แฉเงื่อนงำ ขสมก.ลดราคากลางรถแอร์ ประมูลรถเมล์ NGV เหลือ 3.65 ล้านบาท/คัน จากเดิม 4.5 ล้านบาท ต่ำเกินจริง จับตาไม่มีเอกชนกล้ายื่นแข่งขันเหตุทำไม่ได้จริง สุดท้ายอ้างเหตุล้มประมูลขอใช้ราคาเดิม 4.5 ล้าน เพื่อเหลือส่วนต่างกลับเข้าระบบหัวคิว เงินทอน ตามเดิม ขบวนการดิสเครดิตองค์กรอิสระไม่ให้เข้ามาตรวจสอบทุจริตอีก
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงโครงการจัดซื้อรถโดยสารที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162.2 ล้านบาทว่า ล่าสุดองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ประกาศร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) การจัดหารถโดยสารปรับอากาศล็อตแรกจำนวน 489 คัน โดยกำหนดราคากลางรถปรับอากาศ (รถแอร์) ที่ 3.65 ล้านบาท ซึ่งปรับลดลงจากเดิมที่ 4.5 ล้านบาทต่อคัน
และกำหนดเปิดจำหน่ายเอกสารประกวดราคาระหว่างวันที่ 13-21 มกราคม กำหนดให้ยื่นข้อเสนอวันที่ 27 มกราคม 2558 และกำหนดแข่งขันราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-อ๊อคชั่น) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 นั้น อาจจะไม่มีผู้ซื้อซองประมูล เนื่องจากราคากลางที่ปรับลดลงไม่สะท้อนข้อเท็จจริงเป็นราคากลางที่ต่ำเกินไป ซึ่งการสืบราคากลางของคณะกรรมการราคากลาง ที่มีนางปราณี ศุกระศรกรรมการและรักษาการผู้อำนวยการ ขสมก. เป็นประธาน ยังไม่ถูกต้อง เช่น สืบราคาเสปครถชานต่ำ (Low Floor) จากค่ายรถรายใหญ่ของจีน แต่เป็นรถที่เครื่อง ยนต์เป็นยูโร 5 ซึ่งมีการปรับเป็น ยูโร 3 ตามคุณสมบัติของรถเมล์ NGV จึงมีการลดราคาลง 15% ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้ ที่จะเอาราคารถทั้งคันมาตัดลง 15% เพราะราคาที่ตัดเป็นเรื่องของเครื่องยนต์ซึ่งมีต้นทุนในการผลิตที่ 20 % ของตัวรถทั้งหมด เป็นต้น
ทั้งนี้ ตัวแทนจากองค์กรอิสระและภาคเอกชน ได้ให้ความเห็นคัดค้านไปแล้ว แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ทำให้มีการประกาศราคากลางลดลงจนต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งเป็นเรื่องที่ ขสมก.ต้องการแสดงให้สังคมเห็นว่าได้พยายามปรับลดลดราคากลางลง หลังจากที่ถูกครหาเรื่องทุจริตและกำหนดราคาที่ 4.5 ล้านบาทต่อคันแพงเกินไป แต่ต้องจับตาดูว่า การลดราคากลางเหลือ 3.65 ล้านบาทต่อคันดังกล่าว เป็นราคาที่จะไม่มีเอกชนกล้ายื่นประมูล ซึ่งในแวดวงผู้ประกอบการรถโดยสาร ทราบกันดีว่า เรื่องนี้มีเงื่อนงำอยู่เบื้องหลัง คือ ต้องการให้การประมูลรถเมล์ NGV ครั้งนี้ล้มเหลว โดยอ้างว่า ราคา 3.65 ล้านบาท ไม่มีผู้ประมูลเพื่อกลับไปสู่ราคาที่ 4.5 ล้านบาทต่อคันตามเดิม
