เมื่อวานนี้ (20ม.ค.) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงชี้แจงถึง การพิจารณาในประเด็นของการพิจารณาเรื่องวางกลไกป้องกันบุคคลเคยต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ว่ากระทำการทุจริต หรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทำการอันทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต หรือเที่ยงธรรมเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองเด็ดขาด ตามมาตรา 35 (4) ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 ว่า ในส่วนนี้ กมธ.ยกร่างฯ ยังไม่ได้มีการพิจารณา เนื่องจากจะอยู่ในชั้นการพิจารณารายมาตรา ว่าด้วย ภาค 2 ผู้นำทางการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด 3 ว่าด้วยรัฐสภาอยู่
ดังนั้น ยืนยันว่า กรรมาธิการยกร่างฯ ยังไม่มีการลงมติตัดสิทธิอดีตนักการเมืองที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือนักการเมืองบ้านเลขที่ 111 และ 109 ตามที่มีการนำเสนอข่าว แต่ประการใด แต่มีมติเฉพาะเรื่องหลักนิติธรรม เคยมีปัญหาถกเถียงว่า คืออะไร จึงบัญญัติให้ชัดเจน สำหรับการในการพิจารณาบทบัญญัติดังกล่าวนั้น จะมีการพิจารณาในหมวดรัฐสภา ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
"ผมจำเป็นต้องทำความเข้าใจ เพื่อไม่ให้มีการเอาไปเชื่อมโยง โดยเฉพาะการพิจารณาถอดถอนของสนช. และไม่ให้เกิดการเข้าใจผิดกัน เราจะดูรัฐธรรมนูญชั่วคราว ม. 35 เพราะไม่มีใครที่อยากให้กฎหมายใหม่ เอาผิดตัวเองย้อนหลัง เราก็ต้องดูเรื่องความเป็นธรรมด้วย จะไปเขียนรัฐธรรมนูญ ที่ทำลายคนหนึ่งคนใด แล้วเปิดโอกาสให้คนหนึ่งคนใด ไม่ได้"
**ทบทวนประเด็น Hate speech
นายบวรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้ กรรมาธิการได้หารือกัน และ การวางหลักพิจารณาเบื้องต้นว่า จะไม่เอาตามระบบยุบพรรคแบบเดิม ใน มาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญปี 50 ที่สันนิษฐานว่า ผู้บริหารพรรค จะต้องร่วมรับผิดชอบด้วยกับคนทำผิด และคงต้องพูดถึงในอดีตที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องแยกออกเป็นสองส่วน คือกรรมาการบริหารพรรค ที่ไม่มีส่วนร่วมด้วย หรือรู้เห็นกับพวกที่ทำหรือพวกที่รู้เห็นเป็น กับพวกที่กระทำการทุจริตเลือกตั้งด้วยตนเอง
นอกจากนี้ กรรมาธิการยกร่างฯ จะพิจารณาทบทวน ประเด็น Hate speech (เฮท สปีช) ที่บรรจุไว้ในตัวรัฐธรรมนูญใหม่ ว่า จะให้เป็นบทบัญญัติในส่วนสื่อมวลชนด้วย หรือในประเด็นอื่นของมาตราในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือไม่ ซึ่งยืนยันว่ากรรมาธิการยกร่างฯ จะมีการทบทวนประเด็นมาตรา ที่ได้มีการพิจารณาไปแล้ว ตามข้อวิจารณ์ของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้น ยืนยันว่า การยกร่างรายมาตราของรัฐธรรมนูญปัจจุบัน ยังไม่ได้ข้อยุติ ไปจนถึงวันที่ 23 ก.ค.58 หรือก่อนที่ สปช.จะลงมติให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
** ลดวาระประมุขศาลเหลือ 4 ปี
ด้าน พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษา และโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงข่าวรายงานความคืบหน้าการพิจารณา ร่าง รัฐธรรมนูญ ในภาค 3 หลักนิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หมวด 1 ศาล และกระบวนการยุติธรรม ส่วนที่ 1 บททั่วไป ในอำนาจหน้าที่ระหว่าง ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร และศาลอื่น ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดในกรณีที่มีปัญหา โดยคณะกรรมการคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย ประธานศาลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ต้องวินิจฉัยชี้ขาด และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นทางนิติศาสตร์ อย่างน้อย 3 คน แต่ไม่เกิน5 คน เป็นกรรมการ โดยให้หน่วยธุรการของคณะกรรมการ มาจากหน่วยธุรการของศาลยุติธรรม และศาลปกครอง สลับกันทำหน้าที่ คราวละ 1 ปี
