**เป็นอันว่าช่วงนี้ไปจนถึงช่วงสุดสัปดาห์ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะหารือถึงกรอบหลักต่างๆ ในการเขียนรัฐธรรมนูญออกมา แต่สิ่งที่คุยกันยังไม่ใช่ข้อสรุปอย่างเป็นทางการ หรือแนวทางที่ตกผลึกว่าจะเขียนรัฐธรรมนูญออกมาแบบไหน
กล่าวได้ว่า มันแค่วงหารือเบื้องต้น เพราะยังเหลือเวลาอีกนานโขกว่า 36 กมธ.ยกร่างฯ จะได้ข้อสรุป ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นดราฟท์แรกก็ประมาณไม่เกิน 17 เม.ย. 58 จากนั้นถึงส่งไปยังสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)- คณะรัฐมนตรี และ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพื่อให้พิจารณาว่า ชอบ-ไม่ชอบ หมวดไหน มาตราไหน จะปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ก็ยื่นขอสงวนคำแปรญัตติมายังกมธ.ยกร่างฯ ต่อไป
ดังนั้นจากนี้ไปจนถึงช่วง 17 เม.ย.58 มันยังอยู่ในช่วงการสังเคราะห์ความเห็นต่างๆ จากคนนอกกมธ.ยกร่างฯ และคนในกมธ.ยกร่างฯ ด้วยกันเอง กระบวนการร่างรธน. จะเข้มข้นมากขึ้นก็หลัง 12 ม.ค. ปีหน้าเป็นต้นไป ที่กมธ.ยกร่างฯ จะเริ่มนั่งเขียน ลงมติ ร่างรธน. ออกมาทีละมาตรากัน
**กระนั้นความเห็นของฝ่ายต่างๆ ทั้ง สปช.-กมธ.ยกร่างฯ-คนในรัฐบาล และบิ๊กคสช. ก็ต้องจับตามองกันให้ใกล้ชิด เพราะในความเห็นและการเคลื่อนไหวต่างๆ มันก็มีนัยยะการเมืองอันสำคัญที่ต้องตีความกันหลายชั้น
อย่างเช่น ตอนช่วงมีการเสนอแนวคิดของ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปฯ ที่เสนอให้เลือกนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีโดยตรง ก็มีข่าวพูดกันในแวดวงสปช.ว่า แนวคิดนี้พอถูกนำเสนอมา ก็มีบิ๊กทหารคนหนึ่งที่อยู่ในสนช. และรู้จักกับคนในกมธ.ยกร่างฯ บางคน จนมีภาพถูกมองว่าใกล้ชิดกับแกนนำคสช. ไปพูดแบบไม่เป็นทางการกับใครบางคนในรัฐสภาว่า แนวคิดนี้น่าสนใจ ท่าทีดังกล่าวมันก็เลยถูกถอดรหัสกันไปว่า สายคสช. เห็นด้วยกับแนวคิดการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง เล่นเอาพวก สนช.และสปช. บางสาย เช็คข่าววงในกันว่า จริงหรือไม่ ว่าคสช.เอาด้วยกับ แนวทางเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง
คำตอบที่ได้ ก็พบว่า “ไม่จริง ไม่ใช่” เป็นการถอดรหัสกันผิดๆ คสช.ปล่อยให้เป็นเรื่องของสปช. และกมธ.ยกร่างฯ ไปว่ากันเอง ทำให้ข้อเสนอให้เลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง ทำยังไงก็เข็นไม่ขึ้น และมีแค่ กมธ.ปฏิรูปการเมืองสาย ดร.สมบัติไม่กี่คนเท่านั้น ที่หนุนข้อเสนอนี้ แบบโดดเดี่ยว
เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญก็ว่ากันไปในส่วนนั้น
