วงสัมมนาประชุมเชิงปฏิบัติการวิสัยทัศน์ประเทศไทย สปช. มองภาพประเทศไทย 2575 มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน พร้อมวาง 4 ยุทธศาสตร์ เพื่อการขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม หลังจากที่เมื่อวันที่ 19 ม.ค.ที่ผ่านมา สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ( สปช.)ได้ระดมความเห็นในประเด็น สู่อนาคตประเทศไทย 2575 พร้อมกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของประเทศในการสัมมนา "ประชุมเชิงปฏิบัติการวิสัยทัศน์ประเทศไทย (VISION WORKSHOP) ณ ห้องราชเทวีแกรนด์บอลรูม โรงแรมเอเชีย กทม. ในวันนี้ ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของการสัมมนา วงสัมมนาได้สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดยุทธศาสตร์ และเป้าหมายการปฏิรูป โดยภาพประเทศไทย ปี 2575 ที่ต้องการเห็น คือ "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี ร่วมกันสร้างสถาบันหลัก และสังคมให้มีความเสมอภาคบนพื้นฐานของความปรองดอง การเมืองโปร่งใส น่าเชื่อถือ มีเสถียรภาพ ยั่งยืน ขณะที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ จะต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง แบ่งปัน และต้องแข่งขันได้ ทั้งนี้จะต้องสร้างสิ่งเหล่านี้ภายใน 20 ปี ซึ่งจะเห็นเป็นรูปธรรมได้ต้องอาศัยยุทธศาสตร์ 4 ด้าน คือ
1. สร้างคนไทยยุคใหม่ โดยการสร้างคุณลักษณะใหม่ สร้างความเป็นไทย สร้างคนไทยที่เป็นพลเมืองอาเซียนโลก
2. คืนความน่าอยู่ให้กับสังคมไทย สร้างและฟื้นฟูทุนทางสังคม (ครอบครัว ศาสนา วัฒนธรรม) สร้างสังคมเอื้ออาทร แบ่งปัน จัดระเบียบสังคม เคารพกฎหมาย ขับเคลื่อนโดยประชาชน ชุมชน
3. สร้างพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุดใหม่ มีความเป็นธรรม กระจายทั่วถึง มุ่งเศรฐกิจสีเขียว เช่น สิ่งแวดบ้อม ชีวภาพ ศูนย์ร่วมเน้นเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าอย่างแท้จริง
4. สร้างระบอบประชาธปิไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การพัฒนาในสาขายุทธศาสตร์ การเมืองโปร่งใส มีกลไกตรวจสอบได้ กระบวนการเข้าสู่อำนาจและการตรวจสอบ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ ประเด็นหลักที่แต่ละกลุ่มจะพิจารณานั้น แบงเป็น กลุ่ม 1. ระบบการเมือง การป้องกันการทุจริต ระบบธรรมาภิบาล กลุ่ม 2. การปกครองท้องถิ่นและการบริหารราชการแผ่นดิน กลุ่ม 3 . ระบบกฎหมาย กลุ่ม 4 . ระบบเศรษฐกิจ กลุ่ม 5 . การศึกษา การพัฒนาคุณภาพคน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ปัญหาของประเทศ กลุ่ม 6. ระบบสาธารณสุข ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่ม 7 . โครงสร้างสังคม ชุมชน การดูแลสวัสดิการของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ และการคุ้มครองผู้บริโภค กลุ่ม 8. โครงสร้างการสื่อสาร และศิลปวัฒนธรรม
