วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 คณะทหารนำโดยพล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล ออกจากกองทัพอากาศ และพล.ร.อ.ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ยึดอำนาจจากรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยการจี้ตัวบนเครื่องบินซี 130 ในขณะที่พล.อ.ชาติชาย จะพาพล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก รองนายกรัฐมนตรีไปเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลังพล.อ.อาทิตย์ได้รับการแต่งตั้งเป็นรมว.กลาโหมอีกตำแหน่งหนึ่ง
เหตุผลของการยึดอำนาจครั้งนั้นมี 5 ประการ คือ การฉ้อราษฎร์บังหลวงโดยพล.อ.ชาติชายประกาศว่า การกล่าวหาว่ารัฐมนตรีทุจริตนั้นต้องเอาใบเสร็จมายืนยัน การใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงราชการประจำผู้ซื่อสัตย์สุจริตผู้ไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือนักการเมือง รับราชการไม่เจริญก้าวหน้า รัฐบาลเป็นเผด็จการทางรัฐสภา การทำลายสถาบันทางทหาร และการบิดเบือนคดีล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์
ถ้าเทียบบารมีกับยุคนี้ต้องบอกว่า บทบาทของนายทหาร นายตำรวจรุ่น 0143 รหัสของ 4 เหล่า 3 ทัพ (ทหารบก อากาศ ทหารเรือ และเหล่าตำรวจ) ที่จบ จปร. 5 พร้อมกันในปี 2501 ภายใต้การนำของพล.อ.สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้นมีมากกว่านายทหารที่เรียกตัวเองว่า บูรพาพยัคฆ์ในยุคนี้มาก
หลังจากรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง นอกจากแต่งตั้งนายอานันท์ ปันยารชุนมาเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยพล.อ.สุจินดาประกาศว่า จะไม่มีการสืบทอดอำนาจและรับตำแหน่งใดๆ หลังการเลือกตั้ง แต่หลังเปิดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปได้มีการตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาชื่อพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งรับรู้กันว่า เป็นพรรคที่ถูกตั้งขึ้นจากบุคคลที่ใกล้ชิด รสช.เพื่อรักษาอำนาจหลังรัฐประหาร มีการต้อนนักการเมืองเข้าพรรคจำนวนมาก โดยมีนายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นหัวหน้าพรรค
ถ้าย้อนไปในอดีตการกำเนิดของพรรคสามัคคีธรรมมีความคล้ายคลึงกับพรรคเสรีมนังคศิลาที่เคยสนับสนุนจอมพล ป.พิบูลสงคราม และพรรคสหประชาไทยที่เคยสนับสนุนจอมพลถนอม กิตติขจร
และหลังการเลือกตั้งพรรคสามัคคีธรรมซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก รสช.ก็ชนะการเลือกตั้งตามความคาดหมาย แต่นายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรค ถูกโจมตีจากสหรัฐอเมริกาว่า เกี่ยวพันกับพ่อค้ายาเสพติด แกนนำของพรรคจึงเสนอชื่อให้พล.อ.สุจินดา ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี เกิดความไม่พอใจในหมู่ประชาชน เพราะพล.อ.สุจินดา พูดมาตลอดว่าจะไม่สืบทอดอำนาจ จนมีคำพูดว่า “เสียสัตย์เพื่อชาติ” รวมถึงกับรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาไม่เป็นประชาธิปไตย และกระแสการเรียกร้องนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง
ตอนนี้พล.อ.ประยุทธ์ก็พูดตลอดว่า จะไม่รับตำแหน่งอีกแล้วหลังการเลือกตั้ง แม้รัฐธรรมนูญที่กำลังร่างขึ้นมีแนวโน้มว่า จะไม่ระบุว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งก็ตาม แต่เราไม่เคยได้ยินพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งถูกมองว่ามีความทะเยอทะยานทางการเมืองพูดเรื่องนี้ และเชื่อกันว่า หลังประกาศให้มีการเลือกตั้งจะมีการจัดตั้งพรรคการเมืองหรือใช้พรรคการเมืองที่มีอยู่แล้วอย่างพรรคของเนวิน ชิดชอบ ทำหน้าที่คล้ายกับพรรคสามัคคีธรรม พรรคเสรีมนังคศิลา และพรรคสหประชาไทยในอดีต
