ASTV ผู้จัดการรายวัน - นักวิเคราะห์ประเมินหุ้นไทยสัปดาห์นี้มีแนวโน้มผันผวน อย่างไรก็ตามทั้งท่าทีการคงดอกบี้ยนโยบายของเฟด กนง. รวมถึงการประกาศวงเงินที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจยุโรปผ่านมาตรการ QE ที่สูงว่าการคาดการณ์ของตลาดฯ จะยังกระตุ้นให้มีเม็ดเงินต่างชาติกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น ด้านบล.ไทยพาณิชย์คงเป้าดัชนีสิ้นปี 2558 ที่ 1,800 จุด และได้ปรับเป้าหมายอัตราส่วนราคาต่อกำไร (PE Ratio) อยู่ที่ 14.8 เท่า
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยไทย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงทิศทางเศรษฐกิจและแนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์นี้ว่า ดัชนียังคงผันผวนและมีอ่อนตัวลงได้บ้าง เนื่องจากปรับตัวขึ้นมาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามคาดว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FOMC วันที่ 27-28 ม.ค. และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย วันที่ 28 ม.ค. คาดว่าทั้ง 2 ประเทศจะคงนโยบายการเงินตามเดิม อันเป็นผลจากการชะลอของเงินเฟ้อทั่วโลก
“มองว่า FED น่าจะยืนดอกเบี้ยฯที่ระดับ 0.25% ตามเดิม เนื่องจากปัจจัยหลักทั้งเงินเฟ้อและตลาดแรงงานในระยะสั้นยังมีความผันผวนอยู่ อีกทั้งน่าจะเลื่อนระยะเวลาการขึ้นปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไปไปเป็นปลายปี 2558 หรือต้นปี 2559 คือล่าช้ากว่าเดิม ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2558 เช่นเดียวกับไทย น่าจะคงดอกเบี้ยฯ 2% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 โดยการลดลงของราคาน้ำมันน่าจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการบริโภคครัวเรือนเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 50% ของ GDP และกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าการลดดอกเบี้ย” นายเทิดศักดิ์ กล่าว
สำหรับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ มาตรการ QE ของธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ที่ประกาศ จะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและเอกชนวงเงิน 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน รวมเวลาทั้งสิ้น 19 เดือน คือตั้งแต่เดือนมีนาคม 2558 และสิ้นสุดกันยายน 2559 คิดเป็นเม็ดเงินรวมทั้งสิ้น 1.14 ล้านล้านยูโรวงเงินออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับต่ำของหลายๆ ธนาคารกลางทั่วโลก ถือเป็นปัจจัยบวกสำหรับตลาดหุ้น โดยตลาดหุ้นไทยน่าจะได้รับอานิสงส์ของกระแสเงินทุนกลับเข้ามาอีกครั้ง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ตลาดหุ้นไทยในช่วงกว่า 1 ปีที่ผ่านมาอยู่ในภาวะที่ถูกขายสุทธิออกมาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เม็ดเงินที่ซื้อสุทธิสะสมของนักลงทุนต่างชาตินับจากปี 2552 เป็นต้นมา ลดลงจากจุดสูงสุดที่ 3.2 แสนล้าน เหลือเพียง 2.8 หมื่นล้านบาทในปัจจุบัน (ตามราคาตลาด)
นอกจากนี้ด้วยอัตรากำไรต่อหุ้น หรือ EPS ที่สูงถึง 16.7% ในปี 2558 จะทำให้ P/E ณ สิ้นปี 2558 อยู่ที่ 15.1 เท่า ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยภูมิภาคซึ่งอยู่ที่ 14.3-15.5 เท่า
กลยุทธ์การลงทุนจึงแนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนจากเดิม 50% เป็น 70% โดยเน้นหุ้นขนาดใหญ่ที่ยังมีพื้นฐานดี แต่ศักยภาพการทำกำไรยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีอัพไซด์สูง ได้แก่ SCC (ราคาเหมาะสมที่ 530 บาท) KBANK (ราคาเหมาะสมที่ 300 บาท) INTUCH (ราคาเหมาะสมที่ 113 บาท) และ TTW (ราคาเหมาะสมที่ 13.3 บาท
สอดคล้องกับนายเกียรติศักดิ์ เจนวิภากุล กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด หรือ SCBS ที่ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยในปีนี้ จะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ปรับตัวดีขึ้น และการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในยุโรป ญี่ปุ่น และจีน
