ดูเหมือนเราจะเรียกช่วงนี้ของประวัติศาสตร์การเมืองไทยว่า เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านไปเป็นประชาธิปไตย ซึ่งคิดแล้วก็ตลกเพราะเป็นการคาดหวังว่าระบอบเผด็จการจะช่วยเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่ดีกว่าเก่า
ผมคิดว่า ตอนนี้ประชาชนไม่ได้พอใจกับระบอบที่เป็นอยู่ แต่ที่ไม่ออกมาเคลื่อนไหวไม่ใช่เพราะเขากลัวกฎอัยการศึกหรืออำนาจจากปากกระบอกปืนที่จ่อหัวอยู่ แต่รู้ว่า วิถีทางที่เป็นอยู่เป็นเพียงเรื่องชั่วคราวและรัฐประหารเป็นทางออกเดียวของวิกฤตการณ์การเมืองในช่วงก่อนรัฐประหาร อย่างไรเสียประชาธิปไตยก็จะกลับคืนมาและเดินไปสู่การเลือกตั้งในที่สุด เว้นเสียแต่ว่า ถ้าการเปลี่ยนผ่านนั้นเดินไปสู่การสืบทอดอำนาจปากกระบอกปืนก็ไม่อาจต้านพลังประชาชนได้แน่
แต่เอาเข้าจริงแล้วประชาธิปไตยไม่ได้มีความหมายแค่การเลือกตั้งอย่างที่เราพูดกันเสมอ เพราะประชาธิปไตยต้องเป็นประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ แต่ข้ออ้างประชาธิปไตยที่เราพบเจอตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นต้นมาก็คือ ประชาธิปไตยกลายเป็นผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อย จากแรกเริ่มที่ประชาธิปไตยเป็นประโยชน์ของชนชั้นนำไม่กี่กลุ่ม มาสู่ประชาธิปไตยที่ตกไปอยู่ในมือของนายทุนพรรคการเมือง
นายทุนพรรคการเมืองที่ใช้เงินซื้ออำนาจ ซื้อ ส.ส. ซื้อพรรคการเมือง ซื้อเสียง ซื้อเก้าอี้ เพื่อเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์
ประชาธิปไตยของไทยยังไม่สามารถสะท้อนมติของมหาชนที่บริสุทธิ์ในฐานะประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย แต่สะท้อนถึงผลการลงทุนของกลุ่มการเมืองผ่านการซื้อสิทธิขายเสียงทั้งด้วยเงินในทางตรงและระบบอุปถัมภ์ในทางอ้อม
ดังนั้น แค่กลับไปสู่การเลือกตั้งก็ไม่น่าจะใช่ทางออกที่เราจะเดินผ่านไป แต่มันต้องหาทางออกที่ดีกว่าเก่าที่เราเคยเป็น ก่อนทหารจะเข้ามายึดอำนาจเราต่อต้านนักการเมืองที่ฉ้อฉลทุจริตคอร์รัปชันและแสวงหาผลประโยชน์เข้าวงศ์วานว่านเครือ สู้กันเกือบ 10 ปี ประชาชนส่วนหนึ่งก็ยังเลือกนักการเมืองแบบนั้นเข้ามามีอำนาจ จะไปโทษคนที่เลือกตั้งก็ไม่ได้ เพราะประชาธิปไตยให้สิทธิเท่าเทียมกัน 1 คน 1 เสียง แต่มันก็สะท้อนว่า ประชาชนแม้จะเท่าเทียมกันในสิทธิแต่ก็มีข้อมูลที่แตกต่างกัน
บางคนเข้าใจว่าทักษิณเป็นนักการเมืองที่แสวงหาผลประโยชน์ แต่บางคนเข้าใจว่าทักษิณเป็นพ่อพระที่มาโปรดคนจน บางคนว่าทักษิณเป็นคนดี บางคนว่าเป็นคนชั่ว เราคงจะเปลี่ยนคนอย่างทักษิณไม่ได้ แต่เราน่าจะทำให้คนมีข้อมูลที่เท่ากันได้ ถ้าคนมีข้อมูลเท่าเทียมกันเขาก็สามารถแยกแยะได้ว่าระบอบทักษิณนั้นเป็นระบอบที่ตอบสนองผลประโยชน์ของนายทุนพรรคการเมืองหรือตอบสนองผลประโยชน์ต่อประชาชน ทุกคนก็จะพูดได้เหมือนกันว่าทักษิณเป็นคนอย่างไร
