ASTVผู้จัดการรายวัน-"บรรหาร"ไม่แนะนำการบริหารประเทศให้ "บิ๊กตู่" เผยมีความสามารถอยู่แล้ว แต่แนะเป็นนายกฯ ไม่ง่าย ควรเกาะติดการทำงานของระดับปฏิบัติ พร้อมฝากดูแลเศรษฐกิจ เตือนยกร่างรัฐธรรมนูญอย่ามีอคติ จะเกิดความไม่ปรองดอง ด้าน "บัญญัติ" ชี้ 3 ปม ถอดถอนนักการเมืองและเอาผิด "ปู" โกงข้าว คลื่นใต้น้ำเคลื่อนไหว และเศรษฐกิจซบเซา จะเป็นตัวเร่งทำอุณหภูมิการเมืองระอุ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (31 ธ.ค.) ที่บ้านซอยจรัญสนิทวงศ์ 55 นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ได้เปิดให้สมาชิกพรรค และบุคคลใกล้ชิด เข้าอวยพรปีใหม่
นายบรรหารกล่าวว่า ในปี 2557 มีแต่ความลำบากใจและมีการแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม แต่ก็ต้องขอบคุณพระเจ้าที่ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข ส่วนในปี 2558 ตนห่วงในเรื่องเศรษฐกิจ และหวังว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น เพราะที่ผ่านมา เศรษฐกิจของประเทศยังไม่ดีเท่าที่ควร ประชาชนใช้จ่ายลดลง ขณะที่ชาวนาชาวไร่ผลผลิตไม่ดี เงินที่ใช่จ่ายก็ลดลงไปด้วย ซึ่งต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องเข้ามาแก้ไข แต่ตนไม่ขอแนะนำใดๆ เพราะรัฐบาลมีทีมเศรษฐกิจที่เก่งอยู่แล้ว รวมถึงให้เป็นหน้าที่ของคณะปฏิรูป
"ไม่ขอแนะนำการทำหน้าที่ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพราะมีความสามารถอยู่แล้ว และทำหน้าที่ได้ครบถ้วน แต่อยากฝากว่าการเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ง่าย เพราะเหมือนการอยู่บนหอคอยงาช้าง แต่ก็ต้องสอดคล้องดูแลการทำงานของระดับปฏิบัติการด้วย รวมถึงอยากให้ดูแลด้านเศรษฐกิจเพิ่มเติม เพราะการที่เศรษฐกิจจะดีได้ ประชาชนจะต้องมีเงินในมือและมีกำลังซื้อ"นายบรรหารกล่าว
นายบรรหารกล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรว่า ไม่มีความคิดเห็น แต่ก็ขออย่าให้เป็นร่างรัฐธรรมนูญที่อคติต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะความปรองดองจะไม่เกิด ถ้าทำได้ปัญหาจะหมดไป พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าในอนาคตหากนักการเมืองไม่สังกัดพรรค เชื่อว่าจะเกิดปัญหาอย่างแน่นอนเหมือนในปี 2524-2525 ก็มีตัวอย่างมาแล้ว
ส่วนการเลือกนายกรัฐมนตรีมาจากคนนอก นายบรรหารปฏิเสธที่จะออกความคิดเห็น โดยขอให้เป็นเรื่องอนาคต และพร้อมยอมรับสิ่งที่จะเกิดขึ้น และยังได้กล่าวถึงกรณีการตัดสิทธิ์นักการเมืองที่ทุจริตคอรัปชั่นว่า ควรตัดสิทธิ์เฉพาะนักการเมืองที่ทุจริตภายหลังมีรัฐธรรมนูญ ไม่ควรตัดลงโทษย้อนหลัง ทั้งนี้ คาดว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุด คือ ปี 2559
สำหรับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะเดินทางไปเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นที่จังหวัดสุพรรณบุรีในวันที่ 17-18 ม.ค.2558 นายบรรหารกล่าวว่า ตนยังไม่รับทราบเรื่องดังกล่าว แต่ถือเป็นเรื่องที่ดี และหากตนว่าง ก็จะเดินทางไปรับฟังความคิดเห็นด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตนยังไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ และขอเอาใจช่วยทุกฝ่ายพร้อมขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลให้คนไทยมีความสุขความเจริญ สุขสมหวัง และขอให้ผ่านอุปสรรคต่างไปได้ ให้ประชาชนมีเงินใช้จ่ายและขอให้ทุกฝ่ายสามัคคีเพื่อให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง
ทางด้านนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ได้วิเคราะห์ถึงสถานการณ์การเมืองในปี 2558 ว่า หากมองในขณะนี้ คงจะยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากนี้มากนัก ความสับสนวุ่นวายจะยังคงมีอยู่ และเป็นที่น่ากังวลด้วยซ้ำว่า จะร้อนแรงกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้หรือไม่
ทั้งนี้ มองว่ามีตัวแปร 3 ตัว ที่จะสร้างแรงกดดันสำหรับการเมืองในปี 2558 คือ ตัวแปรที่ 1 คนคาดหวังจากการรัฐประหาร แต่พอผ่านมาระยะหนึ่ง เริ่มเกิดความไม่แน่ใจ เพราะเรื่องถอดถอนนักการเมือง ยังมีอาการล่าช้า โอ้เอ้ ไม่ยอมตกผลึกว่าจะเอาอย่างไร และโครงการรับจำนำข้าวของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ใครๆ ก็รู้ว่ามันชัดเจน ยังมีการโยกโย้ของอัยการสูงสุดที่ต่อรองกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กันอยู่ว่าวันนี้จะออกมาอย่างไร ก็เอาความกันไม่ได้ ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้ หากเริ่มเดือนม.ค.2558 แล้ว ยังเป็นไปในทางลบ จะทำให้อุณหภูมิการเมืองร้อนขึ้นมากพอสมควร
สำหรับตัวแปรตัวที่ 2 ขณะนี้คลื่นใต้น้ำยังคงมีอยู่ และเคลื่อนไหวมากขึ้น ถือเป็นธรรมชาติของเขา แต่ที่กังวลคือถ้ามีการเคลื่อนไหวมากขึ้น ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือรัฐบาลไปใช้มาตรฐานเดียวกัน ระหว่างกลุ่มคลื่นใต้น้ำกับคนที่เคลื่อนไหวโดยอิสระ เช่น นักวิชาการสถาบันต่างๆ ที่ต้องการจัดสัมมนา หรือประชาชนที่ต้องการแสดงความคิดเห็น ยิ่งรัฐธรรมนูญชั่วคราวบอกว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ต้องรับฟังเสียงประชาชนด้วย ก็ต้องพร้อมที่จะยอมรับต่อการเคลื่อนไหวของประชาชนเคลื่อนไหวในการแสดงความคิดเห็นด้วย ถ้า คสช.และรัฐบาลแยกสองเรื่องนี้ออกจากกันไม่ได้ ตรงนี้จะยิ่งทำให้การเมืองร้อนขึ้น
ส่วนตัวแปรที่ 3. คิดว่าจะมีผลมาก คือ ภาวะเศรษฐกิจของบ้านเมืองในขณะนี้ ที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ค่อนข้างมีปัญหามาก แม้รัฐบาลพยายามใช้แนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจหลายครั้งแล้วก็ตาม ก็ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร และที่บอบช้ำมากที่สุดคือ ชาวสวนยางพารา ที่เวลานี้ราคายางกิโลกรัมละ 60 บาท ขณะที่ผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ก็ยอมรับว่า ราคาต้นทุนอยู่ที่ 60-64บาท การจ่ายเงินให้กับชาวสวนยางไร่ละ1 พันบาท แม้จะเป็นความพยายามตั้งใจดี เพื่อบรรเทาผลกระทบก็ตาม แต่ดูจะยังไม่เข้าใจว่ายังมีปัญหาที่รัฐบาลต้องนึกถึง คือ ชาวสวนยางที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จะไปสันนิษฐานว่าเป็นผู้บุกรุกป่าทั้งหมดไม่ได้ และลูกจ้างที่ไปกรีดยาง ไม่ใช่ชาวสวนยางก็ได้รับผลกระทบด้วย
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เพราะหากคนมีความอึดอัดเรื่องการเมืองมาก แต่เศรษฐกิจมันไปได้ ความตึงเครียด ก็จะไม่มากเท่าไร แต่ถ้าอึดอัดทางการเมือง แล้วพอมาเจอปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องอีก ก็จะทำให้คนเกิดอารมณ์ได้ง่าย จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องมีแผนงานเด็ดๆ ขึ้นมา เพื่อคลี่คลายเศรษฐกิจ
