"มาสเตอร์โพล"ระบุ แกนนำชุมชนส่วนใหญ่ ไม่ได้ติดตามชมรายการ "บิ๊กตู่คืนความสุขให้คนในชาติ" ขณะที่คนชมก็ให้ความสนใจแค่บางประเด็นเท่านั้น โดยให้ความสนใจกับ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนเรื่องที่เป็นห่วงมากที่สุดคือ การแก้ไขปัญหาเรื่องข้าว ยางพารา มากกว่าการปฏิรูปการเมือง
มาสเตอร์โพลล์ สำรวจเรื่อง คืนความสุขให้คนในชาติ และที่สุดแห่งนโยบายรัฐบาลในสายตาแกนนำชุมชน : กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนจำนวนทั้งสิ้น 624 ชุมชน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2-3 ม.ค.57
จากการสอบถาม การติดตามรับชมรายการคืนความสุขให้คนในชาติ เมื่อคืนวันที่ 2 ม.ค.ที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 18.9 ระบุติดตามรับชมทุกประเด็น ในขณะที่ร้อยละ 59.4 ระบุ ติดตามรับชมบางประเด็น และร้อยละ 21.7 ระบุ ไม่ได้ติดตาม
เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกของกลุ่มที่ติดตามรับชมรายการ คืนความสุขให้คนในชาติ ต่อผลงานของรัฐบาลที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้พูดถึงในรายการ พบว่า ผลการดำเนินงานด้าน“การคืนความสุขให้เกษตรกร ”อาทิ โครงการผูกปิ่นโตข้าว โครงการฟาร์มบ้านชัดเจน โครงการปลูกข้าวอินทรีย์ นั้น แกนนำชุมชนร้อยละ 62.2 ระบุ รู้สึกมีความหวังในผลงานดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 24.8 ระบุ รู้สึกกังวลว่า จะไม่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ร้อยละ 1.3 ระบุรู้สึกเบื่อ และร้อยละ 11.7 ระบุเฉยๆ ไม่ได้รู้สึกอะไร
สำหรับโครงการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้จักรยาน แทนการใช้รถยนต์นั้น พบว่า แกนนำชุมชน ร้อยละ 52.1 ระบุ รู้สึกมีความหวัง ร้อยละ 31.8 ระบุ รู้สึกกังวลว่าจะไม่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ ร้อยละ 3.2 ระบุ รู้สึกเบื่อ และร้อยละ 12.9 ระบุเฉยๆ ไม่รู้สึกอะไร
นอกจากนี้ แกนนำชุมชนร้อยละ 54.4 ระบุ รู้สึกมีความหวังกับผลการดำเนินงานด้านการปลูกฝังส่งเสริมค่านิยม 12 ประการ ของประชาชนในชาติ ในขณะที่ร้อยละ 32.1 ระบุ รู้สึกกังวลว่าจะไม่ต่อเนื่อง ในขณะที่ร้อยละ 2.1 ระบุ รู้สึกเบื่อ และร้อยละ 11.4 ระบุเฉยๆ ไม่ได้รู้สึกอะไร
สำหรับการรณรงค์เรื่องการปรับสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ในชุมชนให้สะอาด ปลอดภัย และเป็นระเบียบนั้น พบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 65.1 ระบุ รู้สึกมีความหวัง ร้อยละ 22.5 ระบุ รู้สึกกังวลว่าจะไม่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ร้อยละ 0.8 ระบุรู้สึกเบื่อ และร้อยละ 11.6 ระบุเฉยๆ ไม่ได้รู้สึกอะไร
ทั้งนี้ แกนนำชุมชน ร้อยละ 66.3 ระบุ รู้สึกมีความหวังกับผลการดำเนินงานของรัฐบาลด้านการแก้ไข ช่วยเหลือพื้นฟูพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติ ในขณะที่ ร้อยละ 23.3 ระบุ รู้สึกกังวลว่าจะไม่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 1.1 ระบุรู้สึกเบื่อ และร้อยละ 9.3 ระบุเฉยๆ ไม่ได้รู้สึกอะไร
เมื่อสอบถามถึง ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลโดยภาพรวม ภายหลังที่ได้ติดตามรับชมรายการคืนความสุขให้คนในชาตินั้น พบว่า แกนนำชุมชน ร้อยละ 43.2 ระบุมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ในขณะที่ ร้อยละ 50.9 ระบุ เชื่อมั่นเหมือนเดิม ร้อยละ 3.8 ระบุ ไม่เชื่อมั่นเหมือนเดิม และ ร้อยละ 2.1 ระบุลดความเชื่อมั่นลง
