นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน(รง.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้หารือถึงมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุจริตในการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อเสนอต่อ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นำไปรายงานต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยในที่ประชุม ผู้แทน ป.ป.ช. ได้เสนอให้ตั้งคณะกรรมการกลางในการกลั่นกรองบริษัทจัดหางานที่ส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ ที่มีอยู่เดิมกว่า 200 บริษัท และที่มาจดทะเบียนเปิดใหม่ เพื่ออุดช่องโหว่การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกินความเป็นจริง แต่ชี้แจงในที่ประชุมว่า ปัจจุบันกระทรวงแรงงานมีคณะกรรมการตรวจสอบตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว
ดังนั้น ที่ประชุมเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการกลางฯ ขึ้นมา แต่ขอให้กระทรวงแรงงานกำชับต่อคณะกรรมการตรวจสอบให้ดำเนินการดูแลเรื่องการเก็บค่าใช้จ่ายให้เข้มข้นมากขึ้น และกรณีรัฐมนตรีมีหุ้น หรือเกี่ยวข้องกับบริษัทจัดหางาน ก็ห้ามไม่ให้เข้าไปวินิจฉัยการอุทธรณ์ของบริษัทจัดหางานหรือไม่ให้พิจารณาจัดส่งแรงงาน รวมทั้งหากมีแรงงานร้องเรียน และตรวจสอบพบว่า บริษัทจัดหางาน เจ้าหน้าที่ของรัฐเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสูงเกินจริง จะต้องตรวจสอบและลงโทษตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด โดยนอกจากใช้ระเบียบข้าราชการแล้ว ก็ให้เอาผิดตามกฎหมายของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ซึ่งมีโทษยึดทรัพย์ด้วย
"ที่ประชุมได้ขอให้กระทรวงแรงงานไปพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดส่งแรงงานให้รัดกุมมากขึ้นเพื่อไม่ให้มีช่องโหว่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่สูงเกินความจริง ซึ่งก็ได้ชี้แจงไปว่าปัจจุบันกฎหมายของกระทรวงแรงงานได้ระบุไว้อย่างรัดกุมพอสมควรและขณะนี้กระทรวงแรงงานอยู่ระหว่างศึกษาว่ากฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องข้อใดบ้างที่จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม หากต้องแก้ไขก็จะดำเนินการ แต่คงแก้ไขในลักษณะยืดหยุ่นเนื่องจากการจัดส่งแรงงานมีกรอบระยะเวลาจัดส่ง หากเขียนกฎหมายตายตัวเกินไป จะเป็นอุปสรรคในการจัดส่งแรงงานไทย ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ " ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว
ด้านพล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.แรงงาน กล่าวว่า จากรายงานของ ป.ป.ช. พบว่าต้นตอการทุจริตเริ่มที่ฝ่ายการเมืองเห็นช่องทางการทุจริตจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ จึงไปตั้งบริษัทจัดหางาน และเมื่อตรวจสอบพบเข้า ก็ไม่ให้เข้า ซึ่งการทุจริตมีกระบวนการ 3 ระดับ คือ ฝ่ายการเมือง ให้ผู้แทนมาตั้งบริษัทจัดหางาน ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติร่วมมือกัน จึงต้องหาทางปิดช่องทางการทุจริตทั้ง 3 ระดับนี้ เช่น การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มโทษ โดยยึดทรัพย์บริษัทจัดหางานและผู้ที่กระทำผิด และจะต้องสร้างจิตสำนึกด้านจริยธรรมให้แก่ข้าราชการ
นอกจากนี้ จะต้องแบ่งเกรดบริษัทจัดหางานเพื่อดูว่ามีพฤติกรรมเป็นอย่างไร และเชื่อมโยงกับใครบ้าง ซึ่งขณะนี้ตนได้รับรายชื่อบริษัทจัดหางานทั้งหมดมาแล้ว และจะดำเนินการตรวจสอบ นอกจากนี้ จะต้องทบทวนกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้อง หากพบว่ามีช่องโหว่ ให้เกิดการทุจริตก็ต้องแก้ไข
ดังนั้น ที่ประชุมเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการกลางฯ ขึ้นมา แต่ขอให้กระทรวงแรงงานกำชับต่อคณะกรรมการตรวจสอบให้ดำเนินการดูแลเรื่องการเก็บค่าใช้จ่ายให้เข้มข้นมากขึ้น และกรณีรัฐมนตรีมีหุ้น หรือเกี่ยวข้องกับบริษัทจัดหางาน ก็ห้ามไม่ให้เข้าไปวินิจฉัยการอุทธรณ์ของบริษัทจัดหางานหรือไม่ให้พิจารณาจัดส่งแรงงาน รวมทั้งหากมีแรงงานร้องเรียน และตรวจสอบพบว่า บริษัทจัดหางาน เจ้าหน้าที่ของรัฐเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสูงเกินจริง จะต้องตรวจสอบและลงโทษตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด โดยนอกจากใช้ระเบียบข้าราชการแล้ว ก็ให้เอาผิดตามกฎหมายของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ซึ่งมีโทษยึดทรัพย์ด้วย
"ที่ประชุมได้ขอให้กระทรวงแรงงานไปพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดส่งแรงงานให้รัดกุมมากขึ้นเพื่อไม่ให้มีช่องโหว่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่สูงเกินความจริง ซึ่งก็ได้ชี้แจงไปว่าปัจจุบันกฎหมายของกระทรวงแรงงานได้ระบุไว้อย่างรัดกุมพอสมควรและขณะนี้กระทรวงแรงงานอยู่ระหว่างศึกษาว่ากฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องข้อใดบ้างที่จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม หากต้องแก้ไขก็จะดำเนินการ แต่คงแก้ไขในลักษณะยืดหยุ่นเนื่องจากการจัดส่งแรงงานมีกรอบระยะเวลาจัดส่ง หากเขียนกฎหมายตายตัวเกินไป จะเป็นอุปสรรคในการจัดส่งแรงงานไทย ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ " ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว
ด้านพล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.แรงงาน กล่าวว่า จากรายงานของ ป.ป.ช. พบว่าต้นตอการทุจริตเริ่มที่ฝ่ายการเมืองเห็นช่องทางการทุจริตจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ จึงไปตั้งบริษัทจัดหางาน และเมื่อตรวจสอบพบเข้า ก็ไม่ให้เข้า ซึ่งการทุจริตมีกระบวนการ 3 ระดับ คือ ฝ่ายการเมือง ให้ผู้แทนมาตั้งบริษัทจัดหางาน ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติร่วมมือกัน จึงต้องหาทางปิดช่องทางการทุจริตทั้ง 3 ระดับนี้ เช่น การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มโทษ โดยยึดทรัพย์บริษัทจัดหางานและผู้ที่กระทำผิด และจะต้องสร้างจิตสำนึกด้านจริยธรรมให้แก่ข้าราชการ
นอกจากนี้ จะต้องแบ่งเกรดบริษัทจัดหางานเพื่อดูว่ามีพฤติกรรมเป็นอย่างไร และเชื่อมโยงกับใครบ้าง ซึ่งขณะนี้ตนได้รับรายชื่อบริษัทจัดหางานทั้งหมดมาแล้ว และจะดำเนินการตรวจสอบ นอกจากนี้ จะต้องทบทวนกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้อง หากพบว่ามีช่องโหว่ ให้เกิดการทุจริตก็ต้องแก้ไข