วานนี้ (26 ม.ค.) พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงความคืบหน้าเกี่ยวกับการยกร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา ว่าขณะนี้มีการยกร่างไปแล้ว 120 มาตรา โดยขณะนี้ที่ประชุมได้พิจารณาในภาค 3 หลักนิติธรรม ศาล และกระบวนการยุติธรรม หมวด 2 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ส่วนที่ 1 บททั่วไป ซึ่งในส่วนนี้จะมี 2 มาตรา และในส่วนที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ มี 5 มาตรา โดยในบททั่วไป มีสาระที่เปลี่ยนแปลงจากรัฐ ธรรมนูญในอดีต คือ เพิ่มกรรมการในองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ใช้อำนาจตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่ต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินต่อป.ป.ช. และเปิดเผยต่อสาธารณชน จากเดิมที่มีเพียงนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ข้าราชการเมืองอื่น และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
ส่วนหลักฐานที่ยื่นประกอบการฯให้มีการเพิ่มสำเนาแสดงการเสียภาษีเงินได้ย้อนหลังตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งมีการอภิปรายว่า ในกรณีผู้สมัครรับเลือกตั้ง ให้ย้อนหลัง 3 ปี แต่ถ้าเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ย้อนหลังไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยบุคคลทั้งหมดต้องยื่นแสดงบัญชี ทรัพย์สินหนี้สินของตนเอง คู่สมรส บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และรวมถึงทรัพย์สินของผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ครอบครอบครอง หรือดูแลทรัพย์สินแทนตน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งถ้าผู้ ดำรงตำแหน่งฯมอบทรัพย์สินให้ใคร ก็ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินนั้นต่อป.ป.ช.ด้วย ไม่เช่นนั้นก็ถือว่ามีเจตนาที่จะปกปิด
ทั้งนี้ ข้อความดังกล่าวกรรมาธิการได้มีการเพิ่มเติมขึ้น หลังจากเห็นว่า หากกำหนดไว้เพียงให้ “ผู้ซึ่งอยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภริยา”ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน เป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ จึงได้ตัดถ้อยคำดังกล่าวออกไป
นอกจากนี้ มีการเพิ่มเติมในส่วนกระทำการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของรัฐ โดยมีการระบุไว้ 4 ข้อ คือ
1 .ไม่กำหนดนโยบาย หรือ เสนอกฎหมาย หรือ กฎ ที่เอื้อประโยชน์ต่อกิจการที่ตน คู่สมรส บุตร หรือบิดามารดามีส่วนได้ส่วนเสียอยู่
2 . ไม่นำความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ตนมีต่อบุคคลอื่น มาประกอบการใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นคุณ หรือเป็นโทษแก่บุคคลนั้น
3. ไม่ใช้เวลาราชการ หรือหน่วยงาน เงิน ทรัพย์สิน บุคลากร บริการ สิ่งอำนวยความสะดวก ข้อมูลภายในของทางราชการหรือหน่วยงานไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของตน หรือผู้อื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายหรือกฎ
4. ไม่กระทำการใด ดำรงตำแหน่งใด หรือปฏิบัติการใดในฐานะส่วนตัว ซึ่งก่อให้เกิดความเคลือบแคลงว่า จะขัดกับประโยชน์ส่วนรวมที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน้าที่ หรือเป็นที่เสื่อมเสียแก่ตำแหน่งหน้าที่
