xs
xsm
sm
md
lg

กิจการพลังงานประเทศไทยไม่ใช่ของรัฐมานานแล้ว

เผยแพร่:   โดย: สุทธิพงษ์ ปรัชญพฤทธิ์




กระทรวงการคลังหรือรัฐช่วงแรกเป็นเจ้าของ ปตท.100 เปอร์เซ็นต์ และปตท.ไปถือหุ้นกิจการพลังงานต่างๆ อีกทอด เช่น บริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียม บริษัทโรงกลั่น บริษัทโรงแยกก๊าซบริษัทปิโตรเคมี โดยมีเอกชนร่วมเป็นเจ้าของมากน้อยแตกต่างกันไป ดูจากชาร์ตที่นำเสนอด้านล่าง

ก่อนวันที่ 6 ธันวาคม 2544 (2001) รัฐหรือกระทรวงการคลังถือหุ้นปตท.100 เปอร์เซ็นต์ (PTT) เอกชนถือหุ้น 0 เปอร์เซ็นต์

ชาร์ตที่แสดงนี้ คือสัดส่วนการถือหุ้นหลังการแปรรูปปตท.เข้าตลาดหุ้นเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2544 (2001) แล้ว

ตัวเลขในวงเล็บ คือตัวเลขที่หลังการแปรรูปเข้าตลาดหุ้นแล้ว ยังไม่ได้แจกแจงว่าสุทธิแล้วกระทรวงการคลังถือหุ้นเหล่านี้เท่าใด เอกชนถือหุ้นเท่าใด

นั่นคือบริษัทปตท.ถือหุ้นบริษัทลูกเท่าใด ก็จะเป็นของกระทรวงการคลังหรือของรัฐเท่านั้น คือ

PTTEP 65.29 เปอร์เซ็นต์ เป็นของกระทรวงการคลัง 65.29 เปอร์เซ็นต์

PTTGC 48.91 เปอร์เซ็นต์ เป็นของกระทรวงการคลัง 48.91 เปอร์เซ็นต์

TOP 49.10 เปอร์เซ็นต์ เป็นของกระทรวงการคลัง 49.10 เปอร์เซ็นต์

IRPC 38.51 เปอร์เซ็นต์ เป็นของกระทรวงการคลัง 38.51 เปอร์เซ็นต์

และ

BCP กระทรวงการคลังถือโดยตรง 9.98 เปอร์เซ็นต์ และถือโดย PTT 27.22 เปอร์เซ็นต์ รวมเป็นของกระทรวงการคลัง 37.20 เปอร์เซ็นต์ แสดงไว้ที่ชาร์ตถัดไป

และเมื่อคำนวณค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามมูลค่าตลาดแล้ว พบว่ากิจการพลังงานเป็นของกระทรวงการคลังหรือ

เป็นของรัฐถึง 75.97 เปอร์เซ็นต์ เป็นของเอกชนเพียง 24.03 เปอร์เซ็นต์

แต่เมื่อมีการแปรรูปปตท. (PTT) เข้าตลาดหุ้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2544 สัดส่วนความเป็นเจ้าของระหว่างกระทรวงการคลังหรือรัฐกับเอกชนเปลี่ยนไปทันที อย่างมีนัยสำคัญ

ยกตัวอย่างเช่น ส่วนแบ่งผู้ถือหุ้นใน PTTEP ที่อยู่ใน PTT ก่อนเข้าตลาดหุ้นมีอยู่65.29 เปอร์เซ็นต์หรือที่เคยเป็นของกระทรวงการคลังหรือของรัฐ 65.29 เปอร์เซ็นต์ หลังการเข้าตลาดหุ้นแล้ว สัดส่วนนี้ก็จะเหลือเป็นของกระทรวงการคลัง 51.11% เท่านั้น หรือ 65.29% x 51.11%= 33.37% ที่เหลือก็จะเป็นของเอกชน 66.63% ตัวเลขทางบัญชีชองบริษัทลูกอื่นๆ ก็สามารถคำนวณออกมาได้ในรูปแบบเดียวกัน

ชาร์ตแสดง“สัดส่วนการถือหุ้นสุทธิ”ระหว่างกระทรวงการคลังหรือรัฐกับเอกชน หลังการแปรรูปปตท.เข้าตลาดหุ้น

