วานนี้ (30 ธ.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ได้มีการหารือเรื่องการบริหารจัดการน้ำว่าจะทำอย่างไร เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งซ้ำซากได้ โดยมีการชี้แจงแผนบริหารจัดการน้ำ ที่มีแผนระยะยาว ในปี 58-69 กว่าหมื่นโครงการ เน้นพื้นที่ ที่มีภัยแล้งซ้ำซาก เช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางที่น้ำท่วม โดยเบื้องต้นใช้งบ ประมาณประจำปี 57 ที่เหลืออยู่ประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท และงบประมาณปี 58 รวมทั้งสิ้นประมาณ 5 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะทำให้แล้วเสร็จภายในปี 58 หากมีการเร่งรัดให้ทำต่อในปี 58-59 ก็ต้องมีการผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปี ต้องหารือกับกระทรวงการคลัง ว่าจะต้องกู้เงินเท่าไร อย่างไร เพื่อดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว แต่คงจะไม่กู้เป็นแสนล้านบาท เหมือนอย่างเดิมที่ได้ยกเลิกไปแล้ว และแผนใหม่นี้ก็ยังไม่ได้มีการกู้อะไรเลย
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึงเรื่องความโปร่งใสในการดำเนินโครงการ ว่า ปกติจะมีคณะกรรมการตรวจสอบอยู่แล้วทุกแผนงาน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่าย ในส่วนของรัฐบาล ก็มีคณะกรรมการตรวจสอบการทุจริตในภาครัฐ ที่มีนายกฯเป็นผู้รับผิดชอบตามกฎหมายปกติ รวมถึงหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรม องค์กรอิสระ ภาคีประชาชน นอกจากนี้ยังได้สั่งให้ตั้งคณะกรรมการของคสช. เพื่อตรวจสอบด้วย ซึ่งตนดูแลอยู่ทั้งสองส่วน หากมีอะไร จะได้ชี้เป้ากัน ดำเนินการให้รวดเร็วขึ้น บางอันอาจต้องใช้อำนาจพิเศษในการลงโทษ ซึ่งตนได้ส่งการไปแล้วว่า ถ้าตรวจสอบทันที ต้องใช้อำนาจเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ที่ทำให้เกิดความบกพร่องในการใช้จ่ายภาครัฐ เพราะถือว่าไม่เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล ตอนนี้การทำงานแบบกึ่งๆ เรามีอำนาจจริง แต่ใช้อย่างไรให้พอดี ถ้าไม่ใช้อำนาจ ก็เหมือนเดิม เพราะฉะนั้นต้องช่วยสร้างความเข้าใจกับประชาชน วันนี้ถือว่าดีที่เราฟันฝ่าอุปสรรคมาได้
ส่วนโครงการใหญ่มีวงเงินเกิน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ก็มีการติดต่อให้ ครอส ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ หากใครพบเห็นการทุจริต ขอให้แจ้งข้อมูลมาที่ตน ถ้าไม่มีรายละเอียดอาจทำให้ขัดแย้งกันได้ เพราะบางโครงการอาจมีการแข่งขันทางธุรกิจกันอยู่ และสุดท้ายก็ว่าตนจะเป็นผู้ได้ประโยชน์ ยืนยันว่า ตนเองและรัฐบาลไม่ต้องการรับผลประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น
**เร่งจ่ายเงิน"ข้าว-ยาง"เสร็จต้นปี58
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงส่วนของงบประมาณ สำหรับดูแลพี่น้องเกษตรกรว่า ที่ผ่านมามีปัญหาในเรื่องการจัดทำทะเบียนมาโดยตลอด ตอนนี้ดำเนินการอยู่ แต่มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงสั่งการไปแล้วว่า จากนี้ต้องมีการทบทวนเรื่องฐานข้อมูลบุคคล การเสียภาษี เป็นพิเศษ ทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันทำ ได้สั่งการไปแล้วว่าหลังจากปีใหม่ต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับชาวสวนยาง และข้าว ให้เรียบร้อย และต้องตรวจสอบก่อนการจ่ายเงิน เพื่อไม่ให้เกิดการทุจริต หรือมัปัญหาให้ต้องมีการตรวจสอบในภายหลังอีก