ทั้งนี้ มีการเพิ่มการกระทำต้องห้ามให้ครอบคลุมไปถึงบุคคลอื่น นอกเหนือไปจากนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คู่สมรส และบุตร โดยกำหนดให้หมายรวมถึงผู้ถูกใช้ ผู้ร่วมดำเนินการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีให้กระทำการที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ คือไม่รับ หรือแทรกแซงหรือก้าวก่ายการรับสัมปทานจากหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ อันมีลักษณะผูกขาดตัดตอน หรือเป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่ได้รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อม ไม่รับเงินหรือประโยชน์ใดๆ จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นพิเศษ นอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติต่อบุคคลอื่นๆ ในธุรกิจการงานตามปกติ
**แจงระบบการเมืองใหม่ 13 ประเด็น
ด้านคณะอนุกรรมาธิการสื่อสารกับสังคม ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมี นายมานิจ สุขสมจิตร เป็นประธานได้มีการจัดพิมพ์จุลสารรัฐธรรมนูญ ฉบับปฏิรูปเป็นอย่างไร ฉบับที่ 2 ปักษ์หลัง เดือนมกราคม 2558 ออกมาแจกจ่ายให้กับประชาชนทั่วไป โดยภายในเล่มมีบทความ เกี่ยวกับระบบการเมือง นักการเมือง และสถาบันการเมือง ซึ่งเขียนโดย นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ โดยมีเนื้อหาแยกเป็น 13 ประเด็น คือ
1. พลเมืองเข้มแข็ง นักการเมืองมีคุณธรรม ที่กำหนดให้ ระบบการเมืองใหม่ ต้องมีการปลูกฝังความเป็นพลเมืองทุกระดับ โดยจะมีสมัชชาพลเมือง ในระดับพื้นที่ตามชุมชนต่างๆ ให้มีหน้าที่ทำแผนพัฒนาพื้นที่ ทำแผนงบประมาณพัฒนาพื้นที่ มีส่วนร่วมกับภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งมีส่วนร่วมในการตรวจสอบในระดับพื้นที่ ขณะที่ในระดับชาติ ก็จะได้มีการจัดตั้งสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ มีหน้าที่ตรวจสอบไต่สวนการละเมิดจริยธรรมของบุคคลสาธารณะ และประกาศผลให้สาธารณชนทราบ พร้อมส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจดำเนินการต่อไป เช่น การถอดถอน
2. ความเป็นกลางในการกำหนดวันเลือกตั้ง และการรักษาการระหว่างเลือกตั้ง โดยหลังจากการยุบสภา กกต. มีหน้าที่กำหนดวันเลือกตั้ง และในช่วงการรักษาการ ให้ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง ทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้นๆ และให้ปลัดกระทรวงเลือกกันเอง ให้มีผู้ทำหน้าที่นายกฯ และรองนายกฯ
3. โครงสร้างทางการเมืองที่สมดุล โดยมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนทางสังคม ซึ่งมีความเชื่อว่า โครงสร้างการเมืองที่ดี ต้องผนวกรวมทุกภาคส่วนในสังคมเข้าไวในโครงสร้าง โดยโครงสร้างทางการเมืองใหม่จะประกอบไปด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร กำหนดให้มีไม่เกิน 480 คน โดยหวังให้เป็นสภาซึ่งบริหารโดยอาศัยหลักเสียงข้างมาก และวุฒิสภา มีสมาชิกไม่เกิน 200 คน มาจากความหลากหลายทางวิชาชีพ และกลุ่มต่างๆ เป็นสภาพหุนิยม
4. การกรองผู้รับสมัครรับเลือกตั้งทั้ง 2 สภา ที่อาจมีปัญหาเรื่องความไม่สุจริตก่อนเลือกตั้ง โดยกำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน หนี้สิน การเสียภาษี ก่อนวันสมัครรับเลือกตั้ง และให้มีคณะผู้ตรวจสอบการแสดงข้อมูลดังกล่าว ซึ่งหากไม่อาจชี้แจงที่มาของรายได้ ก็ไม่ให้รับสมัครเลือกตั้ง
5. กำหนดให้มีการตรวจสอบการหาเสียง โดยเฉพาะการกำหนดให้นโยบายทุกนโยบาย ต้องระบุจำนวนเงินแผ่นดินที่ต้องใช้ และระบุที่มาของรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินนโยบาย อีกทั้ง ให้หัวหน้าพรรคการเมืองที่มี ส.ส. ลำดับที่ 1 - 4 ในสภาสมัยที่แล้ว ต้องขึ้นดีเบตในโทรทัศน์ ก่อนวันลงคะแนนเสียง
