ASTVผู้จัดการรายวัน-"พิ้งกี้" ดาราสาวชื่อดัง เข้าพบพนักงานสอบสวนกองปราบปราม ปฏิเสธไม่รู้จักผู้ต้องหาในคดีลักเงิน สจล. เป็นงง มีชื่อหุ้นส่วนบริษัทในเครือ "มัทธุจัด" ได้อย่างไร ตำรวจเผยยังไม่พบว่าเข้าไปเกี่ยวข้อง คงไม่เชิญตัวมาสอบอีก เตรียมออกหมายจับผู้ต้องหาในคดีนี้เพิ่มอีก 4 รายวันนี้ พร้อมนำตัวสองแม่ลุกตระกูล "โสประดิษฐ์" ฝากขัง ด้านผู้บริหาร สจล. เปิดห้องแจง นศ.-คณาจารย์ หลังถูกอมเงิน 1,600 ล้าน ยันไม่กระทบการเรียนการสอน วอนอย่ากลัวเรียนจบแล้วตกงาน เหตุคุณภาพการสอบไม่เสียหาย ลั่นมีมาตรการสกัดโกง 3 ขั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 16.00 น. วานนี้ (7 ม.ค.) ที่กองปราบปราม น.ส.สาวิกา ไชยเดช หรือพิ้งกี้ ดาราสาวชื่อดัง ซึ่งมีชื่อหุ้นส่วนหรือกรรมการ 1 ใน 7 บริษัทในเครือของ นายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด ผู้ต้องหาคดียักยอกเงินสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้เดินทางเข้าพบ พล.ต.ท. ประวุฒิ ถาวรศิริ. ผู้ช่วย ผบ.ตร. รักษาการ ผบช.ก. พ.ต.อ.อัคราเดช พิมลศรี รักษาการ ผบก.ป. และพ.ต.อ.จิรภพ ภูริเดช รักษาราชการแทน ผกก.1 บก.ป. เพื่อให้ปากคำในกรณีดังกล่าว โดยมีนายอิทธิ ชวลิตธำรง หรือเพชร สามีนักธุรกิจ ร่วมเดินทางมาให้กำลังใจ
ทั้งนี้ พิ้งกี้ ซึ่งมีสีหน้ายิ้มแย้ม แต่ยังไม่ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน โดย พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ขอเวลาให้เจ้าหน้าที่สอบปากคำพิ้งกี้ก่อน แล้วจะให้สื่อสัมภาษณ์อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ดาราสาวคนดังกล่าวได้หลบนักข่าวจำนวนมากที่มารอทำข่าวอยู่ด้านหน้ากองปราบปราม โดยแอบขึ้นบันไดเข้าไปทางด้านข้างกองปราบปราม เพื่อหลบเลี่ยงนักข่าว
ต่อมาภายหลังการสอบปากคำเสร็จสิ้น ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง พิ้งกี้ ได้ออกมาเปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ตนไม่รู้จักกับนายกิตติศักดิ์เป็นการส่วนตัว รวมทั้งไม่ทราบด้วยว่ามีชื่อเป็นหุ้นส่วนของบริษัทของนายกิตติศักดิ์ ส่วนในรายละเอียดอื่นๆ นั้น ตนขออนุญาตให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ชี้แจงแทน เพื่อความกระจ่าง โดยทางพิ้งกี้ ปฏิเสธที่จะตอบข้อซักถามต่างๆ ขอสื่อมวลชนและขออนุญาตเดินทางกลับออกไปทันที
ด้าน พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า จากการสอบปากคำ น.ส.สาวิกา ทำให้ทราบว่าถูกชักชวนให้ร่วมเป็น 1 ใน 7 บริษัท ในเครือของนายกิตติศักดิ์ ผู้ต้องหาในคดี แต่บริษัทดังกล่าวได้มีการจดทะเบียนไว้เท่านั้น ยังไม่มีการดำเนินธุรกิจแต่อย่างใด จึงยังไม่พบเรื่องการแจ้งผลประกอบการหรือเงินหมุนเวียนในบัญชีของบริษัท รวมถึงบัญชีของ น.ส.สาวิกา จึงไม่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีการลักเงินสถาบันเทคโนโลยีฯ ลาดกระบัง หลังจากนี้ คงไม่ต้องเชิญตัว น.ส.สาวิกา มาให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนอีก
สำหรับกรณีการขออนุมัติศาลออกหมายจับผู้ต้องหาในคดีนี้เพิ่มเติมอีก 4 รายนั้น พนักงานสอบสวนอยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ คาดว่าจะสามารถขออนุมัติศาลออกหมายจับได้ภายในวันที่ 8 ม.ค.นี้ ส่วนนางสมบัติ โสประดิษฐ์ และ น.ส.จันทร์จิรา โสประดิษฐ์ สองแม่ลูก ผู้ต้องหาในคดีเดียวกัน ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับกุมตัวได้เมื่อวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา พนักงานสอบสวนจะควบคุมตัวไปขออำนาจศาลจังหวัดมีนบุรี ผัดฟ้องฝากขังในช่วงก่อนเที่ยงวันที่ 8 ม.ค. หลังจากควบคุมตัวไว้ครบ 48 ชั่วโมงแล้ว
ทั้งนี้ บริษัทที่ น.ส.สาวิกา หรือพิ้งกี้ ถือหุ้นและเป็นกรรมการร่วมกับนายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด คือ บริษัท เคพีพี โปรดักชั่น จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 25 ต.ค.2556 ด้วยทุน 1 ล้านบาท ประกอบธุรกิจจัดสร้างและจำหน่ายบทประพันธ์ ละคร รวมถึงภาพยนตร์ จัดสร้างรายการ เกมโชว์ วาไรตี้ ออกงานอีเวนต์ โดยนายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด ถือ 4,000 หุ้น (ร้อยละ 40), นายภูดิศ จันทิมา และ น.ส.สาวิกา ไชยเดช คนละ 3,000 หุ้น (ร้อยละ 30) และร่วมเป็นกรรมการ ขณะที่กรรมการผู้มีอำนาจทำการ 1 คือ นายกิตติศักดิ์ และกรรมการผู้มีอำนาจทำการ 2 คือ นายภูดิศ โดยรายงานงบการเงิน ณ สิ้นปี 2556 ระบุว่า บริษัท เคพีพี โปรดักชั่น จำกัด มีรายได้รวม 471.14 บาท มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 258,347.30 บาท มีสินทรัพย์รวม 985,740.97 บาท มีหนี้สิน 243,617.13 บาท ขาดทุนสะสม 257,876.16 บาท
วันเดียวกันนี้ ที่ห้องประชุมแคแสด สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ รักษาการแทนอธิการบดี สจล. พร้อมด้วย รศ.ดร.จำรูญ เล้าสินวัฒนา และผศ.ดร.เผ่าภัค ศิริสุข รักษาการแทนรองอธิการบดี สจล. ร่วมชี้แจงและทำความเข้าใจกับนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร กรณีปัญหาการยักยอกเงินคงคลังของ สจล. ที่หายไปกว่า 1,600 ล้านบาท โดยมีนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรเข้าร่วมรับฟังกว่า 200 คน
ศ.ดร.โมไนย กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด คณะผู้บริหาร สจล. ไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ที่ผ่านมา อาจจะยังไม่ได้ชี้แจงกับภายใน สจล. มากนัก ทำให้ส่วนใหญ่จะทราบข่าวผ่านสื่อมวลชน นั่นเพราะหลายประเด็นมีความเกี่ยวข้อกับรูปคดี แต่ตลอดเวลาที่เกิดปัญหา สจล. ได้ให้ความร่วมมือในการรวบรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆ ส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตามที่ร้องขอ และได้กำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าให้สาวเรื่องนี้ให้ถึงที่สุด เพราะไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับผู้บริหารชุดใดก็ตาม ถ้าทำผิด ก็ต้องถูกดำเนินการแน่นอน
ทั้งนี้ ตนยืนยันว่าเงินในส่วนที่หายไปนั้น ไม่มีผลกระทบต่อการเรียนการสอน รวมถึงการบริหารงานทุกส่วน โครงการต่างๆ การเดินทางที่จะต้องมีการขออนุมัติเบิกจ่ายงบประมาณ ก็ยังสามารถเบิกจ่ายตามปกติ 100% แน่นอน
