ป้อมพระอาทิตย์
โดย โสภณ องค์การณ์
แนวทางการปฏิบัติของกลุ่มผู้มีอำนาจขีดเส้นกำหนดชะตากรรมบ้านเมืองเริ่มเห็นความไร้รูปแบบมาตรฐาน เหมือนเป็นสภาวะลมพัดลมเพ พวกมากลากไป นอกจากทิศทางไม่มุ่งสู่เป้าหมายคือการปกครองระบอบประชาธิปไตยแล้วยังสุ่มเสี่ยงต่อการนำพาบ้านเมืองเข้ารกเข้าพงสู่วิกฤตอีกด้วย
เรื่องพลังงานเป็นตัวอย่างเห็นชัด ขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทรุด ลงมาโดยตลอด จนราคาปัจจุบันต่ำกว่า 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลและแนวโน้มยังจะเป็นช่วงขาลงอาจถึง 40 เหรียญ แต่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปภายในประเทศกลับ ลดลงแบบลีลาอ้อยอิ่งด้วยข้ออ้างน่าขบขันปนน่าสมเพช
เจตนาที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายให้มากเรื่องคือ รัฐบาลและองค์กรควบคุมของรัฐเกรงว่าถ้าราคาน้ำมันในประเทศลดเร็วเกินไปจะทำให้บริษัทผู้ค้าน้ำมัน ขาดทุนกำไรมากเกินอาจเกิดปัญหา และอ้างหน้าตาเฉยว่าจะทำให้คนใช้น้ำมัน เยอะ ไม่ประหยัดต้องเพิ่มการนำเข้า เสียเงินตราต่างประเทศ
หนักข้อก็อ้างแบบไม่อายว่า ลดราคาเร็วไม่ได้เพราะยังมีน้ำมันราคาแพง ใน สต็อกเก่าเยอะ
เลิกใช้ข้ออ้างว่า “ต้องให้เป็นไปตามกลไกของตลาดโลก” เหมือนช่วงราคาน้ำมันขึ้นพรวดๆ สต็อกเก่าแต่มาขายในราคาใหม่ ช่วงข้ามคืนตีกินกำไร ขาลงปรับลงน้อยกว่าขาขึ้น มีนักวิชาการ ผู้รู้ แต่กินเงินเดือนบริษัทน้ำมัน เสนอหน้ามาอ้างกลไกโครงสร้างราคาว่าแตกต่างจากประเทศอื่นๆ
เรียกว่าเอาแต่ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง โดนซักหนักเข้าอธิบายจนลิ้นพันกัน ยกตรรกะเศรษฐศาสตร์การตลาดเพี้ยนๆ มาเถียง ทำเอาชาวบ้านอ้าปากค้าง เงินจากน้ำมันทำให้คนลืมหลักการความถูกต้อง ผลที่เห็นชัดคืออะไรที่ประชาชนควรได้นั้นมาล่าช้า กะปริบกะปรอย ผู้ค้าตีกินลาภลอยจนพุงปลิ้น
ล่าสุด ชาวบ้านได้เห็นพฤติกรรมของสาวกลัทธิเอาแต่ได้อีกครั้งเมื่อข้อเสนอของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารเปิดโอกาสให้บริษัทขุดเจาะสำรวจผลิตปิโตรเลียมยื่นขอสัมปทานครั้งที่ 21 ไม่เปลี่ยนเงื่อนไขผลประโยชน์ตอบแทน อัตราค่าภาคหลวง อ้างว่าต้องเร่งเพราะก๊าซหลุมปัจจุบันใกล้หมดแล้ว
นักวิชาการด้านปิโตรเลียมบางคนยังกล้าอ้างอีกว่าถ้ารัฐบาลเรียกร้องผลประโยชน์มากเกินไปจะขาดแรงจูงใจบริษัทน้ำมันต่างชาติจนไม่อยากเข้ามา กอบโกยความมั่งคั่งจากทรัพยากรของแผ่นดินไทย ถ้าแก้ไขกฎหมายและเงื่อนไขจะทำให้การคัดเลือกล่าช้า ทั้งๆ ที่ คสช. ออกประกาศเองได้
ความเป็นจริงคือ ก๊าซยังไม่หมด แต่สัมปทานหลุมผลิตปัจจุบันจะหมดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า พวกแอบได้ผลประโยชน์จากการทรัพย์สินแผ่นดินอยากให้ผู้รับสัมปทานได้ตีกินต่อไป สูบก๊าซและน้ำมันอีกโดยไม่ต้องลงทุนสำรวจขุดเจาะเพิ่มเติม โดยชาวบ้านยังต้องจ่ายเงินซื้อในราคาตลาดโลก
