เมื่อเวลา 13.00 น. วานนี้ (16ก.พ.) ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ นายไมตรี อินทุสุต รองปลัดกระทรวงมหาดไทย นายถาวร ชลัษเฐียร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา และ ม.ล.ปุณฑริก สมิติ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน แถลงข่าว ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล เรื่องอาชีวศึกษานำชีวิตสดใส และโรดแมปการกำจัดขยะมูลฝอยของเสียอันตราย
นายชัยพฤกษ์ กล่าวว่า ทั่วโลกยอมรับว่า อาชีวะเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาประเทศ เมื่อดูว่าประเทศนั้นๆพัฒนา ต้องดูจากเศรษฐกิจดีหรือไม่ดี โดยขึ้นอยู่กับสินค้าและการบริการที่มีคุณภาพ โดยขึ้นอยู่กับบุคลากรซึ่งมาจากสายอาชีวะ ตอนนี้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด และเมื่อพูดถึงความต้องการด้านกำลังคน ซึ่งเป็นที่ต้องการในระบบอุตสาหกรรม เราไม่สามารถผลิตคนได้อย่างเพียงพอ ด้านระบบอุตสาหกรรม ต้องการกำลังคนปีละกว่า 50,000 คน แต่สามารถผลิตได้เพียงประมาณ 30,000 คนต่อปี การโรงแรมและการท่องเที่ยว ที่ต้องการปีละ 120,000 คนโดยประมาณ แต่ผลิตได้เพียงปีละประมาณ 4,000 คน นี่คือปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้น คนที่มาเรียนสายอาชีพในปัจจุบันนั้น มีจำนวนน้อยกว่าที่ควร
นอกจากนั้น ยังมีปัญหาในส่วนของเมื่อเรียนจบแล้วไม่ยอมทำงาน หากปล่อยให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายใน 5 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเกิดวิกฤติ ทางรัฐบาลจึงมอบหน้าที่ให้กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนแรงงาน ในส่วนของระดับปวช. ปีนี้ตั้งเป้าให้เพิ่มขึ้นปีละ 5 เปอร์เซนต์ โดยมีวิธีการให้วิทยาลัยทั้งรัฐ และเอกชน กว่า 1,800 แห่ง เปิดรับอย่างเต็มที่ เพื่อป้อนบุคลากรเข้าสู่ตลาดแรงงานและทางกระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งโครงการโดยพยายามให้เด็กที่เรียนมัธยมปลาย สายสามัญ ต้องเรียนมากเป็นพิเศษ โดยเพิ่มให้เรียนสายอาชีพในวันเสาร์ อาทิตย์ และเมื่อจบการศึกษา จะมีวุฒิทั้ง 2 อย่าง โดยจะเริ่มโครงการดังกล่าวกับโรงเรียนมัธยมประจำตำบล และอำเภอบางแห่ง เป็นลำดับแรก นอกจากนั้น จะส่งเสริมให้มีคนที่อายุมากกว่า 18 ปี ได้เรียนสายอาชีพภายใต้ชื่อ อาชีวะนอกระบบ และ ส่วนที่ 3 คือช่วยพัฒนาฝีมือแรงงานที่อยู่ในตลาดอาชีพอยู่แล้ว ให้มีทักษะดีขึ้น และเพิ่มทักษะให้กับอาชีพอื่นๆ
นายชัยพฤกษ์ กล่าวว่า สำหรับฝีมืออาชีวะของไทยนั้น เป็นที่ 1 ในอาเซียน ทางรัฐบาลมีโครงการเพื่อพัฒนามาตรฐานเด็กอาชีวะ เพื่อไปถึงมาตรการสากล โดยร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น เยอรมัน จีน สิงคโปร์ เพื่อส่งเด็กอาชีวะแลกเปลี่ยนและพัฒนาทักษะเป็นระดับสากล ทั้งนี้ อีกส่วนหนึ่งคือจัดอาชีวะ ให้ได้ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ โดยเรามีจัดโครงการอาชีวะศึกษาทวิภาคี คือ อาชีวะที่ทางสถานประกอบการและวิทยาลัยร่วมกันทำงาน เพื่อจะได้จบออกมาแล้วรับทำงานได้เลย โดยจัดตตั้งเป็นคณะกรรมการร่วมด้านภาครัฐและเอกชนด้านอาชีวะศึกษา (กรอ.อศ.) และร่วมกันทำงานต่อไป