นอกจากนี้ กมธ.ยกร่างฯ ยังได้เพิ่มเนื้อหา เกี่ยวกับก่อนเข้ารับหน้าที่ผู้พิพากษาและตุลาการ ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณตน ต่อพระมหากษัตริย์ โดยในวรรคสาม มีการเขียนเพิ่มว่า "พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ถวายสัตย์ปฏิญาณตามวรรคหนึ่ง ต่อพระรัชทายาท หรือผู้แทนพระองค์ก็ได้" เพื่อเป็นการลดพระราชภาระ
ส่วนการบริหารงานของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ในมาตรา 9 กำหนดว่า องค์กรบริหารงานบุคคล ของผู้พิพากษาหรือตุลาการของศาลใด ต้องประกอบด้วย ประธานของศาลนั้นเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนซึ่งได้รับเลือกตั้งจากผู้พิพากษา หรือตุลาการของศาลนั้น ในแต่ละชั้นศาล ในสัดส่วนที่เหมาะสม และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษา หรือตุลาการ และไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวน
กรรมการ ซึ่งเป็นผู้พิพากษา หรือตุลาการของศาลนั้น เป็นกรรมการ โดยกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนที่ได้รับเลือกตั้งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่มีผู้พิพากษา หรือตุลาการในชั้นศาลนั้น ซึ่งไม่เคยได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวมาก่อน ให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งนั้นดำรงตำแหน่งได้อีกไม่เกิน 1 วาระ และบุคคลที่รับตำแหน่งไม่สามารถไปบริหารในศาลอื่นในเวลาเดียวกันได้
โฆษก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวต่อว่า ส่วนวาระการดำรงตำแหน่งของประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด และประธานศาลอื่น นอกจากศาลรัฐธรรมนูญ และศาลทหาร มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี นับแต่วันแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียว ในส่วนของผู้พิพากษา หรือตุลาการของศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลอื่น นอกจากศาลทหาร ซึ่งมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์แล้ว ในปีงบประมาณ แต่อาจรับราชการเป็นผู้พิพากษา หรือตุลาการอาวุโสต่อ ไปได้จนครบอายุ 70 ปีบริบูรณ์
โฆษก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวต่อว่า เกี่ยวกับองค์กรอัยการ ในการสอบสวนคดีอาญาที่สำคัญ ให้พนักงานอัยการ มีอำนาจสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวน และ คำสั่งชี้ขาดคดี เกี่ยวกับคำสั่งฟ้อง ไม่ฟ้อง ถอนฟ้อง อุทธรณ์ฎีกา ไม่อุทธรณ์ฎีกา หรือ ถอนอุทธรณ์ฎีกา ของอัยการสูงสุดตามกฎหมาย ต้องแสดงเหตุผลประกอบการมีคำสั่ง และต้องให้ผู้มีส่วนได้เสีย สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย เว้นแต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ด้วย และยังนำบทบัญญัติ มาตรา 10 วรรคสอง ของพ.ร.บ.ข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2535 มาใช้บังคับกับข้าราชการอัยการด้วย โดยอนุโลม ซึ่งจะส่งผลให้เปลี่ยนเรียก "พนักงานอัยการ" เป็น "ข้าราชการอัยการ" และดำรงตำแหน่งถึง 65 ปี เท่านั้น แต่จะสามารถดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการอาวุโส ได้จนถึงอายุ 70 ปี และ ข้าราชการอัยการ ต้องไม่ดำรงตำแหน่ง หรือปฏิบัติหน้าที่ใดในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ ในทำนองเดียวกันหรือในห้างหุ้นส่วนบริษัท ไม่เป็นที่ปรึกษาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือ ดำรงตำแหน่งใดในลักษณะเดียวกัน ทั้งต้องไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใด อันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฎิบัติหน้าที่ หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ แห่งตำแหน่งหน้าที่ของพนักงานอัยการ ซึ่งทันทีที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลบังคับใช้ อัยการคนใดที่เข้าไปเป็นบอร์ดในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ ต้องพ้นจากหน้าที่ทันที
