นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในวันนี้ (26 ม.ค.) ว่า จะมีการพิจารณาหมวดองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในบททั่วไป ในส่วนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ต่อเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว เนื่องจากการพิจารณาครั้งที่แล้ว มีการแก้ไขมาก เพราะบางประเด็นที่ร่างมาไม่สอดคล้องกัน เนื่องจากเป็นหลักการใหม่เกิดขึ้นหลายหลักการ จะต้องมีการปรับในด้านภาษาและเทคนิคให้เกิดความชัดเจนว่า จะต้องเป็นอย่างไร เช่น ประเด็นเกี่ยวกับการขัดกันซึ่งผลประโยชน์ เรื่องการรายงานแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ที่มีการเพิ่มเติมหลักการใหม่ เรื่องที่จะก้าวข้ามไปถึงการตรวจสอบในส่วนภาคเอกชน ว่าจะทำได้มากน้อยแค่ไหน และการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง ที่ยังคงตามกรอบเดิมของรัฐธรรมนูญปี 50 แต่มีการแก้ไขในส่วนคำเรียก หากเป็นการถอดถอน ขณะที่อยู่ในตำแหน่ง จะใช้คำว่า "การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง" แต่หากพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว จะใช้คำว่า "การตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งในราชการ" และมีหลักการว่า แม้รัฐสภาจะมีมติไม่ถอดถอน ก็ต้องเอารายชื่อบุคคลผู้นั้นไปอยู่ในรายชื่อให้ประชาชนลงมติถอดถอนในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ส่วนการออกมาเคลื่อนไหวของแกนนำพรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดง ต่อกรณีที่ สนช. มีมติถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นั้น นายคำนูณ มองว่า เป็นแค่การออกมาแสดงจุดยืนของตนเอง เพื่อรักษาฐานทางการเมือง ของตัวเองเอาไว้ แต่ตราบใดที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร เพราะยังมีกฎอัยการศึกอยู่ เชื่อว่าทางพรรคเพื่อไทย คงรอคอยวันเลือกตั้งมากกว่า เพราะเห็นว่าถึงอย่างไร เมื่อถึงวันเลือกตั้งกลุ่มแฟนคลับจะยังคงศรัทธาใน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยอยู่ การที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถูกถอดถอนไม่น่าจะกระเทือนมากนัก หรือตรงข้ามอาจจะเพิ่มคะแนนเห็นใจมากขึ้น
" สิ่งที่ดีที่สุดคือ อดทนไว้ ไม่เคลื่อนไหวอะไร หรือไม่สร้างปัญหาให้ คสช. เพราะอย่างไรต้องมีการเลือกตั้งในปี 59 อย่างแน่นอน ถ้าสถานการณ์เป็นแบบนี้ เขาก็คงมีที่นั่งจำนวนมากในการเลือกตั้ง ส่วนจะได้มากจนได้เป็นรัฐบาลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้น และยังต้องรอดูรูปแบบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย เชื่อว่าไม่ว่าจะเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งอย่างไร คงไม่ทำให้ลดจำนวนส.ส.ลงไปเท่าไหร่ รวมถึงกระบวนการปรองดองที่จะเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็น่าจะมีความหวังมากขึ้น" นายคำนูณ กล่าว