6. ให้มีระบบเลือกตั้งส.ส. ที่สะท้อนเจตนารมณ์ที่แท้จริงของประชาชน และทำให้คะแนนเสียงทุกคะแนนของประชาชนมีความหมายแท้จริง โดยกำหนดสัดส่วน ส.ส. 2 ระบบ คือ แบบบัญชีรายชื่อ กับระบบแบ่งเขต 4 ต่อ 5 โดยกำหนดให้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 200 คน โดยแบ่งตามภูมิภาคตามจำนวนประชากรที่ใกล้เคียงกันและคำนึงถึงภูมิสังคมของแต่ละภูมิภาค โดยจะมีการปรับระบบการคิดคะแนนแบบ 'ให้เพิ่ม' เป็นแบบ 'เติมเต็ม' และมี ส.ส.ได้เขตละ 1 คน จากจำนวน 250 เขต
7. ทำให้การซื้อเสียงยากขึ้น โดยมีการใส่ชื่อ นามสกุล และภาพถ่ายของผู้สมัคร ในระบบเขต และชื่อพรรค กับชื่อหัวหน้าพรรค และภาพเครื่องหมายพรรค ในระบบบัญชีรายชื่อ แทนหมายเลขในบัตรเลือกตั้ง ห้ามผู้ซื้อเสียง หรือทุจริตเข้าสู่การเมือง และห้ามดำรงตำแหน่งใดๆ ในภาครัฐ และภาคเอกชนตลอดชีวิต
8. การทำให้ส.ส. เป็นผู้แทนราษฎรที่แท้จริง ไม่ใช่ลูกจ้างของพรรคการเมือง หรือหัวหน้าพรรคการเมือง โดยไม่บังคับให้ผู้สมัครส.ส.เขตต้องสังกัดพรรค ให้ 'กลุ่มบุคคล' สามารถลงสมัครแบบบัญชีรายชื่อได้ และไม่กำหนดให้การไม่ปฏิบัติตามมติพรรค เป็นเหตุให้ขับจากสมาชิกพรรค เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีความเป็นอิสระ และทำความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริงได้
9. การปรับพรรคการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย การควบคุมการรับบริจาค และการใช้จ่ายเงินของพรรคการเมือง และผู้บริหารพรรคการเมือง
10. การปรับให้มีการถ่วงดุลในการบริหารในรัฐสภาระหว่างฝ่ายรัฐบาล - ฝ่ายค้าน เช่น ให้ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ไม่ต้องปฏิบัติตามมติพรรค และต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นกลาง และให้พรรคฝ่ายค้าน มีตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้งให้เป็นประธานคณะกรรมาธิการชุดตรวจสอบที่สำคัญ เช่น กมธ. ป้องกันและปราบปรามการทุจริต กมธ. ติดตามงบประมาณ เป็นต้น
11. วุฒิสภา : สภาพหุนิยม ซึ่งสร้างสมดุลให้ระบบการเมือง โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ใหม่ๆ เช่น เสนอกฎหมายได้ โดยเมื่อผ่านในชั้นวุฒิสภาแล้วให้ ส.ส.พิจารณาต่อไป ตั้งกระทู้ถามคณะรัฐมนตรีรายบุคคลได้ ดำเนินการตรวจสอบประวัติผู้ที่นายกรัฐมนตรีจะแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี และหัวหน้าส่วนราชการทุกส่วน และเปิดเผยให้สาธารณะทราบ
12. นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี มีที่มาจากสภาผู้แทนราษฎร โดยมีเสถียรภาพ และประสิทธิภาพภายใต้ระบบการตรวจสอบที่ดี โดยกำหนดให้ในภาวะวิกฤตสามารถนำคนกลางที่เป็นที่ยอมรับของสภาผู้แทนราษฎร มาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญโดยวิถีทางที่ไม่ได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ให้ ส.ส.และ ส.ว.ตั้งกระทู้ถามนายกฯ และรัฐมนตรี โดยบุคคลดังกล่าว ต้องมีหน้าที่มาตอบกระทู้
13. การกำหนดให้ผู้ซึ่งมีหลักฐานอันควรเชื่อว่าเป็นผู้ครอบงำ นำชัก หรือสั่งการให้พรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง หรือข้าราชการกระทำการใดๆ ต้องมีความรับผิดทางอาญา ทางวินัย การเงิน การคลัง และงบประมาณ และความรับผิดอื่น เช่นเดียวกับผู้ที่ตนสั่ง ครอบงำ หรือนำชัก