ส่วนศาลรัฐธรรมนูญ กมธ. ยกร่างฯ เห็นควรให้คงไว้ตามเดิม และมีจำนวน 9 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา และได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวน 2คน จากเดิม 3 คน
(2) ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จำนวน 2 คน
(3) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ จำนวน 3 คน จากเดิม 2 คน โดยต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ด้านกฎหมายมหาชน อย่างน้อย 1 คน (4) ผู้ทรงคุณวุฒิ สาขารัฐศาสตร์ หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญการบริหารภาครัฐ หรือผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรที่มิใช่ภาครัฐ จำนวน 2 คน ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนี้ จะเป็นการเปิดกว้างให้ผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาอื่นเข้ามา เพื่อให้เกิดความหลากหลาย
สำหรับคณะกรรมการสรรหา ในเบื้องต้นวางไว้ 5 ประเภท ประกอบด้วย (1) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน ซึ่งเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 2 คน และเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด 2 คน (2) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน เลือกโดยพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล 1 คน และฝ่ายค้าน 1 คน (3) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน เลือกโดยคณบดีคณะนิติศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา (4) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน เลือกโดยคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษา ( 5 ) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน3 คน เลือกโดยวุฒิสภา สมัชชาพลเมือง ทางกมธ.ยกร่างฯ ขอแขวนไว้ อย่างไรก็ตาม ได้มีการแก้ไขว่า หากที่ประชุมวุฒิสภา ไม่เห็นชอบบุคคลที่คณะกรรมการสรรหาฯ เสนอ จะต้องส่งกลับไปเพื่อให้ดำเนินการเริ่มต้นสรรหาใหม่ จากเดิมที่มีการส่งชื่อกลับไป หากคณะกรรมการสรรหาฯยืนตามเดิม สามารถยื่นทูลเกล้าฯได้ทันที
ดังนั้น ยืนยันว่า กรรมาธิการยกร่างฯ ยังไม่มีการลงมติตัดสิทธิอดีตนักการเมืองที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือนักการเมืองบ้านเลขที่ 111 และ 109 ตามที่มีการนำเสนอข่าว แต่ประการใด แต่มีมติเฉพาะเรื่องหลักนิติธรรม เคยมีปัญหาถกเถียงว่า คืออะไร จึงบัญญัติให้ชัดเจน สำหรับการในการพิจารณาบทบัญญัติดังกล่าวนั้น จะมีการพิจารณาในหมวดรัฐสภา ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
"ผมจำเป็นต้องทำความเข้าใจ เพื่อไม่ให้มีการเอาไปเชื่อมโยง โดยเฉพาะการพิจารณาถอดถอนของสนช. และไม่ให้เกิดการเข้าใจผิดกัน เราจะดูรัฐธรรมนูญชั่วคราว ม. 35 เพราะไม่มีใครที่อยากให้กฎหมายใหม่ เอาผิดตัวเองย้อนหลัง เราก็ต้องดูเรื่องความเป็นธรรมด้วย จะไปเขียนรัฐธรรมนูญ ที่ทำลายคนหนึ่งคนใด แล้วเปิดโอกาสให้คนหนึ่งคนใด ไม่ได้"
**ทบทวนประเด็น Hate speech
นายบวรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้ กรรมาธิการได้หารือกัน และ การวางหลักพิจารณาเบื้องต้นว่า จะไม่เอาตามระบบยุบพรรคแบบเดิม ใน มาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญปี 50 ที่สันนิษฐานว่า ผู้บริหารพรรค จะต้องร่วมรับผิดชอบด้วยกับคนทำผิด และคงต้องพูดถึงในอดีตที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องแยกออกเป็นสองส่วน คือกรรมาการบริหารพรรค ที่ไม่มีส่วนร่วมด้วย หรือรู้เห็นกับพวกที่ทำหรือพวกที่รู้เห็นเป็น กับพวกที่กระทำการทุจริตเลือกตั้งด้วยตนเอง