แหล่งข่าวกล่าวว่า ข้อเท็จจริงเรื่องราคากลาง 4.5 ล้านบาท ซึ่ง ขสมก.กำหนดไว้เดิมสูงเกินไป เพราะมีกระบวนการตัดค่าดำเนินการเข้ามาร่วมเพื่อหวังผลประโยชน์ในโครงการรวมอยู่ด้วย โดยมีส่วนเกินอยู่คันละ 3-3.5 แสนบาทต่อคัน ซึ่งเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่วางโครงการไว้ตั้งแต่ต้น สมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว และยังมีสายสัมพันธ์กับผู้บริหารขสมก.ในปัจจุบันอยู่ ในขณะที่มีข้อมูลว่าราคารถที่เหมาะสม ผู้ประกอบการสามารถยื่นแข่งขันประมูลได้ คือ ที่ 4.2 ล้านบาทต่อคัน โดยเป็นราคาที่ผลิตรถได้จริง โดยราคา FOB รถสำเร็จรูปทั้งคันถ้าซื้อในปริมาณมากจะอยู่ที่ประมาณ 72,000 เหรียญสหรัฐ รวมค่าขนส่งรวมค่าประกัน ภาษี จะอยู่ที่ประมาณ 3.55 ล้านบาท (ราคาต้นทุน) และราคากลางที่ 4.2 ล้านบาท เป็นราคาที่มีช่องว่างที่สามารถแข่งขันอี-อ๊อคชั่นลดลงได้ที่ประมาณ 4.05-4.1 ล้านบาทต่อคัน ขณะที่ราคา 4.5 ล้านบาทต่อคัน
อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าว คงต้องรอดูหลังเปิดประมูลว่าออกมาอย่างไร ซึ่งหากไม่มีผู้ประมูล ด้วยเหตุผลราคากลางที่ ขสมก.กำหนด 3.65 ล้านบาท ต่ำเกินไป ถือว่า ขสมก.มีเงื่อนงำในการกำหนดราคา ขสมก.โดยต้องการให้กระทบต่อกระบวนการตรวจสอบทุจริต คอร์รัปชั่น ขององค์กรอิสระต่างๆ เช่น คณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดเฝ้าระวังโครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV 3,183 คัน สมาคมคนพิการ กลุ่มองค์กรไม่แสวงหากำไร (NGO) นักวิชาการ คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) และภาคประชาชน ซึ่งได้เข้ามาตรวจสอบโครงการก่อนหน้านี้ โดยจะทำให้ประชาชนเข้าใจได้ว่า เข้ามาตรวจสอบแล้วทำให้ภาครัฐเสียหาย ซึ่งไม่เป็นความจริง.
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงโครงการจัดซื้อรถโดยสารที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162.2 ล้านบาทว่า ล่าสุดองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ประกาศร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) การจัดหารถโดยสารปรับอากาศล็อตแรกจำนวน 489 คัน โดยกำหนดราคากลางรถปรับอากาศ (รถแอร์) ที่ 3.65 ล้านบาท ซึ่งปรับลดลงจากเดิมที่ 4.5 ล้านบาทต่อคัน
และกำหนดเปิดจำหน่ายเอกสารประกวดราคาระหว่างวันที่ 13-21 มกราคม กำหนดให้ยื่นข้อเสนอวันที่ 27 มกราคม 2558 และกำหนดแข่งขันราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-อ๊อคชั่น) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 นั้น อาจจะไม่มีผู้ซื้อซองประมูล เนื่องจากราคากลางที่ปรับลดลงไม่สะท้อนข้อเท็จจริงเป็นราคากลางที่ต่ำเกินไป ซึ่งการสืบราคากลางของคณะกรรมการราคากลาง ที่มีนางปราณี ศุกระศรกรรมการและรักษาการผู้อำนวยการ ขสมก. เป็นประธาน ยังไม่ถูกต้อง เช่น สืบราคาเสปครถชานต่ำ (Low Floor) จากค่ายรถรายใหญ่ของจีน แต่เป็นรถที่เครื่อง ยนต์เป็นยูโร 5 ซึ่งมีการปรับเป็น ยูโร 3 ตามคุณสมบัติของรถเมล์ NGV จึงมีการลดราคาลง 15% ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้ ที่จะเอาราคารถทั้งคันมาตัดลง 15% เพราะราคาที่ตัดเป็นเรื่องของเครื่องยนต์ซึ่งมีต้นทุนในการผลิตที่ 20 % ของตัวรถทั้งหมด เป็นต้น
ทั้งนี้ ตัวแทนจากองค์กรอิสระและภาคเอกชน ได้ให้ความเห็นคัดค้านไปแล้ว แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ทำให้มีการประกาศราคากลางลดลงจนต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งเป็นเรื่องที่ ขสมก.ต้องการแสดงให้สังคมเห็นว่าได้พยายามปรับลดลดราคากลางลง หลังจากที่ถูกครหาเรื่องทุจริตและกำหนดราคาที่ 4.5 ล้านบาทต่อคันแพงเกินไป แต่ต้องจับตาดูว่า การลดราคากลางเหลือ 3.65 ล้านบาทต่อคันดังกล่าว เป็นราคาที่จะไม่มีเอกชนกล้ายื่นประมูล ซึ่งในแวดวงผู้ประกอบการรถโดยสาร ทราบกันดีว่า เรื่องนี้มีเงื่อนงำอยู่เบื้องหลัง คือ ต้องการให้การประมูลรถเมล์ NGV ครั้งนี้ล้มเหลว โดยอ้างว่า ราคา 3.65 ล้านบาท ไม่มีผู้ประมูลเพื่อกลับไปสู่ราคาที่ 4.5 ล้านบาทต่อคันตามเดิม
แหล่งข่าวกล่าวว่า ข้อเท็จจริงเรื่องราคากลาง 4.5 ล้านบาท ซึ่ง ขสมก.กำหนดไว้เดิมสูงเกินไป เพราะมีกระบวนการตัดค่าดำเนินการเข้ามาร่วมเพื่อหวังผลประโยชน์ในโครงการรวมอยู่ด้วย โดยมีส่วนเกินอยู่คันละ 3-3.5 แสนบาทต่อคัน ซึ่งเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่วางโครงการไว้ตั้งแต่ต้น สมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว และยังมีสายสัมพันธ์กับผู้บริหารขสมก.ในปัจจุบันอยู่ ในขณะที่มีข้อมูลว่าราคารถที่เหมาะสม ผู้ประกอบการสามารถยื่นแข่งขันประมูลได้ คือ ที่ 4.2 ล้านบาทต่อคัน โดยเป็นราคาที่ผลิตรถได้จริง โดยราคา FOB รถสำเร็จรูปทั้งคันถ้าซื้อในปริมาณมากจะอยู่ที่ประมาณ 72,000 เหรียญสหรัฐ รวมค่าขนส่งรวมค่าประกัน ภาษี จะอยู่ที่ประมาณ 3.55 ล้านบาท (ราคาต้นทุน) และราคากลางที่ 4.2 ล้านบาท เป็นราคาที่มีช่องว่างที่สามารถแข่งขันอี-อ๊อคชั่นลดลงได้ที่ประมาณ 4.05-4.1 ล้านบาทต่อคัน ขณะที่ราคา 4.5 ล้านบาทต่อคัน
อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าว คงต้องรอดูหลังเปิดประมูลว่าออกมาอย่างไร ซึ่งหากไม่มีผู้ประมูล ด้วยเหตุผลราคากลางที่ ขสมก.กำหนด 3.65 ล้านบาท ต่ำเกินไป ถือว่า ขสมก.มีเงื่อนงำในการกำหนดราคา ขสมก.โดยต้องการให้กระทบต่อกระบวนการตรวจสอบทุจริต คอร์รัปชั่น ขององค์กรอิสระต่างๆ เช่น คณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดเฝ้าระวังโครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV 3,183 คัน สมาคมคนพิการ กลุ่มองค์กรไม่แสวงหากำไร (NGO) นักวิชาการ คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) และภาคประชาชน ซึ่งได้เข้ามาตรวจสอบโครงการก่อนหน้านี้ โดยจะทำให้ประชาชนเข้าใจได้ว่า เข้ามาตรวจสอบแล้วทำให้ภาครัฐเสียหาย ซึ่งไม่เป็นความจริง.