ASTVผู้จัดการรายวัน-นักระบาดยังมึน หาต้นตอ "เชื้ออหิวาต์เทียม" ปนเปื้อนเลือดไก่ไม่ได้ เหตุปกติพบในอาหารทะเล ระบุถือเป็นการค้นพบครั้งแรกของโลกที่ปนเปื้อนในเลือดไก่ สืบสาวพบปนเปื้อนทุกระดับตั้งแต่ตลาดขาย การขนส่ง ถึงโรงเชือด อึ้ง! โรงงานต้มเลือดไก่ไม่สุก และยังใช้น้ำเกลือขนส่ง ทำเชื้อยิ่งเติบโต
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) เปิดเผยถึงกรณีตรวจเจอเชื้ออหิวาต์เทียมหรือเชื้อวิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus) ในเลือดไก่ ซึ่งนำมาทำข้าวมันไก่ ว่า เชื้ออหิวาต์เทียมพบเฉพาะในเลือดไก่เท่านั้น แต่ยืนยันว่ายังสามารถรับประทานข้าวมันไก่ เนื้อไก่ และเลือดไก่ได้ แต่เลือดไก่ต้องทำให้สุก ผ่านการต้มอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 75 องศาเซลเซียส นาน 15 นาที แต่ปัญหา คือ เลือดไก่ที่วางขายตามท้องตลาด ประชาชนมักเข้าใจว่าถูกทำให้สุกมาแล้ว ประกอบกับต้องการรับประทานเลือดที่มีลักษณะนิ่ม จึงไม่นิยมนำไปต้มซ้ำอีกครั้ง จึงทำให้ได้รับเชื้อได้ จึงควรนำไปต้มซ้ำให้สุกก่อนบริโภคทุกครั้ง
ส่วนผู้ขายต้องปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร เช่น มือเป็นแผลไม่ควรสับไก่ขาย ไม่ทิ้งวัตถุดิบให้ค้างมื้อ แยกเขียงกับมีดสำหรับหั่นเลือดไก่ต่างหาก ส่วนการสับไก่ต้มเพื่อเสิร์ฟขึ้นโต๊ะ ต้องใส่ถุงมือพลาสติก เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการประสานความร่วมมือไปยังกรมปศุสัตว์ พบว่า ได้ดำเนินการสั่งปิดโรงงานที่ตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อในเลือดไก่แล้ว 1 แห่ง และมีการสุ่มตรวจอีก 27 แห่ง ส่วนร้านค้าข้าวมันไก่ จะประสานกรมอนามัยเข้าไปแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขลักษณะ การปรุงที่ถูกวิธี
“ปกติเชื้ออหิวาต์เทียมจะอยู่ในสิ่งแวดล้อม โดยชอบอยู่ในน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย ส่วนใหญ่จึงพบการปนเปื้อนในหอย กุ้ง เช่น หอยแครง หอยแมลงภู่ ที่ลวกไม่สุก การที่เชื้อนี้จะมาปนเปื้อนในไก่ จึงไม่ใช่เรื่องง่าย นับเป็นครั้งแรกของโลกที่สอบสวนและตรวจสอบแล้วพบว่า มีการปนเปื้อนเชื้อนี้ในเลือดไก่ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบต่อไปว่าเชื้อนี้มาปนเปื้อนในเลือดไก่ได้อย่างไร”
