เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองฯ ยื่นหนังสือร้องนายกฯ รมว.สาธารณสุข เสนอตัวเลขคนไร้สถานะเข้า ครม.เพี้ยน ทำตกหล่นไม่ได้รับสิทธิรักษากว่า 3.8 หมื่นราย เสนอทบทวนใหม่ก่อนนำเข้า ครม.
วันนี้ (17 ก.พ.) เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) นายสุมิตร วอพะพอ เป็นตัวแทนเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยนายสาธิต สุทธิเสริม เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการประชาชน เป็นผู้รับเรื่องการขอให้เร่งรัดนำเสนอการเพิ่มกลุ่มบุคคลเข้าสู่กองทุนให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข สำหรับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ทั้งนี้ จากการที่กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการสิทธิการบริการสาธารณสุขให้แก่คนที่มีปัญหาการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ลงนามแล้ว เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. และหนึ่งในข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ การเพิ่มจำนวนกลุ่มคนไร้สถานะเข้ากองทุนให้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข ให้กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ตาม ครม. 23 มีนาคม พ.ศ. 2553 แต่มีข้อผิดพลาดตรงจำนวนประชากรไม่ถูกต้อง เพราะข้อมูลที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำลังจะเสนอให้ ครม.พิจารณามีเพียง 170,535 คนซึ่งเป็นข้อมูลเก่า และน้อยกว่าข้อเท็จจริงถึง 38,096 คน
นายสุมิตรกล่าวว่า จากกรณีดังกล่าวจึงขอเรียกร้องให้นายกฯมอบหมายให้ ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับกระทรวงสาธารณสุข สั่งการให้ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมต.สธ.และ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สธ. ทบทวนตัวเลขคนไร้สถานะที่ทาง สธ.ยื่นเสนอให้ ครม.พิจารณาเพื่อเข้ากองทุนคืนสิทธิ์โดยทันที เนื่องจากเป็นตัวเลขที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลกระทบทำให้กลุ่มคนไร้สถานะกว่า 3.8 หมื่นคน ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข ละเมิดสิทธิสิทธิมนุษยชน และทำให้โรงพยาบาลบางส่วนต้องแบกรับภาระอีก กระบวนการเหล่านี้กว่าจะกลับมาทำให้ถูกต้อง ใช้เวลานาน
ทั้งนี้ กลุ่มคนไร้สถานะที่ทางเครือข่ายได้รับข้อมูลตรงจากส่วนการทะเบียนราษฎร กระทรวงมหาดไทย ซึ่งทางเครือข่ายได้แจ้งให้ นพ. สมศักดิ์ รับทราบยื่นข้อเสนออย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 5 ก.พ. มีจำนวน 208,631 คน ประกอบด้วยกลุ่มที่มีบัตรประจำตัวประชาชน ขึ้นต้นด้วยเลข 0 ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติในกลุ่มชนกลุ่มน้อยที่เข้ามาอยู่ไทยเป็นเวลานาน แต่ตกสำรวจ จำนวน 150,076 คน, กลุ่มบุตรของบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนที่เกิดในประเทศไทย จำนวน 56,672 คน และกลุ่มคนที่ไม่สามารถพิสูจน์สถานะเกิด ซึ่งนายทะเบียนทำประวัติให้เป็นผู้ที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน มีจำนวน 1,883 คน
วันนี้ (17 ก.พ.) เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) นายสุมิตร วอพะพอ เป็นตัวแทนเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยนายสาธิต สุทธิเสริม เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการประชาชน เป็นผู้รับเรื่องการขอให้เร่งรัดนำเสนอการเพิ่มกลุ่มบุคคลเข้าสู่กองทุนให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข สำหรับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ทั้งนี้ จากการที่กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการสิทธิการบริการสาธารณสุขให้แก่คนที่มีปัญหาการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ลงนามแล้ว เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. และหนึ่งในข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ การเพิ่มจำนวนกลุ่มคนไร้สถานะเข้ากองทุนให้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข ให้กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ตาม ครม. 23 มีนาคม พ.ศ. 2553 แต่มีข้อผิดพลาดตรงจำนวนประชากรไม่ถูกต้อง เพราะข้อมูลที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำลังจะเสนอให้ ครม.พิจารณามีเพียง 170,535 คนซึ่งเป็นข้อมูลเก่า และน้อยกว่าข้อเท็จจริงถึง 38,096 คน
นายสุมิตรกล่าวว่า จากกรณีดังกล่าวจึงขอเรียกร้องให้นายกฯมอบหมายให้ ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับกระทรวงสาธารณสุข สั่งการให้ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมต.สธ.และ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สธ. ทบทวนตัวเลขคนไร้สถานะที่ทาง สธ.ยื่นเสนอให้ ครม.พิจารณาเพื่อเข้ากองทุนคืนสิทธิ์โดยทันที เนื่องจากเป็นตัวเลขที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลกระทบทำให้กลุ่มคนไร้สถานะกว่า 3.8 หมื่นคน ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข ละเมิดสิทธิสิทธิมนุษยชน และทำให้โรงพยาบาลบางส่วนต้องแบกรับภาระอีก กระบวนการเหล่านี้กว่าจะกลับมาทำให้ถูกต้อง ใช้เวลานาน
ทั้งนี้ กลุ่มคนไร้สถานะที่ทางเครือข่ายได้รับข้อมูลตรงจากส่วนการทะเบียนราษฎร กระทรวงมหาดไทย ซึ่งทางเครือข่ายได้แจ้งให้ นพ. สมศักดิ์ รับทราบยื่นข้อเสนออย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 5 ก.พ. มีจำนวน 208,631 คน ประกอบด้วยกลุ่มที่มีบัตรประจำตัวประชาชน ขึ้นต้นด้วยเลข 0 ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติในกลุ่มชนกลุ่มน้อยที่เข้ามาอยู่ไทยเป็นเวลานาน แต่ตกสำรวจ จำนวน 150,076 คน, กลุ่มบุตรของบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนที่เกิดในประเทศไทย จำนวน 56,672 คน และกลุ่มคนที่ไม่สามารถพิสูจน์สถานะเกิด ซึ่งนายทะเบียนทำประวัติให้เป็นผู้ที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน มีจำนวน 1,883 คน