ด้าน นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ รองอธิบดีรมควบคุมมลพิษ กล่าวถึง ความคืบหน้าโรดแมปการกำจัดขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ตามที่คสช. ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ ว่า การกำจัดขยะมูลฝอยตกค้างสะสมใน 6 จังหวัดวิกฤติ ประกอบด้วย จ.พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และลพบุรี มีจำนวนขยะมูลฝอยตกค้างรวม 907,000 ตัน สามารถกำจัดได้แล้ว 130,635 ตัน ส่วน จ.ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีขยะมูลฝอยตกค้าง 10,140,000 ตัน กำจัดได้แล้ว 8,103,500 ตัน ขณะที่ในจังหวัดอื่นๆ กำจัดด้วยการใช้ดินฝังกลบในพื้นที่ และปรับพื้นที่เพื่อรองรับขยะใหม่ พร้อมทั้งมีการร่วมมือกับเอกชน รื้อร่อนขยะมูลฝอยเพื่อผลิตเป็นแท่งเชื้อเพลงอาร์ดีเอฟ ป้อนเข้าสู่เตาเผาปูนซีเมนต์ หรือเตาเผาเพื่อผลิตพลังงาน
นางสุณี กล่าวว่า ส่วนที่สองคือการวางแผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยใหม่ ด้วยการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง โดยเบื้องต้นแบ่งเป็น 264 กลุ่มพื้นที่ อีกทั้งใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสานในการกำจัด โดยให้ความสำคัญกับการแปรรูปป็นพลังงาน ที่คาดว่าจะสามารถลิตพลังงานไฟฟาได้ 227.58 เมกกะวัตต์ ที่ปัจจุบันเปิดดำเนินการแล้ว 2 แห่ง คือ เทศบาลภูเก็ต จ.ภูเก็ต และเทศบาลนครหาดใหญ่จ.สงขลา สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 25.7 เมกกะวัตต์ และอยู่ระหว่างก่อสร้างอีก 3 แห่ง คือ กรุงเทพมหานคร เทศบาลนครขอนแก่น จ.ขอนแก่น และเทศบาลตำบลแม่ขรี จ.พัทลุง
ทั้งนี้ ในส่วนที่สาม คือ การวางระเบียบมาตรการบริหารจัดการ โดยหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องจะจัดทำกฏและระเบียบเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ประกอบด้วย กฎกระทรวงการคัดแยก เก็บขน และกำจัดขยะมูลฝอย กฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าทำเนียบการเก็บขนและกำจัดขยะมูลฝอย ตามพระราชบัญญัตื(พ.ร.บ.)การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ร่าง พ.ร.บ.การบริหารจัดการขยะแห่งชาติ พ.ศ. ...ที่คาดว่าจะเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ในเดือนก.ค. และร่างพ.ร.บ.การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์และซากผลิตภัณฑ์อื่น พ.ศ. ... ที่คาดว่าจะเสนอสนช.ในเดือนเมษายนต่อไป
นายชัยพฤกษ์ กล่าวว่า ทั่วโลกยอมรับว่า อาชีวะเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาประเทศ เมื่อดูว่าประเทศนั้นๆพัฒนา ต้องดูจากเศรษฐกิจดีหรือไม่ดี โดยขึ้นอยู่กับสินค้าและการบริการที่มีคุณภาพ โดยขึ้นอยู่กับบุคลากรซึ่งมาจากสายอาชีวะ ตอนนี้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด และเมื่อพูดถึงความต้องการด้านกำลังคน ซึ่งเป็นที่ต้องการในระบบอุตสาหกรรม เราไม่สามารถผลิตคนได้อย่างเพียงพอ ด้านระบบอุตสาหกรรม ต้องการกำลังคนปีละกว่า 50,000 คน แต่สามารถผลิตได้เพียงประมาณ 30,000 คนต่อปี การโรงแรมและการท่องเที่ยว ที่ต้องการปีละ 120,000 คนโดยประมาณ แต่ผลิตได้เพียงปีละประมาณ 4,000 คน นี่คือปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้น คนที่มาเรียนสายอาชีพในปัจจุบันนั้น มีจำนวนน้อยกว่าที่ควร
นอกจากนั้น ยังมีปัญหาในส่วนของเมื่อเรียนจบแล้วไม่ยอมทำงาน หากปล่อยให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายใน 5 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเกิดวิกฤติ ทางรัฐบาลจึงมอบหน้าที่ให้กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนแรงงาน ในส่วนของระดับปวช. ปีนี้ตั้งเป้าให้เพิ่มขึ้นปีละ 5 เปอร์เซนต์ โดยมีวิธีการให้วิทยาลัยทั้งรัฐ และเอกชน กว่า 1,800 แห่ง เปิดรับอย่างเต็มที่ เพื่อป้อนบุคลากรเข้าสู่ตลาดแรงงานและทางกระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งโครงการโดยพยายามให้เด็กที่เรียนมัธยมปลาย สายสามัญ ต้องเรียนมากเป็นพิเศษ โดยเพิ่มให้เรียนสายอาชีพในวันเสาร์ อาทิตย์ และเมื่อจบการศึกษา จะมีวุฒิทั้ง 2 อย่าง โดยจะเริ่มโครงการดังกล่าวกับโรงเรียนมัธยมประจำตำบล และอำเภอบางแห่ง เป็นลำดับแรก นอกจากนั้น จะส่งเสริมให้มีคนที่อายุมากกว่า 18 ปี ได้เรียนสายอาชีพภายใต้ชื่อ อาชีวะนอกระบบ และ ส่วนที่ 3 คือช่วยพัฒนาฝีมือแรงงานที่อยู่ในตลาดอาชีพอยู่แล้ว ให้มีทักษะดีขึ้น และเพิ่มทักษะให้กับอาชีพอื่นๆ