พญ.ดารินทร์ อารีย์โชคชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านเวชกรรมป้องกันสาขาระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า การตรวจสอบพบเรื่องนี้มาจากการสอบสวนโรคกรณีนักเรียนท้องเสียเข้าโรงพยาบาลในหลายพื้นที่ภาคเหนือ โดยพบว่าเกิดจากสาเหตุซ้ำๆ คือ การรับประทานข้าวมันไก่ จึงสอบสวนโรคจนพบเชื้ออหิวาต์เทียมปนเปื้อนในเลือดไก่ที่นำมาทำข้าวมันไก่ จึงสอบสวนต่อไปยังร้านค้าในตลาดที่ขายเลือดเก่า รถที่ขนส่ง และโรงงานผลิตก็ล้วนพบเชื้อนี้ทั้งสิ้น โดยที่โรงงานพบทั้งในเลือดที่ต้มสุกแล้วและเลือดสดๆ ดิบๆ ที่ใช้รางรองรับจากคอไก่ เท่ากับว่าเลือดไก่มีการปนเปื้อนเชื้อนี้ตั้งแต่เป็นเลือดดิบ แต่ยังไม่ทราบว่าเชื้ออหิวาต์เทียมมาปนเลือดไก่ได้อย่างไร อยู่ระหว่างการสอบสวนโรคร่วมกับกรมปศุสัตว์ เพราะปกติเชื้อชนิดนี้จะพบในอาหารทะเล
"จากการตรวจสอบที่โรงงาน พบว่าการต้มเลือดไก่ใช้อุณหภูมิ 70-80 องศาเซลเซียส ใช้เวลาสั้นๆ ทำให้สุกไม่ถึงใจกลางก้อนเลือดไก่ เชื้อที่ปนเปื้อนมาจึงยังคงอยู่ในเลือดไก่ ประกอบกับขั้นตอนการขนส่ง จะเก็บเลือดในน้ำเกลือ ซึ่งเป็นลักษณะสภาพแวดล้อมที่เชื้อชนิดนี้ชอบ คือ มีความเค็ม ทำให้เชื้อที่หลงเหลืออยู่เติบโตเพิ่มจำนวนมากขึ้นอีกได้ เมื่อประชาชนซื้อไปรับประทานแล้วไม่ต้มซ้ำให้สุก จึงมีโอกาสได้รับเชื้อ" พญ.ดารินทร์ กล่าว
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า เชื้ออหิวาต์เทียม อยู่ในกลุ่มเดียวกับเชื้ออหิวาตกโรค หรือวิบริโอ คลอเรลลา (Vibrio Cholera) ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์ มีความรุนแรงน้อยกว่ามาก โดยจะทำให้เกิดอาการป่วย อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว อาจมีไข้หรืออาการอื่นๆ ร่วมด้วย โดยอาการจะดีขึ้นได้เองภายใน 3 วัน มีอัตราเสียชีวิตน้อยกว่า 1 ต่อ 1,000
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) เปิดเผยถึงกรณีตรวจเจอเชื้ออหิวาต์เทียมหรือเชื้อวิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus) ในเลือดไก่ ซึ่งนำมาทำข้าวมันไก่ ว่า เชื้ออหิวาต์เทียมพบเฉพาะในเลือดไก่เท่านั้น แต่ยืนยันว่ายังสามารถรับประทานข้าวมันไก่ เนื้อไก่ และเลือดไก่ได้ แต่เลือดไก่ต้องทำให้สุก ผ่านการต้มอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 75 องศาเซลเซียส นาน 15 นาที แต่ปัญหา คือ เลือดไก่ที่วางขายตามท้องตลาด ประชาชนมักเข้าใจว่าถูกทำให้สุกมาแล้ว ประกอบกับต้องการรับประทานเลือดที่มีลักษณะนิ่ม จึงไม่นิยมนำไปต้มซ้ำอีกครั้ง จึงทำให้ได้รับเชื้อได้ จึงควรนำไปต้มซ้ำให้สุกก่อนบริโภคทุกครั้ง
ส่วนผู้ขายต้องปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร เช่น มือเป็นแผลไม่ควรสับไก่ขาย ไม่ทิ้งวัตถุดิบให้ค้างมื้อ แยกเขียงกับมีดสำหรับหั่นเลือดไก่ต่างหาก ส่วนการสับไก่ต้มเพื่อเสิร์ฟขึ้นโต๊ะ ต้องใส่ถุงมือพลาสติก เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการประสานความร่วมมือไปยังกรมปศุสัตว์ พบว่า ได้ดำเนินการสั่งปิดโรงงานที่ตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อในเลือดไก่แล้ว 1 แห่ง และมีการสุ่มตรวจอีก 27 แห่ง ส่วนร้านค้าข้าวมันไก่ จะประสานกรมอนามัยเข้าไปแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขลักษณะ การปรุงที่ถูกวิธี
