**การเข้าแจ้งความต่อกองปราบปรามของ ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เพื่อดำเนินคดีกับคู่สัญญาในโครงการรับจำนำข้าว จากกรณีข้าวที่ตรวจสอบแล้วคุณภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด
โดยมีการดำเนินคดีกับคู่สัญญาในส่วนความรับผิดชอบของ อคส. สังกัดกระทรวงพาณิชย์ 77 ราย มีข้าวเสียหายปริมาณ 3.6 ล้านตัน มูลค่าความเสียหายตามราคาตลาด 65,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 12 มกราคมที่ผ่านมา
**เป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่ตอกย้ำว่า โครงการจำนำข้าว ที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไปจีบปากจีบคอแถลงต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า “โครงการจำนำข้าวชาวนาได้ประโยชน์ประเทศชาติไม่เสียหาย”นั้น เป็น“ความเท็จ”
ข้อมูลล่าสุดที่ปรากฏจากกระทรวงพาณิชย์ครั้งนี้ ทำให้ยอดการขาดทุนจำนำข้าวจากการบริหารของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่กระทรวงการคลัง เคยสรุปไว้ที่ 5.18 แสนล้านบาทนั้นต้องบวกเพิ่มขึ้นอีก 65,000 ล้านบาท เท่ากับตัวเลขกลมๆ ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำเจ๊งจากโครงการจำนำข้าว ซึ่งมีการยืนยันจากทางราชการแล้วคือ 583,000 ล้านบาท
ในขณะเดียวกันตัวเลขดังกล่าวก็ยังไม่ใช่บทสรุปสุดท้ายของการขาดทุนมหาศาลที่เกิดจากโครงการจำนำข้าว เนื่องจากผลสรุปของกระทรวงการคลัง เป็นการปิดบัญชีโครงการจำนำข้าวเพียงแค่ 4 ฤดูกาล ในขณะที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ดำเนินโครงการจำนำข้าว 5 ฤดูกาล จึงเหลืออีก 1 ฤดูกาล ที่กระทรวงการคลังยังไม่ได้นำมาคำนวณ
**ดังนั้น หากจะคิดมูลค่าความเสียหายจากผลขาดทุนจำนำข้าวจึงควรจะใช้ตัวเลขการศึกษาของ ทีดีอาร์ไอ ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลจนถึงรายงานผลการตรวจโกดังข้าวทั่วประเทศของ คสช.ที่ระบุว่ามีข้าวหาย 1.2 แสนตัน มีข้าวดีเพียง 15 % อีก 85 % เป็นข้าวที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน โดยมีการคำนวณผลขาดทุนทั้งหมดอยู่ที่ตัวเลข 6.6 แสนล้านบาท
แต่น่าเสียดายที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ไม่ค่อยจริงจังที่จะทำความจริงให้ปรากฏ ว่าแท้จริงแล้วโครงการจำนำข้าวในยุคยิ่งลักษณ์ ผลาญเงินชาติจนประเทศเกือบจะต้องประสบกับหายนะทางการเงินอย่างไร
เพราะการสรุปตัวเลขของกระทรวงการคลังที่ผ่านมา ไม่ได้บอกข้อมูลว่า 5 ฤดูกาลที่ยิ่งลักษณ์ทำจำนำข้าว เป็นเวลา 2 ปีเศษนั้น ใช้เงินทั้งหมดเท่าไหร่กันแน่ เนื่องจากขณะนี้มีการเปิดเผยตัวเลขที่แตกต่างกัน
ทีดีอาร์ไอระบุในผลการศึกษาว่าโครงการจำนำข้าว 5 ฤดูกาลของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีการจำนำข้าวเปลือกรวม 54.35 ล้านตัน ค่าใช้จ่ายรวม 9.85 แสนล้านบาท เป็นเงินซื้อข้าว 8.57 แสนล้านบาท แต่ นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีต รมว.พาณิชย์ ออกมาระบุว่า ใช้เงินทั้งหมด 8.6 แสนล้านบาท ขาดทุน 3.8 แสนล้านบาท
จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ที่ต้องปิดบัญชีโครงการจำนำข้าวให้ชัดเจน ไม่ใช่ทำแบบกล้าๆ กลัวๆ เหมือนที่กระทรวงการคลังดำเนินการไป โดยการเหมารวมจำนำข้าวในอดีต ตั้งแต่ปี 2547-22 พ.ค. 57 รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 1.05 ล้านล้านบาท ทำให้ไม่เห็นตัวเลขที่แท้จริงที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ใช้ ว่ามหาศาลแค่ไหน
นอกจากนี้ เมื่อพบว่าข้าวในโกดังมีปัญหารัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ก็ไม่มีการแจกแจงว่าเสียหายอย่างไร ใครต้องรับผิดชอบ แต่กลับใช้วิธีการงุบงิบข้อมูล ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ แล้วตัดความรับผิดชอบด้วยการให้กระทรวงพาณิชย์ไปแจ้งความดำเนินคดีกับเอกชนที่เป็นคู่สัญญากับ อคส. แทน
**สิ่งที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ จึงเป็นเพียงแค่การสร้างภาพเสมือนว่าเอาจริงเอาจังกับการปราบปรามการทุจริตที่เกิดในโครงการจำนำข้าว แต่ความจริงเป็นการตัดตอนการทุจริตว่า อยู่ในขั้นตอนการปฏิบัติ ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากนโยบาย เข้าทางที่ ยิ่งลักษณ์ ยืนกรานมาโดยตลอดว่าระดับนโยบายไม่มีปัญหา แต่มีปัญหาจากระดับปฏิบัติ ซึ่งไม่เป็นธรรมที่จะให้นายกรัฐมนตรีต้องไปรับผิดชอบกับปัญหาดังกล่าว
ที่น่าสนใจคือ ความเสียหายครั้งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของ อคส. ทั้งหมด เพราะเป็นการแจ้งความดำเนินคดีกับคู่สัญญาของอคส. แต่กระทรวงพาณิชย์ กลับไม่มีการเปิดเผยว่า มีการตั้งกรรมการสอบสวนผู้บริหารของอคส.หรือไม่ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่การทำสัญญา 77 ฉบับของอคส. ที่สร้างความเสียหายถึง 65,000 ล้านบาทนั้น จะไม่มีผู้บริหาร อคส.รายใดรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเลย
อีกทั้งยังไม่มีการตรวจสอบให้ชัดเจนว่า การทำสัญญาดังกล่าวมีการเอื้อประโยชน์กับเอกชนที่ทำสัญญาหรือไม่ และเอกชนเหล่านั้น มีความเชื่อมโยงอย่างไรกับผู้มีอำนาจหรือเปล่า จึงได้ทำสัญญากับ อคส.
ที่ผ่านมา อคส.เป็นถังข้าวสารที่ผู้มีอำนาจล้วงผลประโยชน์มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการทำโครงการจำนำข้าวในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งพบว่ามีความเสียหายในการบริหารโครงการมาโดยตลอด และยังมีพฤติกรรมปกปิดข้อมูลตัวเลขสต๊อกในโกดังข้าว จนส่งผลกระทบต่อการปิดบัญชีโครงการนี้ด้วย แต่ผู้บริหาร อคส.ก็ไม่เคยถูกดำเนินคดีแต่อย่างใด
แม้ในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ก็ใช้วิธีการให้ ชนุตร์ปกรณ์ วงศ์สีนิล ผอ.อคส. ลาออก ด้วยเหตุผลว่ามีปัญหาสุขภาพ โดยไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการบริหารผิดพลาด หรือการทุจริตมาเกี่ยวข้อง ทั้งที่ความเสียหายจากโครงการจำนำข้าว ล่าสุด จากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ ที่ไปแจ้งความดำเนินคดีกับเอกชนที่ทำสัญญากับ อคส.มีมูลค่าสูงถึง 65,000 ล้านบาท
ท่วงท่าการบริหารของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ที่ปราบปรามการทุจริตแค่คำพูด ปล่อยคนทุจริตลอยนวลในทางปฏิบัติ สะท้อนชัดว่าการถอดถอนนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่น่าจะมีการลงมติใน สนช.ภายในเดือนมกราคมนี้ ไม่มีอะไรให้หวัง
