ASTVผู้จัดการรายวัน – พีทีที โกลบอลเคมิคอลยันโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่อินโดนีเซียยังเดินหน้า แม้ว่าปตท.ปิ๋ว!อดได้รับเลือกให้เข้าปรับปรุง 5โรงกลั่นในอินโดฯ พร้อมอ้าแขนรับ”ซาอุดิ อารัมโก”เข้าร่วมเป็นพันธมิตรใหม่ในโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ด้วยหากสนใจ หลังเปอร์ตามิน่าดึงซาอุดิ อารัมโกมาปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมันบาลองกัน
นายปฏิภาณ สุคนธมาน รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)(PTTGC) เปิดเผยว่า ขณะนี้โครงการลงทุนปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่อินโดนีเซียยังคงเดินหน้า แม้ว่าปตท.จะไม่ได้รับเลือกจากเปอร์ตามิน่า ให้เข้าไปปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมันทั้ง 5 โรงในอินโดนีเซีย
ซึ่งรวมถึงโรงกลั่นน้ำมันบาลองกันที่จะต้องปรับปรุงและมีการขยายกำลังการกลั่นเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้วัตถุดิบ คือ แนฟธา เพียงพอใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตโครงการร่วมทุนปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ระหว่างบริษัทฯกับเปอร์ตามิน่า
ทั้งนี้ ทางเปอร์ตามิน่าได้เลือกซาอุดิ อารัมโก ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันรายใหญ่ของโลกเข้ามาปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมันจำนวน 3 โรงจากทั้งหมด 5 โรงกลั่น ได้แก่ โรงกลั่น น้ำมัน Dumai ขนาด 1.7 แสนบาร์เรล/วัน โรงกลั่นน้ำมัน Cilacap ขนาด 3.48 แสนบาร์เรล/วัน และโรงกลั่นน้ำมันบาลองกัน ขนาด 1.25 แสนบาร์เรล/วัน ส่วน Sinopec จากจีนจะเข้ามาปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมัน Plaju ขนาด 1.33 แสนบาร์เรล/วัน และ JX Nippon Oil
and Energy ปรับปรุงโรงกลั่น Balikpapan ขนาด 2.6แสนบาร์เรล/วัน
“ เรายังมีสัญญาที่ทำร่วมกับเปอร์ตามิน่าในการพัฒนาโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่อินโดนีเซีย มูลค่า 4-5 พันล้านเหรียญสหรัฐอยู่ แม้ว่าปตท.จะไม่ได้รับเลือกให้เข้าไปปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมัน 5โรงในอินโดนีเซีย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเสียสิทธิ์ดังกล่าวไป ทุกอย่างยังคงเดินหน้า”
นายปฏิภาณ กล่าวต่อไปว่า หากทางซาอุดิ อารัมโก สนใจที่จะเข้าร่วมทุนในโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ดังกล่าวก็น่าจะส่งผลดีต่อโครงการ ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นยิ่งขึ้น การจัดหาเงินกู้ทำได้ง่าย รวมทั้งยังมีความมั่นคงด้านวัตถุดิบด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแผนงานที่บริษัทฯต้องการหาพันธมิตรรายใหม่เข้ามาร่วมทุนในโครงการดังกล่าวเพื่อลดความเสี่ยงการลงทุน
ทั้งนี้ สัดส่วนการถือหุ้นโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ คือ เปอร์ตามิน่า 51% และพีทีที โกลบอล เคมิคอล 49% โดยโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย โรงโอเลฟินส์ขนาด 1.5 ล้านตัน/ปี และโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ จากผลการศึกษาพบว่าหากต้องนำเข้าวัตถุดิบ คือ แนฟธาจากต่างประเทศ โครงการนี้จะแข่งขันไม่ได้ เพราะต้องสร้างท่าเทียบเรือและคลังเก็บแนฟธาใช้เงินทุนสูงมาก
ดังนั้นต้องปรับปรุงและขยายโรงกลั่นน้ำมันในอินโดนีเซียแล้วต่อท่อมายังโรงโอเลฟินส์จึงมีความเหมาะสม คุ้มการลงทุน ซึ่งตามแผนโครงการดังกล่าวจะแล้วเสร็จในปี 2562-2563
นายปฏิภาณ สุคนธมาน รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)(PTTGC) เปิดเผยว่า ขณะนี้โครงการลงทุนปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่อินโดนีเซียยังคงเดินหน้า แม้ว่าปตท.จะไม่ได้รับเลือกจากเปอร์ตามิน่า ให้เข้าไปปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมันทั้ง 5 โรงในอินโดนีเซีย
ซึ่งรวมถึงโรงกลั่นน้ำมันบาลองกันที่จะต้องปรับปรุงและมีการขยายกำลังการกลั่นเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้วัตถุดิบ คือ แนฟธา เพียงพอใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตโครงการร่วมทุนปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ระหว่างบริษัทฯกับเปอร์ตามิน่า
ทั้งนี้ ทางเปอร์ตามิน่าได้เลือกซาอุดิ อารัมโก ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันรายใหญ่ของโลกเข้ามาปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมันจำนวน 3 โรงจากทั้งหมด 5 โรงกลั่น ได้แก่ โรงกลั่น น้ำมัน Dumai ขนาด 1.7 แสนบาร์เรล/วัน โรงกลั่นน้ำมัน Cilacap ขนาด 3.48 แสนบาร์เรล/วัน และโรงกลั่นน้ำมันบาลองกัน ขนาด 1.25 แสนบาร์เรล/วัน ส่วน Sinopec จากจีนจะเข้ามาปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมัน Plaju ขนาด 1.33 แสนบาร์เรล/วัน และ JX Nippon Oil
and Energy ปรับปรุงโรงกลั่น Balikpapan ขนาด 2.6แสนบาร์เรล/วัน
“ เรายังมีสัญญาที่ทำร่วมกับเปอร์ตามิน่าในการพัฒนาโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่อินโดนีเซีย มูลค่า 4-5 พันล้านเหรียญสหรัฐอยู่ แม้ว่าปตท.จะไม่ได้รับเลือกให้เข้าไปปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมัน 5โรงในอินโดนีเซีย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเสียสิทธิ์ดังกล่าวไป ทุกอย่างยังคงเดินหน้า”
นายปฏิภาณ กล่าวต่อไปว่า หากทางซาอุดิ อารัมโก สนใจที่จะเข้าร่วมทุนในโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ดังกล่าวก็น่าจะส่งผลดีต่อโครงการ ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นยิ่งขึ้น การจัดหาเงินกู้ทำได้ง่าย รวมทั้งยังมีความมั่นคงด้านวัตถุดิบด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแผนงานที่บริษัทฯต้องการหาพันธมิตรรายใหม่เข้ามาร่วมทุนในโครงการดังกล่าวเพื่อลดความเสี่ยงการลงทุน
ทั้งนี้ สัดส่วนการถือหุ้นโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ คือ เปอร์ตามิน่า 51% และพีทีที โกลบอล เคมิคอล 49% โดยโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย โรงโอเลฟินส์ขนาด 1.5 ล้านตัน/ปี และโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ จากผลการศึกษาพบว่าหากต้องนำเข้าวัตถุดิบ คือ แนฟธาจากต่างประเทศ โครงการนี้จะแข่งขันไม่ได้ เพราะต้องสร้างท่าเทียบเรือและคลังเก็บแนฟธาใช้เงินทุนสูงมาก
ดังนั้นต้องปรับปรุงและขยายโรงกลั่นน้ำมันในอินโดนีเซียแล้วต่อท่อมายังโรงโอเลฟินส์จึงมีความเหมาะสม คุ้มการลงทุน ซึ่งตามแผนโครงการดังกล่าวจะแล้วเสร็จในปี 2562-2563