นอกจากนี้ ในบทความเรื่องที่ 2 คือ 'รัฐธรรมนูญที่กินได้' โดย นางสุภัทรา นาคะผิว และ นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ เป็นผู้เขียน โดยมีเนื้อหาโดยสรุปคือ รัฐธรรมนูญที่กินได้นั้น เป็นรัฐธรรมนูญที่ช่วยตอบโจทย์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะปัญหาที่คนธรรมดาสามัญ ประชาชนทั่วไป คนชายขอบ เป็นต้น ต้องเผชิญอยู่ทุกวัน เพื่อลดและจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรมในด้านต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคมไทย เป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการของรัฐ และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชน อย่างมีความเท่าเทียม และไม่เลือกปฏิบัติ
ส่วนหลักฐานที่ยื่นประกอบการฯให้มีการเพิ่มสำเนาแสดงการเสียภาษีเงินได้ย้อนหลังตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งมีการอภิปรายว่า ในกรณีผู้สมัครรับเลือกตั้ง ให้ย้อนหลัง 3 ปี แต่ถ้าเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ย้อนหลังไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยบุคคลทั้งหมดต้องยื่นแสดงบัญชี ทรัพย์สินหนี้สินของตนเอง คู่สมรส บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และรวมถึงทรัพย์สินของผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ครอบครอบครอง หรือดูแลทรัพย์สินแทนตน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งถ้าผู้ ดำรงตำแหน่งฯมอบทรัพย์สินให้ใคร ก็ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินนั้นต่อป.ป.ช.ด้วย ไม่เช่นนั้นก็ถือว่ามีเจตนาที่จะปกปิด
ทั้งนี้ ข้อความดังกล่าวกรรมาธิการได้มีการเพิ่มเติมขึ้น หลังจากเห็นว่า หากกำหนดไว้เพียงให้ “ผู้ซึ่งอยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภริยา”ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน เป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ จึงได้ตัดถ้อยคำดังกล่าวออกไป
นอกจากนี้ มีการเพิ่มเติมในส่วนกระทำการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของรัฐ โดยมีการระบุไว้ 4 ข้อ คือ
1 .ไม่กำหนดนโยบาย หรือ เสนอกฎหมาย หรือ กฎ ที่เอื้อประโยชน์ต่อกิจการที่ตน คู่สมรส บุตร หรือบิดามารดามีส่วนได้ส่วนเสียอยู่
2 . ไม่นำความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ตนมีต่อบุคคลอื่น มาประกอบการใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นคุณ หรือเป็นโทษแก่บุคคลนั้น
3. ไม่ใช้เวลาราชการ หรือหน่วยงาน เงิน ทรัพย์สิน บุคลากร บริการ สิ่งอำนวยความสะดวก ข้อมูลภายในของทางราชการหรือหน่วยงานไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของตน หรือผู้อื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายหรือกฎ
4. ไม่กระทำการใด ดำรงตำแหน่งใด หรือปฏิบัติการใดในฐานะส่วนตัว ซึ่งก่อให้เกิดความเคลือบแคลงว่า จะขัดกับประโยชน์ส่วนรวมที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน้าที่ หรือเป็นที่เสื่อมเสียแก่ตำแหน่งหน้าที่
ทั้งนี้ มีการเพิ่มการกระทำต้องห้ามให้ครอบคลุมไปถึงบุคคลอื่น นอกเหนือไปจากนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คู่สมรส และบุตร โดยกำหนดให้หมายรวมถึงผู้ถูกใช้ ผู้ร่วมดำเนินการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีให้กระทำการที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ คือไม่รับ หรือแทรกแซงหรือก้าวก่ายการรับสัมปทานจากหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ อันมีลักษณะผูกขาดตัดตอน หรือเป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่ได้รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อม ไม่รับเงินหรือประโยชน์ใดๆ จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นพิเศษ นอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติต่อบุคคลอื่นๆ ในธุรกิจการงานตามปกติ