แต่กรณีไม่รักษาคำพูดที่ให้ไว้กับประชาชนด้วยข้ออ้างว่า “เสียสัตย์เพื่อชาติ” เพื่อสืบทอดอำนาจของ รสช.พล.อ.สุจินดาก็กลายเป็นชนวนหลักที่ปลุกให้ประชาชนลุกฮือขึ้นมาขับไล่รัฐบาล จนเกิดเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ขึ้นมา จนกระทั่งพล.อ.สุจินดา ต้องลาออกจากตำแหน่ง และมีการแต่งตั้งนายอานันท์กลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
จะเห็นได้ว่า แม้ตอนนั้นจะมีกระแสว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่เมื่อได้นายอานันท์ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเป็นนายกฯ ประชาชนก็ไม่คัดค้าน เพราะดูเหมือนว่า หัวใจหลักที่ประชาชนออกมาเรียกร้องก็คือ การไม่รักษาคำพูดของพล.อ.สุจินดาที่บอกว่าจะไม่สืบทอดอำนาจนั่นเอง
วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พล.อ.ประยุทธ์ นำกำลังเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ซึ่งตอนนั้นไม่มีนายกรัฐมนตรีตัวจริงอยู่แล้วเพราะยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดจนต้องพ้นจากตำแหน่งไปแล้วพร้อมรัฐมนตรีอีกหลายคน มีเพียงรักษาการนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ประชาชนฝ่ายต่อต้านระบอบทักษิณออกมาชุมนุมอยู่บนท้องถนนและเรียกร้องให้มีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แต่ไม่มีกฎหมายอ้างอิงให้สามารถทำได้จนเกิดสภาพสุญญากาศ ประเทศไร้ทางออก
เหตุผลของการยึดอำนาจครั้งนี้อ้างว่าประชาชนแตกแยกและใช้กำลังเข้าปะทะกันซึ่งต่างจากการยึดอำนาจของ รสช.ในอดีตที่ระบุชัดเจนว่า รัฐบาลคอร์รัปชัน เป็นเผด็จการรัฐสภาซึ่งจริงๆ แล้วเป็นพฤติกรรมของรัฐบาลในยุคนี้เช่นเดียวกัน
ในขณะที่ คสช.เข้ามายึดอำนาจรัฐท่ามกลางเสียงเพลงกล่อมหูประชาชนว่า เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน แล้วแผ่นดินที่งดงามจะคืนกลับมา เราจะทำอย่างซื่อตรง ขอแค่เธอจงไว้ใจและศรัทธา แผ่นดินจะดีในไม่ช้า ขอคืนความสุขให้เธอ ประชาชน
พล.อ.ประยุทธ์ หัวหน้าคณะรัฐประหารซึ่งขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยตัวเองยังได้ให้สัญญากับประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานที่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนว่า
“แต่สิ่งสำคัญก็คือ บอกพวกเราสบายใจว่า ในเรื่องของ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขอเปิดสำรวจ 29 แปลง หรือเรื่องราคาน้ำมัน หรือการปรับโครงสร้าง ผมได้สั่งการให้นำเข้าไปหารือในสภาปฏิรูปแล้ว ให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน เพราะว่า คุณรสนา (โตสิตระกูล) อะไรเหล่านี้ก็อยู่ในสภาปฏิรูปอยู่แล้วนะ เราจะได้ไปหาข้อสรุปกันมาซะทีว่า เอ๊ะ! มันยังไงกันแน่นะ รัฐบาลก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามมติต่างๆ ที่ออกมาจากสภาปฏิรูปด้วยนะครับ” (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2557)
ต่อมาวันที่ 13 มกราคม 2558 สภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สปช. เสียงข้างมาก ที่จะให้มีการเดินหน้าสัมปทานพลังงานรอบที่ 21 ด้วยคะแนน 79 ต่อ 130 คะแนน งดออกเสียง 21 เสียง จากจำนวนผู้เข้าประชุม 230 คน
“กระทรวงพลังงานเดินหน้าอยู่แล้ว ยังไงก็ต้องเดิน แต่ไม่ใช่เดินในวันนี้ พรุ่งนี้ เพราะจะมีการเปิดสัมปทานในเดือน ก.พ. ส่วนบางกลุ่มที่จะออกมาเรียกร้องยืนยันว่าออกมาไม่ได้ ไม่ให้ออก ไปหาเรื่องชี้แจง อย่าหาเรื่องออกมาเดินขบวนกันอีก” (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ณ วันที่ 16 มการาคม 2558)