แต่อีกเรื่องที่พลาดการติดตามเพ่งมองไม่ได้นั่นก็คือ เรื่อง "การสร้างความปรองดอง และการนิรโทษกรรม" ที่ดูแนวคิดและความเห็นของสปช. และ กมธ.ยกร่างฯ แล้วก็พบว่า มีความเป็นไปได้มากทีเดียว ที่สุดท้ายการนิรโทษกรรมตามข้อเสนอของอนุกมธ.ยกร่างฯ คณะที่ 10 ที่มี เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน ที่เสนอให้นิรโทษกรรมให้กับประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548-2557 โดยไม่รวมแกนนำ และไม่รวมผู้ต้องคดีอาญา ที่มีโทษอุฉกรรจ์ และคดีหมิ่นสถาบันฯ จะเกิดขึ้นในยุคสปช.นี้
เพราะคนในสปช.หลายต่อหลายคน ถ้าดูคำให้สัมภาษณ์หรือการแสดงความเห็นเรื่องนี้ไว้ในโอกาสต่างๆ เช่น บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ -เอนก เหล่าธรรมทัศน์ –อลงกรณ์ พลบุตร- ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กมธ.ยกร่างฯ และใครต่อใครอีกหลายคนในสปช. ก็ไม่มีใครขวางเรื่องนิรโทษกรรมให้กับประชาชน เพียงแต่ขอให้เขียนกติกาให้รัดกุม ให้นิรโทษเฉพาะประชาชนในคดีการเมือง อย่างเช่น ฝ่าฝืนพรก.สถานการณ์ฉุกเฉินฯ อะไรทำนองนี้เท่านั้น พูดง่ายๆ คือ ให้นิรโทษเฉพาะต้นซอย ไม่ใช่นิรโทษสุดซอยแบบสมัยรัฐบาลเพื่อไทย หากเป็นแบบนี้ ก็ยอมรับกันได้
ยิ่งมีข่าวว่า หลังกมธ.ยกร่างฯ และสปช.ได้ฟังความเห็นเรื่องการนิรโทษกรรม จากปากวีระกานต์ มุกสิกพงศ์ อดีตประธานนปช. ที่ไปให้ความเห็นเรื่องการยกร่างรธน. และการสร้างความปรองดองต่อกมธ.ยกร่างฯ เมื่อ 19 ธ.ค. ที่ผ่านมาแล้ว กมธ.ยกร่างฯ หลายคนจากเดิมที่เฉยๆ กับข้อเสนอของ ดร.เอนก พอเห็นทิศทางต่างๆของการนิรโทษกรรมและการสร้างความปรองดอง จากความเห็นของอดีตประธาน นปช.แล้ว ก็มีข่าวว่า ชักเปลี่ยนใจ และเห็นด้วยกับข้อเสนอของ ดร.เอนก ขึ้นมาแล้วในเวลานี้
**ทำให้ประเด็นเรื่อง การปรองดอง-การนิรโทษกรรม น่าจับตาเช่นกันว่า มีความเป็นไปได้ระดับหนึ่งที่สุดท้ายข้อเสนอนิรโทษกรรมให้กับประชาชนที่ร่วมชุมนุมทางการเมืองโดยไม่รวมแกนนำ จะเกิดขึ้นผลอย่างเป็นรูปธรรมในสปช.ยุคนี้
สมมุติฐานดังกล่าวไม่ใช่เรื่องพูดกันเล่นๆ เพราะอย่างล่าสุด เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ก็ลงนามคำสั่งสภาปฏิรูปแห่งชาติ แต่งตั้ง "คณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง" ขึ้นโดยมอบหมายให้ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ มาเป็นประธานคณะกรรมการทำงานชุดนี้
เป็นการให้ เอนก เข้ามาทำงานเรื่องการสร้างความปรองดองแบบต่อเนื่องจริงจังมากขึ้น ขับดันให้เกิดผลสำเร็จมากกว่าแค่เสนอความเห็นไปยัง กมธ.ยกร่างฯ แต่ให้มาขับเคลื่อนในส่วนของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่จะมีผลทางการเมืองสูงกว่าแค่เสนอความเห็น ในฐานะประธานอนุกมธ.ยกร่างฯ