** เชื่อส.ส.ไม่สังกัดพรรคจะวุ่น
นายวิรัช ร่มเย็น กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง ผลสรุปการสัมมนาของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองที่มี นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธาน ระบุว่า หากไทยใช้ระบบเลือกตั้งแบบ ส.ส.สัดส่วนผสม ตามเยอรมันโมเดล ก็จะได้รัฐบาลผสมที่ไร้เสถียรภาพทางการเมือง และการให้ส.ส.ไม่สังกัดพรรค จะสร้างปัญหาเพราะนายทุนจะครอบงำ และซื้อตัวส.ส.อิสระ ว่า ตนเห็นด้วยในข้อที่ 2 ที่ส.ส.ไม่สังกัดพรรคจะถอยหลังเข้าคลอง และย้อนไปสู่อดีตที่เคยเกิดปัญหาการซื้อตัวส.ส.ในสภา ยิ่งกำหนดให้ ส.ส.ไม่ต้องฟังมติพรรค ก็ยิ่งไร้หลักประกันในพฤติกรรมของ ส.ส. การลงโทษจากพรรคก็ไม่มีผล เพราะหากมีพรรคก็จะกลั่นกรองคน และให้ปฏิบัติตามข้อบังคับพรรค ตนฟันธงเลยว่า หาก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญเลือกที่จะเขียนเช่นนี้ จะใช้คำว่า ปฏิรูปไม่ได้เลย เพราะมีแต่จะเริ่มปัญหาทางการเมืองเพิ่มขึ้นอีก
ส่วนการเลือกตั้งในระบบเยอรมันโมเดล ถามว่า วันนี้ประชาชนหรือผู้สื่อข่าวเข้าใจระบบนี้มากน้อยเพียงใด แม้แต่ กมธ.ยกร่าง สปช. หรือ กกต.ที่จะจัดการยกร่าง ก็ยังไม่เข้าใจ จึงต้องเชิญเจ้าหน้าที่จากสถานทูตเยอรมันมาให้ความรู้ ดังนั้น การจะเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งใหม่ จำเป็นต้องให้ความรู้กับประชาชน ผมเสนอให้มีการจัดเวทีสัมมนาในเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะสูตรการคำนวนส.ส. สัดส่วนในบัญชีรายชื่อว่าคิดอย่างไรเพราะทุกวันนี้สังคมยังไม่รู้ หรือจะเลือกตั้งกันแต่กรรมาธิการยกร่างฯเท่านั้น" นายวิรัช กล่าว
** สนช.เตรียมพิจารณาร่าง ก.ม.4ฉบับ
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้นัดประชุม สนช. ในวันพฤหัสบดี และวันศุกร์ที่ 29-30 ม.ค.นี้ เวลา 10.00 น. เพื่อพิจารณาเรื่องเร่งด่วน 4 เรื่อง ประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. ... ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ การขอพิจารณาทบทวน ร่าง พ.ร.บ.การประมง พ.ศ. ... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 61 มาตรา 65 และมาตรา 91 และเพิ่มมาตรา 65/1 เพื่อให้ร่าง พ.ร.บ.มีความถูกต้องสมบูรณ์ ) ตามข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ข้อ 132 ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... และ ร่าง พ.ร.บ.สถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. ... คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
นอกจากนี้ จะมีกระทู้ถาม เรื่องปัญหาความขัดแย้งระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และสปสช. ซึ่ง นายเจตน์ ศิรธรานนท์ เป็นผู้ตั้งถาม โดยถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่เลื่อนมาจากการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ 16 ม.ค. ที่ผ่านมา
ส่วนการออกมาเคลื่อนไหวของแกนนำพรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดง ต่อกรณีที่ สนช. มีมติถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นั้น นายคำนูณ มองว่า เป็นแค่การออกมาแสดงจุดยืนของตนเอง เพื่อรักษาฐานทางการเมือง ของตัวเองเอาไว้ แต่ตราบใดที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร เพราะยังมีกฎอัยการศึกอยู่ เชื่อว่าทางพรรคเพื่อไทย คงรอคอยวันเลือกตั้งมากกว่า เพราะเห็นว่าถึงอย่างไร เมื่อถึงวันเลือกตั้งกลุ่มแฟนคลับจะยังคงศรัทธาใน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยอยู่ การที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถูกถอดถอนไม่น่าจะกระเทือนมากนัก หรือตรงข้ามอาจจะเพิ่มคะแนนเห็นใจมากขึ้น