การกระทำของพล.อ.ประยุทธ์ จึงเหมือนกับพล.อ.สุจินดาที่ไม่รักษาคำพูดที่ให้ไว้กับประชาชน ยังขัดกับค่านิยม 12 ประการที่ คสช.ประกาศออกมาให้ประชาชนยึดปฏิบัติด้วย
ต้องดูกันต่อไปว่า การเสียสัตย์และไม่รักษาสัญญาของพล.อ.ประยุทธ์นั้น จะมีชะตากรรมเดียวกับรุ่นพี่อย่างพล.อ.สุจินดา คราประยูรหรือไม่
เหตุผลของการยึดอำนาจครั้งนั้นมี 5 ประการ คือ การฉ้อราษฎร์บังหลวงโดยพล.อ.ชาติชายประกาศว่า การกล่าวหาว่ารัฐมนตรีทุจริตนั้นต้องเอาใบเสร็จมายืนยัน การใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงราชการประจำผู้ซื่อสัตย์สุจริตผู้ไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือนักการเมือง รับราชการไม่เจริญก้าวหน้า รัฐบาลเป็นเผด็จการทางรัฐสภา การทำลายสถาบันทางทหาร และการบิดเบือนคดีล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์
ถ้าเทียบบารมีกับยุคนี้ต้องบอกว่า บทบาทของนายทหาร นายตำรวจรุ่น 0143 รหัสของ 4 เหล่า 3 ทัพ (ทหารบก อากาศ ทหารเรือ และเหล่าตำรวจ) ที่จบ จปร. 5 พร้อมกันในปี 2501 ภายใต้การนำของพล.อ.สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้นมีมากกว่านายทหารที่เรียกตัวเองว่า บูรพาพยัคฆ์ในยุคนี้มาก
หลังจากรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง นอกจากแต่งตั้งนายอานันท์ ปันยารชุนมาเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยพล.อ.สุจินดาประกาศว่า จะไม่มีการสืบทอดอำนาจและรับตำแหน่งใดๆ หลังการเลือกตั้ง แต่หลังเปิดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปได้มีการตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาชื่อพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งรับรู้กันว่า เป็นพรรคที่ถูกตั้งขึ้นจากบุคคลที่ใกล้ชิด รสช.เพื่อรักษาอำนาจหลังรัฐประหาร มีการต้อนนักการเมืองเข้าพรรคจำนวนมาก โดยมีนายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นหัวหน้าพรรค
ถ้าย้อนไปในอดีตการกำเนิดของพรรคสามัคคีธรรมมีความคล้ายคลึงกับพรรคเสรีมนังคศิลาที่เคยสนับสนุนจอมพล ป.พิบูลสงคราม และพรรคสหประชาไทยที่เคยสนับสนุนจอมพลถนอม กิตติขจร
และหลังการเลือกตั้งพรรคสามัคคีธรรมซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก รสช.ก็ชนะการเลือกตั้งตามความคาดหมาย แต่นายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรค ถูกโจมตีจากสหรัฐอเมริกาว่า เกี่ยวพันกับพ่อค้ายาเสพติด แกนนำของพรรคจึงเสนอชื่อให้พล.อ.สุจินดา ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี เกิดความไม่พอใจในหมู่ประชาชน เพราะพล.อ.สุจินดา พูดมาตลอดว่าจะไม่สืบทอดอำนาจ จนมีคำพูดว่า “เสียสัตย์เพื่อชาติ” รวมถึงกับรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาไม่เป็นประชาธิปไตย และกระแสการเรียกร้องนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง
ตอนนี้พล.อ.ประยุทธ์ก็พูดตลอดว่า จะไม่รับตำแหน่งอีกแล้วหลังการเลือกตั้ง แม้รัฐธรรมนูญที่กำลังร่างขึ้นมีแนวโน้มว่า จะไม่ระบุว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งก็ตาม แต่เราไม่เคยได้ยินพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งถูกมองว่ามีความทะเยอทะยานทางการเมืองพูดเรื่องนี้ และเชื่อกันว่า หลังประกาศให้มีการเลือกตั้งจะมีการจัดตั้งพรรคการเมืองหรือใช้พรรคการเมืองที่มีอยู่แล้วอย่างพรรคของเนวิน ชิดชอบ ทำหน้าที่คล้ายกับพรรคสามัคคีธรรม พรรคเสรีมนังคศิลา และพรรคสหประชาไทยในอดีต
แต่กรณีไม่รักษาคำพูดที่ให้ไว้กับประชาชนด้วยข้ออ้างว่า “เสียสัตย์เพื่อชาติ” เพื่อสืบทอดอำนาจของ รสช.พล.อ.สุจินดาก็กลายเป็นชนวนหลักที่ปลุกให้ประชาชนลุกฮือขึ้นมาขับไล่รัฐบาล จนเกิดเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ขึ้นมา จนกระทั่งพล.อ.สุจินดา ต้องลาออกจากตำแหน่ง และมีการแต่งตั้งนายอานันท์กลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