นายชัยพฤกษ์ กล่าวว่า สำหรับฝีมืออาชีวะของไทยนั้น เป็นที่ 1 ในอาเซียน ทางรัฐบาลมีโครงการเพื่อพัฒนามาตรฐานเด็กอาชีวะ เพื่อไปถึงมาตรการสากล โดยร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น เยอรมัน จีน สิงคโปร์ เพื่อส่งเด็กอาชีวะแลกเปลี่ยนและพัฒนาทักษะเป็นระดับสากล ทั้งนี้ อีกส่วนหนึ่งคือจัดอาชีวะ ให้ได้ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ โดยเรามีจัดโครงการอาชีวะศึกษาทวิภาคี คือ อาชีวะที่ทางสถานประกอบการและวิทยาลัยร่วมกันทำงาน เพื่อจะได้จบออกมาแล้วรับทำงานได้เลย โดยจัดตตั้งเป็นคณะกรรมการร่วมด้านภาครัฐและเอกชนด้านอาชีวะศึกษา (กรอ.อศ.) และร่วมกันทำงานต่อไป
ด้าน นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ รองอธิบดีรมควบคุมมลพิษ กล่าวถึง ความคืบหน้าโรดแมปการกำจัดขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ตามที่คสช. ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ ว่า การกำจัดขยะมูลฝอยตกค้างสะสมใน 6 จังหวัดวิกฤติ ประกอบด้วย จ.พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และลพบุรี มีจำนวนขยะมูลฝอยตกค้างรวม 907,000 ตัน สามารถกำจัดได้แล้ว 130,635 ตัน ส่วน จ.ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีขยะมูลฝอยตกค้าง 10,140,000 ตัน กำจัดได้แล้ว 8,103,500 ตัน ขณะที่ในจังหวัดอื่นๆ กำจัดด้วยการใช้ดินฝังกลบในพื้นที่ และปรับพื้นที่เพื่อรองรับขยะใหม่ พร้อมทั้งมีการร่วมมือกับเอกชน รื้อร่อนขยะมูลฝอยเพื่อผลิตเป็นแท่งเชื้อเพลงอาร์ดีเอฟ ป้อนเข้าสู่เตาเผาปูนซีเมนต์ หรือเตาเผาเพื่อผลิตพลังงาน
นางสุณี กล่าวว่า ส่วนที่สองคือการวางแผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยใหม่ ด้วยการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง โดยเบื้องต้นแบ่งเป็น 264 กลุ่มพื้นที่ อีกทั้งใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสานในการกำจัด โดยให้ความสำคัญกับการแปรรูปป็นพลังงาน ที่คาดว่าจะสามารถลิตพลังงานไฟฟาได้ 227.58 เมกกะวัตต์ ที่ปัจจุบันเปิดดำเนินการแล้ว 2 แห่ง คือ เทศบาลภูเก็ต จ.ภูเก็ต และเทศบาลนครหาดใหญ่จ.สงขลา สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 25.7 เมกกะวัตต์ และอยู่ระหว่างก่อสร้างอีก 3 แห่ง คือ กรุงเทพมหานคร เทศบาลนครขอนแก่น จ.ขอนแก่น และเทศบาลตำบลแม่ขรี จ.พัทลุง
ทั้งนี้ ในส่วนที่สาม คือ การวางระเบียบมาตรการบริหารจัดการ โดยหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องจะจัดทำกฏและระเบียบเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ประกอบด้วย กฎกระทรวงการคัดแยก เก็บขน และกำจัดขยะมูลฝอย กฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าทำเนียบการเก็บขนและกำจัดขยะมูลฝอย ตามพระราชบัญญัตื(พ.ร.บ.)การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ร่าง พ.ร.บ.การบริหารจัดการขยะแห่งชาติ พ.ศ. ...ที่คาดว่าจะเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ในเดือนก.ค. และร่างพ.ร.บ.การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์และซากผลิตภัณฑ์อื่น พ.ศ. ... ที่คาดว่าจะเสนอสนช.ในเดือนเมษายนต่อไป