หลังจากมีเสียงคัดค้านจากคนรู้ทันบอกว่าต้องปฏิรูปก่อนเปิดให้สัมปทาน ท่านผู้มีอำนาจก็ต้องจำยอม บอกว่าให้กรรมาธิการพิจารณาเรื่องนี้ไปศึกษาแล้วให้ สปช. ตัดสินว่าจะเอาอย่างไร ช่วงนั้นไม่มีการล็อบบี้ มั่นใจว่าจะมีเสียงสนับสนุนพอ พวกขาใหญ่วงการปิโตรเลียมอยู่เต็มคณะกรรมาธิการ
เมื่อนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม สปช. ชุดใหญ่ต้นสัปดาห์ ปรากกผลการลงคะแนนคือ 130 เสียงไม่ยอมให้เปิดรับข้อเสนอตามที่กำหนดให้เสร็จภายใน18 กุมภาพันธ์ มี 79 เสียงและ 21 งดออกเสียง ผิดความคาดหมายอย่างเต็มบ้อง
สำหรับพวกดีดลูกคิดรางแก้วว่าลาภก้อนใหญ่รอเข้ากระเป๋า เมื่อผลโหวตผิดแผน เป็นปรากฏการณ์หงายเงิบ นักตีกินอ้าปากค้าง ต้องรอจังหวะใหม่
นักตีฝีปากจึงออกมาสร้างสมมติฐานใหม่ อ้างว่าพวกไม่เห็นด้วยอาจขาดข้อมูล ต้องป้อนข้อมูลหรือกล่อมใหม่อีกรอบ บางพวกแอบตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการตั้งป้อมเพื่อรอปัจจัยอะไรหรือไม่
ถ้าคิดมุมกลับ พวกที่โหวตให้เดินหน้าออกสัมปทานนั่นแหละอาจได้ข้อมูลไม่เพียงพอ ขาดความรักชาติหวงสมบัติแผ่นดิน หรือถูกโอ้โลมปฏิโลมโดยกลุ่มผลประโยชน์ให้เห็นดีเห็นงามด้วย เมื่อพวก 79 คนถูกนำรายชื่อมาตีแผ่ สังคมไม่แปลกใจเพราะรู้ดีว่าส่วนใหญ่ของพวกนั้นมีแนวคิดอย่างไร
ผลประโยชน์ของชาวบ้านมักไม่อยู่ในสายตาของคนพวกนี้ เป็นกลุ่มผู้มั่งคั่ง มีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าคนทั่วไป บางคนฉายแววเป็นนักต่อสู้กำมะลอ รอหาลาภสักการะจากกลุ่มทุนทุกยุค มีจุดยืนอยู่ข้างกลุ่มอำนาจขณะที่ปากก็อ้างถึงความมั่นคง ความจำเป็นต้องมีแหล่งพลังงานต่อเนื่อง
ก็ไม่มีใครว่าอะไร เพียงแต่ชาวบ้านติงว่าทำไมต้องรีบเอาแหล่งน้ำมัน และ ก๊าซประเคนให้บริษัทเอกชน โดยเฉพาะทุนใหญ่ข้ามชาติซึ่งมุ่งแต่กอบโกยผลประโยชน์จากทรัพย์สินแผ่นดินไทย ทำไมไม่ให้ ปตทสผ. เป็นผู้ถือสัมปทาน หรือตั้งบริษัทของประชาชนมาจัดการ
เมื่อหงายเงิบ นักตีฝีปากก็รีบออกมาจ้อว่า แม้ สปช. เสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย รัฐบาลไม่จำเป็นต้องว่าตามนั้น อาจเดินหน้าต่อไป แต่ดูผิดมารยาทไม่ฟังเสียงส่วนใหญ่ จึงน่าเกลียดมาก แต่ก็นั่นแหละ เรื่องผลประโยชน์มหาศาลจะมาคำนึงถึงเรื่องมากมารยาทไม่ได้ เดี๋ยวจะชวดเปิบเท่านั้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ และกลุ่มผลประโยชน์ยังคงอยากมุ่งหน้าหักดิบ ไม่สนใจเสียงส่วนใหญ่ของ สปช. เชื่อมั่นในอำนาจ ใครก็ขัดไม่ได้เมื่อบ้านเมืองยังอยู่ภายไต้กฎอัยการศึก ไร้แววว่าจะยกเลิก
คิดแบบหน้ามืดตามัว ไม่แยแสเสียงและความต้องการของประชาชน นี่แหละจะทำให้เจ๊ง!