“ปกติเชื้ออหิวาต์เทียมจะอยู่ในสิ่งแวดล้อม โดยชอบอยู่ในน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย ส่วนใหญ่จึงพบการปนเปื้อนในหอย กุ้ง เช่น หอยแครง หอยแมลงภู่ ที่ลวกไม่สุก การที่เชื้อนี้จะมาปนเปื้อนในไก่ จึงไม่ใช่เรื่องง่าย นับเป็นครั้งแรกของโลกที่สอบสวนและตรวจสอบแล้วพบว่า มีการปนเปื้อนเชื้อนี้ในเลือดไก่ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบต่อไปว่าเชื้อนี้มาปนเปื้อนในเลือดไก่ได้อย่างไร”
พญ.ดารินทร์ อารีย์โชคชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านเวชกรรมป้องกันสาขาระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า การตรวจสอบพบเรื่องนี้มาจากการสอบสวนโรคกรณีนักเรียนท้องเสียเข้าโรงพยาบาลในหลายพื้นที่ภาคเหนือ โดยพบว่าเกิดจากสาเหตุซ้ำๆ คือ การรับประทานข้าวมันไก่ จึงสอบสวนโรคจนพบเชื้ออหิวาต์เทียมปนเปื้อนในเลือดไก่ที่นำมาทำข้าวมันไก่ จึงสอบสวนต่อไปยังร้านค้าในตลาดที่ขายเลือดเก่า รถที่ขนส่ง และโรงงานผลิตก็ล้วนพบเชื้อนี้ทั้งสิ้น โดยที่โรงงานพบทั้งในเลือดที่ต้มสุกแล้วและเลือดสดๆ ดิบๆ ที่ใช้รางรองรับจากคอไก่ เท่ากับว่าเลือดไก่มีการปนเปื้อนเชื้อนี้ตั้งแต่เป็นเลือดดิบ แต่ยังไม่ทราบว่าเชื้ออหิวาต์เทียมมาปนเลือดไก่ได้อย่างไร อยู่ระหว่างการสอบสวนโรคร่วมกับกรมปศุสัตว์ เพราะปกติเชื้อชนิดนี้จะพบในอาหารทะเล
"จากการตรวจสอบที่โรงงาน พบว่าการต้มเลือดไก่ใช้อุณหภูมิ 70-80 องศาเซลเซียส ใช้เวลาสั้นๆ ทำให้สุกไม่ถึงใจกลางก้อนเลือดไก่ เชื้อที่ปนเปื้อนมาจึงยังคงอยู่ในเลือดไก่ ประกอบกับขั้นตอนการขนส่ง จะเก็บเลือดในน้ำเกลือ ซึ่งเป็นลักษณะสภาพแวดล้อมที่เชื้อชนิดนี้ชอบ คือ มีความเค็ม ทำให้เชื้อที่หลงเหลืออยู่เติบโตเพิ่มจำนวนมากขึ้นอีกได้ เมื่อประชาชนซื้อไปรับประทานแล้วไม่ต้มซ้ำให้สุก จึงมีโอกาสได้รับเชื้อ" พญ.ดารินทร์ กล่าว
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า เชื้ออหิวาต์เทียม อยู่ในกลุ่มเดียวกับเชื้ออหิวาตกโรค หรือวิบริโอ คลอเรลลา (Vibrio Cholera) ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์ มีความรุนแรงน้อยกว่ามาก โดยจะทำให้เกิดอาการป่วย อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว อาจมีไข้หรืออาการอื่นๆ ร่วมด้วย โดยอาการจะดีขึ้นได้เองภายใน 3 วัน มีอัตราเสียชีวิตน้อยกว่า 1 ต่อ 1,000