ดูได้จากตัวคำสั่งสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ระบุไว้ว่า จากปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเวลานี้ ได้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของชาติ ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐและประชาชน ล้วนมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมือง อันมีปัจจัยมาจากความต้องการแสวงหาอำนาจทางการเมือง จนเกิดเป็นการเผชิญหน้า การกระทำผิด จนเกิดการตอบโต้กันด้วยความรุนแรง
ดังนั้น เพื่อแก้ไข เยียวยา และป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต จึงตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวขึ้น โดยอำนาจหน้าที่ไว้ เช่น พิจารณาศึกษาและแสวงหาแนวทางเพื่อลดและยุติความขัดแย้งทางการเมืองในทุกระดับ เพื่อนำไปสู่การสร้างความปรองดองเกิดขึ้นภายในชาติ และจัดทำแผนดำเนินงานในการสร้างความปรองดองให้ควบคู่ไปกับกระบวนการปฏิรูปประเทศ ที่มาจากข้อมูลและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การชุมนุมอันเกี่ยวเนื่องมาจากเหตุความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ.2557
เห็นการขยับของ ดร.เทียนฉาย ประธาน สปช. ที่ใช้อำนาจประธาน สปช.แต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวแล้ว วิเคราะห์ได้ว่า ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการให้ความเห็นและข้อเสนอแนะจากดร.บวรศักดิ์ และตัว ดร.เอนก รวมถึงสมาชิกสปช.หลายคนที่หนุนแนวทางการสร้างความปรองดอง ที่เสนอให้ดร.เทียนฉาย ตั้งกรรมการชุดนี้ เพื่อมาสานต่อข้อเสนอแนวทางการสร้างความปรองดองที่อนุกมธ.ยกร่างฯ เคยชงเอาไว้ อีกทั้ง โดยบทบาทหน้าที่ของสภาปฏิรูปฯ การหาหนทางสร้างความปรองดอง ก็เป็นอีกภารกิจหนึ่งที่หลายคนคาดหวังให้สปช. ทำให้สำเร็จ
**ดังนั้น ดร.เทียนฉาย ก็คงอยู่เฉยๆ ไม่ได้ ต้องทำให้สปช. มีบทบาทด้านนี้ให้ได้ แต่จะสำเร็จหรือล้มเหลว ค่อยไปว่ากันในอนาคต จุดใหญ่ในการทำงานของกรรมการชุดนี้ ที่เห็นเฉพาะหน้าเลยก็คือ จะทำอย่างไรให้คู่ขัดแย้งทุกฝ่ายยอมรับ และร่วมมือกับกรรมการชุดนี้อย่างเต็มที่ ตรงนี้แหละที่คือโจทย์ใหญ่
เพราะตัวกรรมการชุดนี้บางคนโดยเฉพาะคนที่ไม่ได้เป็น สปช. เช่น นางพะเยาว์ อัคฮาด จะบอกว่าเป็นตัวแทนของฝ่ายนปช.-เสื้อแดง ก็คงไม่ใช่ เพราะเสื้อแดงหลายกลุ่ม ก็ไม่ยอมรับในตัวเธอ โดยเฉพาะช่วงพรรคเพื่อไทยเสนอ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ วรชัย เหมะ ที่นางพะเยาว์ ออกมาคัดค้านเต็มที่ พวกเสื้อแดงหลายคนก็เลิกเผาผี นางพะเยาว์ไปเลย
งานของกรรมการชุดนี้ จึงจะไปหนักที่ ดร.เอนก ในฐานะมือประสาน ที่ต้องแสดงบทบาทสะพานเชื่อมคู่ขัดแย้งทุกกลุ่มให้มาร่วมมือกับกรรมการชุดนี้ จนสามารถคลอดข้อเสนอการปรองดองออกมาได้ โดยทุกฝ่าย ทุกสี ทุกขั้วการเมือง ยอมรับแบบไม่มีข้อโต้เถียง