ต่างชาติ นักลงทุนมองแล้วต้องคิดว่าการบริหารบ้านเมืองแบบนี้เข้าข่ายลมพัดลมเพ ไร้มาตรฐานแน่นอน ขาดหลักการชัดเจน ไม่ยอมรับเสียงส่วนใหญ่ ใช้อำนาจเป็นธรรม เป็นการไม่เคารพกฎหมายอีกด้วย แล้วจะหวังให้บ้านเมืองมีอนาคตสดใสมั่นคงได้อย่างไร
ผู้บริหารรัฐบาลซึ่งมีปัญหาความน่าเชื่อถือ จะอยู่ในสภาพเลวร้ายกว่าเดิม ไม่มีใครคบค้าด้วย
ช่วงนี้พวกกลุ่มผลประโยชน์กำลังแข่งกับเวลาคิกค้นหาตรรกะมาเป่าหูปั่นหัวชาวบ้านอีกรอบ เพื่อให้ สปช. ยอมรับว่าการออกสัมปทานใหม่เป็นภารกิจจำเป็นแม้ราคาน้ำมันมีแต่ลดราคา เหตุผลจะรับฟังได้หรือไม่ ไม่ใช่เป็นสิ่ง ที่น่ากังวล ผลประโยชน์ รายได้ที่จะหายไปสำคัญมากกว่า
ช่วงนี้ยิ่งมีเรื่องถอดถอนอดีต 2 ประธานสภาฯ 1 อดีตนายกฯ ชาวบ้านก็ยิ่งเพ่งเล็งหนักว่ามีสัญญาณการซูเอี๋ยเกี้ยเซียะอย่างที่ชาวบ้านสงสัยหรือไม่ ผลการโหวตของ สนช. จะเป็นข้อพิสูจน์
มีการสรุปแบบพิสดาร 2 ทิศทาง “ถ้าถอดถอนจะขัดกับหลักปรองดอง” และ “ถ้าไม่ถอดถอนเท่ากับนิรโทษกรรม” อย่างแรกคือพวกที่มองว่าทำผิดแค่ไหนไม่ต้องรับโทษเพื่อการลืมความหลัง ให้อยู่ร่วมกันต่อไป อย่างหลังมองว่าเป็นการนิรโทษกรรมแบบไม่เนียนของพวกนักตีกินโหยหาอำนาจ
อ๊ะ! จะง่ายเรอะเพราะยังมีพวกอยากอยู่ยาว ไม่อยากให้พวกเสือหิวกลุ่มใหม่เข้ามากินเมือง ยอมนั่งกันท่าอยู่ ผลงานไม่เข้าตาประชาชนก็จริง แต่น่าจะยังดีกว่าเสือหิวอำนาจไม่เจียมตัวรออยู่ข้างเวทีตอนนี้มั้ง และถ้าจะเอาแต่ได้แบบนี้ โปรดถามชาวบ้านก่อนนะว่าเค้าจะยอมหรือไม่
ระวังจะเพิ่มจำนวนคนไม่มีแผ่นดินอยู่ด้วย!