**แจงระบบการเมืองใหม่ 13 ประเด็น
ด้านคณะอนุกรรมาธิการสื่อสารกับสังคม ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมี นายมานิจ สุขสมจิตร เป็นประธานได้มีการจัดพิมพ์จุลสารรัฐธรรมนูญ ฉบับปฏิรูปเป็นอย่างไร ฉบับที่ 2 ปักษ์หลัง เดือนมกราคม 2558 ออกมาแจกจ่ายให้กับประชาชนทั่วไป โดยภายในเล่มมีบทความ เกี่ยวกับระบบการเมือง นักการเมือง และสถาบันการเมือง ซึ่งเขียนโดย นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ โดยมีเนื้อหาแยกเป็น 13 ประเด็น คือ
1. พลเมืองเข้มแข็ง นักการเมืองมีคุณธรรม ที่กำหนดให้ ระบบการเมืองใหม่ ต้องมีการปลูกฝังความเป็นพลเมืองทุกระดับ โดยจะมีสมัชชาพลเมือง ในระดับพื้นที่ตามชุมชนต่างๆ ให้มีหน้าที่ทำแผนพัฒนาพื้นที่ ทำแผนงบประมาณพัฒนาพื้นที่ มีส่วนร่วมกับภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งมีส่วนร่วมในการตรวจสอบในระดับพื้นที่ ขณะที่ในระดับชาติ ก็จะได้มีการจัดตั้งสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ มีหน้าที่ตรวจสอบไต่สวนการละเมิดจริยธรรมของบุคคลสาธารณะ และประกาศผลให้สาธารณชนทราบ พร้อมส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจดำเนินการต่อไป เช่น การถอดถอน
2. ความเป็นกลางในการกำหนดวันเลือกตั้ง และการรักษาการระหว่างเลือกตั้ง โดยหลังจากการยุบสภา กกต. มีหน้าที่กำหนดวันเลือกตั้ง และในช่วงการรักษาการ ให้ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง ทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้นๆ และให้ปลัดกระทรวงเลือกกันเอง ให้มีผู้ทำหน้าที่นายกฯ และรองนายกฯ
3. โครงสร้างทางการเมืองที่สมดุล โดยมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนทางสังคม ซึ่งมีความเชื่อว่า โครงสร้างการเมืองที่ดี ต้องผนวกรวมทุกภาคส่วนในสังคมเข้าไวในโครงสร้าง โดยโครงสร้างทางการเมืองใหม่จะประกอบไปด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร กำหนดให้มีไม่เกิน 480 คน โดยหวังให้เป็นสภาซึ่งบริหารโดยอาศัยหลักเสียงข้างมาก และวุฒิสภา มีสมาชิกไม่เกิน 200 คน มาจากความหลากหลายทางวิชาชีพ และกลุ่มต่างๆ เป็นสภาพหุนิยม
4. การกรองผู้รับสมัครรับเลือกตั้งทั้ง 2 สภา ที่อาจมีปัญหาเรื่องความไม่สุจริตก่อนเลือกตั้ง โดยกำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน หนี้สิน การเสียภาษี ก่อนวันสมัครรับเลือกตั้ง และให้มีคณะผู้ตรวจสอบการแสดงข้อมูลดังกล่าว ซึ่งหากไม่อาจชี้แจงที่มาของรายได้ ก็ไม่ให้รับสมัครเลือกตั้ง
5. กำหนดให้มีการตรวจสอบการหาเสียง โดยเฉพาะการกำหนดให้นโยบายทุกนโยบาย ต้องระบุจำนวนเงินแผ่นดินที่ต้องใช้ และระบุที่มาของรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินนโยบาย อีกทั้ง ให้หัวหน้าพรรคการเมืองที่มี ส.ส. ลำดับที่ 1 - 4 ในสภาสมัยที่แล้ว ต้องขึ้นดีเบตในโทรทัศน์ ก่อนวันลงคะแนนเสียง
6. ให้มีระบบเลือกตั้งส.ส. ที่สะท้อนเจตนารมณ์ที่แท้จริงของประชาชน และทำให้คะแนนเสียงทุกคะแนนของประชาชนมีความหมายแท้จริง โดยกำหนดสัดส่วน ส.ส. 2 ระบบ คือ แบบบัญชีรายชื่อ กับระบบแบ่งเขต 4 ต่อ 5 โดยกำหนดให้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 200 คน โดยแบ่งตามภูมิภาคตามจำนวนประชากรที่ใกล้เคียงกันและคำนึงถึงภูมิสังคมของแต่ละภูมิภาค โดยจะมีการปรับระบบการคิดคะแนนแบบ 'ให้เพิ่ม' เป็นแบบ 'เติมเต็ม' และมี ส.ส.ได้เขตละ 1 คน จากจำนวน 250 เขต