พบว่ามีเพียงปตท.(PTT) เท่านั้นที่กระทรวงการคลังถือหุ้นเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ คือกระทรวงการคลังถือหุ้น 51.11 เปอร์เซ็นต์ เอกชนถือหุ้น 48.89 เปอร์เซ็นต์ แต่สัดส่วนตัวเลขนี้ก็ถือว่าเป็นสัดส่วนของรัฐที่ไม่เหมาะสม หรือแทบไม่เห็นความแตกต่างระหว่างความเป็นเจ้าของของรัฐกับความเป็นเจ้าของของเอกชน เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมยิ่ง

ตัวเลขที่ควรจะเป็น ควรเป็นของรัฐ 20-25 เปอร์เซ็นต์ และเป็นของเอกชน 75-80 เปอร์เซ็นต์

จากการแจกตัวเลขสัดส่วนดังกล่าว พบว่า

PTT เป็นของกระทรวงการคลัง 51.11 เปอร์เซ็นต์เป็นของเอกชน 48.89 เปอร์เซ็นต์

PTTEP เป็นของกระทรวงการคลัง 33.37 เปอร์เซ็นต์ เป็นของเอกชน 66.63เปอร์เซ็นต์

PTTGC เป็นของกระทรวงการคลัง 24.99 เปอร์เซ็นต์เป็นของเอกชน 75.01เปอร์เซ็นต์

TOP เป็นของกระทรวงการคลัง 25.10 เปอร์เซ็นต์เป็นของเอกชน 74.90 เปอร์เซ็นต์

IRPC เป็นของกระทรวงการคลัง19.68 เปอร์เซ็นต์เป็นของเอกชน80.32 เปอร์เซ็นต์

และ

BCP เป็นของกระทรวงการคลัง เปอร์เซ็นต์เป็นของเอกชนเปอร์เซ็นต์

จากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าตลาด พบว่ากิจการพลังงานทั้งระบบเป็นของกระทรวงการคลังหรือ

เป็นของรัฐเพียง 38.90 เปอร์เซ็นต์ เป็นของเอกชนถึง 61.10 เปอร์เซ็นต์

ดังนั้น นโยบายต่างๆ ที่ออกมาหลังการแปรรูปปตท.เข้าตลาดหุ้น ที่ผ่านกระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงาน ไม่ว่าเรื่องราคาผลิตภัณฑ์ เรื่องกองทุนน้ำมัน จึงไม่ได้เป็นไปเพื่อความมั่นคงพลังงานทางของชาติแต่อย่างใด แต่เป็นไปเพื่อผลกำไรของเอกชนเป็นส่วนใหญ่

ข้ออ้าง 1 ว่าขึ้นราคาผลิตภัณฑ์พลังงาน เพื่อให้ประชาชนประหยัดพลังงานของชาติ ทำไมเขาจึงเป็นคนดีเช่นนี้ ก็เป็นเพียงวาทกรรม ลวงล่อประชาชน ราคาพลังงานที่สูงขึ้น ทำให้คนลดลงการใช้ราคาน้ำมันไม่มาก แต่ทำให้เอกชนมีกำไรสูงขึ้นต่างหาก

ข้ออ้าง 2 ว่าขึ้นราคาผลิตภัณฑ์พลังงานเพื่อให้เป็นไปตามกลไกตลาด ก็ไม่เคยแสดงให้ดูว่ากลไกตลาดนั้นดูอย่างไร เปรียบเทียบแบบไหน ก็เป็นเพียงวาทกรรมการขึ้นราคาพลังงานหลอกล่อประชาชนอีกเช่นกัน

ข้ออ้าง 3 ว่าขึ้นราคาผลิตภัณฑ์พลังงานเพื่อให้สะท้อนราคาตามความเป็นจริง ก็วาทกรรมส่งเดชเช่นเดียวกัน ไม่เคยแสดงให้เห็นหรือเปรียบเทียบให้เห็นถึงต้นทุนการผลิตเป็นอย่างไร เป็นการตั้งราคาพลังงานตามใจชอบ

ส่งผลให้ราคาพลังงานของประเทศไทยสูงกว่าหลายประเทศในโลก รวมทั้งสูงกว่าหลายประเทศในอาเซียน

เมื่อก่อนเงินครอบครัว 500 บาทใช้ซื้อสินค้าและบริการได้เหลือกินเหลือใช้ไปหลายวัน ทุกวันนี้แทบไม่พอกินไม่พอใช้ในวันเดียว ข้าวของ ค่าความเป็นอยู่ การเดินทางแพงขึ้นทุกอย่าง ค่าน้ำ ค่าไฟก็สูงขึ้น คนอยู่ในภาคการผลิต ต้นทุนการผลิตก็สูงขึ้นทุกอย่าง ไม่ว่าปุ๋ย ยากำจัดศตรูพืช

ประชาชนยากจนลงอย่างเป็นระบบ ถูกเอกชนในกิจการพลังงานดูดความมั่งคั่งไปเป็นกลุ่มตนแต่ฝ่ายเดียว

เป็นการเข้าใจผิด หรือทำเป็นไม่เข้าใจว่ากิจการพลังงานไม่เป็นของรัฐ ตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องและส่งคนของรัฐเข้าไปเป็นกรรมการในบริษัทกิจการพลังงานต่างๆ ไม่ได้เป็นไปเพื่อความมั่นคงของรัฐแต่อย่างใด แต่เป็นไปเพื่อความมั่นคงของเอกชนแต่อย่างเดียว

ข้าราชการ นักวิชาการ ทหาร ตำรวจ อัยการระดับสูงต่างได้รับผลประโยชน์ส่วนตนอิ่มหมีพีมันไปตามๆ กัน เกิดเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนวงกว้างในสังคมไทยแบบไม่เคยเป็นมาก่อน



ราคาน้ำมันดิบโลก เบร้นท์ และราคาพลังงานของประเทศไทยย้อนหลัง 18 ปี แสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์ต่อกัน ราคาสูงขึ้นก็สูงขึ้นด้วยกัน ราคาตกลงก็ตกลงด้วยด้วยกัน

แต่ราคาพลังงานสำเร็จรูปของประเทศไทย สูงกว่าของประเทศสหรัฐอเมริกา (ที่ไม่มีการผูกขาด) และสูงกว่าราคาของหลายประเทศในอาเซียน ที่เป็นเหตุให้เกิดตลาดมืด และส่วยน้ำมัน ทางภาคใต้ของประเทศไทยรุนแรง








SHIN (ชินคอร์เปอเรชั่น) คือตัวอย่างการให้สัมปทานกิจการโทรคมนาคมแก่เอกชน เอกชนเอาทำอย่างไรก็ได้ แล้วเอกชนก็เอา SHIN ที่ตัวเองมีอยู่ประมาณ 49 เปอร์เซ็นต์ขายให้ต่างชาติทั้งหมด ขายให้เทมาเส็กของสิงคโปร์เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 เอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง

ได้มีการแก้ไข พ.ร.บ.กิจการโทรคมนาคมถึง 2 ครั้ง เพื่อที่จะทำให้มีการขายสมบัติประเทศให้ต่างชาติได้ ครั้งแรกแก้ไขไม่สำเร็จ โดยแพ้การลงคะแนนเสียงในชั้นวุฒิสภา แต่ประสบความสำเร็จในการขอแก้ไข พ.ร.บ.กิจการโทรคมนาคมในครั้งที่ 2 โดยเพิ่มจากที่ “ต่างชาติถือหุ้นกิจการโทรคมนาคมได้ไม่เกิน 25 เปอร์เซ็นต์ เป็นถือหุ้นได้ไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์” แล้วจึงได้มีการขายสมบัติประเทศดังกล่าว

ทุกวันนี้ในระบบของตลาดหลักทรัพย์ ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก SHIN เป็น INTUCH

กล่าวได้ว่าทุกวันนี้ประเทศเล็กๆ อย่างสิงคโปร์ได้เป็นเจ้าของกิจการทางการเงิน กิจการโทรคมนาคม กิจการพลังงานของประเทศไทย ฯลฯ เป็นส่วนมากแล้ว

ปตท.เป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแยกก๊าซธรรมชาติ รายใหญ่ในประเทศไทย(ผูกขาด) ไม่ทราบต้นทุนการผลิตเท่าใด

ราคาก๊าซธรรมชาติ ตลาดก๊าซสหรัฐฯ ราคา 4.56 บาทต่อกิโลกรัม

แต่ราคาก๊าซธรรมชาติ แหล่งเอราวัณ ผลิตและจำหน่ายโดยเชฟรอน ไทยแลนด์ ขายให้ไทยราคา 10.99 บาทต่อกิโลกรัม

ตัวอย่างโครงสร้างที่ทำให้พลังงาน(ก๊าซ)ของไทยสูงแบบเหลือเชื่อ

หากใช้ราคาก๊าซสหรัฐฯ ราคา 4.56 บาทต่อกิโลกรัม (มีกำไรแล้ว) เป็นฐานในการพิจารณา แสดงว่า ราคาก๊าซของประเทศไทยผิดไปจากกลไกตลาดและไม่สะท้อนราคาตามความเป็นจริง

โรงแยกก๊าซในไทยได้ราคาสูงกว่าไทยสูงกว่าฐาน 10.02-4.56 = 5.46

ราคาขายส่งให้ปตท. 16.40 -10.02 = 6.36

ราคาปลายทาง 24.16-16.40 = 7.76

ส่วนต่างทั้ง 3 ส่วน รวมกัน 5.46+6.36+7.76 = 19.58 บาทต่อกิโลกรัม ที่ส่งผลให้ราคาก๊าซหุงต้มหรือราคาก๊าซเพื่อการขนส่งของประเทศไทยสูงแบบเหลือเชื่อ

เท่านั้นยังไม่พอ กระทรวงพลังงานยังมีการจ่ายเงินกองทุนน้ำมันให้ผู้ขายก๊าซให้ประเทศไทยอีกด้วย

14ปีมาแล้ว หรือนานมาแล้ว ที่ประชาชนคนไทยได้รับความเดือดร้อนจากการสูงขึ้นของราคาพลังงาน จุดเริ่มต้นอยู่ที่การแปรรูปปตท.เข้าตลาดหุ้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2544 ทำให้โครงสร้างการเป็นเจ้าของกิจการพลังงานของไทยตกไปเป็นของเอกชนเป็นส่วนใหญ่ แล้วทั้งข้าราชการระดับสูงจากหลายกระทรวง หลายกองทัพ และจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฯลฯ ร่วมกันเข้ามาหาประโยชน์ ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนกันทั่วประเทศ

แม้ประชาชนจะออกมาเรียกร้องเรื่องนี้กันอย่างไร ผู้มีอำนาจซึ่งมีประโยชน์ส่วนตนอยู่ด้วยก็ไม่ยอมรับฟัง แม้ผลการลงคะแนนเสียงของ สปช.ว่า ไม่เห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ดูเหมือนรัฐบาลดื้อรั้นที่จะรับฟังอีก

ปัญหาพลังงานของประเทศไทย แยกออกเป็น 3 เรื่องสำคัญ

เรื่องที่ 1 ระบบแบ่งปันผลประโยชน์จะทำให้รัฐได้รับผลตอบแทน มีความเป็นธรรมมากกว่าระบบให้สัมปทาน

เรื่องที่ 2 โครงสร้างความเป็นเจ้าของกิจการพลังงานที่ไม่เหมาะสม ทำให้กิจการพลังงานของไทยตกเป็นของเอกชนส่วนใหญ่ ทำให้เอกชนเข้ามาหาประโยชน์อย่างไม่ปรานี

เรื่องที่ 3 เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของข้าราชการระดับสูงของประเทศ ที่เข้าไปเอื้อประโยชน์ให้เอกชนมากกว่าจะคำนึงถึงความเดือดร้อนของประเทศชาติประชาชน

การแก้ไขปัญหาพลังงานของชาติ การปฏิรูปพลังงานของประเทศ ต้องมุ่งไปที่การแก้ปัญหาทั้ง 3 เรื่องนี้ หากทำได้ ก็จะทำให้พลังงานของประเทศ ที่เป็นของคนไทยทั้งประเทศ กลับมาเป็นของประชาชนคนไทย เป็นไปเพื่อความเป็นธรรมและความผาสุกของคนทั้งประเทศได้
กำลังโหลดความคิดเห็น