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ในที่ประชุมครม.ได้หารือในส่วนที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ โดยสรุปผลการเยี่ยมเยือนประเทศต่างๆ โดยตนมีนโยบายในเรื่องการร่วมมือกันในทุกมิติ ติดตามโดยคณะกรรมการที่มีอยู่ทั้งหมดที่จะต้องวางยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนใน 6 กลุ่มประเทศ ได้แก่ 1. กลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน 2.ประเทศที่ไกลออกไปเช่น จีน ญี่ปุ่น 3. กลุ่มประเทศยุโรป 4. กลุ่มประเทศตะวันตก 5. ประเทศที่เป็นหมู่เกาะ และ 6. ประเทศตะวันออกกลาง โดยสั่งการไปชัดเจนว่า แต่ละกลุ่มจะเดินหน้าอย่างไร เพราะบางอย่างเราต้องช่วยเหลือเขาเนื่องจากไทยได้เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ต้องให้การช่วยเหลือบ้าง อาจจะเป็นทางด้านการศึกษา ความร่วมมือทางวิชาการ นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มีการเน้นเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนใน 5 พื้นที่ เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กระจายสินค้าได้ด้วย เพราะเป็นอนาคตที่จะต้องวางแผนในระยะยาว
**เดินหน้า"เศรษฐกิจดิจิตอล"
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงเรื่องเศรษฐกิจดิจิตอลว่า กฎหมายในเรื่องดังกล่าว อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่สิ่งที่เห็นร่วมกันคือ จะทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติมากที่สุด และเรื่องนี้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ กสทช. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และบริษัทเอกชนที่ให้บริการ วันนี้ต้องมีการปรับรูปแบบของกระทรวงใหม่ ว่าจะทำอย่างไรจะใช้ประโยชน์กับทุกส่วนให้ได้ โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม และประชาชนได้ประโยชน์ ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถควบคุมงบประมาณที่ไม่ซ้ำซ้อน รั่วไหล ขณะนี้ยังมีอีกหลายขั้นตอนโดยจะเร่งให้แล้วเสร็จภายในปี 58 ขณะนี้ภาคเอกชนได้มีการเสนอแนะข้อคิดเห็นต่างๆ แต่ขออย่ามองว่าจะเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มใด เพราะเขามีการลงทุนไว้อยู่แล้ว ใครอยากลงทุนเพิ่ม สามารถเข้ามาได้ อย่ามองว่าเป็นการเปลี่ยนผู้รับประโยชน์ใหม่ คนที่ทำกิจการด้านนี้ มีไม่กี่คน
"ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า รัฐบาลนี้ได้สร้างกลุ่มอำนาจใหม่ ผมไม่เห็นว่ามีกลุ่มตรงไหนที่จะได้ประโยชน์ เขาก็ได้กันอยู่เดิม เพียงแต่ปรับให้ทัดเทียมกัน ให้รัฐได้ประโยชน์มากขึ้น เพราะมันไม่มีคนอื่นแล้ว ถ้ามี ก็เข้ามาสู้กับเขา เราเปิดเสรีทุกประการในเรื่องนี้ และปีหน้าเราก็จะมีการเปิดประมูล 4 จี แต่จะเปิดอย่างไรให้รัฐและประชาชนได้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องธุรกิจ แต่รัฐต้องเข้าไปมีส่วนร่วมให้มากขึ้น วันนี้ทั้ง แคท ทีโอที ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ เราต้องปรับให้สามารถประกอบการได้ ไม่ใช่มีหน่วยงานแล้วทำอะไรไม่ได้ ให้ภาคเอกชนเอาไปหมด อย่างนี้ไม่ได้ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับคนไทย วันข้างหน้าอาจมีสงครามไซเบอร์ รบกวนด้านการติดต่อ สื่อสารโทรคมนาคม ที่ถือเป็นงานด้านความมั่นคง จึงต้องดำเนินการให้เกิดความปลอดภัย วันนี้เราต้องทำศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ และเครือข่ายเชื่อมโยงด้านโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งขณะนี้ไทยใช้มากที่สุดในอาเซียน จึงน่าจะเอามาเป็นประโยชน์กับเราให้มากที่สุดในการเป็นผู้นำธุรกิจด้านนี้ในภาคพื้นเอเชีย" นายกรัฐมนตรี กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึงเรื่องความโปร่งใสในการดำเนินโครงการ ว่า ปกติจะมีคณะกรรมการตรวจสอบอยู่แล้วทุกแผนงาน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่าย ในส่วนของรัฐบาล ก็มีคณะกรรมการตรวจสอบการทุจริตในภาครัฐ ที่มีนายกฯเป็นผู้รับผิดชอบตามกฎหมายปกติ รวมถึงหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรม องค์กรอิสระ ภาคีประชาชน นอกจากนี้ยังได้สั่งให้ตั้งคณะกรรมการของคสช. เพื่อตรวจสอบด้วย ซึ่งตนดูแลอยู่ทั้งสองส่วน หากมีอะไร จะได้ชี้เป้ากัน ดำเนินการให้รวดเร็วขึ้น บางอันอาจต้องใช้อำนาจพิเศษในการลงโทษ ซึ่งตนได้ส่งการไปแล้วว่า ถ้าตรวจสอบทันที ต้องใช้อำนาจเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ที่ทำให้เกิดความบกพร่องในการใช้จ่ายภาครัฐ เพราะถือว่าไม่เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล ตอนนี้การทำงานแบบกึ่งๆ เรามีอำนาจจริง แต่ใช้อย่างไรให้พอดี ถ้าไม่ใช้อำนาจ ก็เหมือนเดิม เพราะฉะนั้นต้องช่วยสร้างความเข้าใจกับประชาชน วันนี้ถือว่าดีที่เราฟันฝ่าอุปสรรคมาได้
ส่วนโครงการใหญ่มีวงเงินเกิน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ก็มีการติดต่อให้ ครอส ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ หากใครพบเห็นการทุจริต ขอให้แจ้งข้อมูลมาที่ตน ถ้าไม่มีรายละเอียดอาจทำให้ขัดแย้งกันได้ เพราะบางโครงการอาจมีการแข่งขันทางธุรกิจกันอยู่ และสุดท้ายก็ว่าตนจะเป็นผู้ได้ประโยชน์ ยืนยันว่า ตนเองและรัฐบาลไม่ต้องการรับผลประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น
**เร่งจ่ายเงิน"ข้าว-ยาง"เสร็จต้นปี58
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงส่วนของงบประมาณ สำหรับดูแลพี่น้องเกษตรกรว่า ที่ผ่านมามีปัญหาในเรื่องการจัดทำทะเบียนมาโดยตลอด ตอนนี้ดำเนินการอยู่ แต่มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงสั่งการไปแล้วว่า จากนี้ต้องมีการทบทวนเรื่องฐานข้อมูลบุคคล การเสียภาษี เป็นพิเศษ ทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันทำ ได้สั่งการไปแล้วว่าหลังจากปีใหม่ต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับชาวสวนยาง และข้าว ให้เรียบร้อย และต้องตรวจสอบก่อนการจ่ายเงิน เพื่อไม่ให้เกิดการทุจริต หรือมัปัญหาให้ต้องมีการตรวจสอบในภายหลังอีก
