ASTVผู้จัดการรายวัน - นายกฯ วสท.นำทีมสำรวจความเสียหายอาคาร SCB หลังไฟไหม้ เผยเสา 3 ต้นชั้น 10 เสียหายหนัก สั่งปิดพื้นที่ 3 ชั้นๆ 9-11 ตรวจอย่างละเอียด คาดสัปดาห์หน้ารู้ผล ยันไม่ต้องรื้อถอน ระบุห้องต้นเพลิงใช้ระบบแก๊สไพโรเจนดับไฟ "วิชิต" ประธานบอร์ดไทยพาณิชย์ ร่วมงานศพ "เดชา" ฮีโร่นักผจญเพลิง วัดหลักสี่ มอบเงิน 2 ล้านให้ครอบครัว พร้อมประกันชีวิตให้มารดา
เมื่อวันที่ 10 ก.พ. นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้ลงพื้นที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ โดยนำทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบอาคารพร้อมอุปกรณ์อัลตร้าโซนิค สำรวจความเสียหายภายหลังเกิดเพลิงไหม้ บริเวณชั้น 10 โซนเอ นอกจากนี้ ยังสำรวจบริเวณชั้น 9 และชั้น 11 ว่าเหตุเพลิงไหม้ได้สร้างความเสียหายต่อฝ้าเพดาน รวมทั้งพื้นผิวปูน เสา โครงสร้างเหล็กมีการคดงอหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยในการใช้สถานที่
นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ระบุว่า บริเวณชั้น 10 ซึ่งเป็นต้นเพลิง ได้ติดตั้งระบบแก๊สไพโรเจนบนเพดานในการดับไฟ หากใช้ระบบสปริงเกอร์ที่ใช้น้ำดับไฟ อาจทำให้เกิดไฟช็อต เนื่องจากชั้นดังกล่าวเป็นที่เก็บเอกสารอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หากใช้น้ำ จะทำให้ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ยังไม่สามารถระบุได้ว่า แก๊สไพโรเจนจะทำปฏิกิริยากับยาฉีดยุงจนเกิดเพลิงไหม้หรือไม่
ส่วนความเสียหายพบว่ามีเสาเสียหาย 3 เสา โดยมี 1 เสาที่เสียหายค่อนข้างมาก ซึ่งจะต้องตรวจดูแรงดันว่ามีความหนาแน่นอยู่หรือไม่ นอกจากนี้ ทางวิศวกร จะใช้เครื่องมืออัลตร้าโซนิค ยิงเอกซเรย์ตามเสาทุกจุดที่ได้รับความเสียหาย
นายสุชัชวีร์ กล่าวต่อไปว่า จากการตรวจสอบพบว่าเพลิงได้ไหม้พื้นชั้น 10 และชั้น 11 ซึ่งทางวิศวกรได้สั่งปิดพื้นที่ตั้งแต่ชั้น 9 จนถึงชั้น 11 เพื่อใช้เครื่องมืออัลตร้าโซนิคสแกนพื้นคอนกรีตที่เกิดเพลิงไหม้
นอกจากนี้ ยังต้องใช้เครื่องมือดังกล่าวตรวจสอบโครงเหล็กแกนกลางของเสา 2 ต้น ภายในอาคารที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก เนื่องจากเกิดเพลิงไหม้เป็นเวลานาน ว่ามีความแข็งแรงหรือไม่ เพราะต้องแบกรับน้ำหนักอีก 20 ชั้น โดยจะรายงานผลให้กับธนาคารทราบภายในสัปดาห์หน้า ขณะที่สาเหตุการเกิดเพลิงไหม้นั้น เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตรวจสอบ ซึ่งทาง วสท.เป็นเพียงผู้ตรวจโครงสร้างอาคารเท่านั้น
“หากความเสียหายมีไม่มาก จะใช้เวลาซ่อมแซมพร้อมเข้าใช้งานได้ใน 1 เดือน แต่ถ้ามีความเสียหายมาก ก็จำเป็นต้องแก้ไขเป็นจุดๆ ไป ในส่วนของชั้นอื่นๆ สามารถเข้าใช้งานได้ตามปกติ”
ทั้งนี้ จากที่มีการมองว่า รูปแบบอาคารดังกล่าวมีความซับซ้อน ทำให้ยากต่อการระงับเหตุนั้น โดยส่วนตัวมองว่าปัจจุบันอาคารขนาดใหญ่ มีรูปทรงต่างๆ มากขึ้น แต่ไม่ได้ยืนยันว่า ตึกจะมีความปลอดภัย เพราะความปลอดภัยขึ้นอยู่กับการออกแบบ วางระบบ การดูแลตรวจสอบตามมาตรฐานสากล โดยภายในสัปดาห์นี้ทาง วสท. จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบตลอดทั้งสัปดาห์
