ASTV ผู้จัดการรายวัน-กมธ.ผู้บริโภคเสนอ กสทช.ออกกฎหมายคุม "ค่ายสัญญาณมือถือ" ให้คิดค่าโทรศัพท์ตามจริงเป็นวินาที ห้ามปัดเศษขึ้นเป็นนาที ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค เผยทำประชาชนต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มเดือนละ 3,000 ล้านบาท พร้อมเสนอ คสช. แก้ปัญหาด้วย
นายอดิศักดิ์ ภาณุพงศ์ โฆษกคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แถลงข่าว ขอให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) บังคับใช้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ให้ผู้ประกอบการคิดค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงตามการใช้งานจริงเป็นวินาที โดยไม่ปัดเศษเป็นนาที ว่า จากข้อเท็จจริงกรณีร้องเรียน ผู้ประกอบการคิดค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงเป็นนาที โดยปัดเศษวินาทีเป็นหนึ่งนาที ในทุกๆ การใช้งานโทรศัพท์แต่ละครั้งนั้น เป็นเหตุให้ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มมากขึ้นรวมแล้วถึง 3,000 ล้านบาท ต่อเดือน แม้ปัจจุบัน กสทช. จะยังไม่มีหลักเกณฑ์ กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ต้องคิดค่าบริการตามระยะเวลาการใช้งานจริงเป็นวินาที แต่การกระทำดังกล่าวของผู้ประกอบการโทรคมนาคม เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในวงกว้าง
ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียง ให้ได้รับความเป็นธรรม คณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค สปช. จึงมีข้อเสนอที่สามารถดำเนินการได้โดยเร็ว ด้วยการแจ้งไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมทั้งแจ้งไปยัง กสทช.อีกทางหนึ่ง เพราะ กสทช. มีอำนาจตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ มีรายละเอียด ดังนี้
1.ขอให้ กสทช.ใช้อำนาจตามมาตรา 31 วรรคสอง มีคำสั่งห้ามผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม โทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียง คิดค่าบริการโดยปัดเศษวินาทีขึ้นเป็นหนึ่งนาที เนื่องจากเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคและค้ากำไรเกินควร และเร่งดำเนินการออกประกาศ หลักเกณฑ์ว่าด้วยการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค โดยอาศัยการใช้เครือข่ายหรือการโฆษณาอันมีลักษณะเป็นการค้ากำไรเกินควรหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
2.ขอให้ กสทช. ใช้อำนาจตามมาตรา 27 (9) กำหนดหลักเกณฑ์ ให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม โทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียง คิดค่าบริการตามระยะเวลาที่ใช้งานจริงเป็นวินาที โดยไม่มีการปัดเศษเป็นนาที และ 3.ขอให้ กสทช. ใช้อำนาจตามมาตรา 27 (13) ดำเนินการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกรณีดังกล่าวนอกเหนือจากข้อ 1 และ 2
**กสทช.รับลูกเตรียมแก้กม.
ด้านนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา หรือ “หมอลี่” กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภค และส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เปิดเผยว่า เมื่อวันอังคาร 23 ธ.ค. ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เพิ่งมีมติเห็นชอบกับ ร่าง ประกาศการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมฯ ที่สำนักงาน กสทช. ยกร่างขึ้น โดยกระบวนการถัดไป จะเป็นการนำร่างประกาศดังกล่าวไปเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน อย่างไรก็ตาม ในร่างประกาศฉบับนี้ ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการบังคับให้ผู้ประกอบกิจการต้องคิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาทีเอาไว้ด้วย ซึ่งหากจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ ก็สามารถทำได้โดยไม่ยุ่งยาก เพราะก็อยู่ในช่วงรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีคุณค่าอย่างมากที่สำนักงาน กสทช. ต้องรับฟัง และนำไปปรับปรุงประกาศให้สมบูรณ์ขึ้น เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ
“ในต่างประเทศที่ตลาดโทรคมนาคมมีการแข่งขันกันสูง ผู้ให้บริการก็มักกำหนดโปรโมชั่นในลักษณะที่คิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาที เพราะเป็นวิธีคิดค่าบริการที่เป็นธรรมกับผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกใช้บริการของผู้ให้บริการที่ตนคิดว่าเป็นธรรมและไม่เอาเปรียบ แต่สำหรับประเทศไทยที่ตลาดโทรคมนาคมมีการแข่งขันไม่สมบูรณ์ โดยมีผู้ให้บริการไม่กี่รายที่ผูกขาดตลาด จึงเป็นหน้าที่ของ กสทช. ที่ต้องเข้าไปกำกับดูแลเพื่อไม่ให้มีการคิดค่าบริการในลักษณะที่เป็นการเอาเปรียบ” นายประวิทย์ กล่าว