**โดยเฉพาะหากปลายทางของข้อเสนอจากกรรมการชุดนี้ หลีกไม่พ้น ต้องเสนอให้มีการนิรโทษกรรมอันเป็นประเด็นอ่อนไหวยิ่งทางการเมือง หาก ดร.เอนกทำได้ แรงต้าน คงน้อยลงมามากทีเดียว
กล่าวได้ว่า มันแค่วงหารือเบื้องต้น เพราะยังเหลือเวลาอีกนานโขกว่า 36 กมธ.ยกร่างฯ จะได้ข้อสรุป ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นดราฟท์แรกก็ประมาณไม่เกิน 17 เม.ย. 58 จากนั้นถึงส่งไปยังสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)- คณะรัฐมนตรี และ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพื่อให้พิจารณาว่า ชอบ-ไม่ชอบ หมวดไหน มาตราไหน จะปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ก็ยื่นขอสงวนคำแปรญัตติมายังกมธ.ยกร่างฯ ต่อไป
ดังนั้นจากนี้ไปจนถึงช่วง 17 เม.ย.58 มันยังอยู่ในช่วงการสังเคราะห์ความเห็นต่างๆ จากคนนอกกมธ.ยกร่างฯ และคนในกมธ.ยกร่างฯ ด้วยกันเอง กระบวนการร่างรธน. จะเข้มข้นมากขึ้นก็หลัง 12 ม.ค. ปีหน้าเป็นต้นไป ที่กมธ.ยกร่างฯ จะเริ่มนั่งเขียน ลงมติ ร่างรธน. ออกมาทีละมาตรากัน
**กระนั้นความเห็นของฝ่ายต่างๆ ทั้ง สปช.-กมธ.ยกร่างฯ-คนในรัฐบาล และบิ๊กคสช. ก็ต้องจับตามองกันให้ใกล้ชิด เพราะในความเห็นและการเคลื่อนไหวต่างๆ มันก็มีนัยยะการเมืองอันสำคัญที่ต้องตีความกันหลายชั้น
อย่างเช่น ตอนช่วงมีการเสนอแนวคิดของ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปฯ ที่เสนอให้เลือกนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีโดยตรง ก็มีข่าวพูดกันในแวดวงสปช.ว่า แนวคิดนี้พอถูกนำเสนอมา ก็มีบิ๊กทหารคนหนึ่งที่อยู่ในสนช. และรู้จักกับคนในกมธ.ยกร่างฯ บางคน จนมีภาพถูกมองว่าใกล้ชิดกับแกนนำคสช. ไปพูดแบบไม่เป็นทางการกับใครบางคนในรัฐสภาว่า แนวคิดนี้น่าสนใจ ท่าทีดังกล่าวมันก็เลยถูกถอดรหัสกันไปว่า สายคสช. เห็นด้วยกับแนวคิดการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง เล่นเอาพวก สนช.และสปช. บางสาย เช็คข่าววงในกันว่า จริงหรือไม่ ว่าคสช.เอาด้วยกับ แนวทางเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง
คำตอบที่ได้ ก็พบว่า “ไม่จริง ไม่ใช่” เป็นการถอดรหัสกันผิดๆ คสช.ปล่อยให้เป็นเรื่องของสปช. และกมธ.ยกร่างฯ ไปว่ากันเอง ทำให้ข้อเสนอให้เลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง ทำยังไงก็เข็นไม่ขึ้น และมีแค่ กมธ.ปฏิรูปการเมืองสาย ดร.สมบัติไม่กี่คนเท่านั้น ที่หนุนข้อเสนอนี้ แบบโดดเดี่ยว
เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญก็ว่ากันไปในส่วนนั้น