" สิ่งที่ดีที่สุดคือ อดทนไว้ ไม่เคลื่อนไหวอะไร หรือไม่สร้างปัญหาให้ คสช. เพราะอย่างไรต้องมีการเลือกตั้งในปี 59 อย่างแน่นอน ถ้าสถานการณ์เป็นแบบนี้ เขาก็คงมีที่นั่งจำนวนมากในการเลือกตั้ง ส่วนจะได้มากจนได้เป็นรัฐบาลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้น และยังต้องรอดูรูปแบบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย เชื่อว่าไม่ว่าจะเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งอย่างไร คงไม่ทำให้ลดจำนวนส.ส.ลงไปเท่าไหร่ รวมถึงกระบวนการปรองดองที่จะเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็น่าจะมีความหวังมากขึ้น" นายคำนูณ กล่าว
** เชื่อส.ส.ไม่สังกัดพรรคจะวุ่น
นายวิรัช ร่มเย็น กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง ผลสรุปการสัมมนาของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองที่มี นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธาน ระบุว่า หากไทยใช้ระบบเลือกตั้งแบบ ส.ส.สัดส่วนผสม ตามเยอรมันโมเดล ก็จะได้รัฐบาลผสมที่ไร้เสถียรภาพทางการเมือง และการให้ส.ส.ไม่สังกัดพรรค จะสร้างปัญหาเพราะนายทุนจะครอบงำ และซื้อตัวส.ส.อิสระ ว่า ตนเห็นด้วยในข้อที่ 2 ที่ส.ส.ไม่สังกัดพรรคจะถอยหลังเข้าคลอง และย้อนไปสู่อดีตที่เคยเกิดปัญหาการซื้อตัวส.ส.ในสภา ยิ่งกำหนดให้ ส.ส.ไม่ต้องฟังมติพรรค ก็ยิ่งไร้หลักประกันในพฤติกรรมของ ส.ส. การลงโทษจากพรรคก็ไม่มีผล เพราะหากมีพรรคก็จะกลั่นกรองคน และให้ปฏิบัติตามข้อบังคับพรรค ตนฟันธงเลยว่า หาก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญเลือกที่จะเขียนเช่นนี้ จะใช้คำว่า ปฏิรูปไม่ได้เลย เพราะมีแต่จะเริ่มปัญหาทางการเมืองเพิ่มขึ้นอีก
ส่วนการเลือกตั้งในระบบเยอรมันโมเดล ถามว่า วันนี้ประชาชนหรือผู้สื่อข่าวเข้าใจระบบนี้มากน้อยเพียงใด แม้แต่ กมธ.ยกร่าง สปช. หรือ กกต.ที่จะจัดการยกร่าง ก็ยังไม่เข้าใจ จึงต้องเชิญเจ้าหน้าที่จากสถานทูตเยอรมันมาให้ความรู้ ดังนั้น การจะเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งใหม่ จำเป็นต้องให้ความรู้กับประชาชน ผมเสนอให้มีการจัดเวทีสัมมนาในเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะสูตรการคำนวนส.ส. สัดส่วนในบัญชีรายชื่อว่าคิดอย่างไรเพราะทุกวันนี้สังคมยังไม่รู้ หรือจะเลือกตั้งกันแต่กรรมาธิการยกร่างฯเท่านั้น" นายวิรัช กล่าว
** สนช.เตรียมพิจารณาร่าง ก.ม.4ฉบับ
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้นัดประชุม สนช. ในวันพฤหัสบดี และวันศุกร์ที่ 29-30 ม.ค.นี้ เวลา 10.00 น. เพื่อพิจารณาเรื่องเร่งด่วน 4 เรื่อง ประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. ... ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ การขอพิจารณาทบทวน ร่าง พ.ร.บ.การประมง พ.ศ. ... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 61 มาตรา 65 และมาตรา 91 และเพิ่มมาตรา 65/1 เพื่อให้ร่าง พ.ร.บ.มีความถูกต้องสมบูรณ์ ) ตามข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ข้อ 132 ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... และ ร่าง พ.ร.บ.สถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. ... คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
นอกจากนี้ จะมีกระทู้ถาม เรื่องปัญหาความขัดแย้งระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และสปสช. ซึ่ง นายเจตน์ ศิรธรานนท์ เป็นผู้ตั้งถาม โดยถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่เลื่อนมาจากการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ 16 ม.ค. ที่ผ่านมา