โดย โสภณ องค์การณ์
แนวทางการปฏิบัติของกลุ่มผู้มีอำนาจขีดเส้นกำหนดชะตากรรมบ้านเมืองเริ่มเห็นความไร้รูปแบบมาตรฐาน เหมือนเป็นสภาวะลมพัดลมเพ พวกมากลากไป นอกจากทิศทางไม่มุ่งสู่เป้าหมายคือการปกครองระบอบประชาธิปไตยแล้วยังสุ่มเสี่ยงต่อการนำพาบ้านเมืองเข้ารกเข้าพงสู่วิกฤตอีกด้วย
เรื่องพลังงานเป็นตัวอย่างเห็นชัด ขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทรุด ลงมาโดยตลอด จนราคาปัจจุบันต่ำกว่า 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลและแนวโน้มยังจะเป็นช่วงขาลงอาจถึง 40 เหรียญ แต่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปภายในประเทศกลับ ลดลงแบบลีลาอ้อยอิ่งด้วยข้ออ้างน่าขบขันปนน่าสมเพช
เจตนาที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายให้มากเรื่องคือ รัฐบาลและองค์กรควบคุมของรัฐเกรงว่าถ้าราคาน้ำมันในประเทศลดเร็วเกินไปจะทำให้บริษัทผู้ค้าน้ำมัน ขาดทุนกำไรมากเกินอาจเกิดปัญหา และอ้างหน้าตาเฉยว่าจะทำให้คนใช้น้ำมัน เยอะ ไม่ประหยัดต้องเพิ่มการนำเข้า เสียเงินตราต่างประเทศ
หนักข้อก็อ้างแบบไม่อายว่า ลดราคาเร็วไม่ได้เพราะยังมีน้ำมันราคาแพง ใน สต็อกเก่าเยอะ
เลิกใช้ข้ออ้างว่า “ต้องให้เป็นไปตามกลไกของตลาดโลก” เหมือนช่วงราคาน้ำมันขึ้นพรวดๆ สต็อกเก่าแต่มาขายในราคาใหม่ ช่วงข้ามคืนตีกินกำไร ขาลงปรับลงน้อยกว่าขาขึ้น มีนักวิชาการ ผู้รู้ แต่กินเงินเดือนบริษัทน้ำมัน เสนอหน้ามาอ้างกลไกโครงสร้างราคาว่าแตกต่างจากประเทศอื่นๆ
เรียกว่าเอาแต่ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง โดนซักหนักเข้าอธิบายจนลิ้นพันกัน ยกตรรกะเศรษฐศาสตร์การตลาดเพี้ยนๆ มาเถียง ทำเอาชาวบ้านอ้าปากค้าง เงินจากน้ำมันทำให้คนลืมหลักการความถูกต้อง ผลที่เห็นชัดคืออะไรที่ประชาชนควรได้นั้นมาล่าช้า กะปริบกะปรอย ผู้ค้าตีกินลาภลอยจนพุงปลิ้น
ล่าสุด ชาวบ้านได้เห็นพฤติกรรมของสาวกลัทธิเอาแต่ได้อีกครั้งเมื่อข้อเสนอของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารเปิดโอกาสให้บริษัทขุดเจาะสำรวจผลิตปิโตรเลียมยื่นขอสัมปทานครั้งที่ 21 ไม่เปลี่ยนเงื่อนไขผลประโยชน์ตอบแทน อัตราค่าภาคหลวง อ้างว่าต้องเร่งเพราะก๊าซหลุมปัจจุบันใกล้หมดแล้ว
นักวิชาการด้านปิโตรเลียมบางคนยังกล้าอ้างอีกว่าถ้ารัฐบาลเรียกร้องผลประโยชน์มากเกินไปจะขาดแรงจูงใจบริษัทน้ำมันต่างชาติจนไม่อยากเข้ามา กอบโกยความมั่งคั่งจากทรัพยากรของแผ่นดินไทย ถ้าแก้ไขกฎหมายและเงื่อนไขจะทำให้การคัดเลือกล่าช้า ทั้งๆ ที่ คสช. ออกประกาศเองได้
ความเป็นจริงคือ ก๊าซยังไม่หมด แต่สัมปทานหลุมผลิตปัจจุบันจะหมดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า พวกแอบได้ผลประโยชน์จากการทรัพย์สินแผ่นดินอยากให้ผู้รับสัมปทานได้ตีกินต่อไป สูบก๊าซและน้ำมันอีกโดยไม่ต้องลงทุนสำรวจขุดเจาะเพิ่มเติม โดยชาวบ้านยังต้องจ่ายเงินซื้อในราคาตลาดโลก