นอกจากนี้ กรรมาธิการยกร่างฯ จะพิจารณาทบทวน ประเด็น Hate speech (เฮท สปีช) ที่บรรจุไว้ในตัวรัฐธรรมนูญใหม่ ว่า จะให้เป็นบทบัญญัติในส่วนสื่อมวลชนด้วย หรือในประเด็นอื่นของมาตราในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือไม่ ซึ่งยืนยันว่ากรรมาธิการยกร่างฯ จะมีการทบทวนประเด็นมาตรา ที่ได้มีการพิจารณาไปแล้ว ตามข้อวิจารณ์ของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้น ยืนยันว่า การยกร่างรายมาตราของรัฐธรรมนูญปัจจุบัน ยังไม่ได้ข้อยุติ ไปจนถึงวันที่ 23 ก.ค.58 หรือก่อนที่ สปช.จะลงมติให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
** ลดวาระประมุขศาลเหลือ 4 ปี
ด้าน พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษา และโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงข่าวรายงานความคืบหน้าการพิจารณา ร่าง รัฐธรรมนูญ ในภาค 3 หลักนิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หมวด 1 ศาล และกระบวนการยุติธรรม ส่วนที่ 1 บททั่วไป ในอำนาจหน้าที่ระหว่าง ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร และศาลอื่น ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดในกรณีที่มีปัญหา โดยคณะกรรมการคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย ประธานศาลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ต้องวินิจฉัยชี้ขาด และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นทางนิติศาสตร์ อย่างน้อย 3 คน แต่ไม่เกิน5 คน เป็นกรรมการ โดยให้หน่วยธุรการของคณะกรรมการ มาจากหน่วยธุรการของศาลยุติธรรม และศาลปกครอง สลับกันทำหน้าที่ คราวละ 1 ปี
นอกจากนี้ กมธ.ยกร่างฯ ยังได้เพิ่มเนื้อหา เกี่ยวกับก่อนเข้ารับหน้าที่ผู้พิพากษาและตุลาการ ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณตน ต่อพระมหากษัตริย์ โดยในวรรคสาม มีการเขียนเพิ่มว่า "พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ถวายสัตย์ปฏิญาณตามวรรคหนึ่ง ต่อพระรัชทายาท หรือผู้แทนพระองค์ก็ได้" เพื่อเป็นการลดพระราชภาระ
ส่วนการบริหารงานของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ในมาตรา 9 กำหนดว่า องค์กรบริหารงานบุคคล ของผู้พิพากษาหรือตุลาการของศาลใด ต้องประกอบด้วย ประธานของศาลนั้นเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนซึ่งได้รับเลือกตั้งจากผู้พิพากษา หรือตุลาการของศาลนั้น ในแต่ละชั้นศาล ในสัดส่วนที่เหมาะสม และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษา หรือตุลาการ และไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวน
กรรมการ ซึ่งเป็นผู้พิพากษา หรือตุลาการของศาลนั้น เป็นกรรมการ โดยกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนที่ได้รับเลือกตั้งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่มีผู้พิพากษา หรือตุลาการในชั้นศาลนั้น ซึ่งไม่เคยได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวมาก่อน ให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งนั้นดำรงตำแหน่งได้อีกไม่เกิน 1 วาระ และบุคคลที่รับตำแหน่งไม่สามารถไปบริหารในศาลอื่นในเวลาเดียวกันได้
โฆษก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวต่อว่า ส่วนวาระการดำรงตำแหน่งของประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด และประธานศาลอื่น นอกจากศาลรัฐธรรมนูญ และศาลทหาร มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี นับแต่วันแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียว ในส่วนของผู้พิพากษา หรือตุลาการของศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลอื่น นอกจากศาลทหาร ซึ่งมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์แล้ว ในปีงบประมาณ แต่อาจรับราชการเป็นผู้พิพากษา หรือตุลาการอาวุโสต่อ ไปได้จนครบอายุ 70 ปีบริบูรณ์