เมื่อสอบถามความคิดเห็นถึง ความพยายามของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศนั้น พบว่า แกนนำชุมชนส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 80.1ระบุเห็นว่า มีความพยายามมาก-มากที่สุด โดยให้คะแนนความพยายามเฉลี่ย เท่ากับ 8.28 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ต่อกรณี สถานการณ์ปัญหาที่รู้สึกกังวลมากที่สุดในวันนี้ พบว่า แกนนำชุมชน ร้อยละ 35.0 ระบุ รู้สึกกังวลกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่ ร้อยละ 15.0 ระบุ รู้สึกกังวลกับปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร ชาวนา ชาวสวนยาง ร้อยละ 13.1 ระบุ รู้สึกกังวลกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 12.9 ระบุ ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 11.4 ระบุ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง และความรักความสามัคคีของคนในชาติ นอกจากนี้ ร้อยละ 9.9 ระบุ ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพ ราคาสินค้า หนี้สิน และ ร้อยละ 2.7 ระบุ รู้สึกกังวลกับปัญหาเกี่ยวที่ดินทำกิน ภัยธรรมชาติ ปัญหาการว่างงาน สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม และการปัญหาการบุกรุกป่า เป็นต้น
สำหรับความคิดเห็นของแกนนำชุมชน ต่อการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล พบว่า นโยบายที่แกนนำชุมชนสนใจติดตามมากที่สุด คือ นโยบายเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ / การส่งเสริมศักยภาพด้านเศรษฐกิจของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 29.1 รองลงมา คือ การดำเนินงานด้านการปฏิรูปการเมือง คิดเป็นร้อยละ 24.0 นโยบายเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเกษตรกร ทั้ง ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และ อ้อย คิดเป็นร้อยละ 15.7 การป้องกันและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ คิดเป็นร้อยละ 9.1 การพัฒนาการศึกษาและเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน คิดเป็นร้อยละ 6.8 การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 6.4 การยกระดับมาตรฐานกีฬาสู่สากล คิดเป็นร้อยละ 5.5 ในขณะที่ร้อยละ 3.4 ระบุสนใจติดตามเรื่องอื่นๆ อาทิ การค้ามนุษย์ ส่งเสริมสิทธิสตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ การแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน ความสามัคคีของประชาชน การส่งเสริมความปรองดองของคนในชาติ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน/การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
เมื่อสอบถามถึง การดำเนินนโยบายที่รู้สึกเป็นห่วงมากที่สุดนั้น พบว่า ร้อยละ 30.7 ระบุ การแก้ไขปัญหาเรื่องข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง การแก้ไขปัญหาเกษตรกร รองลงมา คือ ร้อยละ 19.4 ระบุ การปฏิรูปการเมือง ร้อยละ 16.8 ระบุ การดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ /การส่งเสริมศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 7.8 ระบุ การพัฒนาการศึกษาและเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ร้อยละ 7.2 ระบุการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 6.1 ระบุการแก้ไขปัญหาความยากจน ในขณะที่ร้อยละ 12.0 ระบุ รู้สึกเป็นห่วงในการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและการสร้างความเป็นธรรมในสังคม การเสนอกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ การอำนวยความยุติธรรมเพื่อลดการเหลื่อมล้ำ การเสนอร่างกฏหมายเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ตามลำดับ
สำหรับนโยบายที่เชื่อมั่นในความสำเร็จมากที่สุด นั้นพบว่า แกนนำชุมชน ร้อยละ 28.7 ระบุ การป้องกันและเชิดชู สถาบันพระมหากษัตริย์ รองลงมาคือ ร้อยละ 20.2 ระบุ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 19.8 ระบุ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ร้อยละ 8.2 ระบุ การดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ /การส่งเสริมศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 7.3 ระบุการแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน ร้อยละ 7.2 ระบุการแก้ไขปัญหาเรื่องข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง การแก้ไขปัญหาเกษตรกร ในขณะที่ร้อยละ 8.6 ระบุอื่นๆ อาทิ การแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน/ การปฏิรูปกฎระเบียบของข้าราชการ/การแก้ไขปัญหาความยากจน/ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน.
