** แม้ว่าในความเป็นจริงคงจะคาดหวังอะไรที่เป็นมรรคเป็นผลอะไรไม่ได้ กับการที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เริ่มกระบวนการถอดถอนตำแหน่งทางการเมืองของ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และ นิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา จากความผิดเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของวุฒิสภาโดยมิชอบ
โดยสภาเริ่มให้แถลงเปิดคดีในวันที่ 8 มกราคม และถัดมาในวันรุ่งขึ้น คือวันที่ 9 มกราคม ก็ถึงคิวของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในความผิดจากโครงการรับจำนำข้าว ที่ปล่อยปละละเลย จนทำให้เกิดการทุจริตกันทุกขั้นตอนจนสร้างความเสียหายมากว่า 6 แสนล้านบาท เพราะในที่สุดบทสรุปสุดท้ายก็คือ ต้องใช้คะแนนเสียงลงมติชี้ขาด ซึ่งรู้กันตั้งแต่ในมุ้งอยู่แล้ว "มันเป็นไปไม่ได้เลย"
ก็เพราะว่าต้องใช้เสียงถึง 3 ใน 5 ซึ่งก็คือต้องมีเสียงไม่น้อยกว่า 132 เสียงขึ้นไป และเมื่อพิจารณาจากมติที่รับเรื่องไว้พิจารณาก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว คือรับพิจารณา 87 ต่อ 75 เสียง และที่น่าพิลึกไปกว่านั้นก็คือ ดันมีพวกงดออกเสียงอีก 15 เสียง ซึ่งทั้งสองพวกหลังที่จริงแล้วก็พวกเดียวกัน ดังนั้นเมื่อคะแนนออกมาอย่างที่เห็นมันก็จึงสามารถสรุปผลออกมาล่วงหน้าอยู่แล้ว
อีกทั้งกรณีของ สองอดีตประธานสภาดังกล่าวยังมีข้อถกเถียงกันถึงเรื่องที่ถูกฟ้องจากทำผิดรัฐธรรมนูญปี 50 ที่ถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ฉีกทิ้งไปแล้ว
แต่ถึงกระนั้นก็มีกำหนดการออกมาคร่าวๆ ล่วงหน้าแล้วว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะลงมติทั้งสองกรณีคือ ทั้งกรณี สมศักดิ์-นิคม-ยิ่งลักษณ์ ประมาณปลายเดือนมกราคม หรืออย่างช้าไม่เกินต้นเดือนกุมภาพันธ์
อย่างไรก็ดี คดีที่น่าลุ้นด้วยใจระทึกมากกว่าต้องเป็นคดีที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติเอกฉันท์ 7 ต่อ 0 ฟ้องอาญา กรณีกระทำผิดจากโครงการรับจำนำข้าวนี่แหละ แม้ว่าเวลานี้ยังยื้อกันอยู่ในขั้นตอนของอัยการสูงสุด มีการตั้งคณะกรรมการร่วมพิจารณาสอบสวนพยานเพิ่มเติม แต่ถึงอย่างไรมันก็ต้องเดินไปถึงจุดสิ้นสุดจนได้ นั่นคือ หากอัยการสูงสุดไม่สั่งฟ้องจะด้วยเหตุผลหลักฐานอ่อน หรืออะไรก็แล้วแต่ หากเป็นแบบนั้นทางป.ป.ช. ซึ่งยืนยันมาตั้งแต่ต้น ก็ต้องสั่งฟ้องเอง
นั่นคือ ต้องฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แม้ว่าตามกระบวนการอาจต้องใช้เวลาบ้าง แต่ก็ถือว่าเมื่อเทียบกับศาลอื่น ก็คงใช้เวลาไม่นานนัก
เมื่อเห็นเส้นทางข้างหน้าแน่นอนว่าสำหรับ ทักษิณ ชินวัตร ก็ต้องกังวลกับคดีอาญาของน้องสาวตัวเอง คือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มากที่สุด เพราะหากเป็นอะไรไป ย่อมต้องเกิดความเสียหายสำหรับครอบครัวชินวัตร แบบประเมินค่าไม่ได้ มีผลต่ออนาคตทางการเมือง ที่ถูกวางเป็น "นอมินีอำนาจ" โดยตรง เพราะถือว่าไว้ใจได้ที่สุด
**ดังนั้น เมื่ออนาคตข้างหน้ามีความเสี่ยงสูงแบบนี้ รับรองว่าก็ต้องมีการดิ้นรนขัดขวางกันอย่างเต็มที่เหมือนกัน แน่นอนว่า สิ่งที่คนพวกนี้งัดเอามาใช้อย่างได้ผลอยู่เสมอก็คือใช้"มวลชน"กดดัน อย่างที่กำลังเริ่มเคลื่อนไหวกันอยู่ในเวลานี้
ขณะเดียวกันคู่ขนานไปกับการเดินเกมดิสเครดิต แบ่งงานกันทำ อย่างที่เวลานี้กำลังพุ่งเป้าโจมตีกรรมการป.ป.ช. บางคน กล่าวหาว่าขาดคุณสมบัติ หรือบางคนมีอคติ เป็นคู่ขัดแย้งบ้างอะไรบ้าง พร้อมทั้งข่มขู่ฟ้องร้องสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หากมีมติสนับสนุนให้ถอดถอน ซึ่งกรณีหลังก็ได้ผลเหมือนกัน โดยเฉพาะพวกเป็น สนช.สายทหาร สายข้าราชการ ที่ยังหวังอนาคตก้าวหน้าหากอำนาจเปลี่ยน
แม้ว่ามวลชนกลุ่มนี้ยังเป็นกลุ่มเดิมที่เคยสนับสนุนระบอบทักษิณ และคนในครอบครัวชินวัตร อย่างเหนียวแน่นโดยไม่สนใจความถูกผิด หรือก่อความเสียหายให้กับบ้านเมืองแค่ไหนก็ตาม อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ การที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ยอมขยายความผิดพลาด ล้มเหลว การทุจริตโดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าว ที่ พล.อ.ประยุทธ์ ก็เคยระบุตัวเลขออกมาเองว่า ขาดทุนไม่ต่ำกว่า 6.8 แสนล้านบาท และข้าวที่ค้างอยู่ในโกดัง ร้อยละ 70 ล้วนเป็นข้าวด้อยคุณภาพ แต่ทุกอย่างก็ไปเรื่อยๆ เรียงๆ มิหนำซ้ำยังทำให้ชวนสงสัยอีกว่า กำลังจะมีรายการปรองดองแบบแล้วๆ กันไปตามมาอีก มันก็ทำให้น่ากังวลว่า เมื่อใกล้ลงมติถอดถอน และเมื่อมีการส่งฟ้องอาญา จะมีการขนมวลชนออกมาป่วน เนื่องจากเข้าใจว่าถูกกลั่นแกล้ง ต้องการขัดขวางเส้นทางการเมืองข้างหน้ามันก็เป็นไปได้สูงหากยังไม่อธิบายให้สังคมได้รับรู้ในวงกว้างกว่าที่เป็นอยู่
**และที่สำคัญที่สุด อยากภาวนาให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถฝ่าฟันแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้องให้เป็นรูปธรรม เพราะถ้ายังไม่กระเตื้อง มันก็เป็นเงื่อนไขชั้นดีสำหรับการปลุกระดมมวลชนให้ออกมา !!
โดยสภาเริ่มให้แถลงเปิดคดีในวันที่ 8 มกราคม และถัดมาในวันรุ่งขึ้น คือวันที่ 9 มกราคม ก็ถึงคิวของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในความผิดจากโครงการรับจำนำข้าว ที่ปล่อยปละละเลย จนทำให้เกิดการทุจริตกันทุกขั้นตอนจนสร้างความเสียหายมากว่า 6 แสนล้านบาท เพราะในที่สุดบทสรุปสุดท้ายก็คือ ต้องใช้คะแนนเสียงลงมติชี้ขาด ซึ่งรู้กันตั้งแต่ในมุ้งอยู่แล้ว "มันเป็นไปไม่ได้เลย"
ก็เพราะว่าต้องใช้เสียงถึง 3 ใน 5 ซึ่งก็คือต้องมีเสียงไม่น้อยกว่า 132 เสียงขึ้นไป และเมื่อพิจารณาจากมติที่รับเรื่องไว้พิจารณาก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว คือรับพิจารณา 87 ต่อ 75 เสียง และที่น่าพิลึกไปกว่านั้นก็คือ ดันมีพวกงดออกเสียงอีก 15 เสียง ซึ่งทั้งสองพวกหลังที่จริงแล้วก็พวกเดียวกัน ดังนั้นเมื่อคะแนนออกมาอย่างที่เห็นมันก็จึงสามารถสรุปผลออกมาล่วงหน้าอยู่แล้ว
อีกทั้งกรณีของ สองอดีตประธานสภาดังกล่าวยังมีข้อถกเถียงกันถึงเรื่องที่ถูกฟ้องจากทำผิดรัฐธรรมนูญปี 50 ที่ถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ฉีกทิ้งไปแล้ว
แต่ถึงกระนั้นก็มีกำหนดการออกมาคร่าวๆ ล่วงหน้าแล้วว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะลงมติทั้งสองกรณีคือ ทั้งกรณี สมศักดิ์-นิคม-ยิ่งลักษณ์ ประมาณปลายเดือนมกราคม หรืออย่างช้าไม่เกินต้นเดือนกุมภาพันธ์
อย่างไรก็ดี คดีที่น่าลุ้นด้วยใจระทึกมากกว่าต้องเป็นคดีที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติเอกฉันท์ 7 ต่อ 0 ฟ้องอาญา กรณีกระทำผิดจากโครงการรับจำนำข้าวนี่แหละ แม้ว่าเวลานี้ยังยื้อกันอยู่ในขั้นตอนของอัยการสูงสุด มีการตั้งคณะกรรมการร่วมพิจารณาสอบสวนพยานเพิ่มเติม แต่ถึงอย่างไรมันก็ต้องเดินไปถึงจุดสิ้นสุดจนได้ นั่นคือ หากอัยการสูงสุดไม่สั่งฟ้องจะด้วยเหตุผลหลักฐานอ่อน หรืออะไรก็แล้วแต่ หากเป็นแบบนั้นทางป.ป.ช. ซึ่งยืนยันมาตั้งแต่ต้น ก็ต้องสั่งฟ้องเอง
นั่นคือ ต้องฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แม้ว่าตามกระบวนการอาจต้องใช้เวลาบ้าง แต่ก็ถือว่าเมื่อเทียบกับศาลอื่น ก็คงใช้เวลาไม่นานนัก
เมื่อเห็นเส้นทางข้างหน้าแน่นอนว่าสำหรับ ทักษิณ ชินวัตร ก็ต้องกังวลกับคดีอาญาของน้องสาวตัวเอง คือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มากที่สุด เพราะหากเป็นอะไรไป ย่อมต้องเกิดความเสียหายสำหรับครอบครัวชินวัตร แบบประเมินค่าไม่ได้ มีผลต่ออนาคตทางการเมือง ที่ถูกวางเป็น "นอมินีอำนาจ" โดยตรง เพราะถือว่าไว้ใจได้ที่สุด
**ดังนั้น เมื่ออนาคตข้างหน้ามีความเสี่ยงสูงแบบนี้ รับรองว่าก็ต้องมีการดิ้นรนขัดขวางกันอย่างเต็มที่เหมือนกัน แน่นอนว่า สิ่งที่คนพวกนี้งัดเอามาใช้อย่างได้ผลอยู่เสมอก็คือใช้"มวลชน"กดดัน อย่างที่กำลังเริ่มเคลื่อนไหวกันอยู่ในเวลานี้
ขณะเดียวกันคู่ขนานไปกับการเดินเกมดิสเครดิต แบ่งงานกันทำ อย่างที่เวลานี้กำลังพุ่งเป้าโจมตีกรรมการป.ป.ช. บางคน กล่าวหาว่าขาดคุณสมบัติ หรือบางคนมีอคติ เป็นคู่ขัดแย้งบ้างอะไรบ้าง พร้อมทั้งข่มขู่ฟ้องร้องสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หากมีมติสนับสนุนให้ถอดถอน ซึ่งกรณีหลังก็ได้ผลเหมือนกัน โดยเฉพาะพวกเป็น สนช.สายทหาร สายข้าราชการ ที่ยังหวังอนาคตก้าวหน้าหากอำนาจเปลี่ยน
แม้ว่ามวลชนกลุ่มนี้ยังเป็นกลุ่มเดิมที่เคยสนับสนุนระบอบทักษิณ และคนในครอบครัวชินวัตร อย่างเหนียวแน่นโดยไม่สนใจความถูกผิด หรือก่อความเสียหายให้กับบ้านเมืองแค่ไหนก็ตาม อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ การที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ยอมขยายความผิดพลาด ล้มเหลว การทุจริตโดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าว ที่ พล.อ.ประยุทธ์ ก็เคยระบุตัวเลขออกมาเองว่า ขาดทุนไม่ต่ำกว่า 6.8 แสนล้านบาท และข้าวที่ค้างอยู่ในโกดัง ร้อยละ 70 ล้วนเป็นข้าวด้อยคุณภาพ แต่ทุกอย่างก็ไปเรื่อยๆ เรียงๆ มิหนำซ้ำยังทำให้ชวนสงสัยอีกว่า กำลังจะมีรายการปรองดองแบบแล้วๆ กันไปตามมาอีก มันก็ทำให้น่ากังวลว่า เมื่อใกล้ลงมติถอดถอน และเมื่อมีการส่งฟ้องอาญา จะมีการขนมวลชนออกมาป่วน เนื่องจากเข้าใจว่าถูกกลั่นแกล้ง ต้องการขัดขวางเส้นทางการเมืองข้างหน้ามันก็เป็นไปได้สูงหากยังไม่อธิบายให้สังคมได้รับรู้ในวงกว้างกว่าที่เป็นอยู่
**และที่สำคัญที่สุด อยากภาวนาให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถฝ่าฟันแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้องให้เป็นรูปธรรม เพราะถ้ายังไม่กระเตื้อง มันก็เป็นเงื่อนไขชั้นดีสำหรับการปลุกระดมมวลชนให้ออกมา !!