** เพราะการนิรโทษกรรมเริ่มขึ้นตั้งแต่การฉีกรัฐธรรมนูญปี 50 โดยไม่มีการบัญญัติมาตราที่เกี่ยวข้องกับการถอดถอนมาทดแทนในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 แล้ว
โดยมีการดำเนินคดีกับคู่สัญญาในส่วนความรับผิดชอบของ อคส. สังกัดกระทรวงพาณิชย์ 77 ราย มีข้าวเสียหายปริมาณ 3.6 ล้านตัน มูลค่าความเสียหายตามราคาตลาด 65,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 12 มกราคมที่ผ่านมา
**เป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่ตอกย้ำว่า โครงการจำนำข้าว ที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไปจีบปากจีบคอแถลงต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า “โครงการจำนำข้าวชาวนาได้ประโยชน์ประเทศชาติไม่เสียหาย”นั้น เป็น“ความเท็จ”
ข้อมูลล่าสุดที่ปรากฏจากกระทรวงพาณิชย์ครั้งนี้ ทำให้ยอดการขาดทุนจำนำข้าวจากการบริหารของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่กระทรวงการคลัง เคยสรุปไว้ที่ 5.18 แสนล้านบาทนั้นต้องบวกเพิ่มขึ้นอีก 65,000 ล้านบาท เท่ากับตัวเลขกลมๆ ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำเจ๊งจากโครงการจำนำข้าว ซึ่งมีการยืนยันจากทางราชการแล้วคือ 583,000 ล้านบาท
ในขณะเดียวกันตัวเลขดังกล่าวก็ยังไม่ใช่บทสรุปสุดท้ายของการขาดทุนมหาศาลที่เกิดจากโครงการจำนำข้าว เนื่องจากผลสรุปของกระทรวงการคลัง เป็นการปิดบัญชีโครงการจำนำข้าวเพียงแค่ 4 ฤดูกาล ในขณะที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ดำเนินโครงการจำนำข้าว 5 ฤดูกาล จึงเหลืออีก 1 ฤดูกาล ที่กระทรวงการคลังยังไม่ได้นำมาคำนวณ
**ดังนั้น หากจะคิดมูลค่าความเสียหายจากผลขาดทุนจำนำข้าวจึงควรจะใช้ตัวเลขการศึกษาของ ทีดีอาร์ไอ ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลจนถึงรายงานผลการตรวจโกดังข้าวทั่วประเทศของ คสช.ที่ระบุว่ามีข้าวหาย 1.2 แสนตัน มีข้าวดีเพียง 15 % อีก 85 % เป็นข้าวที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน โดยมีการคำนวณผลขาดทุนทั้งหมดอยู่ที่ตัวเลข 6.6 แสนล้านบาท
แต่น่าเสียดายที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ไม่ค่อยจริงจังที่จะทำความจริงให้ปรากฏ ว่าแท้จริงแล้วโครงการจำนำข้าวในยุคยิ่งลักษณ์ ผลาญเงินชาติจนประเทศเกือบจะต้องประสบกับหายนะทางการเงินอย่างไร
เพราะการสรุปตัวเลขของกระทรวงการคลังที่ผ่านมา ไม่ได้บอกข้อมูลว่า 5 ฤดูกาลที่ยิ่งลักษณ์ทำจำนำข้าว เป็นเวลา 2 ปีเศษนั้น ใช้เงินทั้งหมดเท่าไหร่กันแน่ เนื่องจากขณะนี้มีการเปิดเผยตัวเลขที่แตกต่างกัน
ทีดีอาร์ไอระบุในผลการศึกษาว่าโครงการจำนำข้าว 5 ฤดูกาลของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีการจำนำข้าวเปลือกรวม 54.35 ล้านตัน ค่าใช้จ่ายรวม 9.85 แสนล้านบาท เป็นเงินซื้อข้าว 8.57 แสนล้านบาท แต่ นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีต รมว.พาณิชย์ ออกมาระบุว่า ใช้เงินทั้งหมด 8.6 แสนล้านบาท ขาดทุน 3.8 แสนล้านบาท
จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ที่ต้องปิดบัญชีโครงการจำนำข้าวให้ชัดเจน ไม่ใช่ทำแบบกล้าๆ กลัวๆ เหมือนที่กระทรวงการคลังดำเนินการไป โดยการเหมารวมจำนำข้าวในอดีต ตั้งแต่ปี 2547-22 พ.ค. 57 รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 1.05 ล้านล้านบาท ทำให้ไม่เห็นตัวเลขที่แท้จริงที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ใช้ ว่ามหาศาลแค่ไหน
นอกจากนี้ เมื่อพบว่าข้าวในโกดังมีปัญหารัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ก็ไม่มีการแจกแจงว่าเสียหายอย่างไร ใครต้องรับผิดชอบ แต่กลับใช้วิธีการงุบงิบข้อมูล ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ แล้วตัดความรับผิดชอบด้วยการให้กระทรวงพาณิชย์ไปแจ้งความดำเนินคดีกับเอกชนที่เป็นคู่สัญญากับ อคส. แทน
**สิ่งที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ จึงเป็นเพียงแค่การสร้างภาพเสมือนว่าเอาจริงเอาจังกับการปราบปรามการทุจริตที่เกิดในโครงการจำนำข้าว แต่ความจริงเป็นการตัดตอนการทุจริตว่า อยู่ในขั้นตอนการปฏิบัติ ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากนโยบาย เข้าทางที่ ยิ่งลักษณ์ ยืนกรานมาโดยตลอดว่าระดับนโยบายไม่มีปัญหา แต่มีปัญหาจากระดับปฏิบัติ ซึ่งไม่เป็นธรรมที่จะให้นายกรัฐมนตรีต้องไปรับผิดชอบกับปัญหาดังกล่าว
ที่น่าสนใจคือ ความเสียหายครั้งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของ อคส. ทั้งหมด เพราะเป็นการแจ้งความดำเนินคดีกับคู่สัญญาของอคส. แต่กระทรวงพาณิชย์ กลับไม่มีการเปิดเผยว่า มีการตั้งกรรมการสอบสวนผู้บริหารของอคส.หรือไม่ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่การทำสัญญา 77 ฉบับของอคส. ที่สร้างความเสียหายถึง 65,000 ล้านบาทนั้น จะไม่มีผู้บริหาร อคส.รายใดรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเลย
อีกทั้งยังไม่มีการตรวจสอบให้ชัดเจนว่า การทำสัญญาดังกล่าวมีการเอื้อประโยชน์กับเอกชนที่ทำสัญญาหรือไม่ และเอกชนเหล่านั้น มีความเชื่อมโยงอย่างไรกับผู้มีอำนาจหรือเปล่า จึงได้ทำสัญญากับ อคส.
ที่ผ่านมา อคส.เป็นถังข้าวสารที่ผู้มีอำนาจล้วงผลประโยชน์มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการทำโครงการจำนำข้าวในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งพบว่ามีความเสียหายในการบริหารโครงการมาโดยตลอด และยังมีพฤติกรรมปกปิดข้อมูลตัวเลขสต๊อกในโกดังข้าว จนส่งผลกระทบต่อการปิดบัญชีโครงการนี้ด้วย แต่ผู้บริหาร อคส.ก็ไม่เคยถูกดำเนินคดีแต่อย่างใด
แม้ในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ก็ใช้วิธีการให้ ชนุตร์ปกรณ์ วงศ์สีนิล ผอ.อคส. ลาออก ด้วยเหตุผลว่ามีปัญหาสุขภาพ โดยไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการบริหารผิดพลาด หรือการทุจริตมาเกี่ยวข้อง ทั้งที่ความเสียหายจากโครงการจำนำข้าว ล่าสุด จากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ ที่ไปแจ้งความดำเนินคดีกับเอกชนที่ทำสัญญากับ อคส.มีมูลค่าสูงถึง 65,000 ล้านบาท
ท่วงท่าการบริหารของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ที่ปราบปรามการทุจริตแค่คำพูด ปล่อยคนทุจริตลอยนวลในทางปฏิบัติ สะท้อนชัดว่าการถอดถอนนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่น่าจะมีการลงมติใน สนช.ภายในเดือนมกราคมนี้ ไม่มีอะไรให้หวัง
** เพราะการนิรโทษกรรมเริ่มขึ้นตั้งแต่การฉีกรัฐธรรมนูญปี 50 โดยไม่มีการบัญญัติมาตราที่เกี่ยวข้องกับการถอดถอนมาทดแทนในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 แล้ว