จะเห็นได้ว่า แม้ตอนนั้นจะมีกระแสว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่เมื่อได้นายอานันท์ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเป็นนายกฯ ประชาชนก็ไม่คัดค้าน เพราะดูเหมือนว่า หัวใจหลักที่ประชาชนออกมาเรียกร้องก็คือ การไม่รักษาคำพูดของพล.อ.สุจินดาที่บอกว่าจะไม่สืบทอดอำนาจนั่นเอง
วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พล.อ.ประยุทธ์ นำกำลังเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ซึ่งตอนนั้นไม่มีนายกรัฐมนตรีตัวจริงอยู่แล้วเพราะยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดจนต้องพ้นจากตำแหน่งไปแล้วพร้อมรัฐมนตรีอีกหลายคน มีเพียงรักษาการนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ประชาชนฝ่ายต่อต้านระบอบทักษิณออกมาชุมนุมอยู่บนท้องถนนและเรียกร้องให้มีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แต่ไม่มีกฎหมายอ้างอิงให้สามารถทำได้จนเกิดสภาพสุญญากาศ ประเทศไร้ทางออก
เหตุผลของการยึดอำนาจครั้งนี้อ้างว่าประชาชนแตกแยกและใช้กำลังเข้าปะทะกันซึ่งต่างจากการยึดอำนาจของ รสช.ในอดีตที่ระบุชัดเจนว่า รัฐบาลคอร์รัปชัน เป็นเผด็จการรัฐสภาซึ่งจริงๆ แล้วเป็นพฤติกรรมของรัฐบาลในยุคนี้เช่นเดียวกัน
ในขณะที่ คสช.เข้ามายึดอำนาจรัฐท่ามกลางเสียงเพลงกล่อมหูประชาชนว่า เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน แล้วแผ่นดินที่งดงามจะคืนกลับมา เราจะทำอย่างซื่อตรง ขอแค่เธอจงไว้ใจและศรัทธา แผ่นดินจะดีในไม่ช้า ขอคืนความสุขให้เธอ ประชาชน
พล.อ.ประยุทธ์ หัวหน้าคณะรัฐประหารซึ่งขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยตัวเองยังได้ให้สัญญากับประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานที่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนว่า
“แต่สิ่งสำคัญก็คือ บอกพวกเราสบายใจว่า ในเรื่องของ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขอเปิดสำรวจ 29 แปลง หรือเรื่องราคาน้ำมัน หรือการปรับโครงสร้าง ผมได้สั่งการให้นำเข้าไปหารือในสภาปฏิรูปแล้ว ให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน เพราะว่า คุณรสนา (โตสิตระกูล) อะไรเหล่านี้ก็อยู่ในสภาปฏิรูปอยู่แล้วนะ เราจะได้ไปหาข้อสรุปกันมาซะทีว่า เอ๊ะ! มันยังไงกันแน่นะ รัฐบาลก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามมติต่างๆ ที่ออกมาจากสภาปฏิรูปด้วยนะครับ” (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2557)
ต่อมาวันที่ 13 มกราคม 2558 สภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สปช. เสียงข้างมาก ที่จะให้มีการเดินหน้าสัมปทานพลังงานรอบที่ 21 ด้วยคะแนน 79 ต่อ 130 คะแนน งดออกเสียง 21 เสียง จากจำนวนผู้เข้าประชุม 230 คน
“กระทรวงพลังงานเดินหน้าอยู่แล้ว ยังไงก็ต้องเดิน แต่ไม่ใช่เดินในวันนี้ พรุ่งนี้ เพราะจะมีการเปิดสัมปทานในเดือน ก.พ. ส่วนบางกลุ่มที่จะออกมาเรียกร้องยืนยันว่าออกมาไม่ได้ ไม่ให้ออก ไปหาเรื่องชี้แจง อย่าหาเรื่องออกมาเดินขบวนกันอีก” (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ณ วันที่ 16 มการาคม 2558)
การกระทำของพล.อ.ประยุทธ์ จึงเหมือนกับพล.อ.สุจินดาที่ไม่รักษาคำพูดที่ให้ไว้กับประชาชน ยังขัดกับค่านิยม 12 ประการที่ คสช.ประกาศออกมาให้ประชาชนยึดปฏิบัติด้วย
ต้องดูกันต่อไปว่า การเสียสัตย์และไม่รักษาสัญญาของพล.อ.ประยุทธ์นั้น จะมีชะตากรรมเดียวกับรุ่นพี่อย่างพล.อ.สุจินดา คราประยูรหรือไม่