เมื่อเวลา 9.30 น. วานนี้ (11ก.พ.) ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีการพิจารณารายมาตรา เป็นวันที่ 18 มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ เป็นประธานในการประชุม ซึ่งเป็นการพิจารณา ในภาค 4 การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง โดยเป็นครั้งแรก ที่กมธ.ยกร่างฯ ให้สื่อมวลชนได้เข้าสังเกตุการณ์อย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกัน นายบวรศักดิ์ ได้ขอความร่วมมือ กรรมาธิการทั้ง 35 คน งดการให้ข่าว เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และยังไม่มีข้อยุติ จนกว่าจะได้ข้อยุติ จึงจะให้โฆษก กมธ.ยกร่างฯ มาแถลงความคืบหน้าต่อสื่อมวลชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับภาค 4 ถือเป็นเรื่องใหม่ไม่เคยมีการบรรจุในรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นการเกิดขึ้นโดยนำเหตุการณ์ และสถานการณ์การเมืองที่ผ่านมา มาเขียนบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยในการประชุมตลอดทั้งวัน มีการนำเสนอ ว่า การปฏิรูปหลังจากมีการเลือกตั้งแล้ว ควรจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อ เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรม เนื่องจากมี กมธ.บางส่วน คาดการณ์ว่ากฎหมายลูกที่จะต้องออกตามรัฐธรรมนูญใหม่หลายฉบับ อาจดำเนินการไม่ทันก่อนการเลือกตั้ง จึงคิดว่าควรมีการตั้งองค์กร หรือคณะกรรมการรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เข้ามาทำหน้าที่สานต่อการปฏิรูปให้เกิดความต่อเนื่อง เพื่อให้ข้อเสนอของ สปช.ได้ถูกนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังไม่ได้สรุปว่าจะใช้รูปแบบใด สำหรับการดำเนินการปฏิรูปประเทศ โดยได้ข้อยุติว่า จะนัดประชุม กมธ.ยกร่างฯ อีกครั้งในวันที่ 13 ก.พ. เพื่อพิจารณาข้อเสนอในหมวดปฏิรูป จากคณะกมธ.การปฏิรูป ของสปช. ทั้ง 18 คณะ ก่อน จากนั้นจะมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการไปยกร่างรัฐธรรมนูญในหมวดนี้ขึ้นเป็นรายมาตราและนำมาเสนอให้กับ คณะกมธ.ยกร่างฯได้พิจารณาต่อไป
** ให้ปธ.กมธ.ทุกคณะเป็นวิปสปช.
นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการแก้ไขข้อบังคับการประชุมสปช. ที่มีนายเทียนฉาย กีระนันทน์ เป็นประธานการประชุม โดยพิจารณาแก้ไข 2 เรื่อง คือ 1. ปรับโครงสร้างวิปสปช.โดยให้ประธานคณะกรรมาธิการทุกคณะไปเป็นวิปสปช. จากเดิมแต่ละคณะจะส่งตัวแทนมาเป็นวิปสปช. โดยทั้งคณะ มีไม่เกิน 36 คน และ 2. แก้ไขกระบวนการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยสปช. โดยให้ยกเว้นการพิจารณาชั้นแปรญัตติ เป็นการให้ความเห็นชอบก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาต่อไปเพื่อความรวดเร็ว แต่ในการพิจารณาของกรรมาธิการ จะต้องมีตัวแทนของ สปช.ร่วมเป็นกรรมาธิการด้วย เนื่องจากเป็นร่างกฎหมายที่เสนอโดย สปช.เอง ทั้งนี้ วาระการแก้ไขข้อบังคับจะเข้าสู่การพิจารณาที่ประชุม สปช.ในวันที่ 16 ก.พ. เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป
สำหรับการประชุม คณะกรรมการประสานของประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในวานนี้ ( 11 ก.พ.) ประกอบด้วย นายสุวพันธุ์ ตันยุวัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนจาก ครม. พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ที่ปรึกษา และเลขานุการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นตัวแทน คสช. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. คนที่ 1 เป็นตัวแทน สนช. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นตัวแทน สปช. โดยมีวาระสำคัญ คือรายงานความคืบหน้าของกรรมาธิการปฏิรูป 18 คณะ และคณะกรรมการชุดพิเศษอีก 5 คณะ ซึ่งถือเป็นระยะที่ 2 ของโรดแมป
**แม่น้ำ 5 สาย วางปฏิทินปฏิรูป
นายอลงกรณ์ กล่าวด้วยว่า ในการประชุมร่วมกันของตัวแทนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) สปช. และคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ มีความเห็นร่วมกันในการวางแนวทางปฏิรูป และการบริหารจัดการในเรื่องต่างๆ ดังนี้
กำหนดให้กรอบหลักการปฏิรูปต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ 27 ก.พ. ส่วนวิธีการรวมไปถึงกระบวนการปฏิรูป ต้องทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 เม.ย. ขณะที่การยกร่างกฎหมายกำหนดให้ต้องดำเนินการให้เสร็จก่อนวันที่ 31 ก.ค.
