สมาคมนักวิเคราะห์ประเมิน SET Index สิ้นปี 58 อยู่ที่ 1,670 จุด ลดลงเล็กน้อยจากคาดการณ์ครั้งก่อนที่ระดับ 1,698 จุด หรือลดลงราว 1.6% การปรับเพิ่มดอกเบี้ยของเฟดยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยง ขณะปัจจัยบวกมาจากการกระตุ้นเศรฐกิจ และการลงทุนขนาดใหญ่ รวมทั้งการเติบโตของผลการดำเนินงานของ บจ.และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางยุโรปที่คาดจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เชื่อเงินต่างชาติเข้ามาครึ่งปีหลัง พร้อมแนะให้รัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทย เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ และการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ให้เป็นไปตามกำหนดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวล่าช้า การดำเนินนโยบายการเงินอย่างเหมาะสม และการแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างจริงจัง
นางภรณี ทองเย็น รองกรรมการ ผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP ในฐานะอุปนายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน เปิดเผยผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ประเมิน SET Index สิ้นปี 58 อยู่ที่ 1,670 จุด ลดลงเล็กน้อยจากคาดการณ์ครั้งก่อนที่ระดับ 1,698 จุด หรือลดลงราว 1.6% โดยมองปัจจัยเสี่ยงที่นักวิเคราะห์ให้ความสำคัญ คือ ปัจจัยต่างประเทศ โดยเฉพาะการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ มองว่า เศรษฐกิจโลกยังขยายตัวต่ำกว่าที่คาด ทำให้ภาคการส่งออกไทยได้รับผลกระทบโดยตรงจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
ขณะที่ปัจจัยบวกยังเป็นเรื่องของมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล และการขยายตัวของผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางยุโรปที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา
กลยุทธ์การลงทุนปีนี้ นักวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ 25 แห่งแนะนำให้ลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 46% ของเงินลงทุนรวม เพิ่มขึ้นจาก 40% จากการสำรวจครั้งก่อนหน้า และได้ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ และกองทุนตราสารหนี้จาก 20% เหลือ 14% และปรับลดเงินสดและเงินฝากเหลือ 11% จาก 13% ในครั้งก่อน ขณะที่การลงทุนในต่างประเทศยังคงใกล้เคียงกับประมาณการครั้งก่อนคือ 20.5% และทองคำ รวมถึง Gold Futures อยู่ที่ 6.5% ขณะที่ผลสำรวจหุ้นเด่นปีนี้ คือ ADVANC, CK, INTUCH, KBANK และ SPALI
พร้อมกันนี้ สมาคมฯ ได้ประเมินกำไรสุทธิต่อหุ้นของตลาด (EPS) ปี 58 เฉลี่ยอยู่ที่ 15% หรือ 107.0 บาทต่อหุ้น ใกล้เคียงกับที่ประมาณการครั้งก่อนที่ 14.1% หรือ 111.2 บาทต่อหุ้น จากฐานที่ต่ำในปีก่อน ขณะปี 57 กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ของตลาดน่าจะอยู่ 93.2 บาทต่อหุ้น โดยลดลง 4.1% จากประมาณการครั้งก่อนที่อยู่ในรดับ 97.2 บาทต่อหุ้น
นอกจากนี้ ยังมองภาวะเศรษฐกิจปีนี้ว่าจะมีอัตราการขยายตัว (GDP Growth) อยู่ที่ 3.8% จากเดิมที่คาดไว้ 4.3% และแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายคงยืนอยู่ที่ 2% ตลอดปี 58 อีกทั้งราคาน้ำมันดิบโลกที่ลดลงกว่า 50% ส่งผลกระทบต่อกำไรบริษัทจดทะเบียนบางกลุ่ม
โดยเฉพาะกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี กำไรสุทธิคงลดลงจากประมาณการครั้งก่อน 3.9 หมื่นล้านบาทในปี 58 และในปี 57 พบว่ากำไรสุทธิลดลง 1.5 หมื่นล้านบาท ตามด้วยกลุ่มปิโตรเคมีคาดว่ากำไรสุทธิจะลดลงจากประมาณการครั้งก่อนเฉลี่ย 7.9 พันล้านบาท ในปี 57 และลดลงอีก 4.9 พันล้านบาท ในปี 58
ขณะกลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับผลบวกจากราคาน้ำมันตกต่ำจะสะท้อนผลกำไรที่ดีขึ้นในปีนี้คือ กลุ่มค้าส่งค้าปลีก (อุปโภคบริโภค) ซึ่งคาดว่ากำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนเฉลี่ย 904 ล้านบาท และกลุ่มขนส่งที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 868 ล้านบาท และสถาบันการเงินรายย่อยจะอยู่ที่ 491 ล้านบาท
นางภรณี กล่าวว่า นักวิเคราะห์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบโลกในปีนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ 66.1 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งลดลงจากสมมติฐานครั้งก่อนที่อยู่ในระดับ 90.5 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และในปี 59 คาดว่าราคาน้ำมันดิบจะอยู่ที่ 71.9 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ลดลงจากสมมติฐานเดิมที่ 92.7 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ส่วนแนวโน้มราคาทองคำสิ้นปี 58 จะอยู่ที่บาทละ 18,884 บาท ลดลงจากคาดการณ์ครั้งก่อนที่บาทละ 19,575 บาท และสิ้นปี 59 คาดว่าจะขึ้นไปอยู่ที่บาทละ 19,883 บาท ใกล้เคียงกับประมาณการครั้งก่อนที่บาทละ 19,844 บาท
จากการสำรวจความเห็นในครั้งนี้ นักวิเคราะห์มีข้อเสนอแนะให้แก่รัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทย 3 เรื่อง คือ การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการลงทุน โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ให้เป็นไปตามกำหนดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวล่าช้า การดำเนินนโยบายการเงินอย่างเหมาะสม และการแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างจริงจัง
นางภรณี กล่าวอีกว่า เม็ดเงินต่างชาติมีโอกาสไหลกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยในช่วงครึ่งหลังปีนี้ เชื่อว่าการขายสุทธิจะน้อยลง ปัจจุบันต่างชาติถือครองหุ้นสุทธิอยู่ที่ 34% หลังจากปีที่ผ่านมาขายออกไปจำนวนมากจากความกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจโลก และราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง จึงคาดว่าจะมีทิศทางการซื้อสุทธิมากขึ้น โดยปัจจัยที่เป็นผลบวกมาจากเรื่องการลงทุนของภาครัฐ และรัฐธรรมนูญใหม่เริ่มเห็นความชัดเจนมากขี้น ประกอบการดอกเบี้ยนโยบาย และอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำ
***********
นางภรณี ทองเย็น รองกรรมการ ผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP ในฐานะอุปนายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน เปิดเผยผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ประเมิน SET Index สิ้นปี 58 อยู่ที่ 1,670 จุด ลดลงเล็กน้อยจากคาดการณ์ครั้งก่อนที่ระดับ 1,698 จุด หรือลดลงราว 1.6% โดยมองปัจจัยเสี่ยงที่นักวิเคราะห์ให้ความสำคัญ คือ ปัจจัยต่างประเทศ โดยเฉพาะการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ มองว่า เศรษฐกิจโลกยังขยายตัวต่ำกว่าที่คาด ทำให้ภาคการส่งออกไทยได้รับผลกระทบโดยตรงจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
ขณะที่ปัจจัยบวกยังเป็นเรื่องของมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล และการขยายตัวของผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางยุโรปที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา
กลยุทธ์การลงทุนปีนี้ นักวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ 25 แห่งแนะนำให้ลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 46% ของเงินลงทุนรวม เพิ่มขึ้นจาก 40% จากการสำรวจครั้งก่อนหน้า และได้ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ และกองทุนตราสารหนี้จาก 20% เหลือ 14% และปรับลดเงินสดและเงินฝากเหลือ 11% จาก 13% ในครั้งก่อน ขณะที่การลงทุนในต่างประเทศยังคงใกล้เคียงกับประมาณการครั้งก่อนคือ 20.5% และทองคำ รวมถึง Gold Futures อยู่ที่ 6.5% ขณะที่ผลสำรวจหุ้นเด่นปีนี้ คือ ADVANC, CK, INTUCH, KBANK และ SPALI