หลังจากมีเสียงคัดค้านจากคนรู้ทันบอกว่าต้องปฏิรูปก่อนเปิดให้สัมปทาน ท่านผู้มีอำนาจก็ต้องจำยอม บอกว่าให้กรรมาธิการพิจารณาเรื่องนี้ไปศึกษาแล้วให้ สปช. ตัดสินว่าจะเอาอย่างไร ช่วงนั้นไม่มีการล็อบบี้ มั่นใจว่าจะมีเสียงสนับสนุนพอ พวกขาใหญ่วงการปิโตรเลียมอยู่เต็มคณะกรรมาธิการ
เมื่อนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม สปช. ชุดใหญ่ต้นสัปดาห์ ปรากกผลการลงคะแนนคือ 130 เสียงไม่ยอมให้เปิดรับข้อเสนอตามที่กำหนดให้เสร็จภายใน18 กุมภาพันธ์ มี 79 เสียงและ 21 งดออกเสียง ผิดความคาดหมายอย่างเต็มบ้อง
สำหรับพวกดีดลูกคิดรางแก้วว่าลาภก้อนใหญ่รอเข้ากระเป๋า เมื่อผลโหวตผิดแผน เป็นปรากฏการณ์หงายเงิบ นักตีกินอ้าปากค้าง ต้องรอจังหวะใหม่
นักตีฝีปากจึงออกมาสร้างสมมติฐานใหม่ อ้างว่าพวกไม่เห็นด้วยอาจขาดข้อมูล ต้องป้อนข้อมูลหรือกล่อมใหม่อีกรอบ บางพวกแอบตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการตั้งป้อมเพื่อรอปัจจัยอะไรหรือไม่
ถ้าคิดมุมกลับ พวกที่โหวตให้เดินหน้าออกสัมปทานนั่นแหละอาจได้ข้อมูลไม่เพียงพอ ขาดความรักชาติหวงสมบัติแผ่นดิน หรือถูกโอ้โลมปฏิโลมโดยกลุ่มผลประโยชน์ให้เห็นดีเห็นงามด้วย เมื่อพวก 79 คนถูกนำรายชื่อมาตีแผ่ สังคมไม่แปลกใจเพราะรู้ดีว่าส่วนใหญ่ของพวกนั้นมีแนวคิดอย่างไร
ผลประโยชน์ของชาวบ้านมักไม่อยู่ในสายตาของคนพวกนี้ เป็นกลุ่มผู้มั่งคั่ง มีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าคนทั่วไป บางคนฉายแววเป็นนักต่อสู้กำมะลอ รอหาลาภสักการะจากกลุ่มทุนทุกยุค มีจุดยืนอยู่ข้างกลุ่มอำนาจขณะที่ปากก็อ้างถึงความมั่นคง ความจำเป็นต้องมีแหล่งพลังงานต่อเนื่อง
ก็ไม่มีใครว่าอะไร เพียงแต่ชาวบ้านติงว่าทำไมต้องรีบเอาแหล่งน้ำมัน และ ก๊าซประเคนให้บริษัทเอกชน โดยเฉพาะทุนใหญ่ข้ามชาติซึ่งมุ่งแต่กอบโกยผลประโยชน์จากทรัพย์สินแผ่นดินไทย ทำไมไม่ให้ ปตทสผ. เป็นผู้ถือสัมปทาน หรือตั้งบริษัทของประชาชนมาจัดการ
เมื่อหงายเงิบ นักตีฝีปากก็รีบออกมาจ้อว่า แม้ สปช. เสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย รัฐบาลไม่จำเป็นต้องว่าตามนั้น อาจเดินหน้าต่อไป แต่ดูผิดมารยาทไม่ฟังเสียงส่วนใหญ่ จึงน่าเกลียดมาก แต่ก็นั่นแหละ เรื่องผลประโยชน์มหาศาลจะมาคำนึงถึงเรื่องมากมารยาทไม่ได้ เดี๋ยวจะชวดเปิบเท่านั้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ และกลุ่มผลประโยชน์ยังคงอยากมุ่งหน้าหักดิบ ไม่สนใจเสียงส่วนใหญ่ของ สปช. เชื่อมั่นในอำนาจ ใครก็ขัดไม่ได้เมื่อบ้านเมืองยังอยู่ภายไต้กฎอัยการศึก ไร้แววว่าจะยกเลิก
คิดแบบหน้ามืดตามัว ไม่แยแสเสียงและความต้องการของประชาชน นี่แหละจะทำให้เจ๊ง!