นอกจากนี้ ทิศทางการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น และผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเป็นบวก ทั้งนี้ SCBS ยังคงเป้าหมายดัชนีตลาดหลัทรัพย์ ณ สิ้นปี 2588 ไว้ที่ 1,800 จุด และได้ปรับเป้าหมายอัตราส่วนราคาต่อกำไร (PE Ratio) อยู่ที่ 14.8 เท่า โดยอิงกับส่วนต่างอัตราผลตอบแทน(earnings yield gap) ที่ 3% ตามค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2555-2556
สำหรับหุ้นดาวเด่น ที่ SCBS แนะนำเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ บมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น (AAV) บมจ.ดิ เอราวัณ กรุ๊ป(ERW)บมจ.สายการบินนกแอร์ (NOK) และ บมจ.อิตาเลียน ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) นอกจากนี้ แนะนำหุ้น บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชั่น (AMATA) ในฐานะเป็นหุ้นที่ได้ประโชน์จากเม็ดเงิน FDI ไหลเข้า และ บมจ. หลักทรัพย์เอเซีย พลัส (ASP) จากความน่าสนใจทางด้านเงินปันผลในระดับสูง
ด้านนายดิษฐนพ วัธนเวคิน นักวิเคราะห์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ เคเคเทรดจำกัด เปิดเผยว่า ธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์คาดว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้วหลังยอดการผลิตรถยนต์ฟื้นตัวต่อเป็นไตรมาส 2 ติดต่อกัน ซึ่งประเมินว่าจะมีสัญญาณเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศยังไม่เด่นชัดและเศรษฐกิจโลกมีปัจจัยเสี่ยงจากความเปราะบางของภูมิภาคยุโรปและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนแต่อย่างไรก็ตามเชื่อมั่นว่าปัจจัยหนุนด้านการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ของค่ายรถต่างประเทศจะช่วยผลักดันยอดผลิตรถยนต์ปี58 เพิ่มขึ้น 5-10% เป็น 2-2.1 ล้านคัน จากปี57อยู่ที่ 1.9 ล้านคันสำหรับกลยุทธ์การลงทุนแนะนำทยอยซื้อสะสม เพื่อการลงทุนระยะยาวเนื่องจากราคาหุ้นในปัจจัยบันยังไม่สะท้อนการเติบโตของยอดผลิตรถยนต์ในปีนี้ ในขณะเดียวกันหุ้นกลุ่มดังกล่าวยังไม่เหมาะกับการลงทุนในระยะสั้นเพราะปัจจัยเสี่ยงด้านภาวะเศรษฐกิจโลก
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยไทย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงทิศทางเศรษฐกิจและแนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์นี้ว่า ดัชนียังคงผันผวนและมีอ่อนตัวลงได้บ้าง เนื่องจากปรับตัวขึ้นมาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามคาดว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FOMC วันที่ 27-28 ม.ค. และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย วันที่ 28 ม.ค. คาดว่าทั้ง 2 ประเทศจะคงนโยบายการเงินตามเดิม อันเป็นผลจากการชะลอของเงินเฟ้อทั่วโลก
“มองว่า FED น่าจะยืนดอกเบี้ยฯที่ระดับ 0.25% ตามเดิม เนื่องจากปัจจัยหลักทั้งเงินเฟ้อและตลาดแรงงานในระยะสั้นยังมีความผันผวนอยู่ อีกทั้งน่าจะเลื่อนระยะเวลาการขึ้นปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไปไปเป็นปลายปี 2558 หรือต้นปี 2559 คือล่าช้ากว่าเดิม ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2558 เช่นเดียวกับไทย น่าจะคงดอกเบี้ยฯ 2% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 โดยการลดลงของราคาน้ำมันน่าจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการบริโภคครัวเรือนเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 50% ของ GDP และกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าการลดดอกเบี้ย” นายเทิดศักดิ์ กล่าว
สำหรับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ มาตรการ QE ของธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ที่ประกาศ จะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและเอกชนวงเงิน 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน รวมเวลาทั้งสิ้น 19 เดือน คือตั้งแต่เดือนมีนาคม 2558 และสิ้นสุดกันยายน 2559 คิดเป็นเม็ดเงินรวมทั้งสิ้น 1.14 ล้านล้านยูโรวงเงินออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับต่ำของหลายๆ ธนาคารกลางทั่วโลก ถือเป็นปัจจัยบวกสำหรับตลาดหุ้น โดยตลาดหุ้นไทยน่าจะได้รับอานิสงส์ของกระแสเงินทุนกลับเข้ามาอีกครั้ง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ตลาดหุ้นไทยในช่วงกว่า 1 ปีที่ผ่านมาอยู่ในภาวะที่ถูกขายสุทธิออกมาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เม็ดเงินที่ซื้อสุทธิสะสมของนักลงทุนต่างชาตินับจากปี 2552 เป็นต้นมา ลดลงจากจุดสูงสุดที่ 3.2 แสนล้าน เหลือเพียง 2.8 หมื่นล้านบาทในปัจจุบัน (ตามราคาตลาด)
นอกจากนี้ด้วยอัตรากำไรต่อหุ้น หรือ EPS ที่สูงถึง 16.7% ในปี 2558 จะทำให้ P/E ณ สิ้นปี 2558 อยู่ที่ 15.1 เท่า ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยภูมิภาคซึ่งอยู่ที่ 14.3-15.5 เท่า
กลยุทธ์การลงทุนจึงแนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนจากเดิม 50% เป็น 70% โดยเน้นหุ้นขนาดใหญ่ที่ยังมีพื้นฐานดี แต่ศักยภาพการทำกำไรยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีอัพไซด์สูง ได้แก่ SCC (ราคาเหมาะสมที่ 530 บาท) KBANK (ราคาเหมาะสมที่ 300 บาท) INTUCH (ราคาเหมาะสมที่ 113 บาท) และ TTW (ราคาเหมาะสมที่ 13.3 บาท
สอดคล้องกับนายเกียรติศักดิ์ เจนวิภากุล กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด หรือ SCBS ที่ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยในปีนี้ จะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ปรับตัวดีขึ้น และการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในยุโรป ญี่ปุ่น และจีน
นอกจากนี้ ทิศทางการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น และผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเป็นบวก ทั้งนี้ SCBS ยังคงเป้าหมายดัชนีตลาดหลัทรัพย์ ณ สิ้นปี 2588 ไว้ที่ 1,800 จุด และได้ปรับเป้าหมายอัตราส่วนราคาต่อกำไร (PE Ratio) อยู่ที่ 14.8 เท่า โดยอิงกับส่วนต่างอัตราผลตอบแทน(earnings yield gap) ที่ 3% ตามค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2555-2556
สำหรับหุ้นดาวเด่น ที่ SCBS แนะนำเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ บมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น (AAV) บมจ.ดิ เอราวัณ กรุ๊ป(ERW)บมจ.สายการบินนกแอร์ (NOK) และ บมจ.อิตาเลียน ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) นอกจากนี้ แนะนำหุ้น บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชั่น (AMATA) ในฐานะเป็นหุ้นที่ได้ประโชน์จากเม็ดเงิน FDI ไหลเข้า และ บมจ. หลักทรัพย์เอเซีย พลัส (ASP) จากความน่าสนใจทางด้านเงินปันผลในระดับสูง
ด้านนายดิษฐนพ วัธนเวคิน นักวิเคราะห์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ เคเคเทรดจำกัด เปิดเผยว่า ธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์คาดว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้วหลังยอดการผลิตรถยนต์ฟื้นตัวต่อเป็นไตรมาส 2 ติดต่อกัน ซึ่งประเมินว่าจะมีสัญญาณเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศยังไม่เด่นชัดและเศรษฐกิจโลกมีปัจจัยเสี่ยงจากความเปราะบางของภูมิภาคยุโรปและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนแต่อย่างไรก็ตามเชื่อมั่นว่าปัจจัยหนุนด้านการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ของค่ายรถต่างประเทศจะช่วยผลักดันยอดผลิตรถยนต์ปี58 เพิ่มขึ้น 5-10% เป็น 2-2.1 ล้านคัน จากปี57อยู่ที่ 1.9 ล้านคันสำหรับกลยุทธ์การลงทุนแนะนำทยอยซื้อสะสม เพื่อการลงทุนระยะยาวเนื่องจากราคาหุ้นในปัจจัยบันยังไม่สะท้อนการเติบโตของยอดผลิตรถยนต์ในปีนี้ ในขณะเดียวกันหุ้นกลุ่มดังกล่าวยังไม่เหมาะกับการลงทุนในระยะสั้นเพราะปัจจัยเสี่ยงด้านภาวะเศรษฐกิจโลก