พร้อมกันนี้ สมาคมฯ ได้ประเมินกำไรสุทธิต่อหุ้นของตลาด (EPS) ปี 58 เฉลี่ยอยู่ที่ 15% หรือ 107.0 บาทต่อหุ้น ใกล้เคียงกับที่ประมาณการครั้งก่อนที่ 14.1% หรือ 111.2 บาทต่อหุ้น จากฐานที่ต่ำในปีก่อน ขณะปี 57 กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ของตลาดน่าจะอยู่ 93.2 บาทต่อหุ้น โดยลดลง 4.1% จากประมาณการครั้งก่อนที่อยู่ในรดับ 97.2 บาทต่อหุ้น
นอกจากนี้ ยังมองภาวะเศรษฐกิจปีนี้ว่าจะมีอัตราการขยายตัว (GDP Growth) อยู่ที่ 3.8% จากเดิมที่คาดไว้ 4.3% และแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายคงยืนอยู่ที่ 2% ตลอดปี 58 อีกทั้งราคาน้ำมันดิบโลกที่ลดลงกว่า 50% ส่งผลกระทบต่อกำไรบริษัทจดทะเบียนบางกลุ่ม
โดยเฉพาะกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี กำไรสุทธิคงลดลงจากประมาณการครั้งก่อน 3.9 หมื่นล้านบาทในปี 58 และในปี 57 พบว่ากำไรสุทธิลดลง 1.5 หมื่นล้านบาท ตามด้วยกลุ่มปิโตรเคมีคาดว่ากำไรสุทธิจะลดลงจากประมาณการครั้งก่อนเฉลี่ย 7.9 พันล้านบาท ในปี 57 และลดลงอีก 4.9 พันล้านบาท ในปี 58
ขณะกลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับผลบวกจากราคาน้ำมันตกต่ำจะสะท้อนผลกำไรที่ดีขึ้นในปีนี้คือ กลุ่มค้าส่งค้าปลีก (อุปโภคบริโภค) ซึ่งคาดว่ากำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนเฉลี่ย 904 ล้านบาท และกลุ่มขนส่งที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 868 ล้านบาท และสถาบันการเงินรายย่อยจะอยู่ที่ 491 ล้านบาท
นางภรณี กล่าวว่า นักวิเคราะห์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบโลกในปีนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ 66.1 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งลดลงจากสมมติฐานครั้งก่อนที่อยู่ในระดับ 90.5 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และในปี 59 คาดว่าราคาน้ำมันดิบจะอยู่ที่ 71.9 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ลดลงจากสมมติฐานเดิมที่ 92.7 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ส่วนแนวโน้มราคาทองคำสิ้นปี 58 จะอยู่ที่บาทละ 18,884 บาท ลดลงจากคาดการณ์ครั้งก่อนที่บาทละ 19,575 บาท และสิ้นปี 59 คาดว่าจะขึ้นไปอยู่ที่บาทละ 19,883 บาท ใกล้เคียงกับประมาณการครั้งก่อนที่บาทละ 19,844 บาท
จากการสำรวจความเห็นในครั้งนี้ นักวิเคราะห์มีข้อเสนอแนะให้แก่รัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทย 3 เรื่อง คือ การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการลงทุน โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ให้เป็นไปตามกำหนดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวล่าช้า การดำเนินนโยบายการเงินอย่างเหมาะสม และการแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างจริงจัง
นางภรณี กล่าวอีกว่า เม็ดเงินต่างชาติมีโอกาสไหลกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยในช่วงครึ่งหลังปีนี้ เชื่อว่าการขายสุทธิจะน้อยลง ปัจจุบันต่างชาติถือครองหุ้นสุทธิอยู่ที่ 34% หลังจากปีที่ผ่านมาขายออกไปจำนวนมากจากความกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจโลก และราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง จึงคาดว่าจะมีทิศทางการซื้อสุทธิมากขึ้น โดยปัจจัยที่เป็นผลบวกมาจากเรื่องการลงทุนของภาครัฐ และรัฐธรรมนูญใหม่เริ่มเห็นความชัดเจนมากขี้น ประกอบการดอกเบี้ยนโยบาย และอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำ
***********