**แนะสปช.จัดตารางเวลาปฏิรูปฯ
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ สมาชิก สปช. และประธานกมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า กรรมาธิการ ยกร่างรธน. ถูกเรียกว่าเป็น แม่น้ำสายที่ 5 แตกออกจาก สปช. เป็นแผนอินจัน แยกกันไม่ได้ ถ้าใครทำไม่เสร็จ ก็ตายร่วมกัน การร่างรัฐธรรมนูญขณะนี้ หมวดที่กำลังรอที่จะทำคือ หมวดปฏิรูป เช่น ระบบการศึกษา จะต้องมีการจ่ายค่ารายหัวให้เพียงพอ ไม่ใช่ให้กระทรวงศึกษาไปจัดการ และนำมาหักค่าหัวเยอะแยะเต็มไปหมด นักเรียนจะต้องถือคูปองไปเลือกโรงเรียนได้จริง ๆ แต่ก็ต้องคุ้มครองเด็กในชนบท ให้มีโอกาสได้ใช้จริง ๆ
ทั้งนี้ ถ้าจะให้ตนแสดงความคิดเห็นในฐานะ สปช. ตนคิดว่า 4 คำ ที่เราต้องคำนึงถึงคือ มั่นคง มั่นคง ยั่นยืน สันติสุข และนำไปแตกเป็นเรื่อง ๆ ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง และกำหนดเวลาทำให้เสร็จภายในกี่เดือน ซึ่งจะมีชิ้กซอว์ชิ้นตรงกลางเพื่อจัดการให้เสร็จสิ้น วันนี้เราต้องทำตารางงาน ตารางเวลาที่ชัดเจน เพราะถ้าเราทำไม่เสร็จ เราอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ประชุมกันไปเรื่อย ๆ เราไม่ใช่ ส.ส.หรือ ส.ว.ที่จะมีเวลา 3-4 ปีเพราะหลังจากนี้เราก็ต้องพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญอีก เกือบ 1 เดือนด้วย จากนี้ถึงวันที่ 6 สิงหาคม เรามีเวลาอีกแค่ 6 เดือน และหลัง 6 กันยายน ถ้าเขามีมติให้ทำประชามติ ทุกคนจะต้องวิ่งลงไปทั่วประเทศ เพราะฉะนั้นเราจะเดินไปเรื่อย ๆ แบบนี้ไม่ได้ ไม่เช่นนั้นเขาจะเรียกว่าเสียของ กรรมาธิการยกร่างฯต้องขออภัยด้วยที่ไม่สามารถรอได้อย่างที่ท่านเสนอ
ด้านนายเทียนฉาย กล่าวว่า ภาระหน้าที่ที่เรามาทำกัน 2 วันนี้ ตนได้คำตอบว่า อยากจะชี้ชวนให้สมาชิก สปช.ได้ทราบว่าตนคิดอย่างไร และถ้าจะคิดตรงกันได้ก็จะประหยัดเวลาไปอีกเยอะ ถึงเวลาที่เราจะต้องลดการพูดลงครึ่งหนึ่ง เปลี่ยนเป็นทำมากขึ้น คำถามก็คือ ทำอะไร และใครทำ หรือ HOW TO ซึ่งตนอยากให้เสร็จก่อน 6 เดือน ทั้งนี้ผลประชุมของวันนี้ให้นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมาธิการกิจการสภาฯในวันพรุ่งนี้ และเดินหน้าประชุมทันที ซึ่งจะทำให้สามารถนำเข้าที่ประชุม สปช.ทันวันจันทร์หน้า สิ่งที่สมาชิก สปช.เสนอกันขณะนี้ เป็นเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ไม่ต้องปฏิวัติก็สามารถทำได้
1. สร้างคนไทยยุคใหม่ โดยการสร้างคุณลักษณะใหม่ สร้างความเป็นไทย สร้างคนไทยที่เป็นพลเมืองอาเซียนโลก
2. คืนความน่าอยู่ให้กับสังคมไทย สร้างและฟื้นฟูทุนทางสังคม (ครอบครัว ศาสนา วัฒนธรรม) สร้างสังคมเอื้ออาทร แบ่งปัน จัดระเบียบสังคม เคารพกฎหมาย ขับเคลื่อนโดยประชาชน ชุมชน
3. สร้างพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุดใหม่ มีความเป็นธรรม กระจายทั่วถึง มุ่งเศรฐกิจสีเขียว เช่น สิ่งแวดบ้อม ชีวภาพ ศูนย์ร่วมเน้นเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าอย่างแท้จริง