"วันนี้ทุกคนเห็นภาพชัดเจนแล้วว่า สจล. มีอาชญากรเข้ามาโกงเงิน ดังนั้น ในอนาคตต้องมีความเข้มข้นในการบริหารจัดการมากขึ้น และจากนี้อยากขอร้องให้ทุกคนร่วมกันกอบกู้ภาพลักษณ์และชื่อเสียงในทางที่ดีของ สจล. ให้กลับมาอีกครั้ง โดยเริ่มต้นทำตัวเองให้ดีก่อน และสิ่งดีๆ ก็จะเกิดขึ้นตามมา ซึ่งผมเชื่อในพลังของนักศึกษา หากนักศึกษามีไอเดีย หรือโครงการดีๆ ที่จะทำให้เกิดประโยชน์แก่สถาบันฯ ก็ให้เสนอเข้ามาได้เลย”ศ.ดร.โมไนยกล่าว
สำหรับข้อกังวลของนักศึกษาที่กลัวว่าเมื่อเรียนจบจาก สจล. แล้ว สถานประกอบการต่างๆ จะไม่รับเข้าทำงานนั้น ตนมองว่าเรื่องนี้ไม่น่ามีผลต่อการรับเข้าทำงาน เพราะอาจารย์ยังสอนตามปกติ นักศึกษาก็ตั้งใจเรียน ดังนั้น คุณภาพการศึกษาก็ไม่ได้เสียหาย
ด้านรศ.ดร.จำรูญ กล่าวว่า ที่ผ่านมาระบบการตรวจสอบเงินของ สจล. มีมาตรฐาน โดยมีการตรวจสอบทั้งจากหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอก เช่น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เกิดมาจากเอกสารต่างๆ เช่น บัญชีธนาคาร ตัวเลขเงินในบัญชี รวมทั้งใบรับรองยอดเงิน ที่ส่งให้ผู้ตรวจสอบเป็นเอกสารเท็จที่กลุ่มมิจฉาชีพปลอมแปลงขึ้นมา จึงทำให้การตรวจสอบต่างๆ หลุดรอดมาได้ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น สจล. จึงได้มีการวางมาตรการป้องกันทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอยขึ้นอีก โดยระยะสั้น เปลี่ยนผู้มีอำนาจในการลงนาม และการทำธุรกรรมกับธนาคาร ระยะกลาง จะหารือเพื่อพิจารณาว่าควรปิด และคงสมุดบัญชีเล่มใดไว้บ้าง และระยะยาว คัดเลือกหน่วยงานภายนอกเข้ามาดำเนินธุรกรรมทางการเงินแทน สจล. เพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ไปสู่ระบบที่รัดกุมยิ่งขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 16.00 น. วานนี้ (7 ม.ค.) ที่กองปราบปราม น.ส.สาวิกา ไชยเดช หรือพิ้งกี้ ดาราสาวชื่อดัง ซึ่งมีชื่อหุ้นส่วนหรือกรรมการ 1 ใน 7 บริษัทในเครือของ นายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด ผู้ต้องหาคดียักยอกเงินสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้เดินทางเข้าพบ พล.ต.ท. ประวุฒิ ถาวรศิริ. ผู้ช่วย ผบ.ตร. รักษาการ ผบช.ก. พ.ต.อ.อัคราเดช พิมลศรี รักษาการ ผบก.ป. และพ.ต.อ.จิรภพ ภูริเดช รักษาราชการแทน ผกก.1 บก.ป. เพื่อให้ปากคำในกรณีดังกล่าว โดยมีนายอิทธิ ชวลิตธำรง หรือเพชร สามีนักธุรกิจ ร่วมเดินทางมาให้กำลังใจ
ทั้งนี้ พิ้งกี้ ซึ่งมีสีหน้ายิ้มแย้ม แต่ยังไม่ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน โดย พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ขอเวลาให้เจ้าหน้าที่สอบปากคำพิ้งกี้ก่อน แล้วจะให้สื่อสัมภาษณ์อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ดาราสาวคนดังกล่าวได้หลบนักข่าวจำนวนมากที่มารอทำข่าวอยู่ด้านหน้ากองปราบปราม โดยแอบขึ้นบันไดเข้าไปทางด้านข้างกองปราบปราม เพื่อหลบเลี่ยงนักข่าว
ต่อมาภายหลังการสอบปากคำเสร็จสิ้น ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง พิ้งกี้ ได้ออกมาเปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ตนไม่รู้จักกับนายกิตติศักดิ์เป็นการส่วนตัว รวมทั้งไม่ทราบด้วยว่ามีชื่อเป็นหุ้นส่วนของบริษัทของนายกิตติศักดิ์ ส่วนในรายละเอียดอื่นๆ นั้น ตนขออนุญาตให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ชี้แจงแทน เพื่อความกระจ่าง โดยทางพิ้งกี้ ปฏิเสธที่จะตอบข้อซักถามต่างๆ ขอสื่อมวลชนและขออนุญาตเดินทางกลับออกไปทันที
ด้าน พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า จากการสอบปากคำ น.ส.สาวิกา ทำให้ทราบว่าถูกชักชวนให้ร่วมเป็น 1 ใน 7 บริษัท ในเครือของนายกิตติศักดิ์ ผู้ต้องหาในคดี แต่บริษัทดังกล่าวได้มีการจดทะเบียนไว้เท่านั้น ยังไม่มีการดำเนินธุรกิจแต่อย่างใด จึงยังไม่พบเรื่องการแจ้งผลประกอบการหรือเงินหมุนเวียนในบัญชีของบริษัท รวมถึงบัญชีของ น.ส.สาวิกา จึงไม่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีการลักเงินสถาบันเทคโนโลยีฯ ลาดกระบัง หลังจากนี้ คงไม่ต้องเชิญตัว น.ส.สาวิกา มาให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนอีก
สำหรับกรณีการขออนุมัติศาลออกหมายจับผู้ต้องหาในคดีนี้เพิ่มเติมอีก 4 รายนั้น พนักงานสอบสวนอยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ คาดว่าจะสามารถขออนุมัติศาลออกหมายจับได้ภายในวันที่ 8 ม.ค.นี้ ส่วนนางสมบัติ โสประดิษฐ์ และ น.ส.จันทร์จิรา โสประดิษฐ์ สองแม่ลูก ผู้ต้องหาในคดีเดียวกัน ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับกุมตัวได้เมื่อวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา พนักงานสอบสวนจะควบคุมตัวไปขออำนาจศาลจังหวัดมีนบุรี ผัดฟ้องฝากขังในช่วงก่อนเที่ยงวันที่ 8 ม.ค. หลังจากควบคุมตัวไว้ครบ 48 ชั่วโมงแล้ว
ทั้งนี้ บริษัทที่ น.ส.สาวิกา หรือพิ้งกี้ ถือหุ้นและเป็นกรรมการร่วมกับนายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด คือ บริษัท เคพีพี โปรดักชั่น จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 25 ต.ค.2556 ด้วยทุน 1 ล้านบาท ประกอบธุรกิจจัดสร้างและจำหน่ายบทประพันธ์ ละคร รวมถึงภาพยนตร์ จัดสร้างรายการ เกมโชว์ วาไรตี้ ออกงานอีเวนต์ โดยนายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด ถือ 4,000 หุ้น (ร้อยละ 40), นายภูดิศ จันทิมา และ น.ส.สาวิกา ไชยเดช คนละ 3,000 หุ้น (ร้อยละ 30) และร่วมเป็นกรรมการ ขณะที่กรรมการผู้มีอำนาจทำการ 1 คือ นายกิตติศักดิ์ และกรรมการผู้มีอำนาจทำการ 2 คือ นายภูดิศ โดยรายงานงบการเงิน ณ สิ้นปี 2556 ระบุว่า บริษัท เคพีพี โปรดักชั่น จำกัด มีรายได้รวม 471.14 บาท มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 258,347.30 บาท มีสินทรัพย์รวม 985,740.97 บาท มีหนี้สิน 243,617.13 บาท ขาดทุนสะสม 257,876.16 บาท
