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ที่ผ่านมา มีจำนวน 208,631 คน ประกอบด้วย กลุ่มที่มีบัตรประจำตัวประชาชน ขึ้นต้นด้วยเลข 0 ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติในกลุ่มชนกลุ่มน้อยที่เข้ามาอยู่ไทยเป็นเวลานาน แต่ตกสำรวจ จำนวน 150,076 คน , กลุ่มบุตรของบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนที่เกิดในประเทศไทย จำนวน 56,672 คน และกลุ่มคนที่ไม่สามารถพิสูจน์สถานะเกิด ซึ่งนายทะเบียนทำประวัติให้เป็นผู้ที่ ไม่มีสถานะทางทะเบียน มีจำนวน 1,883 คน
นายวิวัฒน์ ตามี่ กองเลขานุการเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) กล่าวว่า การเสนอตัวเลขที่ผิดพลาด ทำให้คนที่มีปัญหาสถานะและสิทธิขาดหายไปอีก 38,096 คน ซึ่งแม้โรงพยาบาลจะย้ำว่าไม่ว่าคนเชื้อชาติใด หรือไม่มีสถานะและสิทธิ ก็รักษาพยาบาลหมด แต่อย่าลืมว่าคนกลุ่มนี้เขาหวาดกลัว เมื่อไม่มีสิทธิถูกต้อง ก็เกรงกลัวจะถูกจับกุม เมื่อเจ็บป่วยจึงไม่ไปรักษาตัว
อย่างไรก็ตาม จากการหารือพบว่า ทางสำนักนายกรัฐมนตรี จะทำหนังสือถึงกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้เร่งปรับแก้ตัวเลขดังกล่าว รวมทั้งจะเรียกร้อง นายยงยุทธ์ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้ความเป็นธรรม และย้ำกับ สธ.เช่นกัน โดยพวกตนจะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ซึ่งระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ ก็น่าจะแล้วเสร็จ หากไม่มีการดำเนินการใดๆ ก็จะออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องอีก
ส่วนที่ รมช.สาธารณสุข จะเรียกประชุมเรื่องนี้ วันที่ 23 ก.พ. ก็ยังไม่ได้รับการประสาน แม้มีการเชิญมา ก็จะไม่ขอเข้าร่วมอีก เนื่องจากไม่มีประโยชน์ เพราะจากการประชุมเมื่อวันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา ชัดเจนว่า รมช.สาธารณสุข ไม่ได้ให้ความสำคัญกับตัวเลขคนกลุ่มนี้
"ที่สำคัญในการประชุมวันที่ 23 ก.พ.นั้น เป็นการเรียกประชุมติดตามความคืบหน้า เรื่องการวางยุทธศาสตร์หลักประกันสุขภาพกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ซึ่งเป็นการพูดคุยกันเพียงวงแคบๆ ไม่ได้เปิดให้ภาคประชาชน หรือ รพ.ชายแดนอื่นๆ แม้แต่ จ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ หรือ จ.กาญจนบุรี ก็ไม่ได้รับเชิญ ทั้งๆ ที่การทำยุทธศาสตร์ต้องเปิดกว้าง และมีการระดมความเห็นทั้ง 4 ภาคด้วยซ้ำไป" นายวิวัฒน์ กล่าว
ด้านนพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผอ.รพ.อุ้มผาง จ. ตาก กล่าวว่า อยากให้ทุกอย่างไปคุยกันในวันที่ 23 ก.พ. ขอให้ใจเย็นๆ อย่างเรื่องตัวเลขคนรอพิสูจน์สถานะ ก็ให้มาตกลงกันในวันดังกล่าว ส่วนยุทธศาสตร์ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นเรื่องระยะยาวที่ควรมีแผนรับมือ เนื่องจากยุทธศาสตร์นี้ไม่ใช่แค่ช่วยบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ แต่ยังหมายถึงแรงงานข้ามชาติ ลูกหลานอีก ยิ่งเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ยิ่งต้องมีความพร้อม เพราะบางคนเดินทางเข้ามา มีภาวะป่วย ไม่มีเงินรักษาจะทำอย่างไร ตนจึงเสนอให้ตั้งเป็นกองทุนความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น ความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่า ก็น่าจะดี เพื่อมนุษยธรรม และเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระโรงพยาบาลด้วย
"ก่อนหน้านี้ รมว.สาธารณสุข ได้ลงพื้นที่ มาที่รพ.อุ้มผาง จ.ตาก ผมก็ได้เสนอแนวความคิดนี้ไป หากท่านให้การตอบรับ ก็จะเป็นเรื่องที่ดี โดยเรื่องนี้จะเสนอไว้ในยุทธศาสตร์ที่ทางรมช.สาธารณสุข มอบให้ทางคณะทำงาน ที่มี รศ.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร อาจารย์วิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ทำงานหลักด้วย" นพ.วรวิทย์ กล่าว