เราสร้างระบบเพื่อมาเปลี่ยนแปลงคนไม่ได้ แต่เราน่าจะสามารถสร้างระบบที่ป้องกันคนเข้ามาแสวงประโยชน์จากอำนาจได้ ประชาธิปไตยที่แท้จริงน่าจะครอบคลุมความหมายที่สามารถตอบสนองผลประโยชน์ให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียมกันได้ ไม่ใช่ปล่อยให้คนที่เข้าสู่อำนาจอ้างการเลือกตั้งของประชาชนมาแสวงหาผลประโยชน์ได้
ตอนนี้เราพูดกันว่า นายกรัฐมนตรีควรจะมาจาก ส.ส.เพียงอย่างเดียวหรือเปิดกว้างให้ ส.ส.สามารถเลือกคนนอกเข้ามาดำรงตำแหน่งได้ ผมว่าใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีก็ไม่สำคัญเท่ากับว่า เราสามารถสร้างระบบเพื่อป้องกันคนเข้ามาแสวงหาประโยชน์จากอำนาจได้หรือไม่
เราไม่ได้เขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อต่อต้านใครคนใดคนหนึ่ง แต่เราเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อต่อต้านคนที่ใช้อำนาจเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งบังเอิญทักษิณเป็นคนแบบนี้ จึงเหมือนกับข้อเรียกร้องให้ต่อต้านทักษิณเป็นการเฉพาะ แล้วก็ทักษิณนั่นแหละที่เข้ามาสร้างระบอบทักษิณซ้อนทับขึ้นมาในระบอบประชาธิปไตยแล้วลวงประชาชนด้วยผลตอบแทนแบบประชานิยม แม้ว่าประชานิยมอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายถ้ามันตอบสนองต่อประโยชน์ของประชาชน โดยไม่มีผลประโยชน์ที่นักการเมืองกอบโกยไปมากกว่า
คำจำกัดความแค่ว่าประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้งทำให้ปัญญาชนฝ่ายทักษิณเอามาอ้างว่า ทักษิณคือฝ่ายประชาธิปไตย แล้วพอประชาชนส่วนหนึ่งใช้สิทธิในระบอบประชาธิปไตยออกมาต่อต้านทักษิณกลับถูกกล่าวหาว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามประชาธิปไตย แต่ถ้าประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจว่าประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้งพวกนิยมทักษิณก็ไม่สามารถเรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตยได้เลย เพราะจริงๆ แล้วการขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแต่ใช้อำนาจไม่ชอบธรรมก็เป็นวิธีการทางประชาธิปไตย
ดังนั้น จึงต้องทำให้ประชาชนเข้าใจความหมายที่แท้จริงของระบอบประชาธิปไตย
แต่ทักษิณเองก็รู้ว่า อำนาจของ คสช.ไม่ใช่เป็นอำนาจที่ยั่งยืน เขารู้ว่าสังคมไทยยังไงเสียก็ยังไม่มีวันที่จะรู้เท่าทันกลุ่มทุนพรรคการเมือง ก็เลยสั่งให้ลิ่วล้ออย่าไปขัดขวางการทำงานของ คสช.และรัฐบาล เพราะสุดท้ายแล้วก็จะกลับไปสู่การเลือกตั้งที่คนเข้าใจว่านั่นคือ ประชาธิปไตยและความไม่รู้จักแยกแยะว่านักการเมืองแบบทักษิณดีหรือเลวก็จะให้พรรคของเขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งกลับมาอีก
เพราะรัฐประหารเพียงแค่หยุดเวลาของการเลือกตั้งเอาไว้ชั่วคราวเท่านั้น คสช.และรัฐบาลทหารมีเพียงนโยบายที่เข้ามาหยุดยั้งความแตกแยก โดยไม่ได้มองหรือชี้ชัดลงไปว่าฝ่ายไหนผิดหรือถูกซ้ำยังมองว่าการเมืองทั้งสองขั้วต่างก็เป็นปัญหาพอๆ กัน การร่างรัฐธรรมนูญใหม่เป็นเพียงพิธีกรรมที่ต้องทำหลังรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญฉบับเก่าทิ้ง ครั้งนี้อาจจะพิเศษอยู่บ้างที่เรามีสภาปฏิรูปซึ่งเคยเป็นข้อเรียกร้องของประชาชน แต่ในทางปฏิบัติการปฏิรูปจะเป็นจริงหรือไม่ มันต้องขับเคลื่อนไปพร้อมกันในทุกองคาพยพ สุดท้ายแล้วก็ต้องถามพรรคการเมืองที่จะชนะการเลือกตั้งหลังจากนี้ว่าจะเอาด้วยไหม
ผมจึงไม่ได้คาดหวังอะไรจากการรัฐประหารครั้งนี้ ตราบเท่าที่อำนาจปากกระบอกปืนยังเข้าใจว่า ปัญหาการเมืองไทยเป็นเพียงเรื่องคนสองฝ่ายทะเลาะกัน ไม่เข้าใจว่า คนกลุ่มหนึ่งออกมาไล่ระบอบทักษิณที่สืบทอดอำนาจมาเกือบ 10 ปีเพราะระบอบทักษิณฉ้อฉลและแสวงหาประโยชน์เพื่อคนกลุ่มน้อย แต่เอาผลประโยชน์บางส่วนแบ่งปันเพื่อซื้อใจคนกลุ่มใหญ่ คนกลุ่มหนึ่งออกมาหนุนทักษิณเพราะมองเห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันและความเหลื่อมล้ำในสังคม และเชื่อว่า ทักษิณให้ประชาธิปไตยที่กินได้กับพวกเขา
แม้รัฐประหารครั้งนี้จะเอาตัวรอดได้เพราะเป็นที่สมประโยชน์ของทั้งสองฟากความขัดแย้ง พระสุเทพก็เชียร์ทักษิณทะนุถนอม ส่วนบทที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นำแสดงเป็นเพียงวงรอบของวัฏจักรการเมืองไทยที่ต้องหมุนมาเท่านั้นเอง
ดังนั้น จะไปหวังอะไรกับการเปลี่ยนแปลงหลังการรัฐประหารครั้งนี้ ทั่นผู้นำคงรู้แหละว่าอำนาจนั้นไม่จีรัง แต่คงคิดว่าเมื่อมีโอกาสก็แค่ผลัดกันชมบ้างเท่านั้นเอง
ผมคิดว่า ตอนนี้ประชาชนไม่ได้พอใจกับระบอบที่เป็นอยู่ แต่ที่ไม่ออกมาเคลื่อนไหวไม่ใช่เพราะเขากลัวกฎอัยการศึกหรืออำนาจจากปากกระบอกปืนที่จ่อหัวอยู่ แต่รู้ว่า วิถีทางที่เป็นอยู่เป็นเพียงเรื่องชั่วคราวและรัฐประหารเป็นทางออกเดียวของวิกฤตการณ์การเมืองในช่วงก่อนรัฐประหาร อย่างไรเสียประชาธิปไตยก็จะกลับคืนมาและเดินไปสู่การเลือกตั้งในที่สุด เว้นเสียแต่ว่า ถ้าการเปลี่ยนผ่านนั้นเดินไปสู่การสืบทอดอำนาจปากกระบอกปืนก็ไม่อาจต้านพลังประชาชนได้แน่
แต่เอาเข้าจริงแล้วประชาธิปไตยไม่ได้มีความหมายแค่การเลือกตั้งอย่างที่เราพูดกันเสมอ เพราะประชาธิปไตยต้องเป็นประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ แต่ข้ออ้างประชาธิปไตยที่เราพบเจอตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นต้นมาก็คือ ประชาธิปไตยกลายเป็นผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อย จากแรกเริ่มที่ประชาธิปไตยเป็นประโยชน์ของชนชั้นนำไม่กี่กลุ่ม มาสู่ประชาธิปไตยที่ตกไปอยู่ในมือของนายทุนพรรคการเมือง
นายทุนพรรคการเมืองที่ใช้เงินซื้ออำนาจ ซื้อ ส.ส. ซื้อพรรคการเมือง ซื้อเสียง ซื้อเก้าอี้ เพื่อเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์
ประชาธิปไตยของไทยยังไม่สามารถสะท้อนมติของมหาชนที่บริสุทธิ์ในฐานะประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย แต่สะท้อนถึงผลการลงทุนของกลุ่มการเมืองผ่านการซื้อสิทธิขายเสียงทั้งด้วยเงินในทางตรงและระบบอุปถัมภ์ในทางอ้อม
ดังนั้น แค่กลับไปสู่การเลือกตั้งก็ไม่น่าจะใช่ทางออกที่เราจะเดินผ่านไป แต่มันต้องหาทางออกที่ดีกว่าเก่าที่เราเคยเป็น ก่อนทหารจะเข้ามายึดอำนาจเราต่อต้านนักการเมืองที่ฉ้อฉลทุจริตคอร์รัปชันและแสวงหาผลประโยชน์เข้าวงศ์วานว่านเครือ สู้กันเกือบ 10 ปี ประชาชนส่วนหนึ่งก็ยังเลือกนักการเมืองแบบนั้นเข้ามามีอำนาจ จะไปโทษคนที่เลือกตั้งก็ไม่ได้ เพราะประชาธิปไตยให้สิทธิเท่าเทียมกัน 1 คน 1 เสียง แต่มันก็สะท้อนว่า ประชาชนแม้จะเท่าเทียมกันในสิทธิแต่ก็มีข้อมูลที่แตกต่างกัน
บางคนเข้าใจว่าทักษิณเป็นนักการเมืองที่แสวงหาผลประโยชน์ แต่บางคนเข้าใจว่าทักษิณเป็นพ่อพระที่มาโปรดคนจน บางคนว่าทักษิณเป็นคนดี บางคนว่าเป็นคนชั่ว เราคงจะเปลี่ยนคนอย่างทักษิณไม่ได้ แต่เราน่าจะทำให้คนมีข้อมูลที่เท่ากันได้ ถ้าคนมีข้อมูลเท่าเทียมกันเขาก็สามารถแยกแยะได้ว่าระบอบทักษิณนั้นเป็นระบอบที่ตอบสนองผลประโยชน์ของนายทุนพรรคการเมืองหรือตอบสนองผลประโยชน์ต่อประชาชน ทุกคนก็จะพูดได้เหมือนกันว่าทักษิณเป็นคนอย่างไร
เราสร้างระบบเพื่อมาเปลี่ยนแปลงคนไม่ได้ แต่เราน่าจะสามารถสร้างระบบที่ป้องกันคนเข้ามาแสวงประโยชน์จากอำนาจได้ ประชาธิปไตยที่แท้จริงน่าจะครอบคลุมความหมายที่สามารถตอบสนองผลประโยชน์ให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียมกันได้ ไม่ใช่ปล่อยให้คนที่เข้าสู่อำนาจอ้างการเลือกตั้งของประชาชนมาแสวงหาผลประโยชน์ได้
ตอนนี้เราพูดกันว่า นายกรัฐมนตรีควรจะมาจาก ส.ส.เพียงอย่างเดียวหรือเปิดกว้างให้ ส.ส.สามารถเลือกคนนอกเข้ามาดำรงตำแหน่งได้ ผมว่าใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีก็ไม่สำคัญเท่ากับว่า เราสามารถสร้างระบบเพื่อป้องกันคนเข้ามาแสวงหาประโยชน์จากอำนาจได้หรือไม่
เราไม่ได้เขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อต่อต้านใครคนใดคนหนึ่ง แต่เราเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อต่อต้านคนที่ใช้อำนาจเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งบังเอิญทักษิณเป็นคนแบบนี้ จึงเหมือนกับข้อเรียกร้องให้ต่อต้านทักษิณเป็นการเฉพาะ แล้วก็ทักษิณนั่นแหละที่เข้ามาสร้างระบอบทักษิณซ้อนทับขึ้นมาในระบอบประชาธิปไตยแล้วลวงประชาชนด้วยผลตอบแทนแบบประชานิยม แม้ว่าประชานิยมอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายถ้ามันตอบสนองต่อประโยชน์ของประชาชน โดยไม่มีผลประโยชน์ที่นักการเมืองกอบโกยไปมากกว่า