4. สร้างระบอบประชาธปิไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การพัฒนาในสาขายุทธศาสตร์ การเมืองโปร่งใส มีกลไกตรวจสอบได้ กระบวนการเข้าสู่อำนาจและการตรวจสอบ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ ประเด็นหลักที่แต่ละกลุ่มจะพิจารณานั้น แบงเป็น กลุ่ม 1. ระบบการเมือง การป้องกันการทุจริต ระบบธรรมาภิบาล กลุ่ม 2. การปกครองท้องถิ่นและการบริหารราชการแผ่นดิน กลุ่ม 3 . ระบบกฎหมาย กลุ่ม 4 . ระบบเศรษฐกิจ กลุ่ม 5 . การศึกษา การพัฒนาคุณภาพคน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ปัญหาของประเทศ กลุ่ม 6. ระบบสาธารณสุข ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่ม 7 . โครงสร้างสังคม ชุมชน การดูแลสวัสดิการของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ และการคุ้มครองผู้บริโภค กลุ่ม 8. โครงสร้างการสื่อสาร และศิลปวัฒนธรรม
**แนะสปช.จัดตารางเวลาปฏิรูปฯ
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ สมาชิก สปช. และประธานกมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า กรรมาธิการ ยกร่างรธน. ถูกเรียกว่าเป็น แม่น้ำสายที่ 5 แตกออกจาก สปช. เป็นแผนอินจัน แยกกันไม่ได้ ถ้าใครทำไม่เสร็จ ก็ตายร่วมกัน การร่างรัฐธรรมนูญขณะนี้ หมวดที่กำลังรอที่จะทำคือ หมวดปฏิรูป เช่น ระบบการศึกษา จะต้องมีการจ่ายค่ารายหัวให้เพียงพอ ไม่ใช่ให้กระทรวงศึกษาไปจัดการ และนำมาหักค่าหัวเยอะแยะเต็มไปหมด นักเรียนจะต้องถือคูปองไปเลือกโรงเรียนได้จริง ๆ แต่ก็ต้องคุ้มครองเด็กในชนบท ให้มีโอกาสได้ใช้จริง ๆ
ทั้งนี้ ถ้าจะให้ตนแสดงความคิดเห็นในฐานะ สปช. ตนคิดว่า 4 คำ ที่เราต้องคำนึงถึงคือ มั่นคง มั่นคง ยั่นยืน สันติสุข และนำไปแตกเป็นเรื่อง ๆ ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง และกำหนดเวลาทำให้เสร็จภายในกี่เดือน ซึ่งจะมีชิ้กซอว์ชิ้นตรงกลางเพื่อจัดการให้เสร็จสิ้น วันนี้เราต้องทำตารางงาน ตารางเวลาที่ชัดเจน เพราะถ้าเราทำไม่เสร็จ เราอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ประชุมกันไปเรื่อย ๆ เราไม่ใช่ ส.ส.หรือ ส.ว.ที่จะมีเวลา 3-4 ปีเพราะหลังจากนี้เราก็ต้องพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญอีก เกือบ 1 เดือนด้วย จากนี้ถึงวันที่ 6 สิงหาคม เรามีเวลาอีกแค่ 6 เดือน และหลัง 6 กันยายน ถ้าเขามีมติให้ทำประชามติ ทุกคนจะต้องวิ่งลงไปทั่วประเทศ เพราะฉะนั้นเราจะเดินไปเรื่อย ๆ แบบนี้ไม่ได้ ไม่เช่นนั้นเขาจะเรียกว่าเสียของ กรรมาธิการยกร่างฯต้องขออภัยด้วยที่ไม่สามารถรอได้อย่างที่ท่านเสนอ
ด้านนายเทียนฉาย กล่าวว่า ภาระหน้าที่ที่เรามาทำกัน 2 วันนี้ ตนได้คำตอบว่า อยากจะชี้ชวนให้สมาชิก สปช.ได้ทราบว่าตนคิดอย่างไร และถ้าจะคิดตรงกันได้ก็จะประหยัดเวลาไปอีกเยอะ ถึงเวลาที่เราจะต้องลดการพูดลงครึ่งหนึ่ง เปลี่ยนเป็นทำมากขึ้น คำถามก็คือ ทำอะไร และใครทำ หรือ HOW TO ซึ่งตนอยากให้เสร็จก่อน 6 เดือน ทั้งนี้ผลประชุมของวันนี้ให้นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมาธิการกิจการสภาฯในวันพรุ่งนี้ และเดินหน้าประชุมทันที ซึ่งจะทำให้สามารถนำเข้าที่ประชุม สปช.ทันวันจันทร์หน้า สิ่งที่สมาชิก สปช.เสนอกันขณะนี้ เป็นเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ไม่ต้องปฏิวัติก็สามารถทำได้