สมศ. ส่งตัวบ่งชี้ - เกณฑ์ประเมินรอบสี่ทุกระดับการศึกษา ให้รัฐบาลแล้ว ยกเว้นกลุ่ม ม. รัฐ ม. นอกระบบ และ ม. เอกชน “ชาญณรงค์” คาดตัวบ่งชี้ ทปอ.- สสอท. ที่เสนอไม่ต่างจาก สมศ. เหตุเน้นเรื่องคุณภาพการศึกษา ระบุรอบสี่เป็นครั้งแรกที่จะแบ่งกลุ่มประเมินระดับอุดมฯ ตามข้อเสนอแต่ยันอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน
วันนี้ (21 ม.ค.) ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) ได้ส่งตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (ปีงบประมาณ 2559 - 2563) ระดับอุดมศึกษามาให้ สมศ. แล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ตัวบ่งชี้ที่เสนอมาว่ามีความแตกต่างจากที่ สมศ. กำหนดไว้หรือไม่ จากนั้นจะเสนอให้ ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี พิจารณาต่อไป ส่วนการประเมินฯรอบสี่ จะดำเนินการทันตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ คือ วันที่ 1 ตุลาคม 2558 หรือไม่นั้น คงต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาล เพราะ สมศ. ได้ส่งตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินฯ ทุกระดับการศึกษาให้รัฐบาลพิจารณาแล้ว จะเหลือแต่กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และมหาวิทยาลัยเอกชนเท่านั้นที่ยังไม่ได้ส่ง
“ตัวบ่งชี้ที่ ทปอ. และ สสอท. เสนอมาไม่น่าจะแตกต่างจากของ สมศ. เท่าใดนัก เพราะการจะดูคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา คงหนีไม่พ้นองค์ประกอบเหล่านี้ เช่น คุณภาพผู้เรียน คุณภาพอาจารย์ การบริหารจัดการ ความสัมพันธ์กับชุมชน อัตลักษณ์ และมาตรการส่งเสริม โดยทั้งหมดนี้เป็นไปตามแนวทางการประเมิน 7 ด้าน 20 ตัวบ่งชี้ของ สมศ. ซึ่งถือว่าไม่มากเกินไป และสามารถสะท้อนคุณภาพได้เป็นอย่างดี” ผอ.สมศ. กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม สำหรับการประเมินระดับอุดมศึกษา ในรอบสี่จะมีการประเมินแบบแบ่งกลุ่มเป็นครั้งแรก จำนวน 4 กลุ่มตามข้อเสนอของมหาวิทยาลัย คือ กลุ่มมหาวิทยาลัยรัฐ/มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ, มหาวิทยาลัยราชภัฏ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และ มหาวิทยาลัยเอกชน และการประกาศผลก็จะประกาศเป็นกลุ่ม เนื่องจากใช้เกณฑ์ย่อยไม่เหมือนกัน แต่ยังอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (21 ม.ค.) ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) ได้ส่งตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (ปีงบประมาณ 2559 - 2563) ระดับอุดมศึกษามาให้ สมศ. แล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ตัวบ่งชี้ที่เสนอมาว่ามีความแตกต่างจากที่ สมศ. กำหนดไว้หรือไม่ จากนั้นจะเสนอให้ ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี พิจารณาต่อไป ส่วนการประเมินฯรอบสี่ จะดำเนินการทันตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ คือ วันที่ 1 ตุลาคม 2558 หรือไม่นั้น คงต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาล เพราะ สมศ. ได้ส่งตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินฯ ทุกระดับการศึกษาให้รัฐบาลพิจารณาแล้ว จะเหลือแต่กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และมหาวิทยาลัยเอกชนเท่านั้นที่ยังไม่ได้ส่ง
“ตัวบ่งชี้ที่ ทปอ. และ สสอท. เสนอมาไม่น่าจะแตกต่างจากของ สมศ. เท่าใดนัก เพราะการจะดูคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา คงหนีไม่พ้นองค์ประกอบเหล่านี้ เช่น คุณภาพผู้เรียน คุณภาพอาจารย์ การบริหารจัดการ ความสัมพันธ์กับชุมชน อัตลักษณ์ และมาตรการส่งเสริม โดยทั้งหมดนี้เป็นไปตามแนวทางการประเมิน 7 ด้าน 20 ตัวบ่งชี้ของ สมศ. ซึ่งถือว่าไม่มากเกินไป และสามารถสะท้อนคุณภาพได้เป็นอย่างดี” ผอ.สมศ. กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม สำหรับการประเมินระดับอุดมศึกษา ในรอบสี่จะมีการประเมินแบบแบ่งกลุ่มเป็นครั้งแรก จำนวน 4 กลุ่มตามข้อเสนอของมหาวิทยาลัย คือ กลุ่มมหาวิทยาลัยรัฐ/มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ, มหาวิทยาลัยราชภัฏ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และ มหาวิทยาลัยเอกชน และการประกาศผลก็จะประกาศเป็นกลุ่ม เนื่องจากใช้เกณฑ์ย่อยไม่เหมือนกัน แต่ยังอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่