ปลายปีที่ผ่านมา โครงการศึกษาวิจัยอัตราการรีไซเคิลของประเทศไทย ในช่วงปี 2556 ที่มี รศ.ดร.กำพล รุจิวิชชญ์ เป็นหัวหน้าโครงการ ทำให้เราเห็นข้อมูลปริมาณและองค์ประกอบของขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศที่ครอบคลุมทุกภูมิภาค ที่มีปริมาณเฉลี่ย 4.96 หมื่นตันต่อวัน หรือคิดเป็น 18.128 ล้านตันต่อปี
การหาองค์ประกอบของขยะที่หลุมฝังกลบในแต่ละภูมิภาค พบว่า เป็นเศษอาหารถึง 37.13 % รองลงมาเป็น พลาสติกและโฟม 14.93% กิ่งไม้และใบไม้ 10.99% อื่นๆ 10.68% ผ้า 8% ยางและหนัง 7.26% หินและกระเบื้อง 6.34% กระดาษ 2.71% แก้ว 1.8% และโลหะ 0.35%
เมื่อศึกษาถึงอัตราการรีไซเคิลวัสดุ ยังพบว่า มีการนำเหล็ก/โลหะ อะลูมิเนียม กลับมาใช้ใหม่สูงเกินกว่า 99 % เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีราคาแพง จึงถูกคัดแยกจัดเก็บเป็นจำนวนมาก ส่วนกระดาษและแก้ว จะถูกจัดเก็บในระดับ 75 % ส่วนที่เหลืออีก 25 % เกิดจากการการเปียกน้ำและแตกร้าว ทำให้ไม่สามารถเก็บได้ ขณะที่พลาสติกจะถูกจัดเก็บในระดับ 50%
ข้อมูลดังกล่าว ทำให้เห็นว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วและกลายเป็นขยะ ไม่สามารถถูกนำมารีไซเคิลได้ทั้งหมด 100% จึงเป็นโอกาสให้นักลงทุนจะเข้ามาทำธุรกิจ เพราะปริมาณวัตถุดิบที่ยังไม่ได้นำมารีไซเคิลถือว่ายังมาก โดยเฉพาะพลาสติกที่ไม่ถูกนำกลับมารีไซเคิลกว่า 49%
ซึ่งขณะนี้ธุรกิจรีไซเคิลในบ้านเราได้รับความสนใจลงทุนมาก มีทั้งนักลงทุนในและต่างประเทศสอบถามเข้ามาหลังจากที่เห็นข้อมูลการสำรวจดังกล่าว โดยเฉพาะนักลงทุนจากจีนและอินเดีย ให้ความสนใจที่จะตั้งโรงงานรีไซเคิลพลาสติก เหล็กและโลหะ อะลูมิเนียม แก้ว และกระดาษ
เรื่องแนวทางการดำเนินการลดขยะที่เหมาะสม ก่อนหน้านั้น สถาบันฯ ได้ศึกษาแนวทางบริหารจัดการขยะจากต่างประเทศหลายแห่ง ไม่ว่าจากทางยุโรป อเมริกา หรือ ญี่ปุ่น
แต่สุดท้ายเรามองเห็นโมเด็ลของประเทศบราซิลมีความคล้ายคลึงกับบ้านเรา อย่างคนประกอบอาชีพคุ้ยหาขยะของเขาเหมือนผู้ประกอบอาชีพซาเล้งในบ้านเรา
ผมและทีมงานได้มีโอกาสเข้าไปดูแนวทางแก้ไขเพื่อลดขยะ รวมถึงการร่วมประชุมหารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์อีกหลายครั้งต่อมา
โดยเฉพาะจากจุดเริ่มต้น รัฐบาลบราซิลดึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 22 หน่วยงานเข้ามาร่วมมือ และตั้งเป้าหมายร่วมกันเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตทางสังคมและเพิ่มผลผลิตทางอาชีพของคนคุ้ยขยะ โดยการจัดตั้งเป็นโครงการหลักชื่อว่า Pro-catador ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของผู้ประกอบอาชีพคุ้ยหาขยะในลักษณะของกลุ่มสมาคม และสหกรณ์ เพื่อนำไปสู่การยกระดับเป็นศูนย์รวบรวมวัสดุรีไซเคิล และทำให้สมาชิกได้รับประโยชน์ทั้งในด้านของรายได้และสวัสดิการ ที่มีกรอบกฎหมายรองรับ