วันเดียวกันนี้ ที่ห้องประชุมแคแสด สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ รักษาการแทนอธิการบดี สจล. พร้อมด้วย รศ.ดร.จำรูญ เล้าสินวัฒนา และผศ.ดร.เผ่าภัค ศิริสุข รักษาการแทนรองอธิการบดี สจล. ร่วมชี้แจงและทำความเข้าใจกับนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร กรณีปัญหาการยักยอกเงินคงคลังของ สจล. ที่หายไปกว่า 1,600 ล้านบาท โดยมีนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรเข้าร่วมรับฟังกว่า 200 คน
ศ.ดร.โมไนย กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด คณะผู้บริหาร สจล. ไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ที่ผ่านมา อาจจะยังไม่ได้ชี้แจงกับภายใน สจล. มากนัก ทำให้ส่วนใหญ่จะทราบข่าวผ่านสื่อมวลชน นั่นเพราะหลายประเด็นมีความเกี่ยวข้อกับรูปคดี แต่ตลอดเวลาที่เกิดปัญหา สจล. ได้ให้ความร่วมมือในการรวบรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆ ส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตามที่ร้องขอ และได้กำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าให้สาวเรื่องนี้ให้ถึงที่สุด เพราะไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับผู้บริหารชุดใดก็ตาม ถ้าทำผิด ก็ต้องถูกดำเนินการแน่นอน
ทั้งนี้ ตนยืนยันว่าเงินในส่วนที่หายไปนั้น ไม่มีผลกระทบต่อการเรียนการสอน รวมถึงการบริหารงานทุกส่วน โครงการต่างๆ การเดินทางที่จะต้องมีการขออนุมัติเบิกจ่ายงบประมาณ ก็ยังสามารถเบิกจ่ายตามปกติ 100% แน่นอน
"วันนี้ทุกคนเห็นภาพชัดเจนแล้วว่า สจล. มีอาชญากรเข้ามาโกงเงิน ดังนั้น ในอนาคตต้องมีความเข้มข้นในการบริหารจัดการมากขึ้น และจากนี้อยากขอร้องให้ทุกคนร่วมกันกอบกู้ภาพลักษณ์และชื่อเสียงในทางที่ดีของ สจล. ให้กลับมาอีกครั้ง โดยเริ่มต้นทำตัวเองให้ดีก่อน และสิ่งดีๆ ก็จะเกิดขึ้นตามมา ซึ่งผมเชื่อในพลังของนักศึกษา หากนักศึกษามีไอเดีย หรือโครงการดีๆ ที่จะทำให้เกิดประโยชน์แก่สถาบันฯ ก็ให้เสนอเข้ามาได้เลย”ศ.ดร.โมไนยกล่าว
สำหรับข้อกังวลของนักศึกษาที่กลัวว่าเมื่อเรียนจบจาก สจล. แล้ว สถานประกอบการต่างๆ จะไม่รับเข้าทำงานนั้น ตนมองว่าเรื่องนี้ไม่น่ามีผลต่อการรับเข้าทำงาน เพราะอาจารย์ยังสอนตามปกติ นักศึกษาก็ตั้งใจเรียน ดังนั้น คุณภาพการศึกษาก็ไม่ได้เสียหาย
ด้านรศ.ดร.จำรูญ กล่าวว่า ที่ผ่านมาระบบการตรวจสอบเงินของ สจล. มีมาตรฐาน โดยมีการตรวจสอบทั้งจากหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอก เช่น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เกิดมาจากเอกสารต่างๆ เช่น บัญชีธนาคาร ตัวเลขเงินในบัญชี รวมทั้งใบรับรองยอดเงิน ที่ส่งให้ผู้ตรวจสอบเป็นเอกสารเท็จที่กลุ่มมิจฉาชีพปลอมแปลงขึ้นมา จึงทำให้การตรวจสอบต่างๆ หลุดรอดมาได้ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น สจล. จึงได้มีการวางมาตรการป้องกันทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอยขึ้นอีก โดยระยะสั้น เปลี่ยนผู้มีอำนาจในการลงนาม และการทำธุรกรรมกับธนาคาร ระยะกลาง จะหารือเพื่อพิจารณาว่าควรปิด และคงสมุดบัญชีเล่มใดไว้บ้าง และระยะยาว คัดเลือกหน่วยงานภายนอกเข้ามาดำเนินธุรกรรมทางการเงินแทน สจล. เพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ไปสู่ระบบที่รัดกุมยิ่งขึ้น