โฆษก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวต่อว่า เกี่ยวกับองค์กรอัยการ ในการสอบสวนคดีอาญาที่สำคัญ ให้พนักงานอัยการ มีอำนาจสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวน และ คำสั่งชี้ขาดคดี เกี่ยวกับคำสั่งฟ้อง ไม่ฟ้อง ถอนฟ้อง อุทธรณ์ฎีกา ไม่อุทธรณ์ฎีกา หรือ ถอนอุทธรณ์ฎีกา ของอัยการสูงสุดตามกฎหมาย ต้องแสดงเหตุผลประกอบการมีคำสั่ง และต้องให้ผู้มีส่วนได้เสีย สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย เว้นแต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ด้วย และยังนำบทบัญญัติ มาตรา 10 วรรคสอง ของพ.ร.บ.ข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2535 มาใช้บังคับกับข้าราชการอัยการด้วย โดยอนุโลม ซึ่งจะส่งผลให้เปลี่ยนเรียก "พนักงานอัยการ" เป็น "ข้าราชการอัยการ" และดำรงตำแหน่งถึง 65 ปี เท่านั้น แต่จะสามารถดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการอาวุโส ได้จนถึงอายุ 70 ปี และ ข้าราชการอัยการ ต้องไม่ดำรงตำแหน่ง หรือปฏิบัติหน้าที่ใดในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ ในทำนองเดียวกันหรือในห้างหุ้นส่วนบริษัท ไม่เป็นที่ปรึกษาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือ ดำรงตำแหน่งใดในลักษณะเดียวกัน ทั้งต้องไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใด อันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฎิบัติหน้าที่ หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ แห่งตำแหน่งหน้าที่ของพนักงานอัยการ ซึ่งทันทีที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลบังคับใช้ อัยการคนใดที่เข้าไปเป็นบอร์ดในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ ต้องพ้นจากหน้าที่ทันที
ส่วนศาลรัฐธรรมนูญ กมธ. ยกร่างฯ เห็นควรให้คงไว้ตามเดิม และมีจำนวน 9 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา และได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวน 2คน จากเดิม 3 คน
(2) ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จำนวน 2 คน
(3) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ จำนวน 3 คน จากเดิม 2 คน โดยต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ด้านกฎหมายมหาชน อย่างน้อย 1 คน (4) ผู้ทรงคุณวุฒิ สาขารัฐศาสตร์ หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญการบริหารภาครัฐ หรือผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรที่มิใช่ภาครัฐ จำนวน 2 คน ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนี้ จะเป็นการเปิดกว้างให้ผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาอื่นเข้ามา เพื่อให้เกิดความหลากหลาย
สำหรับคณะกรรมการสรรหา ในเบื้องต้นวางไว้ 5 ประเภท ประกอบด้วย (1) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน ซึ่งเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 2 คน และเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด 2 คน (2) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน เลือกโดยพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล 1 คน และฝ่ายค้าน 1 คน (3) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน เลือกโดยคณบดีคณะนิติศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา (4) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน เลือกโดยคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษา ( 5 ) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน3 คน เลือกโดยวุฒิสภา สมัชชาพลเมือง ทางกมธ.ยกร่างฯ ขอแขวนไว้ อย่างไรก็ตาม ได้มีการแก้ไขว่า หากที่ประชุมวุฒิสภา ไม่เห็นชอบบุคคลที่คณะกรรมการสรรหาฯ เสนอ จะต้องส่งกลับไปเพื่อให้ดำเนินการเริ่มต้นสรรหาใหม่ จากเดิมที่มีการส่งชื่อกลับไป หากคณะกรรมการสรรหาฯยืนตามเดิม สามารถยื่นทูลเกล้าฯได้ทันที