แต่อีกเรื่องที่พลาดการติดตามเพ่งมองไม่ได้นั่นก็คือ เรื่อง "การสร้างความปรองดอง และการนิรโทษกรรม" ที่ดูแนวคิดและความเห็นของสปช. และ กมธ.ยกร่างฯ แล้วก็พบว่า มีความเป็นไปได้มากทีเดียว ที่สุดท้ายการนิรโทษกรรมตามข้อเสนอของอนุกมธ.ยกร่างฯ คณะที่ 10 ที่มี เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน ที่เสนอให้นิรโทษกรรมให้กับประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548-2557 โดยไม่รวมแกนนำ และไม่รวมผู้ต้องคดีอาญา ที่มีโทษอุฉกรรจ์ และคดีหมิ่นสถาบันฯ จะเกิดขึ้นในยุคสปช.นี้
เพราะคนในสปช.หลายต่อหลายคน ถ้าดูคำให้สัมภาษณ์หรือการแสดงความเห็นเรื่องนี้ไว้ในโอกาสต่างๆ เช่น บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ -เอนก เหล่าธรรมทัศน์ –อลงกรณ์ พลบุตร- ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กมธ.ยกร่างฯ และใครต่อใครอีกหลายคนในสปช. ก็ไม่มีใครขวางเรื่องนิรโทษกรรมให้กับประชาชน เพียงแต่ขอให้เขียนกติกาให้รัดกุม ให้นิรโทษเฉพาะประชาชนในคดีการเมือง อย่างเช่น ฝ่าฝืนพรก.สถานการณ์ฉุกเฉินฯ อะไรทำนองนี้เท่านั้น พูดง่ายๆ คือ ให้นิรโทษเฉพาะต้นซอย ไม่ใช่นิรโทษสุดซอยแบบสมัยรัฐบาลเพื่อไทย หากเป็นแบบนี้ ก็ยอมรับกันได้
ยิ่งมีข่าวว่า หลังกมธ.ยกร่างฯ และสปช.ได้ฟังความเห็นเรื่องการนิรโทษกรรม จากปากวีระกานต์ มุกสิกพงศ์ อดีตประธานนปช. ที่ไปให้ความเห็นเรื่องการยกร่างรธน. และการสร้างความปรองดองต่อกมธ.ยกร่างฯ เมื่อ 19 ธ.ค. ที่ผ่านมาแล้ว กมธ.ยกร่างฯ หลายคนจากเดิมที่เฉยๆ กับข้อเสนอของ ดร.เอนก พอเห็นทิศทางต่างๆของการนิรโทษกรรมและการสร้างความปรองดอง จากความเห็นของอดีตประธาน นปช.แล้ว ก็มีข่าวว่า ชักเปลี่ยนใจ และเห็นด้วยกับข้อเสนอของ ดร.เอนก ขึ้นมาแล้วในเวลานี้
**ทำให้ประเด็นเรื่อง การปรองดอง-การนิรโทษกรรม น่าจับตาเช่นกันว่า มีความเป็นไปได้ระดับหนึ่งที่สุดท้ายข้อเสนอนิรโทษกรรมให้กับประชาชนที่ร่วมชุมนุมทางการเมืองโดยไม่รวมแกนนำ จะเกิดขึ้นผลอย่างเป็นรูปธรรมในสปช.ยุคนี้
สมมุติฐานดังกล่าวไม่ใช่เรื่องพูดกันเล่นๆ เพราะอย่างล่าสุด เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ก็ลงนามคำสั่งสภาปฏิรูปแห่งชาติ แต่งตั้ง "คณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง" ขึ้นโดยมอบหมายให้ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ มาเป็นประธานคณะกรรมการทำงานชุดนี้
เป็นการให้ เอนก เข้ามาทำงานเรื่องการสร้างความปรองดองแบบต่อเนื่องจริงจังมากขึ้น ขับดันให้เกิดผลสำเร็จมากกว่าแค่เสนอความเห็นไปยัง กมธ.ยกร่างฯ แต่ให้มาขับเคลื่อนในส่วนของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่จะมีผลทางการเมืองสูงกว่าแค่เสนอความเห็น ในฐานะประธานอนุกมธ.ยกร่างฯ
ดูได้จากตัวคำสั่งสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ระบุไว้ว่า จากปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเวลานี้ ได้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของชาติ ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐและประชาชน ล้วนมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมือง อันมีปัจจัยมาจากความต้องการแสวงหาอำนาจทางการเมือง จนเกิดเป็นการเผชิญหน้า การกระทำผิด จนเกิดการตอบโต้กันด้วยความรุนแรง
ดังนั้น เพื่อแก้ไข เยียวยา และป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต จึงตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวขึ้น โดยอำนาจหน้าที่ไว้ เช่น พิจารณาศึกษาและแสวงหาแนวทางเพื่อลดและยุติความขัดแย้งทางการเมืองในทุกระดับ เพื่อนำไปสู่การสร้างความปรองดองเกิดขึ้นภายในชาติ และจัดทำแผนดำเนินงานในการสร้างความปรองดองให้ควบคู่ไปกับกระบวนการปฏิรูปประเทศ ที่มาจากข้อมูลและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การชุมนุมอันเกี่ยวเนื่องมาจากเหตุความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ.2557
เห็นการขยับของ ดร.เทียนฉาย ประธาน สปช. ที่ใช้อำนาจประธาน สปช.แต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวแล้ว วิเคราะห์ได้ว่า ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการให้ความเห็นและข้อเสนอแนะจากดร.บวรศักดิ์ และตัว ดร.เอนก รวมถึงสมาชิกสปช.หลายคนที่หนุนแนวทางการสร้างความปรองดอง ที่เสนอให้ดร.เทียนฉาย ตั้งกรรมการชุดนี้ เพื่อมาสานต่อข้อเสนอแนวทางการสร้างความปรองดองที่อนุกมธ.ยกร่างฯ เคยชงเอาไว้ อีกทั้ง โดยบทบาทหน้าที่ของสภาปฏิรูปฯ การหาหนทางสร้างความปรองดอง ก็เป็นอีกภารกิจหนึ่งที่หลายคนคาดหวังให้สปช. ทำให้สำเร็จ
**ดังนั้น ดร.เทียนฉาย ก็คงอยู่เฉยๆ ไม่ได้ ต้องทำให้สปช. มีบทบาทด้านนี้ให้ได้ แต่จะสำเร็จหรือล้มเหลว ค่อยไปว่ากันในอนาคต จุดใหญ่ในการทำงานของกรรมการชุดนี้ ที่เห็นเฉพาะหน้าเลยก็คือ จะทำอย่างไรให้คู่ขัดแย้งทุกฝ่ายยอมรับ และร่วมมือกับกรรมการชุดนี้อย่างเต็มที่ ตรงนี้แหละที่คือโจทย์ใหญ่
เพราะตัวกรรมการชุดนี้บางคนโดยเฉพาะคนที่ไม่ได้เป็น สปช. เช่น นางพะเยาว์ อัคฮาด จะบอกว่าเป็นตัวแทนของฝ่ายนปช.-เสื้อแดง ก็คงไม่ใช่ เพราะเสื้อแดงหลายกลุ่ม ก็ไม่ยอมรับในตัวเธอ โดยเฉพาะช่วงพรรคเพื่อไทยเสนอ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ วรชัย เหมะ ที่นางพะเยาว์ ออกมาคัดค้านเต็มที่ พวกเสื้อแดงหลายคนก็เลิกเผาผี นางพะเยาว์ไปเลย
งานของกรรมการชุดนี้ จึงจะไปหนักที่ ดร.เอนก ในฐานะมือประสาน ที่ต้องแสดงบทบาทสะพานเชื่อมคู่ขัดแย้งทุกกลุ่มให้มาร่วมมือกับกรรมการชุดนี้ จนสามารถคลอดข้อเสนอการปรองดองออกมาได้ โดยทุกฝ่าย ทุกสี ทุกขั้วการเมือง ยอมรับแบบไม่มีข้อโต้เถียง
**โดยเฉพาะหากปลายทางของข้อเสนอจากกรรมการชุดนี้ หลีกไม่พ้น ต้องเสนอให้มีการนิรโทษกรรมอันเป็นประเด็นอ่อนไหวยิ่งทางการเมือง หาก ดร.เอนกทำได้ แรงต้าน คงน้อยลงมามากทีเดียว