7. ทำให้การซื้อเสียงยากขึ้น โดยมีการใส่ชื่อ นามสกุล และภาพถ่ายของผู้สมัคร ในระบบเขต และชื่อพรรค กับชื่อหัวหน้าพรรค และภาพเครื่องหมายพรรค ในระบบบัญชีรายชื่อ แทนหมายเลขในบัตรเลือกตั้ง ห้ามผู้ซื้อเสียง หรือทุจริตเข้าสู่การเมือง และห้ามดำรงตำแหน่งใดๆ ในภาครัฐ และภาคเอกชนตลอดชีวิต
8. การทำให้ส.ส. เป็นผู้แทนราษฎรที่แท้จริง ไม่ใช่ลูกจ้างของพรรคการเมือง หรือหัวหน้าพรรคการเมือง โดยไม่บังคับให้ผู้สมัครส.ส.เขตต้องสังกัดพรรค ให้ 'กลุ่มบุคคล' สามารถลงสมัครแบบบัญชีรายชื่อได้ และไม่กำหนดให้การไม่ปฏิบัติตามมติพรรค เป็นเหตุให้ขับจากสมาชิกพรรค เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีความเป็นอิสระ และทำความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริงได้
9. การปรับพรรคการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย การควบคุมการรับบริจาค และการใช้จ่ายเงินของพรรคการเมือง และผู้บริหารพรรคการเมือง
10. การปรับให้มีการถ่วงดุลในการบริหารในรัฐสภาระหว่างฝ่ายรัฐบาล - ฝ่ายค้าน เช่น ให้ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ไม่ต้องปฏิบัติตามมติพรรค และต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นกลาง และให้พรรคฝ่ายค้าน มีตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้งให้เป็นประธานคณะกรรมาธิการชุดตรวจสอบที่สำคัญ เช่น กมธ. ป้องกันและปราบปรามการทุจริต กมธ. ติดตามงบประมาณ เป็นต้น
11. วุฒิสภา : สภาพหุนิยม ซึ่งสร้างสมดุลให้ระบบการเมือง โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ใหม่ๆ เช่น เสนอกฎหมายได้ โดยเมื่อผ่านในชั้นวุฒิสภาแล้วให้ ส.ส.พิจารณาต่อไป ตั้งกระทู้ถามคณะรัฐมนตรีรายบุคคลได้ ดำเนินการตรวจสอบประวัติผู้ที่นายกรัฐมนตรีจะแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี และหัวหน้าส่วนราชการทุกส่วน และเปิดเผยให้สาธารณะทราบ
12. นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี มีที่มาจากสภาผู้แทนราษฎร โดยมีเสถียรภาพ และประสิทธิภาพภายใต้ระบบการตรวจสอบที่ดี โดยกำหนดให้ในภาวะวิกฤตสามารถนำคนกลางที่เป็นที่ยอมรับของสภาผู้แทนราษฎร มาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญโดยวิถีทางที่ไม่ได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ให้ ส.ส.และ ส.ว.ตั้งกระทู้ถามนายกฯ และรัฐมนตรี โดยบุคคลดังกล่าว ต้องมีหน้าที่มาตอบกระทู้
13. การกำหนดให้ผู้ซึ่งมีหลักฐานอันควรเชื่อว่าเป็นผู้ครอบงำ นำชัก หรือสั่งการให้พรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง หรือข้าราชการกระทำการใดๆ ต้องมีความรับผิดทางอาญา ทางวินัย การเงิน การคลัง และงบประมาณ และความรับผิดอื่น เช่นเดียวกับผู้ที่ตนสั่ง ครอบงำ หรือนำชัก
นอกจากนี้ ในบทความเรื่องที่ 2 คือ 'รัฐธรรมนูญที่กินได้' โดย นางสุภัทรา นาคะผิว และ นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ เป็นผู้เขียน โดยมีเนื้อหาโดยสรุปคือ รัฐธรรมนูญที่กินได้นั้น เป็นรัฐธรรมนูญที่ช่วยตอบโจทย์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะปัญหาที่คนธรรมดาสามัญ ประชาชนทั่วไป คนชายขอบ เป็นต้น ต้องเผชิญอยู่ทุกวัน เพื่อลดและจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรมในด้านต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคมไทย เป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการของรัฐ และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชน อย่างมีความเท่าเทียม และไม่เลือกปฏิบัติ