ขณะเดียวกัน มองว่าจะต้องมีมาตรฐานการจัดการกับคลื่นใต้น้ำ และการจัดการกับคนที่ต้องการให้ความเห็นทางการเมืองจริงๆ ต้องแยกให้ออก ถ้าจัดการสิ่งเหล่านี้ไม่ดี ก็ร้อนแรงแน่นอน เชื่อว่าจะถึงขั้นคนจะรวมตัวกันอีกครั้ง กฎอัยการศึกจะศักดิ์สิทธิ์น้อยลง สังคมจะกลับมาสู่กฎเกณฑ์ที่บอกว่ามีแรงกดดันมาก ก็จะมีแรงต่อต้านมาก ทุกฝ่ายก็คงไม่ประสงค์จะให้เป็นเช่นนั้น ฉะนั้นรัฐบาลต้องทุ่มเทสติปัญญา เพื่อการนี้มากเป็นพิเศษ รัฐบาลจะต้องเร่งออกกฎหมายเรื่องการชุมนุมให้เสร็จ ก่อนที่จะมีการประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (31 ธ.ค.) ที่บ้านซอยจรัญสนิทวงศ์ 55 นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ได้เปิดให้สมาชิกพรรค และบุคคลใกล้ชิด เข้าอวยพรปีใหม่
นายบรรหารกล่าวว่า ในปี 2557 มีแต่ความลำบากใจและมีการแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม แต่ก็ต้องขอบคุณพระเจ้าที่ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข ส่วนในปี 2558 ตนห่วงในเรื่องเศรษฐกิจ และหวังว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น เพราะที่ผ่านมา เศรษฐกิจของประเทศยังไม่ดีเท่าที่ควร ประชาชนใช้จ่ายลดลง ขณะที่ชาวนาชาวไร่ผลผลิตไม่ดี เงินที่ใช่จ่ายก็ลดลงไปด้วย ซึ่งต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องเข้ามาแก้ไข แต่ตนไม่ขอแนะนำใดๆ เพราะรัฐบาลมีทีมเศรษฐกิจที่เก่งอยู่แล้ว รวมถึงให้เป็นหน้าที่ของคณะปฏิรูป
"ไม่ขอแนะนำการทำหน้าที่ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพราะมีความสามารถอยู่แล้ว และทำหน้าที่ได้ครบถ้วน แต่อยากฝากว่าการเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ง่าย เพราะเหมือนการอยู่บนหอคอยงาช้าง แต่ก็ต้องสอดคล้องดูแลการทำงานของระดับปฏิบัติการด้วย รวมถึงอยากให้ดูแลด้านเศรษฐกิจเพิ่มเติม เพราะการที่เศรษฐกิจจะดีได้ ประชาชนจะต้องมีเงินในมือและมีกำลังซื้อ"นายบรรหารกล่าว
นายบรรหารกล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรว่า ไม่มีความคิดเห็น แต่ก็ขออย่าให้เป็นร่างรัฐธรรมนูญที่อคติต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะความปรองดองจะไม่เกิด ถ้าทำได้ปัญหาจะหมดไป พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าในอนาคตหากนักการเมืองไม่สังกัดพรรค เชื่อว่าจะเกิดปัญหาอย่างแน่นอนเหมือนในปี 2524-2525 ก็มีตัวอย่างมาแล้ว
ส่วนการเลือกนายกรัฐมนตรีมาจากคนนอก นายบรรหารปฏิเสธที่จะออกความคิดเห็น โดยขอให้เป็นเรื่องอนาคต และพร้อมยอมรับสิ่งที่จะเกิดขึ้น และยังได้กล่าวถึงกรณีการตัดสิทธิ์นักการเมืองที่ทุจริตคอรัปชั่นว่า ควรตัดสิทธิ์เฉพาะนักการเมืองที่ทุจริตภายหลังมีรัฐธรรมนูญ ไม่ควรตัดลงโทษย้อนหลัง ทั้งนี้ คาดว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุด คือ ปี 2559
สำหรับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะเดินทางไปเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นที่จังหวัดสุพรรณบุรีในวันที่ 17-18 ม.ค.2558 นายบรรหารกล่าวว่า ตนยังไม่รับทราบเรื่องดังกล่าว แต่ถือเป็นเรื่องที่ดี และหากตนว่าง ก็จะเดินทางไปรับฟังความคิดเห็นด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตนยังไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ และขอเอาใจช่วยทุกฝ่ายพร้อมขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลให้คนไทยมีความสุขความเจริญ สุขสมหวัง และขอให้ผ่านอุปสรรคต่างไปได้ ให้ประชาชนมีเงินใช้จ่ายและขอให้ทุกฝ่ายสามัคคีเพื่อให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง
ทางด้านนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ได้วิเคราะห์ถึงสถานการณ์การเมืองในปี 2558 ว่า หากมองในขณะนี้ คงจะยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากนี้มากนัก ความสับสนวุ่นวายจะยังคงมีอยู่ และเป็นที่น่ากังวลด้วยซ้ำว่า จะร้อนแรงกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้หรือไม่