คำจำกัดความแค่ว่าประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้งทำให้ปัญญาชนฝ่ายทักษิณเอามาอ้างว่า ทักษิณคือฝ่ายประชาธิปไตย แล้วพอประชาชนส่วนหนึ่งใช้สิทธิในระบอบประชาธิปไตยออกมาต่อต้านทักษิณกลับถูกกล่าวหาว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามประชาธิปไตย แต่ถ้าประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจว่าประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้งพวกนิยมทักษิณก็ไม่สามารถเรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตยได้เลย เพราะจริงๆ แล้วการขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแต่ใช้อำนาจไม่ชอบธรรมก็เป็นวิธีการทางประชาธิปไตย
ดังนั้น จึงต้องทำให้ประชาชนเข้าใจความหมายที่แท้จริงของระบอบประชาธิปไตย
แต่ทักษิณเองก็รู้ว่า อำนาจของ คสช.ไม่ใช่เป็นอำนาจที่ยั่งยืน เขารู้ว่าสังคมไทยยังไงเสียก็ยังไม่มีวันที่จะรู้เท่าทันกลุ่มทุนพรรคการเมือง ก็เลยสั่งให้ลิ่วล้ออย่าไปขัดขวางการทำงานของ คสช.และรัฐบาล เพราะสุดท้ายแล้วก็จะกลับไปสู่การเลือกตั้งที่คนเข้าใจว่านั่นคือ ประชาธิปไตยและความไม่รู้จักแยกแยะว่านักการเมืองแบบทักษิณดีหรือเลวก็จะให้พรรคของเขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งกลับมาอีก
เพราะรัฐประหารเพียงแค่หยุดเวลาของการเลือกตั้งเอาไว้ชั่วคราวเท่านั้น คสช.และรัฐบาลทหารมีเพียงนโยบายที่เข้ามาหยุดยั้งความแตกแยก โดยไม่ได้มองหรือชี้ชัดลงไปว่าฝ่ายไหนผิดหรือถูกซ้ำยังมองว่าการเมืองทั้งสองขั้วต่างก็เป็นปัญหาพอๆ กัน การร่างรัฐธรรมนูญใหม่เป็นเพียงพิธีกรรมที่ต้องทำหลังรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญฉบับเก่าทิ้ง ครั้งนี้อาจจะพิเศษอยู่บ้างที่เรามีสภาปฏิรูปซึ่งเคยเป็นข้อเรียกร้องของประชาชน แต่ในทางปฏิบัติการปฏิรูปจะเป็นจริงหรือไม่ มันต้องขับเคลื่อนไปพร้อมกันในทุกองคาพยพ สุดท้ายแล้วก็ต้องถามพรรคการเมืองที่จะชนะการเลือกตั้งหลังจากนี้ว่าจะเอาด้วยไหม
ผมจึงไม่ได้คาดหวังอะไรจากการรัฐประหารครั้งนี้ ตราบเท่าที่อำนาจปากกระบอกปืนยังเข้าใจว่า ปัญหาการเมืองไทยเป็นเพียงเรื่องคนสองฝ่ายทะเลาะกัน ไม่เข้าใจว่า คนกลุ่มหนึ่งออกมาไล่ระบอบทักษิณที่สืบทอดอำนาจมาเกือบ 10 ปีเพราะระบอบทักษิณฉ้อฉลและแสวงหาประโยชน์เพื่อคนกลุ่มน้อย แต่เอาผลประโยชน์บางส่วนแบ่งปันเพื่อซื้อใจคนกลุ่มใหญ่ คนกลุ่มหนึ่งออกมาหนุนทักษิณเพราะมองเห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันและความเหลื่อมล้ำในสังคม และเชื่อว่า ทักษิณให้ประชาธิปไตยที่กินได้กับพวกเขา
แม้รัฐประหารครั้งนี้จะเอาตัวรอดได้เพราะเป็นที่สมประโยชน์ของทั้งสองฟากความขัดแย้ง พระสุเทพก็เชียร์ทักษิณทะนุถนอม ส่วนบทที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นำแสดงเป็นเพียงวงรอบของวัฏจักรการเมืองไทยที่ต้องหมุนมาเท่านั้นเอง
ดังนั้น จะไปหวังอะไรกับการเปลี่ยนแปลงหลังการรัฐประหารครั้งนี้ ทั่นผู้นำคงรู้แหละว่าอำนาจนั้นไม่จีรัง แต่คงคิดว่าเมื่อมีโอกาสก็แค่ผลัดกันชมบ้างเท่านั้นเอง