ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติทำจดหมายเปิดผนึก แจงเงินเฟ้อหลุดกรอบเป้าหมายการดำเนินนโยบายการเงิน ยอมรับผลจากราคาน้ำมันลดลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปีต่ำกว่าที่ ธปท.คาดไว้ ครึ่งปีแรกคาดเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง ส่งผลให้เงินเฟ้อหลุดกรอบเป้าหมายของ กนง.ตลอด 3 ไตรมาสแรก และกลับมาเข้าสู่เป้าหมาย 1-4% ได้ในไตรมาสที่ 4 แต่ยืนยันไม่ใช่ภาวะเงินฝืด
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายนโยบายการเงิน ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวว่า หลังจากเงินเฟ้อทั่วไป ในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมาติดลบ 0.41% ซึ่งต่ำกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อขั้นต่ำของ กนง.ในปีนี้ ซึ่งอยู่ที่ 2.5% บวกลบ 1.5% หรือ 1-4% ธปท.ได้มีการทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เพื่อชี้แจงเหตุผล แนวทางการดำเนินการ และระยะเวลาที่ธปท.คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมายในอนาคต เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในการประเมินภาพเงินเฟ้อ และแนวโน้มการดูแลนโยบายการเงินของ ธปท.ในอนาคต และไม่กังวลต่ออัตราเงินเฟ้อที่ติดลบมากจนเกินไป
หนังสือเปิดผนึกดังกล่าว ชี้แจงว่า อัตราเงินเฟ้อที่ติดลบนั้น เป็นหลักจากราคาน้ำมันในตลาดโลกและราคาน้ำมันขายในประเทศที่ลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานลดลง แต่ราคาสินค้าในหมวดอาหาร ผักผลไม้ ค่าเช่าบ้าน ค่ารักษาพยาบาลยังปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ความต้องการซื้อ และการใช้จ่ายของภาคประชาชนและเอกชนยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยยอมรับว่า ผู้ที่ได้รับผลดีจากราคาน้ำมันที่ลดลงครั้งนี้เป็นคนระดับกลางและสูงมากกว่าคนระดับล่าง หรือเกษตรกร ที่รายได้ลดลงจากราคาสินค้าเกษตรที่ลดลงและมีภาระหนี้สูง ทำให้แม้ราคาน้ำมันลดลงมาระยะหนึ่งแล้ว แต่การใช้จ่ายยังเพิ่มขึ้นไม่มาก โดยคาดว่า ภายใน 3-4 เดือนข้างหน้า จะเห็นการใช้จ่ายโดยรวมของประชาชนเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง
“ยอมรับว่าอัตราเงินเฟ้อใน 6 เดือนแรกของปีนี้ จะยังคงติดลบในอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือน ม.ค.จากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงต่อเนื่อง โดยเมื่อราคาน้ำมันเริ่มปรับเพิ่มขึ้นในครึ่งปีหลัง จากการปรับสมดุลของความต้องการใช้น้ำมัน และผลผลิตได้แล้ว โดยเชื่อว่า การผลิตน้ำมันจากหินดินดานหรือ Shale Oil ของสหรัฐฯ จะลดลงเพราะต้นทุนการผลิตอยู่สูงกว่า 60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของปีกลับมาเป็นบวกน้อยๆ อีกครั้งในไตรมาสที่ 3 ของปี และเริ่มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปีนี้ของ ธปท.ในไตรมาสที่ 4 และในระยะ 6 ไตรมาสข้างหน้าการคาการณ์เงินเฟ้ออยู่ที่ 2.5%”
นายเมธีกล่าวว่า การคาดการณ์ในขณะนี้ ธปท.มองว่า เงินเฟ้อที่ติดลบในขณะนี้เป็นปัจจัยชั่วคราว และแม้ว่าเงินเฟ้อจะติดลบในครึ่งปีแรก แต่ธปท.ยังคงเห็นว่า ภาวะที่เกิดขึ้นนี้ยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด เนื่องจากเป็นการลดลงในฝั่งของการผลิต ซึ่งมาจากราคาน้ำมันที่ลดลงเป็นหลัก ขณะที่เศรษฐกิจไทยกำลังค่อยๆ ฟื้นตัวสู่ภาวะปกติซึ่งจะทำให้การใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศรวมทั้งเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต แต่ยอมรับว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้จะต่ำกว่าที่ ธปท.คาด โดยธปท.เตรียมปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จากเดิมที่คาดไว้ 1.2% ซึ่งในขณะนี้ ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเงินเฟ้อทั้งปีที่ ธปท.ประมาณการใหม่นั้น จะต่ำกว่ากรอบล่างของเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1% หรือไม่ ขึ้นกับราคาน้ำมันในตลาดโลกในระยะต่อไปว่าเป็นไปตามที่ ธปท.คาดหมายหรือไม่
สำหรับแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท.ในระยะต่อไปนั้น การประชุม กนง.ในครั้งที่ผ่านมา แม้จะทราบแนวโน้มว่า เงินเฟ้อทั่วไปมีโอกาสติดลบและต่ำกว่ากรอบล่างของเป้าหมายเงินเฟ้อของกนง. แต่ตัดสินใจไม่ปรับลดดอกเบี้ยลง เหตุผลเพราะการดูแลนโยบายการเงินของธปท.ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยทั้ง ทั้ง ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ เสถียรภาพทางการเงิน และการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดย ธปท.มองว่า ดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้อยู่ในภาวะที่ผ่อนคลาย และยังจะผ่อนคลายต่อเนื่อง ซึ่งเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป ช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ ในขณะที่สามารถดูแลด้านเสถียรภาพการเงินของระบบให้เหมาะสมได้.
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายนโยบายการเงิน ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวว่า หลังจากเงินเฟ้อทั่วไป ในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมาติดลบ 0.41% ซึ่งต่ำกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อขั้นต่ำของ กนง.ในปีนี้ ซึ่งอยู่ที่ 2.5% บวกลบ 1.5% หรือ 1-4% ธปท.ได้มีการทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เพื่อชี้แจงเหตุผล แนวทางการดำเนินการ และระยะเวลาที่ธปท.คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมายในอนาคต เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในการประเมินภาพเงินเฟ้อ และแนวโน้มการดูแลนโยบายการเงินของ ธปท.ในอนาคต และไม่กังวลต่ออัตราเงินเฟ้อที่ติดลบมากจนเกินไป
หนังสือเปิดผนึกดังกล่าว ชี้แจงว่า อัตราเงินเฟ้อที่ติดลบนั้น เป็นหลักจากราคาน้ำมันในตลาดโลกและราคาน้ำมันขายในประเทศที่ลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานลดลง แต่ราคาสินค้าในหมวดอาหาร ผักผลไม้ ค่าเช่าบ้าน ค่ารักษาพยาบาลยังปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ความต้องการซื้อ และการใช้จ่ายของภาคประชาชนและเอกชนยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยยอมรับว่า ผู้ที่ได้รับผลดีจากราคาน้ำมันที่ลดลงครั้งนี้เป็นคนระดับกลางและสูงมากกว่าคนระดับล่าง หรือเกษตรกร ที่รายได้ลดลงจากราคาสินค้าเกษตรที่ลดลงและมีภาระหนี้สูง ทำให้แม้ราคาน้ำมันลดลงมาระยะหนึ่งแล้ว แต่การใช้จ่ายยังเพิ่มขึ้นไม่มาก โดยคาดว่า ภายใน 3-4 เดือนข้างหน้า จะเห็นการใช้จ่ายโดยรวมของประชาชนเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง
“ยอมรับว่าอัตราเงินเฟ้อใน 6 เดือนแรกของปีนี้ จะยังคงติดลบในอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือน ม.ค.จากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงต่อเนื่อง โดยเมื่อราคาน้ำมันเริ่มปรับเพิ่มขึ้นในครึ่งปีหลัง จากการปรับสมดุลของความต้องการใช้น้ำมัน และผลผลิตได้แล้ว โดยเชื่อว่า การผลิตน้ำมันจากหินดินดานหรือ Shale Oil ของสหรัฐฯ จะลดลงเพราะต้นทุนการผลิตอยู่สูงกว่า 60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของปีกลับมาเป็นบวกน้อยๆ อีกครั้งในไตรมาสที่ 3 ของปี และเริ่มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปีนี้ของ ธปท.ในไตรมาสที่ 4 และในระยะ 6 ไตรมาสข้างหน้าการคาการณ์เงินเฟ้ออยู่ที่ 2.5%”
นายเมธีกล่าวว่า การคาดการณ์ในขณะนี้ ธปท.มองว่า เงินเฟ้อที่ติดลบในขณะนี้เป็นปัจจัยชั่วคราว และแม้ว่าเงินเฟ้อจะติดลบในครึ่งปีแรก แต่ธปท.ยังคงเห็นว่า ภาวะที่เกิดขึ้นนี้ยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด เนื่องจากเป็นการลดลงในฝั่งของการผลิต ซึ่งมาจากราคาน้ำมันที่ลดลงเป็นหลัก ขณะที่เศรษฐกิจไทยกำลังค่อยๆ ฟื้นตัวสู่ภาวะปกติซึ่งจะทำให้การใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศรวมทั้งเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต แต่ยอมรับว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้จะต่ำกว่าที่ ธปท.คาด โดยธปท.เตรียมปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จากเดิมที่คาดไว้ 1.2% ซึ่งในขณะนี้ ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเงินเฟ้อทั้งปีที่ ธปท.ประมาณการใหม่นั้น จะต่ำกว่ากรอบล่างของเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1% หรือไม่ ขึ้นกับราคาน้ำมันในตลาดโลกในระยะต่อไปว่าเป็นไปตามที่ ธปท.คาดหมายหรือไม่
สำหรับแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท.ในระยะต่อไปนั้น การประชุม กนง.ในครั้งที่ผ่านมา แม้จะทราบแนวโน้มว่า เงินเฟ้อทั่วไปมีโอกาสติดลบและต่ำกว่ากรอบล่างของเป้าหมายเงินเฟ้อของกนง. แต่ตัดสินใจไม่ปรับลดดอกเบี้ยลง เหตุผลเพราะการดูแลนโยบายการเงินของธปท.ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยทั้ง ทั้ง ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ เสถียรภาพทางการเงิน และการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดย ธปท.มองว่า ดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้อยู่ในภาวะที่ผ่อนคลาย และยังจะผ่อนคลายต่อเนื่อง ซึ่งเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป ช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ ในขณะที่สามารถดูแลด้านเสถียรภาพการเงินของระบบให้เหมาะสมได้.