ต่างชาติ นักลงทุนมองแล้วต้องคิดว่าการบริหารบ้านเมืองแบบนี้เข้าข่ายลมพัดลมเพ ไร้มาตรฐานแน่นอน ขาดหลักการชัดเจน ไม่ยอมรับเสียงส่วนใหญ่ ใช้อำนาจเป็นธรรม เป็นการไม่เคารพกฎหมายอีกด้วย แล้วจะหวังให้บ้านเมืองมีอนาคตสดใสมั่นคงได้อย่างไร
ผู้บริหารรัฐบาลซึ่งมีปัญหาความน่าเชื่อถือ จะอยู่ในสภาพเลวร้ายกว่าเดิม ไม่มีใครคบค้าด้วย
ช่วงนี้พวกกลุ่มผลประโยชน์กำลังแข่งกับเวลาคิกค้นหาตรรกะมาเป่าหูปั่นหัวชาวบ้านอีกรอบ เพื่อให้ สปช. ยอมรับว่าการออกสัมปทานใหม่เป็นภารกิจจำเป็นแม้ราคาน้ำมันมีแต่ลดราคา เหตุผลจะรับฟังได้หรือไม่ ไม่ใช่เป็นสิ่ง ที่น่ากังวล ผลประโยชน์ รายได้ที่จะหายไปสำคัญมากกว่า
ช่วงนี้ยิ่งมีเรื่องถอดถอนอดีต 2 ประธานสภาฯ 1 อดีตนายกฯ ชาวบ้านก็ยิ่งเพ่งเล็งหนักว่ามีสัญญาณการซูเอี๋ยเกี้ยเซียะอย่างที่ชาวบ้านสงสัยหรือไม่ ผลการโหวตของ สนช. จะเป็นข้อพิสูจน์
มีการสรุปแบบพิสดาร 2 ทิศทาง “ถ้าถอดถอนจะขัดกับหลักปรองดอง” และ “ถ้าไม่ถอดถอนเท่ากับนิรโทษกรรม” อย่างแรกคือพวกที่มองว่าทำผิดแค่ไหนไม่ต้องรับโทษเพื่อการลืมความหลัง ให้อยู่ร่วมกันต่อไป อย่างหลังมองว่าเป็นการนิรโทษกรรมแบบไม่เนียนของพวกนักตีกินโหยหาอำนาจ
อ๊ะ! จะง่ายเรอะเพราะยังมีพวกอยากอยู่ยาว ไม่อยากให้พวกเสือหิวกลุ่มใหม่เข้ามากินเมือง ยอมนั่งกันท่าอยู่ ผลงานไม่เข้าตาประชาชนก็จริง แต่น่าจะยังดีกว่าเสือหิวอำนาจไม่เจียมตัวรออยู่ข้างเวทีตอนนี้มั้ง และถ้าจะเอาแต่ได้แบบนี้ โปรดถามชาวบ้านก่อนนะว่าเค้าจะยอมหรือไม่
ระวังจะเพิ่มจำนวนคนไม่มีแผ่นดินอยู่ด้วย!