ความก้าวหน้าที่ต่อเนื่องตลอดกว่า 10 ปี ตั้งแต่เริ่มในปี 2002 โดยการรับรองอาชีพ ต่อมามีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการ การออกกำหนดให้มีการจัดเก็บแบบคัดแยก (Selective collection) ของครัวเรือน การออกกฎหมายกำหนดให้สมาคม หรือสหกรณ์ผู้คุ้ยขยะเป็นผู้ให้บริการสาธารณะด้านการจัดการขยะมูลฝอย เป็นต้น
จนในปี 2010 รัฐบาลบราซิลมีมติผ่านกฎหมายนโยบายการจัดการขยะแห่งชาติ โดยมีพื้นฐานการจัดการขยะให้ดำเนินการในรูปแบบ Shared responsibility คือ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ได้แก่ 1)ภาคครัวเรือน ดำเนินการคัดแยกขยะต้นทาง 2)หน่วยงานท้องถิ่น ดำเนินการจัดเก็บแบบคัดแยก และนำส่งให้แก่สหกรณ์ซาเล้งคัดแยก 3)ภาคธุรกิจ สนับสนุนการกำหนดจุดในการรับวัสดุรีไซเคิล 4) ผู้ประกอบอาชีพคุ้ยขยะ ให้มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มสหกรณ์ที่มีการลงทะเบียนซึ่งจะเป็นผู้ให้บริการสาธารณะ 5) ภาคเอกชน ในการรับคืนบรรจุภัณฑ์เพื่อนำกลับไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
แนวทางดำเนินงานแต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนั้นได้กำหนดสิทธิประโยชน์ หรือแรงจูงใจ ผมมองว่าคือสาระสำคัญของการส่งเสริมเพื่อให้มีการนำขยะกลับคืนไปใช้ประโยชน์
วีระ อัครพุทธิพร
ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน (มูลนิธิ 3 R) / รองประธานกรรมการบริหาร สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
รัฐบาลบราซิลดึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 22 หน่วยงานเข้ามาร่วมมือ และตั้งเป้าหมายร่วมกันเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตทางสังคมและเพิ่มผลผลิตทางอาชีพของคนคุ้ยขยะ
การหาองค์ประกอบของขยะที่หลุมฝังกลบในแต่ละภูมิภาค พบว่า เป็นเศษอาหารถึง 37.13 % รองลงมาเป็น พลาสติกและโฟม 14.93% กิ่งไม้และใบไม้ 10.99% อื่นๆ 10.68% ผ้า 8% ยางและหนัง 7.26% หินและกระเบื้อง 6.34% กระดาษ 2.71% แก้ว 1.8% และโลหะ 0.35%
เมื่อศึกษาถึงอัตราการรีไซเคิลวัสดุ ยังพบว่า มีการนำเหล็ก/โลหะ อะลูมิเนียม กลับมาใช้ใหม่สูงเกินกว่า 99 % เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีราคาแพง จึงถูกคัดแยกจัดเก็บเป็นจำนวนมาก ส่วนกระดาษและแก้ว จะถูกจัดเก็บในระดับ 75 % ส่วนที่เหลืออีก 25 % เกิดจากการการเปียกน้ำและแตกร้าว ทำให้ไม่สามารถเก็บได้ ขณะที่พลาสติกจะถูกจัดเก็บในระดับ 50%
ข้อมูลดังกล่าว ทำให้เห็นว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วและกลายเป็นขยะ ไม่สามารถถูกนำมารีไซเคิลได้ทั้งหมด 100% จึงเป็นโอกาสให้นักลงทุนจะเข้ามาทำธุรกิจ เพราะปริมาณวัตถุดิบที่ยังไม่ได้นำมารีไซเคิลถือว่ายังมาก โดยเฉพาะพลาสติกที่ไม่ถูกนำกลับมารีไซเคิลกว่า 49%
ซึ่งขณะนี้ธุรกิจรีไซเคิลในบ้านเราได้รับความสนใจลงทุนมาก มีทั้งนักลงทุนในและต่างประเทศสอบถามเข้ามาหลังจากที่เห็นข้อมูลการสำรวจดังกล่าว โดยเฉพาะนักลงทุนจากจีนและอินเดีย ให้ความสนใจที่จะตั้งโรงงานรีไซเคิลพลาสติก เหล็กและโลหะ อะลูมิเนียม แก้ว และกระดาษ
เรื่องแนวทางการดำเนินการลดขยะที่เหมาะสม ก่อนหน้านั้น สถาบันฯ ได้ศึกษาแนวทางบริหารจัดการขยะจากต่างประเทศหลายแห่ง ไม่ว่าจากทางยุโรป อเมริกา หรือ ญี่ปุ่น
แต่สุดท้ายเรามองเห็นโมเด็ลของประเทศบราซิลมีความคล้ายคลึงกับบ้านเรา อย่างคนประกอบอาชีพคุ้ยหาขยะของเขาเหมือนผู้ประกอบอาชีพซาเล้งในบ้านเรา
ผมและทีมงานได้มีโอกาสเข้าไปดูแนวทางแก้ไขเพื่อลดขยะ รวมถึงการร่วมประชุมหารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์อีกหลายครั้งต่อมา
โดยเฉพาะจากจุดเริ่มต้น รัฐบาลบราซิลดึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 22 หน่วยงานเข้ามาร่วมมือ และตั้งเป้าหมายร่วมกันเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตทางสังคมและเพิ่มผลผลิตทางอาชีพของคนคุ้ยขยะ โดยการจัดตั้งเป็นโครงการหลักชื่อว่า Pro-catador ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของผู้ประกอบอาชีพคุ้ยหาขยะในลักษณะของกลุ่มสมาคม และสหกรณ์ เพื่อนำไปสู่การยกระดับเป็นศูนย์รวบรวมวัสดุรีไซเคิล และทำให้สมาชิกได้รับประโยชน์ทั้งในด้านของรายได้และสวัสดิการ ที่มีกรอบกฎหมายรองรับ
ความก้าวหน้าที่ต่อเนื่องตลอดกว่า 10 ปี ตั้งแต่เริ่มในปี 2002 โดยการรับรองอาชีพ ต่อมามีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการ การออกกำหนดให้มีการจัดเก็บแบบคัดแยก (Selective collection) ของครัวเรือน การออกกฎหมายกำหนดให้สมาคม หรือสหกรณ์ผู้คุ้ยขยะเป็นผู้ให้บริการสาธารณะด้านการจัดการขยะมูลฝอย เป็นต้น
จนในปี 2010 รัฐบาลบราซิลมีมติผ่านกฎหมายนโยบายการจัดการขยะแห่งชาติ โดยมีพื้นฐานการจัดการขยะให้ดำเนินการในรูปแบบ Shared responsibility คือ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ได้แก่ 1)ภาคครัวเรือน ดำเนินการคัดแยกขยะต้นทาง 2)หน่วยงานท้องถิ่น ดำเนินการจัดเก็บแบบคัดแยก และนำส่งให้แก่สหกรณ์ซาเล้งคัดแยก 3)ภาคธุรกิจ สนับสนุนการกำหนดจุดในการรับวัสดุรีไซเคิล 4) ผู้ประกอบอาชีพคุ้ยขยะ ให้มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มสหกรณ์ที่มีการลงทะเบียนซึ่งจะเป็นผู้ให้บริการสาธารณะ 5) ภาคเอกชน ในการรับคืนบรรจุภัณฑ์เพื่อนำกลับไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
แนวทางดำเนินงานแต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนั้นได้กำหนดสิทธิประโยชน์ หรือแรงจูงใจ ผมมองว่าคือสาระสำคัญของการส่งเสริมเพื่อให้มีการนำขยะกลับคืนไปใช้ประโยชน์
วีระ อัครพุทธิพร
ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน (มูลนิธิ 3 R) / รองประธานกรรมการบริหาร สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
รัฐบาลบราซิลดึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 22 หน่วยงานเข้ามาร่วมมือ และตั้งเป้าหมายร่วมกันเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตทางสังคมและเพิ่มผลผลิตทางอาชีพของคนคุ้ยขยะ