ทั้งนี้ มองว่ามีตัวแปร 3 ตัว ที่จะสร้างแรงกดดันสำหรับการเมืองในปี 2558 คือ ตัวแปรที่ 1 คนคาดหวังจากการรัฐประหาร แต่พอผ่านมาระยะหนึ่ง เริ่มเกิดความไม่แน่ใจ เพราะเรื่องถอดถอนนักการเมือง ยังมีอาการล่าช้า โอ้เอ้ ไม่ยอมตกผลึกว่าจะเอาอย่างไร และโครงการรับจำนำข้าวของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ใครๆ ก็รู้ว่ามันชัดเจน ยังมีการโยกโย้ของอัยการสูงสุดที่ต่อรองกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กันอยู่ว่าวันนี้จะออกมาอย่างไร ก็เอาความกันไม่ได้ ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้ หากเริ่มเดือนม.ค.2558 แล้ว ยังเป็นไปในทางลบ จะทำให้อุณหภูมิการเมืองร้อนขึ้นมากพอสมควร
สำหรับตัวแปรตัวที่ 2 ขณะนี้คลื่นใต้น้ำยังคงมีอยู่ และเคลื่อนไหวมากขึ้น ถือเป็นธรรมชาติของเขา แต่ที่กังวลคือถ้ามีการเคลื่อนไหวมากขึ้น ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือรัฐบาลไปใช้มาตรฐานเดียวกัน ระหว่างกลุ่มคลื่นใต้น้ำกับคนที่เคลื่อนไหวโดยอิสระ เช่น นักวิชาการสถาบันต่างๆ ที่ต้องการจัดสัมมนา หรือประชาชนที่ต้องการแสดงความคิดเห็น ยิ่งรัฐธรรมนูญชั่วคราวบอกว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ต้องรับฟังเสียงประชาชนด้วย ก็ต้องพร้อมที่จะยอมรับต่อการเคลื่อนไหวของประชาชนเคลื่อนไหวในการแสดงความคิดเห็นด้วย ถ้า คสช.และรัฐบาลแยกสองเรื่องนี้ออกจากกันไม่ได้ ตรงนี้จะยิ่งทำให้การเมืองร้อนขึ้น
ส่วนตัวแปรที่ 3. คิดว่าจะมีผลมาก คือ ภาวะเศรษฐกิจของบ้านเมืองในขณะนี้ ที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ค่อนข้างมีปัญหามาก แม้รัฐบาลพยายามใช้แนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจหลายครั้งแล้วก็ตาม ก็ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร และที่บอบช้ำมากที่สุดคือ ชาวสวนยางพารา ที่เวลานี้ราคายางกิโลกรัมละ 60 บาท ขณะที่ผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ก็ยอมรับว่า ราคาต้นทุนอยู่ที่ 60-64บาท การจ่ายเงินให้กับชาวสวนยางไร่ละ1 พันบาท แม้จะเป็นความพยายามตั้งใจดี เพื่อบรรเทาผลกระทบก็ตาม แต่ดูจะยังไม่เข้าใจว่ายังมีปัญหาที่รัฐบาลต้องนึกถึง คือ ชาวสวนยางที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จะไปสันนิษฐานว่าเป็นผู้บุกรุกป่าทั้งหมดไม่ได้ และลูกจ้างที่ไปกรีดยาง ไม่ใช่ชาวสวนยางก็ได้รับผลกระทบด้วย
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เพราะหากคนมีความอึดอัดเรื่องการเมืองมาก แต่เศรษฐกิจมันไปได้ ความตึงเครียด ก็จะไม่มากเท่าไร แต่ถ้าอึดอัดทางการเมือง แล้วพอมาเจอปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องอีก ก็จะทำให้คนเกิดอารมณ์ได้ง่าย จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องมีแผนงานเด็ดๆ ขึ้นมา เพื่อคลี่คลายเศรษฐกิจ
ขณะเดียวกัน มองว่าจะต้องมีมาตรฐานการจัดการกับคลื่นใต้น้ำ และการจัดการกับคนที่ต้องการให้ความเห็นทางการเมืองจริงๆ ต้องแยกให้ออก ถ้าจัดการสิ่งเหล่านี้ไม่ดี ก็ร้อนแรงแน่นอน เชื่อว่าจะถึงขั้นคนจะรวมตัวกันอีกครั้ง กฎอัยการศึกจะศักดิ์สิทธิ์น้อยลง สังคมจะกลับมาสู่กฎเกณฑ์ที่บอกว่ามีแรงกดดันมาก ก็จะมีแรงต่อต้านมาก ทุกฝ่ายก็คงไม่ประสงค์จะให้เป็นเช่นนั้น ฉะนั้นรัฐบาลต้องทุ่มเทสติปัญญา เพื่อการนี้มากเป็นพิเศษ รัฐบาลจะต้องเร่งออกกฎหมายเรื่องการชุมนุมให้เสร็จ ก่อนที่จะมีการประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึก