ASTVผู้จัดการรายวัน-“ประจิน”ขีดเส้นตั้งกรมขนส่งทางรางในก.ย. 58 เริ่มใช้งบประมาณปี 59 วางบทบาทรวมศูนย์งานกำกับดูแลมาตรฐานปลอดภัย ราคา ก่อสร้างและเชื่อมโครงข่ายระบบรางทั้งประเทศ ลดบทบาท ร.ฟ.ท., รฟม.เหลือเดินรถ ส่วนเฟส 2 ทยอยโอนทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานให้กรมรางต่อไป
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวงคมนาคม วานนี้( 6 ม.ค.) ว่า ที่ประชุมได้สรุปกรอบแนวทางและขั้นตอนในการขอจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง เป็น กรมใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาลของรัฐบาลในการพัฒนาระบบรางของประเทศซึ่งมีขั้นตอนในการจัดตั้งซึ่งคาดว่าจะสรุปเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)ได้ภายในวันที่ 3 มีนาคม จากนั้น ขั้นตอนการพิจารณาจะต้องเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.)เพื่อพิจารณาเห็นชอบร่างพรบ.จัดตั้งกรมราง ได้ภายในเดือนกรกฎาคม และเสนอเข้าสู่วาระการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสนช. เพื่อพิจารณาอนุมัติและประกาศใช้กฎหมายโดยคาดว่าจะจัดตั้งกรมราง ได้และเริ่มทำงานในเดือนตุลาคม 2558 ซึ่งล่าช้ากว่าแผนเดิมที่กำหนดไว้ในเดือนมิถุนายนประมาณ 3 เดือน
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า บทบาทและภารกิจของกรมรางจะเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) ดูแลในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย การบริการ กำหนดโครงสร้างราคา และการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบรางทั้งหมดของประเทศ และการพัฒนาระบบรางในอนาคตที่จะมีนวัตกรรมใหม่ๆ และดูแลการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของระบบรางทั้งหมด โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท รถไฟฟ้าร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตเรลลิงก์) จะทำหน้าที่เดินรถ โดยในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างที่มีกรมรางเกิดขึ้นนี้จะมีการกำหนดระยะเวลาในการถ่ายโอนโครงสร้างพื้นฐานที่ทั้ง 3 หน่วยงานได้ก่อสร้างไว้ ซึ่งจะมีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวงคมนาคม เพื่อกำหนดความชัดเจนต่อไป
สำหรับโครงสร้างของกรมราง ประกอบด้วย อธิบดี 1 คนรองอธิบดี 3 คน ส่วนบุคลากรประมาณ 200-300 คน นั้นในช่วงแรกจะถ่ายโอนมาจากร.ฟ.ท.,รฟม. โดยจะเป็นพนักงานรุ่นใหม่ เนื่องจากอัตราเงินเดือนยังไม่สูงมาก จะไม่มีปัญหา หากเป็นพนักงานที่ทำงานมานานแล้วอัตราเงินเดือน ของรัฐวิสาหกิจะสูงกว่าหน่วยงานราชการ ส่วนภารกิจจะค่อยๆ ทยอยโอนถ่ายมา เพื่อให้สามารถฝึกบุคลากรได้ทันรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานจะมีแผนในการทยอยโอนมายังกรมราง โดยจะเริ่มจากโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิมก่อน ส่วนงานที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เช่น โครงการรถไฟทางคู่ ต่างๆ และรถไฟฟ้า จะให้การก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนจึงจะมีแผนในการโอนมายังกรมราง
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวงคมนาคม วานนี้( 6 ม.ค.) ว่า ที่ประชุมได้สรุปกรอบแนวทางและขั้นตอนในการขอจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง เป็น กรมใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาลของรัฐบาลในการพัฒนาระบบรางของประเทศซึ่งมีขั้นตอนในการจัดตั้งซึ่งคาดว่าจะสรุปเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)ได้ภายในวันที่ 3 มีนาคม จากนั้น ขั้นตอนการพิจารณาจะต้องเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.)เพื่อพิจารณาเห็นชอบร่างพรบ.จัดตั้งกรมราง ได้ภายในเดือนกรกฎาคม และเสนอเข้าสู่วาระการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสนช. เพื่อพิจารณาอนุมัติและประกาศใช้กฎหมายโดยคาดว่าจะจัดตั้งกรมราง ได้และเริ่มทำงานในเดือนตุลาคม 2558 ซึ่งล่าช้ากว่าแผนเดิมที่กำหนดไว้ในเดือนมิถุนายนประมาณ 3 เดือน
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า บทบาทและภารกิจของกรมรางจะเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) ดูแลในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย การบริการ กำหนดโครงสร้างราคา และการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบรางทั้งหมดของประเทศ และการพัฒนาระบบรางในอนาคตที่จะมีนวัตกรรมใหม่ๆ และดูแลการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของระบบรางทั้งหมด โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท รถไฟฟ้าร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตเรลลิงก์) จะทำหน้าที่เดินรถ โดยในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างที่มีกรมรางเกิดขึ้นนี้จะมีการกำหนดระยะเวลาในการถ่ายโอนโครงสร้างพื้นฐานที่ทั้ง 3 หน่วยงานได้ก่อสร้างไว้ ซึ่งจะมีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวงคมนาคม เพื่อกำหนดความชัดเจนต่อไป
สำหรับโครงสร้างของกรมราง ประกอบด้วย อธิบดี 1 คนรองอธิบดี 3 คน ส่วนบุคลากรประมาณ 200-300 คน นั้นในช่วงแรกจะถ่ายโอนมาจากร.ฟ.ท.,รฟม. โดยจะเป็นพนักงานรุ่นใหม่ เนื่องจากอัตราเงินเดือนยังไม่สูงมาก จะไม่มีปัญหา หากเป็นพนักงานที่ทำงานมานานแล้วอัตราเงินเดือน ของรัฐวิสาหกิจะสูงกว่าหน่วยงานราชการ ส่วนภารกิจจะค่อยๆ ทยอยโอนถ่ายมา เพื่อให้สามารถฝึกบุคลากรได้ทันรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานจะมีแผนในการทยอยโอนมายังกรมราง โดยจะเริ่มจากโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิมก่อน ส่วนงานที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เช่น โครงการรถไฟทางคู่ ต่างๆ และรถไฟฟ้า จะให้การก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนจึงจะมีแผนในการโอนมายังกรมราง