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ในที่ประชุมครม.ได้หารือในส่วนที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ โดยสรุปผลการเยี่ยมเยือนประเทศต่างๆ โดยตนมีนโยบายในเรื่องการร่วมมือกันในทุกมิติ ติดตามโดยคณะกรรมการที่มีอยู่ทั้งหมดที่จะต้องวางยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนใน 6 กลุ่มประเทศ ได้แก่ 1. กลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน 2.ประเทศที่ไกลออกไปเช่น จีน ญี่ปุ่น 3. กลุ่มประเทศยุโรป 4. กลุ่มประเทศตะวันตก 5. ประเทศที่เป็นหมู่เกาะ และ 6. ประเทศตะวันออกกลาง โดยสั่งการไปชัดเจนว่า แต่ละกลุ่มจะเดินหน้าอย่างไร เพราะบางอย่างเราต้องช่วยเหลือเขาเนื่องจากไทยได้เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ต้องให้การช่วยเหลือบ้าง อาจจะเป็นทางด้านการศึกษา ความร่วมมือทางวิชาการ นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มีการเน้นเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนใน 5 พื้นที่ เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กระจายสินค้าได้ด้วย เพราะเป็นอนาคตที่จะต้องวางแผนในระยะยาว
**เดินหน้า"เศรษฐกิจดิจิตอล"
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงเรื่องเศรษฐกิจดิจิตอลว่า กฎหมายในเรื่องดังกล่าว อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่สิ่งที่เห็นร่วมกันคือ จะทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติมากที่สุด และเรื่องนี้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ กสทช. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และบริษัทเอกชนที่ให้บริการ วันนี้ต้องมีการปรับรูปแบบของกระทรวงใหม่ ว่าจะทำอย่างไรจะใช้ประโยชน์กับทุกส่วนให้ได้ โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม และประชาชนได้ประโยชน์ ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถควบคุมงบประมาณที่ไม่ซ้ำซ้อน รั่วไหล ขณะนี้ยังมีอีกหลายขั้นตอนโดยจะเร่งให้แล้วเสร็จภายในปี 58 ขณะนี้ภาคเอกชนได้มีการเสนอแนะข้อคิดเห็นต่างๆ แต่ขออย่ามองว่าจะเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มใด เพราะเขามีการลงทุนไว้อยู่แล้ว ใครอยากลงทุนเพิ่ม สามารถเข้ามาได้ อย่ามองว่าเป็นการเปลี่ยนผู้รับประโยชน์ใหม่ คนที่ทำกิจการด้านนี้ มีไม่กี่คน
"ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า รัฐบาลนี้ได้สร้างกลุ่มอำนาจใหม่ ผมไม่เห็นว่ามีกลุ่มตรงไหนที่จะได้ประโยชน์ เขาก็ได้กันอยู่เดิม เพียงแต่ปรับให้ทัดเทียมกัน ให้รัฐได้ประโยชน์มากขึ้น เพราะมันไม่มีคนอื่นแล้ว ถ้ามี ก็เข้ามาสู้กับเขา เราเปิดเสรีทุกประการในเรื่องนี้ และปีหน้าเราก็จะมีการเปิดประมูล 4 จี แต่จะเปิดอย่างไรให้รัฐและประชาชนได้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องธุรกิจ แต่รัฐต้องเข้าไปมีส่วนร่วมให้มากขึ้น วันนี้ทั้ง แคท ทีโอที ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ เราต้องปรับให้สามารถประกอบการได้ ไม่ใช่มีหน่วยงานแล้วทำอะไรไม่ได้ ให้ภาคเอกชนเอาไปหมด อย่างนี้ไม่ได้ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับคนไทย วันข้างหน้าอาจมีสงครามไซเบอร์ รบกวนด้านการติดต่อ สื่อสารโทรคมนาคม ที่ถือเป็นงานด้านความมั่นคง จึงต้องดำเนินการให้เกิดความปลอดภัย วันนี้เราต้องทำศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ และเครือข่ายเชื่อมโยงด้านโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งขณะนี้ไทยใช้มากที่สุดในอาเซียน จึงน่าจะเอามาเป็นประโยชน์กับเราให้มากที่สุดในการเป็นผู้นำธุรกิจด้านนี้ในภาคพื้นเอเชีย" นายกรัฐมนตรี กล่าว