ด้าน นายการุญ จันทรางศุ วิศวกรผู้ออกแบบโครงสร้างอาคารธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ กล่าวว่า อาคารดังกล่าวเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก แม้ผ่านมา 20 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 2538 ยังเป็นอาคารที่ทันสมัยและแข็งแรงมาก และโครงสร้างอาคารได้ออกแบบให้ทนความร้อน แม้จะเกิดเพลิงไหม้ 3 ชั่วโมง ซึ่งในส่วนการแก้ไข หลังจากนี้ มีเพียง เสา เหล็ก เพดาน ที่เสียหายเล็กน้อย ซึ่งสามารถซ่อมแซมให้กลับมาเหมือนเดิมได้
ส่วนประตูล็อกขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้นั้น ได้ถูกออกแบบตั้งแต่ก่อสร้างแล้ว ซึ่งต้องไปถามคนที่ออกแบบระบบล็อกของอาคาร ว่าขณะเกิดไฟไหม้ หรือไฟดับนั้นใช้ระบบล็อกแบบใด
***สามัคคีฯรับประกันSCB1หมื่นล้านเสียหายจิ๊บจ๊อยร้อยล้านบาท
นายสรศักดิ์ ทันตสุวรรณ รองเลขาธิการ ด้านตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558 เกิดเหตุเพลิงไหม้ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่รัชโยธิน บริเวณชั้น 10 ของโซน A อาคารมีความสูง 34 ชั้น นั้น
สำนักงาน คปภ. ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและขอเรียนว่าธนาคารไทยพาณิชย์ ทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) ไว้กับบริษัท สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) จำนวนเงินเอาประกันภัย 10,510 ล้านบาท ซึ่งมีการเอาประกันภัยต่ออย่างเป็นระบบ จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับราคาความเสียหายที่ประมาณไว้กว่าหนึ่งร้อยล้านบาท บริษัท สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) รายงานให้ทราบโดยลำดับว่าหลังจากเกิดเหตุได้ส่งผู้ประเมินวินาศภัยหรือเซอร์เวย์เยอร์เข้าไปสำรวจความเสียหาย เพื่อการประเมินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทันที ซึ่งขณะนี้ก็กำลังดำเนินการอยู่
สำนักงาน คปภ. จะได้ติดตามเพื่อให้มีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างถูกต้อง เป็นธรรม และโดยเร็วที่สุด และขอเรียนผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการเป็นอาคารขนาดใหญ่ หรืออาคารสูง ให้หมั่นตรวจสอบระบบการป้องกันอัคคีภัย และระบบรักษาความปลอดภัยภายในอาคารอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าระบบต่างๆ สามารถทำงานได้ในกรณีเกิดอัคคีภัย และขอเรียนว่าการบริหารความเสี่ยงภัยที่ดีคือ “การทำประกันภัย” โดยเฉพาะการทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) ที่จะให้ความคุ้มครองความเสียหายครอบคลุมความเสี่ยงภัย
***ผู้บริหาร SCB ร่วมงานศพ 'หนวด หลักสี่'
เมื่อวันที่ 10 ก.พ. มีรายงานว่า ในเวลาประมาณ 18.30 น. ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จะเดินทางไปวัดหลักสี่ ศาลาอยู่อ่อน ซึ่งตั้งสวดอภิธรรมศพ นายเดชา ด้วงชนะ อายุ 35 ปี เจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) เขตหลักสี่ รหัส 44-33 ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ในการช่วยดับเพลิง ภายในอาคาร ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ รัชโยธิน โดยจะมอบเงินจำนวน 2 ล้าน ให้กับครอบครัวนายเดชา เพิ่มเติมจากเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 2 แสนบาท พร้อมทั้งมอบประกันชีวิตครอบคลุมโรคร้าย จากไทยพาณิชย์ประกันชีวิต ให้แก่ นางจุติมา จะโนภาษ อายุ 54 ปี มารดาของนายเดชาอีกด้วย
สำหรับศพนายเดชา ได้ตั้งสวดอภิธรรมศพตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยจะมีพิธีฌาปนกิจในวันที่ 12 ก.พ. เวลา 17.00 น.
เมื่อวันที่ 10 ก.พ. นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้ลงพื้นที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ โดยนำทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบอาคารพร้อมอุปกรณ์อัลตร้าโซนิค สำรวจความเสียหายภายหลังเกิดเพลิงไหม้ บริเวณชั้น 10 โซนเอ นอกจากนี้ ยังสำรวจบริเวณชั้น 9 และชั้น 11 ว่าเหตุเพลิงไหม้ได้สร้างความเสียหายต่อฝ้าเพดาน รวมทั้งพื้นผิวปูน เสา โครงสร้างเหล็กมีการคดงอหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยในการใช้สถานที่
นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ระบุว่า บริเวณชั้น 10 ซึ่งเป็นต้นเพลิง ได้ติดตั้งระบบแก๊สไพโรเจนบนเพดานในการดับไฟ หากใช้ระบบสปริงเกอร์ที่ใช้น้ำดับไฟ อาจทำให้เกิดไฟช็อต เนื่องจากชั้นดังกล่าวเป็นที่เก็บเอกสารอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หากใช้น้ำ จะทำให้ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ยังไม่สามารถระบุได้ว่า แก๊สไพโรเจนจะทำปฏิกิริยากับยาฉีดยุงจนเกิดเพลิงไหม้หรือไม่
ส่วนความเสียหายพบว่ามีเสาเสียหาย 3 เสา โดยมี 1 เสาที่เสียหายค่อนข้างมาก ซึ่งจะต้องตรวจดูแรงดันว่ามีความหนาแน่นอยู่หรือไม่ นอกจากนี้ ทางวิศวกร จะใช้เครื่องมืออัลตร้าโซนิค ยิงเอกซเรย์ตามเสาทุกจุดที่ได้รับความเสียหาย
นายสุชัชวีร์ กล่าวต่อไปว่า จากการตรวจสอบพบว่าเพลิงได้ไหม้พื้นชั้น 10 และชั้น 11 ซึ่งทางวิศวกรได้สั่งปิดพื้นที่ตั้งแต่ชั้น 9 จนถึงชั้น 11 เพื่อใช้เครื่องมืออัลตร้าโซนิคสแกนพื้นคอนกรีตที่เกิดเพลิงไหม้
นอกจากนี้ ยังต้องใช้เครื่องมือดังกล่าวตรวจสอบโครงเหล็กแกนกลางของเสา 2 ต้น ภายในอาคารที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก เนื่องจากเกิดเพลิงไหม้เป็นเวลานาน ว่ามีความแข็งแรงหรือไม่ เพราะต้องแบกรับน้ำหนักอีก 20 ชั้น โดยจะรายงานผลให้กับธนาคารทราบภายในสัปดาห์หน้า ขณะที่สาเหตุการเกิดเพลิงไหม้นั้น เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตรวจสอบ ซึ่งทาง วสท.เป็นเพียงผู้ตรวจโครงสร้างอาคารเท่านั้น
“หากความเสียหายมีไม่มาก จะใช้เวลาซ่อมแซมพร้อมเข้าใช้งานได้ใน 1 เดือน แต่ถ้ามีความเสียหายมาก ก็จำเป็นต้องแก้ไขเป็นจุดๆ ไป ในส่วนของชั้นอื่นๆ สามารถเข้าใช้งานได้ตามปกติ”
ทั้งนี้ จากที่มีการมองว่า รูปแบบอาคารดังกล่าวมีความซับซ้อน ทำให้ยากต่อการระงับเหตุนั้น โดยส่วนตัวมองว่าปัจจุบันอาคารขนาดใหญ่ มีรูปทรงต่างๆ มากขึ้น แต่ไม่ได้ยืนยันว่า ตึกจะมีความปลอดภัย เพราะความปลอดภัยขึ้นอยู่กับการออกแบบ วางระบบ การดูแลตรวจสอบตามมาตรฐานสากล โดยภายในสัปดาห์นี้ทาง วสท. จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบตลอดทั้งสัปดาห์
ด้าน นายการุญ จันทรางศุ วิศวกรผู้ออกแบบโครงสร้างอาคารธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ กล่าวว่า อาคารดังกล่าวเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก แม้ผ่านมา 20 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 2538 ยังเป็นอาคารที่ทันสมัยและแข็งแรงมาก และโครงสร้างอาคารได้ออกแบบให้ทนความร้อน แม้จะเกิดเพลิงไหม้ 3 ชั่วโมง ซึ่งในส่วนการแก้ไข หลังจากนี้ มีเพียง เสา เหล็ก เพดาน ที่เสียหายเล็กน้อย ซึ่งสามารถซ่อมแซมให้กลับมาเหมือนเดิมได้
ส่วนประตูล็อกขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้นั้น ได้ถูกออกแบบตั้งแต่ก่อสร้างแล้ว ซึ่งต้องไปถามคนที่ออกแบบระบบล็อกของอาคาร ว่าขณะเกิดไฟไหม้ หรือไฟดับนั้นใช้ระบบล็อกแบบใด
***สามัคคีฯรับประกันSCB1หมื่นล้านเสียหายจิ๊บจ๊อยร้อยล้านบาท
นายสรศักดิ์ ทันตสุวรรณ รองเลขาธิการ ด้านตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558 เกิดเหตุเพลิงไหม้ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่รัชโยธิน บริเวณชั้น 10 ของโซน A อาคารมีความสูง 34 ชั้น นั้น
สำนักงาน คปภ. ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและขอเรียนว่าธนาคารไทยพาณิชย์ ทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) ไว้กับบริษัท สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) จำนวนเงินเอาประกันภัย 10,510 ล้านบาท ซึ่งมีการเอาประกันภัยต่ออย่างเป็นระบบ จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับราคาความเสียหายที่ประมาณไว้กว่าหนึ่งร้อยล้านบาท บริษัท สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) รายงานให้ทราบโดยลำดับว่าหลังจากเกิดเหตุได้ส่งผู้ประเมินวินาศภัยหรือเซอร์เวย์เยอร์เข้าไปสำรวจความเสียหาย เพื่อการประเมินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทันที ซึ่งขณะนี้ก็กำลังดำเนินการอยู่
สำนักงาน คปภ. จะได้ติดตามเพื่อให้มีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างถูกต้อง เป็นธรรม และโดยเร็วที่สุด และขอเรียนผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการเป็นอาคารขนาดใหญ่ หรืออาคารสูง ให้หมั่นตรวจสอบระบบการป้องกันอัคคีภัย และระบบรักษาความปลอดภัยภายในอาคารอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าระบบต่างๆ สามารถทำงานได้ในกรณีเกิดอัคคีภัย และขอเรียนว่าการบริหารความเสี่ยงภัยที่ดีคือ “การทำประกันภัย” โดยเฉพาะการทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) ที่จะให้ความคุ้มครองความเสียหายครอบคลุมความเสี่ยงภัย
***ผู้บริหาร SCB ร่วมงานศพ 'หนวด หลักสี่'
เมื่อวันที่ 10 ก.พ. มีรายงานว่า ในเวลาประมาณ 18.30 น. ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จะเดินทางไปวัดหลักสี่ ศาลาอยู่อ่อน ซึ่งตั้งสวดอภิธรรมศพ นายเดชา ด้วงชนะ อายุ 35 ปี เจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) เขตหลักสี่ รหัส 44-33 ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ในการช่วยดับเพลิง ภายในอาคาร ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ รัชโยธิน โดยจะมอบเงินจำนวน 2 ล้าน ให้กับครอบครัวนายเดชา เพิ่มเติมจากเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 2 แสนบาท พร้อมทั้งมอบประกันชีวิตครอบคลุมโรคร้าย จากไทยพาณิชย์ประกันชีวิต ให้แก่ นางจุติมา จะโนภาษ อายุ 54 ปี มารดาของนายเดชาอีกด้วย
สำหรับศพนายเดชา ได้ตั้งสวดอภิธรรมศพตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยจะมีพิธีฌาปนกิจในวันที่ 12 ก.พ. เวลา 17.00 น.