นายอดิศักดิ์ ภาณุพงศ์ โฆษกคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แถลงข่าว ขอให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) บังคับใช้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ให้ผู้ประกอบการคิดค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงตามการใช้งานจริงเป็นวินาที โดยไม่ปัดเศษเป็นนาที ว่า จากข้อเท็จจริงกรณีร้องเรียน ผู้ประกอบการคิดค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงเป็นนาที โดยปัดเศษวินาทีเป็นหนึ่งนาที ในทุกๆ การใช้งานโทรศัพท์แต่ละครั้งนั้น เป็นเหตุให้ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มมากขึ้นรวมแล้วถึง 3,000 ล้านบาท ต่อเดือน แม้ปัจจุบัน กสทช. จะยังไม่มีหลักเกณฑ์ กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ต้องคิดค่าบริการตามระยะเวลาการใช้งานจริงเป็นวินาที แต่การกระทำดังกล่าวของผู้ประกอบการโทรคมนาคม เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในวงกว้าง
ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียง ให้ได้รับความเป็นธรรม คณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค สปช. จึงมีข้อเสนอที่สามารถดำเนินการได้โดยเร็ว ด้วยการแจ้งไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมทั้งแจ้งไปยัง กสทช.อีกทางหนึ่ง เพราะ กสทช. มีอำนาจตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ มีรายละเอียด ดังนี้
1.ขอให้ กสทช.ใช้อำนาจตามมาตรา 31 วรรคสอง มีคำสั่งห้ามผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม โทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียง คิดค่าบริการโดยปัดเศษวินาทีขึ้นเป็นหนึ่งนาที เนื่องจากเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคและค้ากำไรเกินควร และเร่งดำเนินการออกประกาศ หลักเกณฑ์ว่าด้วยการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค โดยอาศัยการใช้เครือข่ายหรือการโฆษณาอันมีลักษณะเป็นการค้ากำไรเกินควรหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
2.ขอให้ กสทช. ใช้อำนาจตามมาตรา 27 (9) กำหนดหลักเกณฑ์ ให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม โทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียง คิดค่าบริการตามระยะเวลาที่ใช้งานจริงเป็นวินาที โดยไม่มีการปัดเศษเป็นนาที และ 3.ขอให้ กสทช. ใช้อำนาจตามมาตรา 27 (13) ดำเนินการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกรณีดังกล่าวนอกเหนือจากข้อ 1 และ 2
**กสทช.รับลูกเตรียมแก้กม.
ด้านนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา หรือ “หมอลี่” กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภค และส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เปิดเผยว่า เมื่อวันอังคาร 23 ธ.ค. ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เพิ่งมีมติเห็นชอบกับ ร่าง ประกาศการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมฯ ที่สำนักงาน กสทช. ยกร่างขึ้น โดยกระบวนการถัดไป จะเป็นการนำร่างประกาศดังกล่าวไปเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน อย่างไรก็ตาม ในร่างประกาศฉบับนี้ ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการบังคับให้ผู้ประกอบกิจการต้องคิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาทีเอาไว้ด้วย ซึ่งหากจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ ก็สามารถทำได้โดยไม่ยุ่งยาก เพราะก็อยู่ในช่วงรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีคุณค่าอย่างมากที่สำนักงาน กสทช. ต้องรับฟัง และนำไปปรับปรุงประกาศให้สมบูรณ์ขึ้น เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ
“ในต่างประเทศที่ตลาดโทรคมนาคมมีการแข่งขันกันสูง ผู้ให้บริการก็มักกำหนดโปรโมชั่นในลักษณะที่คิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาที เพราะเป็นวิธีคิดค่าบริการที่เป็นธรรมกับผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกใช้บริการของผู้ให้บริการที่ตนคิดว่าเป็นธรรมและไม่เอาเปรียบ แต่สำหรับประเทศไทยที่ตลาดโทรคมนาคมมีการแข่งขันไม่สมบูรณ์ โดยมีผู้ให้บริการไม่กี่รายที่ผูกขาดตลาด จึงเป็นหน้าที่ของ กสทช. ที่ต้องเข้าไปกำกับดูแลเพื่อไม่ให้มีการคิดค่าบริการในลักษณะที่เป็นการเอาเปรียบ” นายประวิทย์ กล่าว