นอกจากนี้จะมีการแก้ไขข้อบังคับการประชุมสปช. โดยจะแก้ไของค์ประกอบของ คณะกมธ.วิสามัญสปช. เพื่อให้การดำเนินการในการปฏิรูปมีแนวทางการดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันกับแม่น้ำ 5 สาย ซึ่งองค์ประกอบจะประกอบด้วย ประธาน และรองประธานสปช. ประธานคณะกรรมาธิการสปช. 18 คณะ คณะกมธ.วิสามัญสปช. 5 คณะ เลขาธิการสปช. โฆษกวิป สปช. ผู้ช่วยโฆษกวิปสปช. ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน จากคสช. ครม. และสนช. เลขานุการวิปสปช. และผู้ช่วยเลขานุการวิปสปช. ทั้งนี้คณะกรรมการประสานงานของประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้แต่งตั้งบุคคลมาเป็นกรรมการเพิ่มเติมอีก 3 คน ได้แก่ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ที่ปรึกษาและเลขานุการคณะที่ปรึกษาคสช. 2. นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ 3. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช. คนที่ 1
** 3จว.ชายแดนใต้ให้คงอำนาจกกต.
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เปิดเผยว่า กกต. 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จ.ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ได้ทำหนังสือข้อเสนอแนะทางการปฏิรูปกกต. เพื่อเสนอต่อ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในการนำไปประกอบการพิจารณา ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ อย่างรอบด้าน โดยเห็นว่า กกต. มีอำนาจดำเนินการเลือกตั้งบุคคลมาใช้อำนาจรัฐในนามของรัฐบาล หรือมาเป็นนักการเมือง ระดับต่างๆ นั้น เหมาะสมแล้ว และเป็นองค์กรที่นานาชาติให้การรับรองแล้วในระดับสากล ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งในสภาวะปัจจุบัน ที่ประเทศไทย ซึ่งดำรงตนอยู่ในสังคมนานาชาติประชาธิปไตยและเป็นชาติที่ประชาคมนานาชาติประชาธิปไตยกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิดในหลากหลายประเด็นสำคัญๆ บทบาทของ กกต. ประเทศไทยในเวทีประชาชาติเท่าที่ผ่านมาถือว่าได้รับการยอมรับจากองค์กรที่ติดตามเฝ้าระวังในระดับนานาชาติ เช่น ออสเตรเลีย เยอรมัน ซึ่งเป็นผู้แทนของประชาชน ได้เข้ามาร่วมสังเกตการณ์การบริหารการจัดการเลือกตั้งของจังหวัดอย่างใกล้ชิดได้ส่งบุคคลระดับสูงมาสังเกตการณ์ มาสัมภาษณ์การปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.จว. และไปตรวจเยี่ยมถึงหน่วยเลือกตั้ง แสดงความมั่นใจว่าแม้ใจสถานการณ์ที่มีความยุ่งยากทางสังคมการเมืองไทย แต่ กกต. ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็ง ผู้ร่วมงานทุกระดับมีขวัญกำลังใจพร้อมอำนวยความยุติธรรมในการจัดการเลือกตั้ง
“หากมองในประเด็นให้องค์อำนาจที่มีการหน้าที่จัดเลือกตั้งอยู่กับหน่วยงานภายใต้กำกับดูแลของรัฐบาล รัฐบาลในขณะนั้นอาจใช้ประโยชน์จากการที่มีอำนาจควบคุมกำกับดูแลการเลือกตั้งเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคการเมือง กลุ่มการเมืองที่ตนเองให้การสนับสนุน หรือมีสิ่งต่างตอบแทนอันมีผลกระทบต่อกระบวนการจัดการเลือกตั้งให้โปร่งใส สุจริต ยุติธรรม หรือการทำหน้าที่ให้เป็นกลางในการบริหารจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดได้ เพื่อช่วยเหลือพรรคพวกของตนเองในการเลือกตั้งได้ ซึ่งข้อคิดเห็นของผู้แทนกกต. จว. 3 จังหวัดชายแดนใต้ดังกล่าว กกต.ก็จะได้เสนอไปยัง คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชนทราบต่อไป” นายภุชงค์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับภาค 4 ถือเป็นเรื่องใหม่ไม่เคยมีการบรรจุในรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นการเกิดขึ้นโดยนำเหตุการณ์ และสถานการณ์การเมืองที่ผ่านมา มาเขียนบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยในการประชุมตลอดทั้งวัน มีการนำเสนอ ว่า การปฏิรูปหลังจากมีการเลือกตั้งแล้ว ควรจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อ เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรม เนื่องจากมี กมธ.บางส่วน คาดการณ์ว่ากฎหมายลูกที่จะต้องออกตามรัฐธรรมนูญใหม่หลายฉบับ อาจดำเนินการไม่ทันก่อนการเลือกตั้ง จึงคิดว่าควรมีการตั้งองค์กร หรือคณะกรรมการรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เข้ามาทำหน้าที่สานต่อการปฏิรูปให้เกิดความต่อเนื่อง เพื่อให้ข้อเสนอของ สปช.ได้ถูกนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังไม่ได้สรุปว่าจะใช้รูปแบบใด สำหรับการดำเนินการปฏิรูปประเทศ โดยได้ข้อยุติว่า จะนัดประชุม กมธ.ยกร่างฯ อีกครั้งในวันที่ 13 ก.พ. เพื่อพิจารณาข้อเสนอในหมวดปฏิรูป จากคณะกมธ.การปฏิรูป ของสปช. ทั้ง 18 คณะ ก่อน จากนั้นจะมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการไปยกร่างรัฐธรรมนูญในหมวดนี้ขึ้นเป็นรายมาตราและนำมาเสนอให้กับ คณะกมธ.ยกร่างฯได้พิจารณาต่อไป
** ให้ปธ.กมธ.ทุกคณะเป็นวิปสปช.
นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการแก้ไขข้อบังคับการประชุมสปช. ที่มีนายเทียนฉาย กีระนันทน์ เป็นประธานการประชุม โดยพิจารณาแก้ไข 2 เรื่อง คือ 1. ปรับโครงสร้างวิปสปช.โดยให้ประธานคณะกรรมาธิการทุกคณะไปเป็นวิปสปช. จากเดิมแต่ละคณะจะส่งตัวแทนมาเป็นวิปสปช. โดยทั้งคณะ มีไม่เกิน 36 คน และ 2. แก้ไขกระบวนการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยสปช. โดยให้ยกเว้นการพิจารณาชั้นแปรญัตติ เป็นการให้ความเห็นชอบก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาต่อไปเพื่อความรวดเร็ว แต่ในการพิจารณาของกรรมาธิการ จะต้องมีตัวแทนของ สปช.ร่วมเป็นกรรมาธิการด้วย เนื่องจากเป็นร่างกฎหมายที่เสนอโดย สปช.เอง ทั้งนี้ วาระการแก้ไขข้อบังคับจะเข้าสู่การพิจารณาที่ประชุม สปช.ในวันที่ 16 ก.พ. เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป
สำหรับการประชุม คณะกรรมการประสานของประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในวานนี้ ( 11 ก.พ.) ประกอบด้วย นายสุวพันธุ์ ตันยุวัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนจาก ครม. พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ที่ปรึกษา และเลขานุการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นตัวแทน คสช. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. คนที่ 1 เป็นตัวแทน สนช. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นตัวแทน สปช. โดยมีวาระสำคัญ คือรายงานความคืบหน้าของกรรมาธิการปฏิรูป 18 คณะ และคณะกรรมการชุดพิเศษอีก 5 คณะ ซึ่งถือเป็นระยะที่ 2 ของโรดแมป
**แม่น้ำ 5 สาย วางปฏิทินปฏิรูป
นายอลงกรณ์ กล่าวด้วยว่า ในการประชุมร่วมกันของตัวแทนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) สปช. และคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ มีความเห็นร่วมกันในการวางแนวทางปฏิรูป และการบริหารจัดการในเรื่องต่างๆ ดังนี้
กำหนดให้กรอบหลักการปฏิรูปต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ 27 ก.พ. ส่วนวิธีการรวมไปถึงกระบวนการปฏิรูป ต้องทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 เม.ย. ขณะที่การยกร่างกฎหมายกำหนดให้ต้องดำเนินการให้เสร็จก่อนวันที่ 31 ก.ค.
นอกจากนี้จะมีการแก้ไขข้อบังคับการประชุมสปช. โดยจะแก้ไของค์ประกอบของ คณะกมธ.วิสามัญสปช. เพื่อให้การดำเนินการในการปฏิรูปมีแนวทางการดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันกับแม่น้ำ 5 สาย ซึ่งองค์ประกอบจะประกอบด้วย ประธาน และรองประธานสปช. ประธานคณะกรรมาธิการสปช. 18 คณะ คณะกมธ.วิสามัญสปช. 5 คณะ เลขาธิการสปช. โฆษกวิป สปช. ผู้ช่วยโฆษกวิปสปช. ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน จากคสช. ครม. และสนช. เลขานุการวิปสปช. และผู้ช่วยเลขานุการวิปสปช. ทั้งนี้คณะกรรมการประสานงานของประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้แต่งตั้งบุคคลมาเป็นกรรมการเพิ่มเติมอีก 3 คน ได้แก่ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ที่ปรึกษาและเลขานุการคณะที่ปรึกษาคสช. 2. นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ 3. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช. คนที่ 1
** 3จว.ชายแดนใต้ให้คงอำนาจกกต.
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เปิดเผยว่า กกต. 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จ.ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ได้ทำหนังสือข้อเสนอแนะทางการปฏิรูปกกต. เพื่อเสนอต่อ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในการนำไปประกอบการพิจารณา ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ อย่างรอบด้าน โดยเห็นว่า กกต. มีอำนาจดำเนินการเลือกตั้งบุคคลมาใช้อำนาจรัฐในนามของรัฐบาล หรือมาเป็นนักการเมือง ระดับต่างๆ นั้น เหมาะสมแล้ว และเป็นองค์กรที่นานาชาติให้การรับรองแล้วในระดับสากล ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งในสภาวะปัจจุบัน ที่ประเทศไทย ซึ่งดำรงตนอยู่ในสังคมนานาชาติประชาธิปไตยและเป็นชาติที่ประชาคมนานาชาติประชาธิปไตยกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิดในหลากหลายประเด็นสำคัญๆ บทบาทของ กกต. ประเทศไทยในเวทีประชาชาติเท่าที่ผ่านมาถือว่าได้รับการยอมรับจากองค์กรที่ติดตามเฝ้าระวังในระดับนานาชาติ เช่น ออสเตรเลีย เยอรมัน ซึ่งเป็นผู้แทนของประชาชน ได้เข้ามาร่วมสังเกตการณ์การบริหารการจัดการเลือกตั้งของจังหวัดอย่างใกล้ชิดได้ส่งบุคคลระดับสูงมาสังเกตการณ์ มาสัมภาษณ์การปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.จว. และไปตรวจเยี่ยมถึงหน่วยเลือกตั้ง แสดงความมั่นใจว่าแม้ใจสถานการณ์ที่มีความยุ่งยากทางสังคมการเมืองไทย แต่ กกต. ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็ง ผู้ร่วมงานทุกระดับมีขวัญกำลังใจพร้อมอำนวยความยุติธรรมในการจัดการเลือกตั้ง
“หากมองในประเด็นให้องค์อำนาจที่มีการหน้าที่จัดเลือกตั้งอยู่กับหน่วยงานภายใต้กำกับดูแลของรัฐบาล รัฐบาลในขณะนั้นอาจใช้ประโยชน์จากการที่มีอำนาจควบคุมกำกับดูแลการเลือกตั้งเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคการเมือง กลุ่มการเมืองที่ตนเองให้การสนับสนุน หรือมีสิ่งต่างตอบแทนอันมีผลกระทบต่อกระบวนการจัดการเลือกตั้งให้โปร่งใส สุจริต ยุติธรรม หรือการทำหน้าที่ให้เป็นกลางในการบริหารจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดได้ เพื่อช่วยเหลือพรรคพวกของตนเองในการเลือกตั้งได้ ซึ่งข้อคิดเห็นของผู้แทนกกต. จว. 3 จังหวัดชายแดนใต้ดังกล่าว กกต.ก็จะได้เสนอไปยัง คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชนทราบต่อไป” นายภุชงค์ กล่าว