มาสเตอร์โพลล์ สำรวจเรื่อง คืนความสุขให้คนในชาติ และที่สุดแห่งนโยบายรัฐบาลในสายตาแกนนำชุมชน : กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนจำนวนทั้งสิ้น 624 ชุมชน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2-3 ม.ค.57
จากการสอบถาม การติดตามรับชมรายการคืนความสุขให้คนในชาติ เมื่อคืนวันที่ 2 ม.ค.ที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 18.9 ระบุติดตามรับชมทุกประเด็น ในขณะที่ร้อยละ 59.4 ระบุ ติดตามรับชมบางประเด็น และร้อยละ 21.7 ระบุ ไม่ได้ติดตาม
เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกของกลุ่มที่ติดตามรับชมรายการ คืนความสุขให้คนในชาติ ต่อผลงานของรัฐบาลที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้พูดถึงในรายการ พบว่า ผลการดำเนินงานด้าน“การคืนความสุขให้เกษตรกร ”อาทิ โครงการผูกปิ่นโตข้าว โครงการฟาร์มบ้านชัดเจน โครงการปลูกข้าวอินทรีย์ นั้น แกนนำชุมชนร้อยละ 62.2 ระบุ รู้สึกมีความหวังในผลงานดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 24.8 ระบุ รู้สึกกังวลว่า จะไม่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ร้อยละ 1.3 ระบุรู้สึกเบื่อ และร้อยละ 11.7 ระบุเฉยๆ ไม่ได้รู้สึกอะไร
สำหรับโครงการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้จักรยาน แทนการใช้รถยนต์นั้น พบว่า แกนนำชุมชน ร้อยละ 52.1 ระบุ รู้สึกมีความหวัง ร้อยละ 31.8 ระบุ รู้สึกกังวลว่าจะไม่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ ร้อยละ 3.2 ระบุ รู้สึกเบื่อ และร้อยละ 12.9 ระบุเฉยๆ ไม่รู้สึกอะไร
นอกจากนี้ แกนนำชุมชนร้อยละ 54.4 ระบุ รู้สึกมีความหวังกับผลการดำเนินงานด้านการปลูกฝังส่งเสริมค่านิยม 12 ประการ ของประชาชนในชาติ ในขณะที่ร้อยละ 32.1 ระบุ รู้สึกกังวลว่าจะไม่ต่อเนื่อง ในขณะที่ร้อยละ 2.1 ระบุ รู้สึกเบื่อ และร้อยละ 11.4 ระบุเฉยๆ ไม่ได้รู้สึกอะไร
สำหรับการรณรงค์เรื่องการปรับสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ในชุมชนให้สะอาด ปลอดภัย และเป็นระเบียบนั้น พบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 65.1 ระบุ รู้สึกมีความหวัง ร้อยละ 22.5 ระบุ รู้สึกกังวลว่าจะไม่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ร้อยละ 0.8 ระบุรู้สึกเบื่อ และร้อยละ 11.6 ระบุเฉยๆ ไม่ได้รู้สึกอะไร
ทั้งนี้ แกนนำชุมชน ร้อยละ 66.3 ระบุ รู้สึกมีความหวังกับผลการดำเนินงานของรัฐบาลด้านการแก้ไข ช่วยเหลือพื้นฟูพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติ ในขณะที่ ร้อยละ 23.3 ระบุ รู้สึกกังวลว่าจะไม่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 1.1 ระบุรู้สึกเบื่อ และร้อยละ 9.3 ระบุเฉยๆ ไม่ได้รู้สึกอะไร
เมื่อสอบถามถึง ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลโดยภาพรวม ภายหลังที่ได้ติดตามรับชมรายการคืนความสุขให้คนในชาตินั้น พบว่า แกนนำชุมชน ร้อยละ 43.2 ระบุมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ในขณะที่ ร้อยละ 50.9 ระบุ เชื่อมั่นเหมือนเดิม ร้อยละ 3.8 ระบุ ไม่เชื่อมั่นเหมือนเดิม และ ร้อยละ 2.1 ระบุลดความเชื่อมั่นลง
เมื่อสอบถามความคิดเห็นถึง ความพยายามของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศนั้น พบว่า แกนนำชุมชนส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 80.1ระบุเห็นว่า มีความพยายามมาก-มากที่สุด โดยให้คะแนนความพยายามเฉลี่ย เท่ากับ 8.28 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ต่อกรณี สถานการณ์ปัญหาที่รู้สึกกังวลมากที่สุดในวันนี้ พบว่า แกนนำชุมชน ร้อยละ 35.0 ระบุ รู้สึกกังวลกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่ ร้อยละ 15.0 ระบุ รู้สึกกังวลกับปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร ชาวนา ชาวสวนยาง ร้อยละ 13.1 ระบุ รู้สึกกังวลกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 12.9 ระบุ ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 11.4 ระบุ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง และความรักความสามัคคีของคนในชาติ นอกจากนี้ ร้อยละ 9.9 ระบุ ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพ ราคาสินค้า หนี้สิน และ ร้อยละ 2.7 ระบุ รู้สึกกังวลกับปัญหาเกี่ยวที่ดินทำกิน ภัยธรรมชาติ ปัญหาการว่างงาน สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม และการปัญหาการบุกรุกป่า เป็นต้น
สำหรับความคิดเห็นของแกนนำชุมชน ต่อการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล พบว่า นโยบายที่แกนนำชุมชนสนใจติดตามมากที่สุด คือ นโยบายเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ / การส่งเสริมศักยภาพด้านเศรษฐกิจของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 29.1 รองลงมา คือ การดำเนินงานด้านการปฏิรูปการเมือง คิดเป็นร้อยละ 24.0 นโยบายเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเกษตรกร ทั้ง ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และ อ้อย คิดเป็นร้อยละ 15.7 การป้องกันและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ คิดเป็นร้อยละ 9.1 การพัฒนาการศึกษาและเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน คิดเป็นร้อยละ 6.8 การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 6.4 การยกระดับมาตรฐานกีฬาสู่สากล คิดเป็นร้อยละ 5.5 ในขณะที่ร้อยละ 3.4 ระบุสนใจติดตามเรื่องอื่นๆ อาทิ การค้ามนุษย์ ส่งเสริมสิทธิสตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ การแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน ความสามัคคีของประชาชน การส่งเสริมความปรองดองของคนในชาติ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน/การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
เมื่อสอบถามถึง การดำเนินนโยบายที่รู้สึกเป็นห่วงมากที่สุดนั้น พบว่า ร้อยละ 30.7 ระบุ การแก้ไขปัญหาเรื่องข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง การแก้ไขปัญหาเกษตรกร รองลงมา คือ ร้อยละ 19.4 ระบุ การปฏิรูปการเมือง ร้อยละ 16.8 ระบุ การดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ /การส่งเสริมศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 7.8 ระบุ การพัฒนาการศึกษาและเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ร้อยละ 7.2 ระบุการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 6.1 ระบุการแก้ไขปัญหาความยากจน ในขณะที่ร้อยละ 12.0 ระบุ รู้สึกเป็นห่วงในการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและการสร้างความเป็นธรรมในสังคม การเสนอกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ การอำนวยความยุติธรรมเพื่อลดการเหลื่อมล้ำ การเสนอร่างกฏหมายเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ตามลำดับ
สำหรับนโยบายที่เชื่อมั่นในความสำเร็จมากที่สุด นั้นพบว่า แกนนำชุมชน ร้อยละ 28.7 ระบุ การป้องกันและเชิดชู สถาบันพระมหากษัตริย์ รองลงมาคือ ร้อยละ 20.2 ระบุ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 19.8 ระบุ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ร้อยละ 8.2 ระบุ การดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ /การส่งเสริมศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 7.3 ระบุการแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน ร้อยละ 7.2 ระบุการแก้ไขปัญหาเรื่องข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง การแก้ไขปัญหาเกษตรกร ในขณะที่ร้อยละ 8.6 ระบุอื่นๆ อาทิ การแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน/ การปฏิรูปกฎระเบียบของข้าราชการ/การแก้ไขปัญหาความยากจน/ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน.